หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เขียนถึงการปรับแต่งคุณสมบัติที่สำคัญเช่น
สีพื้นฐาน,
สีสเป็กคิวลาร์ และ
แสงส่องผ่าน ไปแล้ว
คราวนี้จะมาพูดถึงในส่วนของ
sheen (光沢) ซึ่งใช้จำลองวัตถุที่มีขนหรือเส้นที่ทำให้เกิดการวาวแสงขึ้นมาที่ผิว
สำหรับตัวอย่างในคราวนี้จะขอใช้โมเดลฮารุกาเซะ (
春風) (ที่มา
https://3d.nicovideo.jp/works/td27378)
ต่อไปจะลองทดสอบการใช้ subsurface โดยลองปรับค่าต่างๆแล้วดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงไปตามค่าน้ำหนักของสีเส้นใยวาวแสง
โดยค่าตั้งต้นแล้วค่าน้ำหนัก sheen จะเป็น 0 นั่นคือไม่ได้เปิดใช้ ส่วนสี sheenColor ตั้งต้นเป็นสีขาว ความหยาบ sheenRoughness เป็น 0.3
ลองใช้สีและความหยาบเป็นค่าตั้งต้นแล้วปรับค่าน้ำหนัก sheen ขึ้นเรื่อยๆจาก 0.0 ไปจนถึง 1.0 ดูความเปลี่ยนแปลง
จะเห็นว่าเมื่อมี sheen เข้ามาจะทำให้เกิดการวาวแสงขึ้นมา ดูแล้วเหมือนกำมะหยี่หรือผ้าต่วน
เมื่อให้เส้นใยวาวแสงมีสี
ต่อมาลองปรับให้ sheen มีสีดู โดยคราวนี้ให้ค่าน้ำหนักเป็น 1.0 ไว้ตลอด แล้วให้ค่าสีแดงเขียวน้ำเงินเป็น 1,0,0 ซึ่งจะทำให้เป็นสีแดง จากั้นก็ลองปรับเพิ่มสีน้ำเงินขึ้นเรื่อยๆจนเป็น 1,0,1 กลายเป็นสีม่วง
ความเปลี่ยนแปลงไปตามความหยาบ
ถัดมาดูผลของค่าความหยาบ sheenRoughness ซึ่งที่ผ่านมาใช้เป็นค่าตั้งต้น 0.3 แต่สามารถปรับให้ดูหยาบมากขึ้นหรือน้อยลงได้
คราวนี้ลองให้สี sheenColor เป็นสีน้ำเงิน แล้วไล่ปรับค่าความหยาบตั้งแต่ 0.0 ไปจนถึง 1.0 ดู
ความเปลี่ยนแปลงไปตามมุมของแสงที่ส่องมา
คราวนี้ลองใช้ sheenColor เป็นสีเขียว (0,1,0) ให้ sheenRoughness=0.3 แล้วให้แสงปริมาณคงที่ส่องเข้ามาแต่เปลี่ยนทิศทางไปเรื่อยๆ ลองดูความเปลี่ยนแปลงเมื่อเปลี่ยนมุมที่แสงส่องเข้ามา
จะเห็นว่ามุมของแสงนั้นมีผลต่อการสะท้อนแสงของเส้นใยวาวแสงเป็นอย่างมาก
ความเปลี่ยนแปลงไปตามุมที่มอง
สุดท้ายลองดูว่าถ้าให้แสงคงที่ทั้งปริมาณและทิศ แต่ลองเปลี่ยนมุมกล้องไปดูจากด้านต่างๆ
จะเห็นว่ามุมที่มองไม่ได้มีผลกับความสว่างของเส้นใยวาวแสงมาก จึงทำให้เห็นความแตกต่างค่อนข้างน้อยเมื่อเปลี่ยนมุมมอง