φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



เดินดูสถานีฮ้างเหาซึ่งเสียหายจากการชุมนุมประท้วงในฮ่องกงก่อนเดินทางกลับสนามบินด้วยเวลาเฉียดฉิว
เขียนเมื่อ 2019/11/16 07:55
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# ศุกร์ 8 พ.ย. 2019

ต่อจากตอนที่แล้วซึ่งได้เดินชมในมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง (香港科技大學) หรือเรียกชื่อย่อๆว่า "ฟ้อต่าย" เสร็จแล้วก็นั่งรถเมล์ออกมา เพื่อกลับสนามบินให้ทันขึ้นเครื่องบินรอบ 17:00 https://phyblas.hinaboshi.com/20191115



ขากลับนี้เราไม่ได้กลับไปทางเก่า แต่ไปยังสถานีฮ้างเหา (坑口站haang1 hau2 zaam6) หรือเรียกว่า "เคิงโข่วkēng kǒu" ในภาษาจีนกลาง

สถานีนี้เป็นสถานีที่ใกล้กับมหาวิทยาลัยมากที่สุด ปกติแล้วลงรถไฟฟ้าสถานีนี้เพื่อไปฟ้อต่ายจะเร็วกว่ามาจากทางสถานีฉอยห่ง

สถานีฮ้างเหานี้เป็นที่ที่เพื่อนเคยเล่าว่าเกิดการชุมนุมประท้วงอาละวาดในวันที่ 4 ตุลาคม 2019 หลังจากที่ผู้นำฮ่องกงประกาศใช้กฎหมายห้ามสวมหน้ากาก มีผู้ประท้วงมากมายบุกมาทำลายสถานีรถไฟฟ้าต่างๆ รวมถึงสถานีฮ้างเหานี้



พูดถึงเรื่องการชุมนุมประท้วงฮ่องกงแล้ว เราได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนคนนี้หลายครั้งในประเด็นนี้มาตั้งแต่ก่อนที่จะมาหาครั้งนี้แล้ว ทำให้ได้เข้าใจมุมมองของผู้ประท้วงพอสมควร

เรื่องที่ได้ฟังจากคนที่อยู่ฮ่องกงจริงๆนั้นจะแตกต่างจากที่ปรากฏในข่าวที่ทางสื่อจีนพยายามนำเสนอออกมาพอสมควร

สื่อต่างๆมักนำเสนอภาพตอนที่ผู้ประท้วงใช้ความรุนแรง แต่ความจริงตำรวจเองก็ใช้ความรุนแรงมากเช่นกัน สื่อจีนมักไม่พูดถึงส่วนร้ายของฝั่งตำรวจ

ส่วนเรื่องที่ว่าคนฮ่องกงชังชาติหรือต่อต้านความเป็นจีนนั้น ก็ไม่เป็นความจริงเสียทีเดียว กลุ่มสุดโต่งที่คิดแบบนั้นจริงๆก็มี แต่จุดประสงค์หลักจริงๆของการประท้วงไม่ใช่การแยกประเทศอยู่แล้วตั้งแต่แรก แต่เป็นการเรียกร้องอิสรภาพให้ฮ่องกงในฐานะเขตปกครองพิเศษ ให้สามารถมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

แต่สื่อจีนมักจะออกข่าวในทำนองที่ว่าคนฮ่องกงชังชาติ ทำให้คนจีนแผ่นดินใหญ่หรือคนไทยเชื้อสายจีนเห็นแล้วรู้สึกว่าผู้ประท้วงฮ่องกงเป็นตัวร้าย ทรยศชาติตัวเอง บ้างก็อ้างถึงขั้นว่ามีต่างชาติมาหนุนหลังเพื่อสร้างความแตกแยก ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ทำให้ชาวฮ่องกงไม่พอใจมาก ก็การโดนหาว่าทรยศขายชาติมันย่อมเป็นเรื่องที่น่าเจ็บปวด

นี่เป็นแค่เรื่องที่ฟังมาจากเพื่อนคนฮ่องกง ซึ่งก็ไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้ประท้วง แต่ก็เป็นพวกเดียวกัน คือเป็นนักศึกษาที่เห็นด้วยกับการประท้วง

ฉะนั้นก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะเป็นจริงทั้งหมด แต่เล่าไว้ให้เข้าใจมุมมองของฝั่งผู้ประท้วง

