φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



มหาวิทยาลัยอากิตะและพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่
เขียนเมื่อ 2023/08/17 05:03
แก้ไขล่าสุด 2023/12/11 09:23
# อาทิตย์ 6 ส.ค. 2023

หลังจากที่ได้ไปเที่ยวปราสาทอากิตะแล้วนั่งรถเมล์ย้อนกลับมายังสถานีอากิตะในตอนที่แล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20230816

เป้าหมายสุดท้ายที่จะไปเที่ยวก่อนที่จะเดินทางกลับก็คือที่ มหาวิทยาลัยอากิตะ (秋田大学あきただいがく)

มหาวิทยาลัยนี้ก่อตั้งในปี 1949 โดยเริ่มแรกมีแค่ ๒ คณะคือคณะศิลปศาสตร์ และคณะเหมืองแร่ โดยคณะเหมืองแร่นี้ก็อาจถือเป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยแห่งนี้เลยก็ว่าได้ คณะเหมืองแร่มีที่มาจากโรงเรียนเฉพาะทางเหมืองแร่อากิตะ (秋田鉱山専門学校あきたこうざんせんもんがっこう) อากิตะนั้นสมัยก่อนอุดมด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ มีการตั้งเหมืองแร่ขึ้นมา

ที่นี่ยังประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่มหาวิทยาลัยอากิตะ (秋田大学鉱業博物館あきただいがくこうぎょうはくぶつかん) เป็นสถานที่เที่ยวแห่งหนึ่งซึ่งน่าสนใจ มีของจัดแสดงมากมาย ทำออกมาดีมาก สามารถแวะเข้าชมได้

สำหรับการเที่ยวครั้งนี้เรามีเป้าหมายทั้งชมภายในตัวมหาวิทยาลัย แล้วก็เข้าชมในพิพิธภัณฑ์

ตัวมหาวิทยาลัยอยู่ค่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีอากิตะ การไปอาจใช้รถเมล์ไปได้ แต่ก็อยู่ในระยะที่สามารถเดินไปได้เช่นกัน ครั้งนี้เราตัดสินใจที่จะเดินไป แล้วขากลับค่อยนั่งรถเมล์กลับ



หลังจากที่เราลงรถเมล์มาที่จุดขึ้นรถเมล์ทางฝั่งตะวันตกของสถานีอากิตะแล้ว ก็เดินเข้ามาที่ตัวสถานี ทะลุไปทางฝั่งตะวันออก



ด้านตะวันออกของสถานี เห็นฟ้ากำลังโปร่งและแดดเปรี้ยง พอคิดว่าเดี๋ยวจะต้องเดินออกไปก็รู้สึกท้อแล้ว




ยังไงก็พยายามเดินในร่มให้มากที่สุด



ภาพถ่ายตัวสถานีอากิตะ หลังจากเดินเลียบไปตามที่ร่มจนมาถึงสุดทางลานหน้าสถานี



จากตรงนี้ไปก็คือเดินตากแดดไปเรื่อยๆ ร้อนทรมานแต่ก็ยังพอไหว











แล้วก็เดินมาถึงรั้วหน้ามหาวิทยาลัยอากิตะ



ส่วนทางเข้าประตูหน้าอยู่ที่นี่




ตรงนี้มีแผนที่ภายในบริเวณ



เดินเล่นชมในมหาวิทยาลัย








เดินจนมาออกทางประตูเล็กฝั่งเหนือ




ส่วนพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่นั้นอยู่นอกรั้วมหาวิทยาลัย ต้องออกมาจากประตูเหนือแล้วเดินลึกเข้าไปในซอยอีกหน่อย




แล้วก็เริ่มเห็นตัวอาคารอยู่ทางนั้น





เข้าชมด้านใน




จากนั้นซื้อตั๋วเข้าชม ราคาแค่ ๑๐๐ เยน (แต่ถ้าเป็นนักเรียนจะไม่ต้องจ่ายค่าเข้า) มีแผ่นพับอธิบายเกี่ยวกับที่นี่มาให้ด้วย



น่าเสียดายว่าภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่ให้ถ่ายรูปในห้องจัดแสดง ก็เลยได้แต่ถ่ายภาพบรรยากาศโดยรวมในตัวอาคาร จะเห็นว่าเป็นอาคารทรงกระบอก สูง ๓ ชั้น ตรงกลางเป็นห้องโถงใหญ่ มีบันไดเวียน ตกแต่งดูสวยงามมาก



จากตรงนี้มองขึ้นไปเห็นถึงด้านบนชั้น ๓



ภาพถ่ายจากชั้น ๒



จากนั้นขึ้นมาที่ชั้น ๓ มองลงไปจากด้านบน



มองลงไปยังพื้นด้านล่าง ดูสวยงาม



เราใช้เวลาชมข้างในอยู่ประมาณ ๕๐ นาที ในนี้กว้างขวาง ดูแล้วมีอะไรมากจริงๆ แม้ว่าจะไม่ให้ถ่ายรูป แต่ก็ถือว่าคุ้มที่ได้แวะมาชม

จากนั้นก็ดูตารางรถเมล์ กะเวลาให้ใกล้เวลาแล้วก็เดินออกมารอรถเมล์ที่ป้ายรถเมล์ที่อยู่หน้าปากซอยทางเข้าพิพิธภัณฑ์ เพื่อจะกลับ



ตอนเดินออกมาถึงป้ายเห็นยังเหลือเวลานิดหน่อย เลยเข้ามาดูมหาวิทยาลัยอากิตะต่ออีกหน่อย ก็เจออาคารศูนย์การเรียนรู้อากิตะมหาวิทยาลัยโฮวโซว (放送大学ほうそうだいがく 秋田学習あきたがくしゅうセンター)



เข้ามาแค่ถ่ายจากด้านหน้าอาคาร แต่ก็ไม่ได้เข้าไป



จากนั้นก็กลับมาที่ป้ายรถเมล์ให้ทันเวลารถเมล์ออกคือ 12:04 แล้วรถเมล์ก็มาตามเวลา



บนรถเมล์



ระหว่างทางผ่านสวนสาธารณะเซนชู ได้เห็นสระบัวอีกแล้ว



แล้วก็กลับถึงสถานีอากิตะ ใกล้จะได้เวลาเดินทางกลับเซนไดแล้ว ตอนหน้าจะเป็นตอนสุดท้ายของบันทึกการเที่ยวอากิตะครั้งนี้ เป็นเรื่องเล่าตอนเดินทางกลับโดยชิงกันเซง https://phyblas.hinaboshi.com/20230818




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> มหาวิทยาลัย
-- ประเทศญี่ปุ่น >> อากิตะ
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