φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



pytorch เบื้องต้น บทที่ ๑๔: การใช้ GPU
เขียนเมื่อ 2018/09/22 15:13
แก้ไขล่าสุด 2022/07/09 19:02
>> ต่อจาก บทที่ ๑๓



การเรียนรู้ของโครงข่ายประสาทเทียม โดยเฉพาะแบบคอนโวลูชันนั้นกินเวลาค่อนข้างนาน ยิ่งถ้าจำนวนชั้นมากๆเข้า โดยทั่วไปแล้วจึงมักจะใช้ GPU ในการรันแทน CPU เพื่อเร่งความเร็ว GPU มีความสามารถในการคำนวณอะไรต่างๆเป็นแบบคู่ขนานเป็นอย่างดีจึงเหมาะกับงานนี้

การปรับโค้ดใน pytorch ให้ใช้ GPU แทนนั้นทำได้ไม่ยาก แค่แก้โค้ดบางส่วน เพียงแต่กรณีที่จะใช้ GPU มากกว่าหนึ่งตัวทำงานคู่ขนานกันไปความยุ่งยากจะเพิ่มอีกเล็กน้อย

ในที่นี้จะพูดถึงแค่วิธีการใช้ GPU แค่ตัวเดียว



การติดตั้ง

ถ้าจะใช้ GPU ตอนที่ลงโดยพิมพ์ตามในเว็บหลัก https://pytorch.org ให้เลือกว่าจะติดตั้ง CUDA ด้วย

หลังจากลงเสร็จอาจลองมาดูว่า GPU พร้อมใช้หรือเปล่าโดยพิมพ์
print(torch.cuda.is_available()) # ได้ True

นอกจากนี้ cuDNN ซึ่งเป็นไลบรารีที่ถูกใช้เวลาคำนวณภายในโครงข่ายประสาทเทียมด้วย GPU ก็จะถูกติดตั้งด้วย ดูว่าพร้อมใช้หรือเปล่าได้
torch.backends.cudnn.is_available() # ได้ True


เทนเซอร์ใน GPU

ปกติถ้าเราสร้างเทนเซอร์ขึ้นมาแบบธรรมดาจะเป็นเทนเซอร์ใน CPU ใช้คำนวณได้ภายใน CPU เท่านั้น

แต่ถ้าต้องการคำนวณใน GPU จะต้องสร้างเทนเซอร์ใน GPU ซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน

อย่างแรกคือ ใช้คำสั่งสร้างเทนเซอร์ชนิดต่างๆแบบเดิมแต่เติม .cuda ไปข้างหน้า เช่น
t = torch.cuda.LongTensor([1])
print(t) # ได้  tensor([1], device='cuda:0')

เพียงแต่ว่าสำหรับ FloatTensor ให้ใช้ torch.cuda.FloatTensor ไม่ใช่ torch.cuda.Tensor

เทนเซอร์ที่ได้มาจะมีเขียนว่า device='cuda:0' ต่อท้ายเพื่อให้รู้ว่าข้อมูลเก็บอยู่ที่ GPU

อีกวิธีที่ง่ายกว่านั้นคือ สร้างเทนเซอร์แบบธรรมดาไป แล้วพิมพ์ .cuda() ต่อท้ายก็จะเปลี่ยนชนิดเป็นเทนเซอร์ใน GPU ได้ วิธีนี้ใช้ได้กับเทนเซอร์ทุกชนิด
t = torch.randn(3)
print(t) # ได้ tensor([ 0.9278, -0.4722, -0.7108])
print(t.cuda()) # ได้ tensor([ 0.9278, -0.4722, -0.7108], device='cuda:0')

เทนเซอร์ใน GPU ถ้าเติม .cpu() ต่อท้ายก็จะกลับมาเป็นเทนเซอร์ใน CPU เพียงแต่ว่าเทนเซอร์ที่อยู่ใน CPU อยู่แล้วก็เติมได้ แต่จะไม่เกิดอะไรขึ้น ส่วนเทนเซอร์ใน GPU ก็เติม .cuda() ต่อได้แต่ไม่เกิดอะไรขึ้นเหมือนกัน
print(t.cuda().cpu()) # ได้ tensor([ 0.9278, -0.4722, -0.7108])
print(t.cpu()) # ได้ tensor([ 0.9278, -0.4722, -0.7108])
print(t.cuda().cuda()) # ได้ tensor([ 0.9278, -0.4722, -0.7108], device='cuda:0')

