φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๖: การวิเคราะห์จำแนกประเภทหลายกลุ่ม
เขียนเมื่อ 2018/08/26 23:25
แก้ไขล่าสุด 2022/07/10 21:11
>> ต่อจาก บทที่ ๕



ในบทก่อนหน้านี้เราพิจารณาปัญหาการจำแนกประเภทข้อมูลที่มีแค่ ๒ กลุ่ม

คราวนี้จะมาพิจารณาปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น นั่นคือการวิเคราะห์จำแนกประเภทข้อมูลหลายๆกลุ่มที่ไม่ใช่แค่ ๒



หลักการ

เดิมทีในปัญหาการจำแนกประเภทเป็น ๒ กลุ่มนั้นเราใช้เพอร์เซปตรอนที่ให้คำตอบออกมาแค่ค่าเดียวแล้วดูว่าคำตอบมากกว่าหรือน้อยกว่า 0 แล้วตัดสินจำแนก ๒ กลุ่มจากตรงนี้

แต่พอมี ๓ กลุ่มขึ้นไปจะทำแบบนี้ไม่ได้แล้ว แต่ต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่ นั่นคือแทนที่จะคำนวณให้ผลลัพธ์แค่ค่าเดียว ต้องเปลี่ยนมาเป็นให้ออกมาเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนประเภทที่ต้องการจำแนก แล้วเทียบดูว่าตัวไหนมากที่สุดก็ตัดสินว่าเป็นกลุ่มนั้น

สมมุติว่าข้อมูลมี ๔ ตัวแปร ต้องการแบ่ง ๕ กลุ่ม การคำนวณของข้อมูลจะเป็นไปในลักษณะนี้



(ในที่นี้มีการใส่ดัชนี i ซึ่งแสดงถึงลำดับของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลที่ป้อนเข้าไปไม่ได้มีแค่ตัวเดียว สมการนี้แสดงการคำนวณของข้อมูลตัวที่ i)

ตัวแปรต้นแต่ละตัวต้องไปคูณกับค่าน้ำหนักของแต่ละกลุ่มแยกต่างหากกัน ตรงนี้ทำให้ w กลายเป็นอาเรย์สองมิติ ในที่นี้มีขนาด 4×5 ส่วน b ก็กลายเป็นมีหลายตัว จำนวนเท่ากับจำนวนกลุ่มประเภทที่แยก คือ 5

การคำนวณหาค่า a อาจเขียนในรูปของการคูณเมทริกซ์ได้ว่า
..(6.1)

ในที่นี้ m0 เป็นจำนวนตัวแปรต้น หรือก็คือจำนวนมิติข้อมูลขาเข้า m1 เป็นจำนวนกลุ่มที่แบ่ง ซึ่งก็คือจำนวนมิติของค่าขาออก

อาเรย์ค่าน้ำหนัก w มีขนาดเป็น m0×m1 ทำหน้าที่เป็นตัวเปลี่ยนถ่ายระหว่างข้อมูลขาเข้ากับขาออก

ทั้ง a และ x เองก็เป็นข้อมูลหลายค่าหลายตัวแปร ดังนั้นจึงอยู่ในรูปของอาเรย์สองมิติ เขียนการคำนวณใหม่ได้ดังนี้
..(6.2)

โดย a คือ
..(6.3)

จะเห็นว่าขนาดของ a, x, w สอดคล้องกันดี [n,m1] = [n,m0][m0,m1]

ส่วน b เป็นอาเรย์หนึ่งมิติ แต่เวลานำมาบวกกันจะเท่ากับเป็นการบวกทุกแถว ตามคุณสมบัติของอาเรย์
..(6.4)

ต่อมาเมื่อได้ค่า a แล้วก็ดูว่าค่าไหนหลักไหนในแต่ละแถวมีค่ามากสุด คำตอบก็คือกลุ่มนั้นสำหรับในแถวนั้น

ในไพธอนใช้ .argmax เพื่อหาว่าแถวไหนมีค่าสูงสุดได้ โดยต้องระบุแกนเป็น axis=1 จะได้ค่าสูงสุดในแต่ละแถว
import numpy as np
a = np.random.randint(-9,9,[4,5])
print(a)
print(a.argmax(1)) # หรือ a.argmax(axis=1)

ได้
[[-4 -2 -9 -1 -8]
 [ 2  6  6 -8  8]
 [ 8  2 -3  5  5]
 [-9 -2  7 -5 -6]]
[3 4 0 2]

ส่วนการหาความน่าจะเป็นนั้นหากเดิมทีตอนที่แบ่งเป็นสองกลุ่มจะใช้ฟังก์ชันซิกมอยด์ แต่สำหรับในกรณีหลายกลุ่มแบบนี้จะเปลี่ยนมาใช้ฟังก์ชันซอฟต์แม็กซ์ (softmax) แทน

สามารถคำนวณได้ดังนี้
..(6.5)

