φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๕: กราฟคำนวณและการแพร่ย้อนกลับ
เขียนเมื่อ 2018/08/26 23:24
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
>> ต่อจาก บทที่ ๔



กราฟคำนวณ

จะเห็นได้ว่ากว่าจะได้สูตรคำนวณความชันของฟังก์ชันค่าเสียหายเพื่อนำมาใช้คำนวณความเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ได้นั้นต้องผ่านการคำนวณด้วยกฎลูกโซ่ต่อเนื่องถึงสามครั้ง

ตรงนี้อาจยังดูเหมือนไม่มีปัญหาอะไรมาก แต่หากลงลึกไปในเนื้อหาการสร้างโครงข่ายประสาทเทียมเรื่อยๆสูตรคำนวณก็จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น

ดังนั้นก่อนที่จะไปต่อ ตรงนี้ขอแนะนำวิธีการเขียนแผนผังแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปร ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพและเข้าใจการคำนวณภายในโครงข่ายประสาทเทียมได้มากขึ้น

แผนผังนั้นเรียกว่า กราฟคำนวณ (计算图, computational graph)

ขอยกฟังก์ชันง่ายๆขึ้นมาเพื่อแสดงตัวอย่างการเขียนกราฟคำนวณ เช่น ค่า h ขึ้นอยู่กับตัวแปรต้น a,b,c,d ดังนี้
..(5.1)

เราอาจเขียนการคำนวณเป็นลำดับขั้นได้ดังนี้
..(5.2)

เมื่อวาดเป็นกราฟคำนวณจะได้แบบนี้



จะเห็นว่าในขณะที่เราคำนวณเพื่อหาค่าตัวสุดท้ายนั้น เราต้องผ่านการคำนวณค่าต่างๆตามลำดับขั้น เป็นคำนวรไปข้างหน้า

สมมุติให้ค่าของตัวแปรต้นเป็น a=1,b=2,c=3,d=4 การคำนวณจะเป็นแบบนี้





การแพร่ย้อนกลับ

ในขณะเดียวกัน กราฟคำนวณก็ทำให้เรามองเห็นความสัมพันธ์ต่างๆเพื่อคำนวณอนุพันธ์ตามกฎลูกโซ่ได้ง่าย

ให้ h เป็นจุดเริ่มต้น หาอนุพันธ์เทียบ f และ g แล้วก็โยงต่อไปเรื่อยๆจนถึง a,b,c,d



จะได้
..(5.3)



สำหรับ c นั้นขาไปเดิน ๒ สาย ตอนแพร่กลับก็จะต้องเอา ๒ สายนั้นมาบวกกันด้วย

และเราจะเห็นว่าค่าอนุพันธ์ของตัวแปรต้นจะมีส่วนที่ขึ้นกับค่าตัวแปรที่อยู่ระหว่างทางอย่าง f หรือ g ด้วย ซึ่งค่าเหล่านี้ก็ได้มาตั้งแต่ตอนที่คำนวณไปข้างหน้าเพื่อหาค่า h สามารถนำมาคำนวณค่าได้เลย



หมายความว่าหากเราจะหาอนุพันธ์เทียบกับตัวแปรต้นจะต้องผ่านการคำนวณไปข้างหน้าจนถึงขั้นเกือบท้ายสุด

ดังนั้นการคำนวณหาค่าตัวแปรปลายทางสุด นอกจากจะทำให้เราได้ค่าตัวแปรนั้น มันยังทำให้เราได้ค่าระหว่างทางซึ่งจะนำมาใช้คำนวณหาค่าอนุพันธ์ระหว่างตัวแปรนั้นกับตัวแปรต้นต่างๆได้ในตอนหลังด้วย

ยิงหินนัดเดียวได้นกสองตัว 一石二鸟

การไล่คำนวณค่าอนุพันธ์เป็นลำดับขั้นจากกราฟคำนวณนี้เป็นเทคนิคที่ถูกเรียกว่าการแพร่ย้อนกลับ (反向传播, backpropagation)

เทคนิคนี้มีความสำคัญสำหรับโครงข่ายประสาทเทียม เพราะภายในโครงข่ายประสาทเทียมมีการคำนวณต่อเนื่องเป็นขั้นเป็นตอนโดยไล่จากข้อมูลขาเข้าไปยังขาออก



กราฟคำนวณของฟังก์ชัน

กราฟคำนวณอาจเพื่อแสดงลำดับการคำนวณภายในฟังก์ชัน ตัวอย่างเช่นฟังก์ชันซิกมอยด์เขียนได้ดังนี้



การคำนวณในฟังก์ชันไหนที่เรารู้อยู่แล้วและไม่ได้จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดก็อาจเขียนยุบขั้นตอนไปเลย เขียนสั้นๆแบบนี้





กราฟคำนวณของเพอร์เซปตรอนชั้นเดียว

คราวนี้มาดูตัวอย่างกราฟคำนวณจริงๆในโครงข่ายประสาทเทียมบ้าง กราฟคำนวณของเพอร์เซปตรอนที่ใช้ฟังก์ชันซิกมอยด์เป็นฟังก์ชันกระตุ้นอาจเขียนได้ดังนี้



แทนค่าอนุพันธ์ต่างๆจากที่แสดงไว้ในบทที่แล้วลงไปได้



ในที่นี้ตัวแปรต้นของเราคือ x,w,b ส่วนตัวแปรปลายทางคือค่าเสียหาย J

h เป็นค่าที่คำนวณได้ระหว่างทาง และมันก็ถูกใช้ตอนที่หาอนุพันธ์ของ J เทียบกับ w และ b ด้วย



ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างการวาดกราฟคำนวณซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพรวมของการคำนวณโครงข่ายประสาทได้ดีขึ้น ต่อไปเมื่อเขียนโครงข่ายที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นจะยิ่งเห็นประโยชน์



>> อ่านต่อ บทที่ ๖


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