หลายคนอาจมองว่าผู้ประท้วงฮ่องกงทำรุนแรงเหลือเกิน แต่พวกเขาก็พยายามจะบอกว่าพวกเขาเจออะไรมาบ้างในช่วงที่ผ่านมาจนหมดความอดทน ต้องตัดสินใจออกมาทำอะไรแบบนี้ พวกเขาต่างก็มีเหตุผล แต่ละคนก็มีการศึกษา มีอนาคต ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความคิด ทุกคนก็รักบ้านเกิดทั้งนั้น อยากให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ถึงอย่างนั้นวิธีการที่ทำอยู่นั้นคงไม่อาจเรียกว่าถูกต้อง หลายอย่างมันเกินกว่าเหตุ เกินขอบเขตที่ควรไปแล้ว และสุดท้ายยังไงการชุมนุมนี้ก็ไม่น่าจะสัมฤทธิ์ผล คงจบลงด้วยความล้มเหลวเป็นแน่

ก็ขอเอาใจช่วยให้ฮ่องกงผ่นวิกฤตนี้ไปได้โดยเสียหายน้อยที่สุด



นอกเรื่องมาเยอะ กลับมาเล่าเรื่องเที่ยวต่อ

เพื่อนพานั่งรถเมล์เล็กออกมาลงที่ป้ายใกล้กับสถานีฮ้างเหา เขาชวนไปแวะหาอะไรกินก่อนกลับ เพราะยังไม่ได้กินมื้อเที่ยงเลย แต่เนื่องจากต้องรีบกลับสนามบิน เหลือเวลาไม่มากแล้ว ไม่มีเวลานั่งกินสบายๆจึงแค่ไปหาซื้ออะไรถือกิน

เขาพาเข้ามาในห้าง




แล้วก็มาเจอร้านนี้ ขายซาลาเปา



ก็ซื้อมากินชิ้นนึงง่ายๆ



เสร็จแล้วก็รีบเดินต่อไปไปยังสถานีฮ้างเหา

ถึงหน้าสถานี



เพื่อนชี้ให้ดูว่าตรงนี้ถูกทำลายโดยผู้ชุมนุมประท้วงเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม แต่ได้รับการซ่อมแซมแล้ว แม้จะดูครึ่งๆกลางๆไม่สมบูรณ์



อันนี้เป็นภาพหลังจากวันเกิดเหตุ ซึ่งเพื่อนถ่ายมา ขอยืมมาลง ลองเทียบดู จะเห็นว่าตอนนั้นเป็นกระจก แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นเหล็กแทนไป




กระจกโดนทุบแตกยับเยิน




ส่วนด้่านในสถานีถูกปิดอยู่ ในวันนั้นไม่สามารถเข้าไปใช้บริการได้



เครื่องกั้นที่ต้องแตะบัตรเพื่อเข้าไปนี่ก็โดนทำลายไปเหมือนกัน แบบนี้ก็ไม่แปลกที่จะต้องปิด ใช้การไม่ได้ในวันนั้น





ตัดกลับมาที่ภาพปัจจุบัน สภาพในสถานีตอนนี้ดูปกติ ร้านค้าจำนวนหนึ่งเปิด




แต่ก็เห็นร่องรอยความเสียหายที่ยังไม่ได้ซ่อมหมด ร้านค้าบางแห่งไม่เปิด



ตรงที่แตะบัตรเพื่อเข้าไปด้านในก็ดูจะมีร่องรอยของการซ่อมแซม



ดูอยู่ได้ไม่นานก็ต้องรีบไปขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อกลับสนามบินแล้ว ก็แยกจากเพื่อนตรงนี้ ซื้อบัตรแล้วเข้าไป





สำหรับการเดินทางขากลับจากสถานีฮ้างเหานั้นต้องนั่งรถไฟฟ้าหลายต่อมาก หากเทียบกับตอนที่นั่งรถเมล์มาแค่ ๒ ต่อถึงนั้นถือว่าต่างกันมาก แต่ว่ารถไฟฟ้ามีข้อดีคือเร็วและไม่ต้องเจอรถติด ยิ่งช่วงเย็นวันศุกร์ซึ่งรถมีแนวโน้มจะติดแบบนี้

การเดินทางเริ่มจากนั่งสายเจิ๊งกวั๊นโอว (將軍澳綫zoeng1 gwan1 ou3 sin3, 将军澳线) ไปลงสถานีถิ่วเก๋งเหล็ง (調景嶺站tiu4 ging2 ling5 zaam6, 调景岭站) เพื่อเปลี่ยนรถ

แล้วนั่งต่อสายกุ๊นถ่อง (觀塘綫gun1 tong4 sin3, 观塘线) ไปลงสถานีทายจี๋ (太子站taai3 zi2 zaam6)

แล้วนั่งต่อสายฉวิ่นว้าน (荃灣綫cyun4 waan1 sin3, 荃湾线) ไปลงสถานีไหล่เก๋ง (荔景站lai6 ging2 zaam6)

จากนั้นจึงต่อสายต๊งช้ง (東涌綫dung1 cung1 sin3, 东涌线) ไปลงสถานีเช้งยี้ (青衣站cing1 ji1 zaam6)