หรือเขียนในรูปของแต่ละค่าได้เป็น
..(6.6)

ค่าที่ได้จากฟังก์ชันซอฟต์แม็กซ์แต่ละแถวจะบวกกันแล้วได้ 1 ดังนั้นจึงใช้แทนค่าความน่าจะเป็นของแต่ละตัว ในทำนองเดียวกับซิกมอยด์

ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชันซอฟต์แม็กซ์ในไพธอน
def softmax(x):
    exp_x = np.exp(x.T-x.max(1))
    return (exp_x/exp_x.sum(0)).T

a = np.random.randint(-9,9,[4,3])
print(a)
h = softmax(a)
print(h)
print(h.sum(1))

ได้
[[ 3  3  7]
 [-8  1  5]
 [ 3  0 -7]
 [ 8  6  7]]
[[  1.76684220e-02   1.76684220e-02   9.64663156e-01]
 [  2.21966972e-06   1.79861700e-02   9.82011610e-01]
 [  9.52532933e-01   4.74238222e-02   4.32449282e-05]
 [  6.65240956e-01   9.00305732e-02   2.44728471e-01]]
[ 1.  1.  1.  1.]


จากนั้นเวลาคำนวณค่าเสียหายก็ใช้ค่าเอนโทรปีไขว้เช่นเดียวกัน แต่วิธีการคำนวณจะกลายเป็นแบบนี้
..(6.7)

โดยที่ z ในที่นี้คือค่าคำตอบในรูปของวันฮ็อต (one-hot)

คือแทนค่าคำตอบเป็นเลขแทนกลุ่มแต่ละกลุ่ม ก็เขียนในรูปของอาเรย์สองมิติที่มีค่าเป็น 1 อยู่ค่าเดียวในตำแหน่งของกลุ่มที่เป็นคำตอบ ส่วนที่เหลือเป็น 0

ในไพธอนอาจเขียนฟังก์ชันแปลงได้ง่ายๆแบบนี้
def ha_1h(z,n):
    return (z[:,None]==range(n))

z = np.random.randint(0,5,8)
print(z)
print(ha_1h(z,5))
print(ha_1h(z,5).astype(int)) # เปลี่ยนเป็นเลข 1 และ 0

ได้
[1 3 0 2 2 1 4 0]
[[False  True False False False]
 [False False False  True False]
 [ True False False False False]
 [False False  True False False]
 [False False  True False False]
 [False  True False False False]
 [False False False False  True]
 [ True False False False False]]
[[0 1 0 0 0]
 [0 0 0 1 0]
 [1 0 0 0 0]
 [0 0 1 0 0]
 [0 0 1 0 0]
 [0 1 0 0 0]
 [0 0 0 0 1]
 [1 0 0 0 0]]

ฟังก์ชันที่สร้างขึ้นนี้จะทำการแปลงเป็นอาเรย์ที่ประกอบด้วย True False ถ้าจะแปลงเป็นเลข 1 และ 0 อีกทีก็เติม .astype(int) ต่อท้ายได้ แต่ว่าในทางปฏิบัติแล้วไม่จำเป็น ให้อยู่ในรูป True False แบบนี้จะสะดวกมากกว่า เวลาใช้ในการคำนวณจะถูกแปลงเป็น 1 0 โดยอัตโนมัติ

สำหรับรายละเอียดของเรื่องเอนโทรปีไขว้และที่มาของวิธีคำนวณอ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20180814

เพื่อที่จะทำการแพร่ย้อนกลับเพื่อหาอนุพันธ์ของค่าน้ำหนักและไบแอส อาจเขียนกราฟคำนวณได้ดังนี้



การคำนวณก็จะคล้ายๆกับในบทที่ ๔ จึงขอละรายละเอียด โดยรวมแล้วเขียนได้ดังนี้
..(6.8)

แทนลงในกราฟคำนวณ



และนำค่าอนุพันธ์มาใช้ปรับค่าน้ำหนักและไบแอสเหมือนเดิม
..(6.9)



เขียนโปรแกรม

อาจสร้างคลาสของโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับจำแนกประเภทข้อมูลหลายกลุ่มได้ดังนี้
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

def ha_entropy(z,h):
    return -(np.log(h[z]+1e-10)).mean()

class Prasat:
    def __init__(self,eta):
        self.eta = eta
    
    def rianru(self,X,z,n_thamsam):
        self.kiklum = int(z.max()+1)
        Z = ha_1h(z,self.kiklum)
        self.w = np.zeros([X.shape[1],self.kiklum])
        self.b = np.zeros(self.kiklum)
        self.entropy = []
        self.khanaen = []
        for i in range(n_thamsam):
            a = self.ha_a(X)
            h = softmax(a)
            J = ha_entropy(Z,h)
            ga = (h-Z)/len(z)
            self.w -= self.eta*np.dot(X.T,ga)
            self.b -= self.eta*ga.sum(0)
            self.entropy.append(J)
            khanaen = (h.argmax(1)==z).mean()
            self.khanaen.append(khanaen)
    
