φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



สุสานตระกูลมัตสึไดระผู้ครองไอซึฮัง
เขียนเมื่อ 2019/06/06 23:48
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# เสาร์ 25 พ.ค. 2019

หลังจากที่ตอนที่แล้วได้ไปชมปราสาทวากามัตสึมา https://phyblas.hinaboshi.com/20190604

เวลายังพอเหลือ เขาจึงพาไปเที่ยวสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่ง คือ สุสานตระกูลมัตสึไดระผู้ครองไอซึฮัง (会津藩主松平家墓所あいづはんしゅまつだいらけぼしょ)

ไอซึฮัง (会津藩あいづはん) เป็นเขตการปกครองเทียบเท่าจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาตอนเริ่มยุคเอโดะ กินพื้นที่บริเวณทางตะวันตกของจังหวัดฟุกุชิมาไปจนถึงส่วนของจังหวัดนีงาตะและโทจิงิ

แต่ละฮังจะมีผู้ปกครองเป็นไดเมียว (大名だいみょう) คือซามุไรผู้ยิ่งใหญ่ของพื้นที่นั้น

ในช่วงต้นยุคเอโดะนั้นไดเมียวผู้ปกครองไอซึฮังเป็นคนจากตระกูลกาโมว (蒲生家がもうけ) แล้วก็มีการเปลี่ยนตระกูลที่ครองที่นี่มาเรื่อยๆ จนในที่สุดตั้งแต่ปี 1643 ตระกูลมัตสึไดระ (松平家まつだいらけ) ได้เข้าปกครองไอซึฮัง ตั้งแต่นั้นก็สืบทอดต่อมาจนถึงรุ่นที่ ๙ จนสิ้นสุดยุคเอโดะในปี 1868 เป็นเวลานานกว่าสองร้อยปี

สุสานแห่งนี้เริ่มสร้างขึ้นเพื่อฝังศพของผู้ครองแคว้นตั้งแต่รุ่นที่ ๒ คือ มัตสึไดระ มาซัตสึเนะ (松平まつだいら 正経まさつね) จนถึงรุ่นที่ ๙ มัตสึไดระ คาตาโมริ (松平まつだいら 容敬かたもり)

แผนที่ในบริเวณ มีแจกอยู่ด้านใน





สำหรับการเดินทางมาเที่ยวที่นี่นั้นสามารถนั่งรถเมล์สายไฮการะซัง (ハイカラさん) มาได้ ลงที่ป้ายอินไน (院内いんない) แต่ก็ยังต้องเดินขึ้นไปตามทางเขาต่ออีก ๖๐๐ เมตร

ครั้งนี้เราโชคดีที่เขามีรถขับพามาส่งถึงที่ ทำให้ไม่ต้องเดินไกล

แล้วยิ่งเพราะรอบๆบริเวณเป็นป่าอย่างที่เห็น



ทางเข้าไปยังบริเวณสุสาน



เริ่มต้นเดินเข้ามาจะเจอบริเวณสุสานของผู้ครองไอซึฮังรุ่นที่ ๘ มัตสึไดระ คาตาตากะ (松平まつだいら 容敬かたたか)




ตัวสถานที่ฝังศพอยู่ด้านบน ต้องขึ้นบันไดไปจึงจะเห็น แต่ว่าเขาห้ามขึ้น ดังนั้นส่วนที่ให้ชมได้หลักๆก็คือส่วนหน้าบันได และเต่าแบกป้ายหินที่เรียกว่า คิฟุซะ (亀趺坐きふざ) หรือที่ในจีนเรียกว่าปี้ซี่ (贔屓bì xì)




ที่ฝังศพของแต่ละคนจะมีเต่าวางอยู่ด้านหน้าแล้วตามด้วยขั้นบันไดแบบนี้เหมือนกันหมด และเต่าแต่ละตัวจะต่างกันไปเล็กน้อยด้วย

ต่อมาเดินลึกเข้าไปก็จะถึงป้ายเต่าของรุ่นที่ ๔ มัตสึไดระ คาตาซาดะ (松平まつだいら 容貞かたさだ) ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่าต่างจากป้ายของรุ่นที่ ๘ เล็กน้อยในรายละเอียด



สุสานของรุ่นที่ ๔ นี้ เมื่อมองลึกเข้าไปหน่อยก็จะเห็นตรงส่วนของแผ่นป้ายหน้าหลุมศพ และหลังแผ่นป้ายนั้นคือส่วนที่ฝังศพ ซึ่งจะเห็นทีการตั้งแท่นหิน เรียกว่า ชิซึเมอิชิ (鎮石しずめいし)



จากรุ่นที่ ๘ แล้วก็โดดมารุ่นที่ ๔ เลยแบบนี้จะเห็นได้ว่าการจัดเรียงนั้นไม่ได้เป็นไปตามลำดับสักเท่าไหร่

