φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



เดินทางจากสนามบินนานาชาติฮ่องกงมาเดินเล่นแถวสถานีเกาลูนและสถานีออสติน
เขียนเมื่อ 2020/01/12 14:49
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# ศุกร์ 10 ม.ค. 2020

มีโอกาสได้เดินทางมาเที่ยวฮ่องกงอีกครั้ง หลังจากที่เพิ่งเว้นไปแค่ ๒ เดือนเท่านั้นเอง

ครั้งนี้ก็มาแวะเพราะเป็นทางผ่านกลับบ้านอีกเช่นเคย

การชุมนุมประท้วงในฮ่องกงยังคงดำเนินต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนถึงตอนนี้ก็ยาวเกินครึ่งปีแล้ว ทำให้ต้องรู้สึกเป็นห่วงอยู่พอสมควร



เป้าหมายของการเที่ยวครั้งนี้คือเดินเที่ยวในย่านเมือง แล้วก็แวะปีนเขาด้วย โดยได้ชวนเพื่อนมาด้วยกัน

เขาที่ตั้งใจจะไปปีนคราวนี้คือเขาปั๊ดกาซ้าน (筆架山bat1 gaa3 saan1) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสวนสาธารณะริมเมืองเขาสิงโต (獅子山郊野公園si1 zi2 saan1 gaau1 je5 gung1 jyun2) แต่พอไปเดินจริงๆก็กลับเดินไปผิดทางทำให้ไม่ได้ไปถึงยอดตรงที่ตั้งใจจะไป แต่ก็ได้เดินเส้นทางอื่นแทน ซึ่งก็ถือว่าดีเหมือนกัน

เพื่อที่จะไปปีนปั๊ดกาซ้าน ตอนแรกนัดเพื่อนไว้ที่สถานีเฉิ่งซ้าว้าน (長沙灣站coeng4 saa1 waan1 zaam6) ซึ่งอยู่ค่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาลูน

โดยตามเวลาเครื่องบินจะลงที่สนามบินฮ่องกง 9:55 จึงนัดเพื่อนเอาไว้เจอกัน 11 โมง น่าจะกำลังดี ใช้เวลาประมาณชั่วโมงจากสนามบินไปถึงแถวนั้น

แต่พอถึงเวลา เครื่องบินกลับมาถึงก่อนเวลาไป ๑๕ นาที แล้วพอลองติดต่อเพื่อน เขากลับบอกว่าตื่นสาย ขอเลื่อนเป็น 11 โมงครึ่งแทน ทำให้ต้องปรับแผนการกะทันหัน เพราะมีเวลาเหลือเพิ่มขึ้นมาก

จากประสบการณ์เที่ยวโน่นนี่มาหลายครั้ง เราจึงรู้จักวางแผนเที่ยวให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์อยู่แล้ว จึงตัดสินใจเปลี่ยนแผนได้ทัน

สถานที่ที่เลือกจะแวะไประหว่างรอเพื่อนก็คือมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคฮ่องกง (香港理工大學hoeng1 gong2 lei5 gung1 daai6 hok6) ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งที่เกี่ยวพันกับการประท้วงฮ่องกงในช่วงก่อนหน้านี้ อยู่ในย่านห่งฮัม (紅磡hung4 ham3)

เดิมทีถ้าจะไปหาเพื่อนตามเวลาเดิมเราควรจะนั่งรถไฟฟ้าสายด่วนจากสนามบินไปลงที่สถานีเช้งยี้ (青衣站cing1 ji1 zaam6) แล้วต่อรถไฟฟ้ามาถึงสถานีเฉิ่งซ้าว้าน

แต่พอเปลี่ยนแผนก็เลยเปลี่ยนเป็นนั่งมาลงที่สถานีเกาลูน หรือเรียกในภาษากวางตุ้งว่า สถานีเก๋าหล่ง (九龍站gau2 lung6 zaam6) แทน และจากตรงนี้เดินไปยังมหาวิทยาลัยที่เป็นเป้าหมายได้ไม่ไกล