เวลาใช้งานจริง เพื่อความสะดวกอาจทำการกำหนดตั้งแต่แรกว่าเราจะใช้ CPU หรือ GPU โดยสร้างตัวแปร device ขึ้นมา แล้วก็ใช้เมธอด to ที่ตัวเทนเซอร์
t = torch.rand(4)
dev = torch.device('cuda')
print(t.to(dev)) # tensor([0.1237, 0.5063, 0.2424, 0.6088], device='cuda:0')
dev = torch.device('cpu')
print(t.to(dev)) # tensor([0.1237, 0.5063, 0.2424, 0.6088])

แบบนี้เท่ากับว่าแค่กำหนด device ครั้งเดียว แล้วเขียนแบบนี้ในทุกส่วนที่ทำอะไรที่ต้องแยกระหว่าง GPU กับ CPU ก็จะสับเปลี่ยนไปมาได้อย่างง่ายดาย

สำหรับออบเจ็กต์ Module ต่างๆ ถ้าใช้ .cuda() หรือ .to() ก็จะมีผลให้พารามิเตอร์ข้างในทั้งหมดย้ายไปอยู่ใน GPU
lin = torch.nn.Linear(3,2)
lin.cuda()
print(lin.weight)

ได้
Parameter containing:
tensor([[ 0.0067, -0.5206,  0.4279],
        [-0.5000,  0.1692,  0.2832]], device='cuda:0', requires_grad=True)



ข้อควรระวัง

หน่วยความจำของ GPU มักจะเล็ก ดังนั้นถ้าสร้างเทนเซอร์ขนาดใหญ่ความจำอาจไม่พอและ error
t = torch.randn([10000,50000]).cuda() # RuntimeError: CUDA error: out of memory

ดังนั้นเวลาใช้ GPU การบริหารหน่วยความจำจึงเป็นเรื่องจำเป็น ถ้าข้อมูลไหนใหญ่มากให้สร้างใน CPU แล้วค่อยๆส่งไปคำนวณใน GPU

บางครั้งตัวแปรที่สร้างใน GPU แม้ลบทิ้งไปแล้วก็ยังกินที่ GPU อยู่ อาจสั่งเคลียร์ทิ้งได้ด้วย empty_cache()
t = torch.randn([10000,20000]).cuda()
t = t.cpu() # หรือแค่พิมพ์ del t ลบทิ้ง
torch.cuda.empty_cache()

เพียงแต่ว่าปกติแล้วตัวแปรที่ไม่ถูกใช้จะโดนล้างทิ้งเมื่อจำเป็นต้องใช้พื้นที่ ดังนั้นจริงๆแล้วคำสั่งนี้ไม่จำเป็นนัก

อีกเรื่องที่ต้องระวังคือเทนเซอร์ใน GPU จะนำมาทำอะไรกับเทนเซอร์ใน CPU ไม่ได้ถ้าไม่แปลงกลับก่อน หรือจะแปลงเป็น numpy โดยตรงก็ไม่ได้ ต้องส่งมาทาง CPU ก่อน
torch.Tensor([1])+torch.Tensor([2]).cuda() # RuntimeError
torch.cuda.LongTensor([2]).numpy() # RuntimeError



การสร้างแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมที่ใช้ GPU ได้

กรณีที่ใช้ GPU แค่ตัวเดียว สิ่งที่ต้องเพิ่มขึ้นมาในโค้ดเมื่อเทียบกับตอนไม่ใช้ ก็มีแค่เพิ่ม .to(dev) เข้ามาในส่วนที่ต้องการคำนวณเท่านั้น

