φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



pytorch เบื้องต้น บทที่ ๑๕: การบันทึกและอ่านแบบจำลองที่เรียนรู้เสร็จแล้ว
เขียนเมื่อ 2018/09/26 09:24
แก้ไขล่าสุด 2022/07/09 19:03
>> ต่อจาก บทที่ ๑๔



ในการใช้โครงข่ายประสาทเทียม จะเห็นว่าขั้นตอนประกอบไปด้วย
๑. สร้างแบบจำลอง
๒. ฝึกแบบจำลอง
๓. นำแบบจำลองที่ฝึกเสร็จแล้วมาใช้

ขั้นตอนที่กินเวลานานสุดคือขั้นตอนการฝึก แต่พอฝึกเสร็จแล้วเราอาจนำไปใช้ได้ตลอด ไม่ต้องกลับมาฝึกต่อแล้ว

ดังนั้นเพื่อให้ไม่ต้องฝึกใหม่ตลอด เราจำเป็นจะต้องบันทึกผลของการฝึก นั่นก็คือบันทึกพารามิเตอร์ที่ได้มาหลังเรียนรู้

pytorch ได้มีเตรียมคำสั่งสำหรับช่วยทำการบันทึกเก็บแบบจำลองหรือค่าพารามิเตอร์ที่เรียนรู้เสร็จแล้วได้อย่างง่าย มีอยู่ ๒ วิธี คือ เก็บทั้งตัวแบบจำลอง หรือจะเก็บแค่พารามิเตอร์



บันทึกตัวแบบจำลอง

ใช้คำสั่ง torch.save กับแบบจำลองที่เรียนรู้เสร็จแล้ว แบบจำลองจะถูกบันทึกในรูปแบบของ pickle ซึ่งเป็นรูปแบบการเก็บไฟล์แบบมาตรฐานของไพธอน เพียงแต่คำสั่งนี้ของ pytorch ช่วยให้สามารถทำการบันทึกเก็บได้โดยเขียนแค่สั้นๆในบรรทัดเดียวจึงมีความสะดวกมาก

ตัวอย่าง ลองสร้างโครงข่ายง่ายๆแล้วทำการฝึก ฝึกเสร็จก็บันทึก
import torch
x = torch.rand(100)*6
z = x.sin() + torch.randn(100)/6
khrongkhai1 = torch.nn.Sequential(
    torch.nn.Linear(1,32),
    torch.nn.ReLU(),
    torch.nn.Linear(32,1))
opt = torch.optim.Adam(khrongkhai1.parameters(), lr=0.05)
ha_mse =  torch.nn.MSELoss()

for t in range(1000):
    J = ha_mse(khrongkhai1(x[:,None]).flatten(),z)
    J.backward()
    opt.step()
    opt.zero_grad()

torch.save(khrongkhai1,'khrongkhai.pkl')

จากนั้นก็ใช้ torch.load เพื่อทำการโหลดขึ้นมา แล้วก็นำมาใช้ได้
khrongkhai2 = torch.load('khrongkhai.pkl')

mx = torch.linspace(0,6,200)
mz = khrongkhai2(mx[:,None]).flatten().data
import matplotlib.pyplot as plt
plt.plot(mx.numpy(),mz.numpy(),'r')
plt.scatter(x.numpy(),z.numpy(),c='b',edgecolor='y')
plt.show()



โครงข่ายที่ถูกโหลดขึ้นมาใหม่สามารถนำมาใช้งานได้ทันทีเมื่อไหร่ก็ได้



การบันทึกแค่พารามิเตอร์

บางครั้งเราอาจไม่จำเป็นต้องบันทึกทั้งแบบจำลอง บันทึกแค่พารามิเตอร์ก็พอแล้ว กรณีแบบนี้ให้ใช้เมธอด .state_dict() จะเป็นการสร้างดิกที่เก็บค่าพารามิเตอร์ทั้งหมด
dic = khrongkhai1.state_dict()
print(dic.keys()) # ได้ ['0.weight', '0.bias', '2.weight', '2.bias']
print(dic['2.bias']) # ได้ tensor([-0.3450])

เอาดิกที่ได้มาบันทึกเก็บไว้ได้ด้วย torch.save() เช่นกัน
torch.save(dic,'param.pkl')

จากนั้นก็สร้างโครงข่ายใหม่ให้เหมือนเดิม แล้วโหลดดิกขึ้นมา แล้วใช้เมธอด .load_state_dict()
khrongkhai3 = torch.nn.Sequential(
    torch.nn.Linear(1,32),
    torch.nn.ReLU(),
    torch.nn.Linear(32,1))
dic_param = torch.load('param.pkl')
khrongkhai3.load_state_dict(dic_param)

เท่านี้ก็นำกลับมาใช้ได้เช่นเดียวกัน

เพียงแต่ว่าถ้าโครงข่ายที่สร้างขึ้นมาใหม่มีโครงสร้างที่ต่างไปพอโหลดก็จะมีข้อผิดพลาด



แบบจำลองที่ฝึกด้วย GPU

บางครั้งเราอาจทำการฝึกในคอมเครื่องที่มี GPU แล้วเอาแบบจำลองที่ฝึกเสร็จมาใช้ในเครื่องอื่นๆซึ่งไม่ได้ติดตั้ง GPU ไว้ ในกรณีแบบนั้นก่อนบันทึกให้ทำการแปลงแบบจำลองกลับมาอยู่ใน cpu ก่อน ไม่เช่นนั้นพอไปโหลดใหม่จะ error

แต่กรณีที่บันทึกโดยไม่ได้แปลงกลับไปแล้ว ก็ยังมีวิธีที่ทำให้สามารถเปิดได้ แต่ต้องเขียนเพิ่มโดยเติม lambda s,_:s ตอนโหลด
dic_param = torch.load('param.pkl',lambda s,_:s)

เพียงแต่วิธีนี้แก้ได้แค่ในกรณีที่ใช้ GPU ตัวเดียว



>> อ่านต่อ บทที่ ๑๖


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pytorch

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文