แล้วสุดท้ายจึงนั่งสายสายรถด่วนท่าอากาศยาน (機場快綫gei1 coeng4 faai3 sin3, 机场快线) จึงกลับไปถึงสนามบิน



ภาพตอนเปลี่ยนรถจากสายเจิ๊งกวั๊นโอว (สายสีม่วง) ไปสายกุ๊นถ่อง (สายสีเขียว) ที่สถานีถิ่วเก๋งเหล็ง



ผังสายรถไฟภายในรถไฟฟ้าสายกุ๊นถ่อง



แล้วก็ลงที่สถานีทายจี๋ ระหว่างรอเปลี่ยนรถที่สถานีทายจี๋ไปขึ้นสายฉวิ่นว้าน (สายสีแดง)



จากทายจี๋ นั่งสายฉวิ่นว้านไปอีก ๕ สถานี เพื่อไปลงสถานีไหล่เก๋ง



ระหว่างรอเปลี่ยนรถไปสายต๊งช้ง (สายสีส้ม) ที่สถานีไหล่เก๋ง




นั่งไปสถานีเดียวก็ถึงสถานีเช้งยี้



จากนั้นต้องออกมาซื้อตั๋วรถไฟด่วนสายเชื่อมต่อสนามบิน ซึ่งแยกต่างหากจากระบบรถไฟฟ้าส่วนอื่น ราคาจากเช้งยี้ไปสนามบินคือ ๗๐ มั้น



ระหว่างทาง





ขณะที่ไปถึงนั้นเป็นเวลาเกือบ 4 โมงแล้ว ส่วนรถไฟที่ได้ขึ้นนั้นมาถึงตอน 4 โมง

จากนั้นก็วิ่งออกไปอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาแค่ ๑๕ นาทีเพื่อถึงสนามบิน

ถึงสนามบินตอน 16:15 แล้วก็รีบเข้าไปหาจุดขึ้นเครื่องอย่างไว



ผ่านด่านตรวจคนเข้าออกเมืองมาแล้วก็ยังต้องมานั่งรถไฟฟ้าภายในสนามบินจึงจะไปถึงห้องรอเครื่องที่ต้องไปเพื่อเดินทางกลับ



ตอนที่ไปถึงจุดรอขึ้นเครื่องก็เป็นเวลา 16:40 แล้ว ซึ่งทันเวลาพอดี เพราะปกติเขาต้องให้มาขึ้นเครื่องก่อนเครื่องออกประมาณ ๒๐ นาที ซึ่งตอนนั้นก็เหลือ ๒๐ นาทีพอดี และผู้โดยสารส่วนใหญ่ก็ขึ้นไปแล้ว เหลือต่อแถวรอขึ้นอยู่ไม่มาก



ถึงตรงนี้ก็โล่งแล้วว่าไม่ตกเครื่อง ได้กลับแน่นอน ต้องถือว่านี่เป็นครั้งที่มาถึงสนามบินด้วยเวลาที่เฉียดฉิวหวาดเสียวที่สุดแล้ว คงเป็นประสบการณ์ที่จำไปอีกนาน ถ้าจะมีครั้งไหนที่มาสายกว่านี้ก็คงจะตกเครื่องไปแล้ว



ลาก่อนฮ่องกง




อาหารบนเครื่อง



เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯโดยสวัสดิภาพ





ครั้งนี้เป็นแค่การเดินทางจากไต้หวันมาต่อเครื่องที่ฮ่องกงเพื่อกลับไทยแล้วได้เที่ยวอยู่ในฮ่องกงแค่ ๗ ชั่วโมง แต่ก็ถือว่าได้เที่ยวอย่างเต็มที่เต็มเวลาจริงๆ

ครั้งนี้ได้ไปเที่ยวที่เดียวคือเดินในมหาวิทยาลัย แต่ก็ถือว่าดี เพราะได้มาเยี่ยมเพื่อน แล้วแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน และได้เห็นส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมประท้วงในฮ่องกงด้วย แล้วก็ได้แต่มองด้วยความเป็นห่วง

จะคนฮ่องกงหรือไต้หวันหรือจีนแผ่นดินใหญ่ต่างก็เป็นคนจีนทั้งนั้น แม้แต่คนที่เกิดและโตในไทยอย่างเราเองก็ยังรักและภูมิใจในความเป็นจีนเช่นกัน คงไม่อยากเห็นคนจีนด้วยกันเองทำร้ายกันมากไปกว่านี้

จากนี้ไปอนาคตฮ่องกงจะเป็นยังไงต่อไปก็อดเป็นห่วงไม่ได้ แต่ก็ขอเอาใจช่วยให้ทุกอย่างกลับมาเรียบร้อย กลับมาเป็นสถานที่ที่น่าอยู่น่าเที่ยวที่ใครๆต่างก็ชอบ เป็นเมืองที่สำคัญและน่าภาคภูมิใจของจีน



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ฮ่องกง
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