ตัวอย่าง ลองสร้างโครงข่ายแบบเพอร์เซปตรอนสองชั้นง่ายๆขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาจำแนกประเภท
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt
import torch
import time

dev = torch.device('cuda')

relu = torch.nn.ReLU()
ha_entropy = torch.nn.CrossEntropyLoss()

khrongkhai = torch.nn.Sequential(
    torch.nn.Linear(2,64),
    relu,
    torch.nn.Linear(64,5))
khrongkhai.to(dev)


x = np.random.uniform(0,12,20000)
y = np.random.uniform(0,4,20000)
X = np.array([x,y]).T
z = (y+np.sin(x)).astype(int)
plt.scatter(x,y,c=z,edgecolor='k',cmap='rainbow',alpha=0.05)
plt.figure()

opt = torch.optim.Adam(khrongkhai.parameters(),lr=0.002)
lis_khanaen = []
X = torch.Tensor(X).to(dev)
z = torch.LongTensor(z).to(dev)
t_roem = time.time()
for o in range(10000):
    a = khrongkhai(X)
    J = ha_entropy(a,z)
    J.backward()
    opt.step()
    opt.zero_grad()
    khanaen = (a.argmax(1)==z).cpu().numpy().mean()
    lis_khanaen.append(khanaen)
    if(o%500==499):
        print('%d ครั้งผ่านไป ใช้เวลาไป %.1f วินาที ทำนายแม่น %.4f'%(o+1,time.time()-t_roem,khanaen))

plt.plot(lis_khanaen)
plt.show()

ตรง dev = torch.device('cuda') ถ้าแก้เป็น dev = torch.device('cpu') ก็จะเป็นการรันใน CPU ลองเทียบความเร็วกันดูได้



ต่อไปเป็นตัวอย่างการสร้างโครงข่ายประสาทแบบคอนโวลูชันคล้ายกับในบทที่ ๑๒ แต่ปรับให้ใช้ GPU ได้
from torch.utils.data import DataLoader as Dalo
import torchvision.datasets as ds
import torchvision.transforms as tf

relu = torch.nn.ReLU()
ha_entropy = torch.nn.CrossEntropyLoss()

class Plianrup(torch.nn.Module):
    def __init__(self,*k):
        super(Plianrup,self).__init__()
        self.k = k
    
    def forward(self,x):
        return x.reshape(x.size()[0],*self.k)

class Prasat(torch.nn.Sequential):
    def __init__(self,kwang,m_cnn,m_lin,eta=0.001,dropout=0,bn=0,gpu=0):
        super(Prasat,self).__init__()
        '''
        kwang: ความกว้างของภาพ
        m_cnn:
            m[0]: จำนวนขาเข้า
            m[1]: จำนวนขาออก
            m[2]: ขนาดตัวกรอง
            m[3]: stride
            m[4]: pad
            m[5]: ขนาด maxpool
        m_lin: ขนาดขาออกของชั้นเชิงเส้นแต่ละชั้น
        eta: อัตราการเรียนรู้
        dropout: อัตราดรอปเอาต์ในแต่ละชั้น
        bn: แทรกแบตช์นอร์มระหว่างแต่ละชั้นหรือไม่
        '''
        
        for i,m in enumerate(m_cnn,1):
            kwang = np.floor((kwang-m[2]+m[4]*2.)/m[3])+1
            
            c = torch.nn.Conv2d(m[0],m[1],m[2],m[3],m[4])
            torch.nn.init.kaiming_normal_(c.weight)
            c.bias.data.fill_(0)
            self.add_module('c%d'%i,c)
            
            self.add_module('relu_c%d'%i,relu)
            
            if(bn):
                self.add_module('bano_c%d'%i,torch.nn.BatchNorm2d(m[1]))
            
            if(m[5]>1):
                self.add_module('maxp_c%d'%i,torch.nn.MaxPool2d(m[5]))
                kwang = np.floor(kwang/m[5])
            
            if(dropout):
                self.add_module('droa_c%d'%i,torch.nn.Dropout(dropout))
                
        
        self.add_module('o',Plianrup(-1))
        m_lin = [int(kwang)**2*m_cnn[-1][1]]+m_lin
        nm = len(m_lin)
        for i in range(1,nm):
            c = torch.nn.Linear(m_lin[i-1],m_lin[i])
            torch.nn.init.kaiming_normal_(c.weight)
            c.bias.data.fill_(0)
            self.add_module('l%d'%i,c)
            
            if(i<nm-1):
                if(bn):
                    self.add_module('bano_l%d'%i,torch.nn.BatchNorm1d(m_lin[i]))
                    
                if(dropout):
                    self.add_module('droa_l%d'%i,torch.nn.Dropout(dropout))
                    
                self.add_module('relu_l%d'%i,relu)
        # กำหนดว่าจะใช้ GPU หรือ CPU
        if(gpu):
            self.dev = torch.device('cuda')
            self.cuda()
        else:
            self.dev = torch.device('cpu')
        self.opt = torch.optim.Adam(self.parameters(),lr=eta)
        