ต่อไปจะเริ่มเล่าเรื่องในฮ่องกง โดยเล่าต่อจากตอนที่ออกเดินทางจากไต้หวัน ซึ่งเขียนถึงไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20200111

หลังจากออกจากไต้หวัน เวลาก็ผ่าไปชั่วโมงครึ่งอย่างรวดเร็ว แล้วก็ได้เวลาเครื่องลง

เมื่อเครื่องบินเข้ามาใกล้ถึงฮ่องกง มองออกไปนอกหน้าต่างก็ได้เห็นสะพานใหญ่ฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า (港珠澳大橋gong2 zyu1 ou3 daai6 kiu4)



สะพานทอดยาวยิ่งใหญ่โดดเด่น



จุดที่สะพานเริ่มมุดลงไปใต้น้ำ



แล้วเครื่องก็บินมาลงจอดที่สนามบินฮ่องกง




เที่ยวบินนี้คนโหรงเหรงมาก ดูเหมือนคนเดินทางมายังฮ่องกงจะน้อยจริงๆ อีกทั้งเพราะเป็นวันก่อนการเลือกตั้งไต้หวันด้วย คนที่จะออกจากไต้หวันจึงยิ่งน้อย



เดินออกมาขึ้นขบวนรถภายในสนามบินเพื่อไปยังด่านตรวจคนเข้าเมือง



แล้วก็ออกมา แล้วไปหาทางขึ้นรถไฟฟ้าสายสนามบิน



ซื้อตั๋วรถไฟด่วนไปสถานีเกาลูน ราคา ๑๐๕ มั้น ที่แพงเพราะนี่เป็นสายด่วน จากสนามบินไปถึงสถานีเช้งยี้โดยไม่จอดเลย แล้วก็ตรงต่อไปยังสถานีเกาลูนซึ่งอยู่ใจกลางเมือง



มาขึ้นรถไฟฟ้า นั่งข้ามมาลงในเมือง





ถึงสถานีเกาลูน ตัวสถานีดูใหญ่มากทีเดียว ที่นี่ไม่ใช่แค่เป็นสถานีรถไฟฟ้า แต่ยังเป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคมหลายอย่างด้วย




ภายในก็เป็นห้างไปด้วย แต่ดูแล้วหลายร้านปิดอยู่



เดินไปทางนี้ก็จะไปยังสถานีออสติน (Austin) หรือชื่อในภาษากวางตุ้งว่า สถานีอ๊อสี่ติ๊น (柯士甸站o1 si6 din1 zaam6) ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กับสถานีเกาลูนในระยะที่เดินไปต่อได้ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นสถานีเดียวกัน ต้องเดินออกแล้วจึงเข้ามาใหม่



เดินมาตามป้ายที่ชี้ว่าไปสถานีออสติน ก็จะออกมานอกอาคารสถานีเกาลูน



แล้วจากตรงนี้ก็จะเป็นทางเดินลอยฟ้าที่เชื่อมระหว่างสถานีเกาลูนกับสถานีออสติน



เดินมาตามทางเรื่อยๆ







ก็ถึงสถานีออสติน





ที่สถานีนี้ นอกจากจะเป็นสถานีรถไฟฟ้าในฮ่องกงแล้วก็ยังเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมสู่จีนแผ่นดินใหญ่ด้วย โดยรถไฟจะวิ่งข้ามแดนไปเซินเจิ้น แล้วก็ไปถึงกว่างโจว



จากตรงนี้ออกไปทางประตู D ซึ่งอยู่ฝั่งใต้ก็จะออกไปสู่ถนนออสติน (柯士甸道o1 si6 din1 dou6) ซึ่งเป็นถนนที่ชื่อเดียวกับสถานี ถนนสายนี้ลากจากชายฝั่งตะวันตกของเกาลูนไปยังใจกลางคาบสมุทร



หากเดินไปตามทางนี้ก็จะสามารถไปถึงมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคฮ่องกงได้ เรื่องราวบนถนนสายนี้จะแบ่งไปเขียนในตอนต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20200113



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ฮ่องกง
-- ท่องเที่ยว >> ทะเล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