อันนี้เป็นแผนที่ซึ่งวางอยู่หน้าป้ายเต่าของรุ่นที่ ๔ หากเรียงไล่จากนอกสุดไปในสุดจะเรียงได้เป็น 8 > 4 > 3 > 5 > 6 > 7 > 9



ส่วนของรุ่นที่ ๒​ นั้นแยกอยู่ไกลหน่อยทางด้านล่าง และเขาก็ไม่ได้พาเราไปชมถึงตรงนั้น ส่วนรุ่นที่ ๑ นั้นไม่ได้ถูกฝังไว้ที่นี่แต่แรกแล้ว

จากป้ายเต่าของรุ่นที่ ๔ เดินถัดลึกเข้ามาก็เจอของรุ่นที่ ๓ มัตสึไดระ มาซากาตะ (松平まつだいら 正容まさかた)



ส่วนที่ฝังรุ่นที่ ๓ และทางซ้ายถัดไปเป็นของรุ่นที่ ๕ มัตสึไดระ คาตาโนบุ (松平まつだいら 容頌かたのぶ)



ป้ายเต่าของรุ่นที่ ๕




มองลึกถัดเข้าไปเป็นป้ายของรุ่นที่ ๖ มัตสึไดระ คาตาโอกิ (松平まつだいら 容住かたおき) และรุ่นที่ ๗ มัตสึไดระ คาตาฮิโระ (松平まつだいら 容衆かたひろ)



ป้ายเต่าของรุ่นที่ ๖



รุ่นที่ ๗




ถัดจากรุ่นที่ ๗ ต้องเดินลึกเข้าไปหน่อยจึงจะถึงสุสานของรุ่นที่ ๙



แล้วก็เดินมาถึง ที่อยู่ลึกในสุดนี้คือสุสานของรุ่นที่ ๙ มัตสึไดระ คาตาโมริ ผู้ครองแคว้นคนสุดท้าย เขาตายในปี 1893 ซึ่งเป็นช่วงหลังสิ้นยุคเอโดะไปแล้ว







จากนั้นการเที่ยววันนี้ก็สิ้นสุดลงเท่านี้ เสร็จแล้วเขาก็พาเราไปส่งถึงโรงแรม เราถามเขาว่ามีร้านอาหารอะไรแนะนำแถวนั้นบ้าง เขาก็แนะนำว่าแถวนี้มีซาชิมิเนื้อม้าเป็นอาหารขึ้นชื่อ อุมะซาชิ (馬刺うまさしし) เราก็รู้สึกว่าฟังดูน่าสนใจดี เพราะไม่เคยกินเนื้อม้ามาก่อน แต่พอถามถึงราคาแล้วก็ต้องรีบเปลี่ยนใจ เพราะแพงเกิน

เขาก็เลยแนะนำร้านถูกๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโรงแรม ชื่อร้านอุโอโยชิโชกุโดว (うおよし食堂しょくどう) เป็นร้านเล็กๆที่แค่ข้ามถนนไปปทางตะวันตกก็ถึงแล้ว

แล้วเราก็แยกทางจากเขา ขึ้นไปบนห้อง เมื่อไปถึงพบว่าพนักงานโรงแรมได้เอาของที่เราฝากไว้เมื่อตอนกลางวันไปวางในห้องให้แล้ว

สภาพในห้องเป็นแบบนี้ ไม่กว้างเท่าไหร่ สำหรับการนอน ๒ คนถือว่าอึดอัดอยู่ มีโต๊ะเก้าอี้แค่ตัวเดียว แต่ก็ถือว่าพออยู่ได้ ยังไงที่นี่ก็ราคาถูกกว่าโรงแรมอื่น




เรานั่งพักในห้องแป๊บเดียวก็รีบออกเพราะหิวแล้ว รีบเดินข้ามถนนไปยังร้านอุโอโยชิตามที่เขาแนะนำ




เมนูของร้านติดอยู่ที่ผนัง



สั่งชุดเนื้อย่าง ยากินิกุเทย์โชกุ (肉定食にくていしょく) ราคา ๘๕๐ เยน



แต่ว่าที่จริงหลังจากที่สั่งอาหารไปแล้ว พี่คนไทยเขาก็โทรติดต่อมาหาบอกว่าอยากชวนไปกินข้าวเย็นด้วยกัน แต่ว่าช้าไปหน่อย เพราะสั่งไปแล้ว และได้ยินเสียงเขาเริ่มผัดแล้ว ก็เลยได้แต่ปฏิเสธไปอย่างน่าเสียดาย

กินเสร็จก็กลับไปพักผ่อนที่โรงแรม เรื่องราวของวันนี้ก็จบลงเท่านี้

วันต่อไปยังมีที่เที่ยวรออยู่อีกมาก https://phyblas.hinaboshi.com/20190607



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> ฟุกุชิมะ
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
-- ท่องเที่ยว >> สุสาน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