    def rianru(self,rup_fuek,rup_truat,n_thamsam=500,n_batch=64,n_batch_truat=512,ro=10):
        self.khanaen = []
        khanaen_sungsut = 0
        t_roem = time.time()
        for o in range(n_thamsam):
            self.train()
            for Xb,zb in rup_fuek:
                a = self(Xb.to(self.dev))
                J = ha_entropy(a,zb.to(self.dev))
                J.backward()
                self.opt.step()
                self.opt.zero_grad()
            self.eval()
            khanaen = []
            for Xb,zb in rup_truat:
                khanaen.append(self.thamnai_(Xb.to(self.dev)).cpu()==zb)
            khanaen = torch.cat(khanaen).numpy().mean()
            self.khanaen.append(khanaen)
            print('%d ครั้งผ่านไป ใช้เวลาไป %.1f นาที ทำนายแม่น %.4f'%(o+1,(time.time()-t_roem)/60,khanaen))
            
            if(khanaen>khanaen_sungsut):
                khanaen_sungsut = khanaen
                maiphoem = 0
            else:
                maiphoem += 1
            if(ro>0 and maiphoem>=ro):
                break
    
    def thamnai_(self,X):
        return self(X).argmax(1)

ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ ในการคำนวณคะแนนด้วยข้อมูลตรวจสอบในแต่ละขั้นก็ใช้วิธีมินิแบตช์เพื่อแบ่งก้อนคำนวณด้วย เนื่องจากหน่วยความจำของ GPU มีจำกัด หากคำนวณทั้งหมดทีเดียวก็จะเจอปัญหาเรื่องหน่วยความจำไม่พอได้

คราวนี้ลองมาใช้กับข้อมูลCIFAR10 ดู ข้อมูลชุดนี้ไม่ได้ง่ายเหมือนอย่างของ MNIST เพราะเป็นภาพถ่ายที่มีทั้งสิ่งของและฉากหลังปนกันมีความหลากหลายสูงมาก ดังนั้นจึงต้องใช้โครงข่ายที่ค่อนข้างซับซ้อนกว่าในการวิเคราะห์ จึงทำให้ต้องใช้เวลามาก จึงควรใช้ GPU

โหลดข้อมูล CIFAR10 โดยให้มีการสุ่มกลับด้านซ้ายขวาของภาพด้วย แล้วสร้างโครงข่าย ๗ ชั้น ประกอบด้วย Conv ๔ ชั้น และ Linear ๓ ชั้น
folder_cifar10 = 'pytorchdata/cifar'
tran = tf.Compose([
    tf.RandomHorizontalFlip(),
    tf.ToTensor(),
    tf.Normalize((0.5,0.5,0.5),(0.5,0.5,0.5))])
rup_fuek = ds.CIFAR10(folder_cifar10,transform=tran,train=1,download=1)
rup_fuek = Dalo(rup_fuek,batch_size=32,shuffle=True)


tran = tf.Compose([
    tf.ToTensor(),
    tf.Normalize((0.5,0.5,0.5),(0.5,0.5,0.5))])
rup_truat = ds.CIFAR10(folder_cifar10,transform=tran,train=0)
rup_truat = Dalo(rup_truat,batch_size=32)

m_cnn = [
    [3,64,3,1,1,2],
    [64,128,3,1,1,2],
    [128,256,3,1,1,2],
    [256,512,3,1,1,2],
]
m_lin = [512,64,10]
prasat = Prasat(32,m_cnn,m_lin,eta=0.001,dropout=0.5,bn=1,gpu=1)
prasat.rianru(rup_fuek,rup_truat,ro=5)

plt.plot(prasat.khanaen)
plt.show()

เมื่อใช้ GPU จะประหยัดเวลาได้มาก โดยทั่วไปจะเร็วกว่า CPU พอสมควร และยิ่ง GPU ดีมากก็ยิ่งเร็ว

สุดท้ายได้ผลออกมาแบบนี้



ความแม่นสูงสุดอยู่ที่ 83% ซึ่งอาจดูเหมือนว่าจะไม่มาก แต่สำหรับข้อมูล CIFAR10 ทำได้เกิน 80% แบบนี้ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว



>> อ่านต่อ บทที่ ๑๕


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pytorch

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