    def thamnai(self,X):
        return self.ha_a(X).argmax(1)
        
    def ha_a(self,X):
        return np.dot(X,self.w) + self.b

วิธีการใช้ก็เหมือนกับแบบที่แบ่ง ๒ กลุ่มในบทที่ ๔ เพียงแต่ z ในที่นี้ไม่ได้มีแค่ 0 และ 1 แต่เป็นจำนวนเต็มตั้งแต่ 0 ไปจนถึงจำนวนกลุ่ม-1 แล้วในระห่างเรียนรู้จะถูกแปลงเป็นอาเรย์แบบวันฮ็อตเพื่อใช้ตอนคำนวณเอนโทรปี

ในที่นี้สร้างให้ใช้กับการแบ่งกี่กลุ่มก็ได้ โดยให้หาจำนวนกลุ่มง่ายๆโดยดูจากค่าสูงสุด

ลองนำมาใช้จำแนกข้อมูลที่มี ๓ กลุ่มแบบนี้
np.random.seed(2)
X = np.random.normal(0,0.7,[45,2])
X[:15] += 2
X[30:,0] += 4
z = np.arange(3).repeat(15)
plt.axes(aspect=1)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],100,c=z,edgecolor='k',cmap='coolwarm')
plt.show()



ให้โครงข่ายประสาทของเราทำการเรียนรู้แล้วทำนายแบ่งเขตพื้นที่ออกมา
prasat = Prasat(eta=0.1)
prasat.rianru(X,z,n_thamsam=250)
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(X[:,0].min(),X[:,0].max(),200),np.linspace(X[:,1].min(),X[:,1].max(),200))
mX = np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T
mz = prasat.thamnai(mX).reshape(200,-1)
plt.axes(aspect=1,xlim=(X[:,0].min(),X[:,0].max()),ylim=(X[:,1].min(),X[:,1].max()))
plt.contourf(mx,my,mz,cmap='coolwarm',alpha=0.2)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],100,c=z,edgecolor='k',cmap='coolwarm')
plt.show()



เอนโทรปีและคะแนนก็ได้บันทึกไว้ เอาออกมาดูความคืบหน้าในการเรียนรู้ได้
plt.subplot(211,xticks=[])
plt.plot(prasat.entropy,'C9')
plt.ylabel(u'เอนโทรปี',family='Tahoma',size=12)
plt.subplot(212)
plt.plot(prasat.khanaen,'C9')
plt.ylabel(u'คะแนน',family='Tahoma',size=12)
plt.xlabel(u'จำนวนรอบ',family='Tahoma',size=12)
plt.show()



สุดท้ายลองทดสอบกับข้อมูลรูปร่างต่างๆเช่นเดียวกับในบทที่ ๔ (โหลด >> https://phyblas.hinaboshi.com/triamhai/ruprang-raisi-25x25x1000x5.rar)

แต่คราวนี้เราสามารถแบ่งทุกกลุ่มได้แล้ว จึงจะใช้รูปทั้ง ๕ ชนิด



ลองให้โปรแกรมทำการเรียนรู้แล้วก็แสดงความคืบหน้าของความแม่นยำในการทำนาย
from glob import glob
d = 25
X_ = np.array([plt.imread(x) for x in sorted(glob('ruprang-raisi-25x25x1000x5/*/*.png'))])
X = X_.reshape(-1,d*d)
z = np.arange(5).repeat(1000)

prasat = Prasat(eta=0.02)
prasat.rianru(X,z,n_thamsam=1000)
print(prasat.khanaen[-1])

plt.plot(prasat.khanaen,'C8')
plt.ylabel(u'คะแนน',family='Tahoma',size=12)
plt.xlabel(u'จำนวนรอบ',family='Tahoma',size=12)
plt.show()



ดูแล้วจะเห็นว่าทายได้ถูกต้องได้แค่ 80% เท่านั้น

เพื่อจะเห็นว่าปัญหาอยู่ตรงไหนอาจลองวาดเมทริกซ์ความสับสนดู

รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ขอละไว้ อ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170926

เขียนฟังก์ชันเมทริกซ์ความสับสน แล้วใช้ดู
def confusion_matrix(z1,z2):
    n = max(z1.max(),z2.max())+1
    return np.dot((z1==np.arange(n)[:,None]).astype(int),(z2[:,None]==np.arange(n)).astype(int))

print(confusion_matrix(prasat.thamnai(X),z))

ดูแล้วจะเห็นว่าโปรแกรมมีปัญหาในการแยกแยะประเภทที่ 0 (วงกลม) กับประเภทที่ 2 (สี่เหลี่ยม)
[[699  10 214  18   6]
 [ 33 891 149   0  61]
 [265  75 605  55   0]
 [  3  10  22 927   0]
 [  0  14  10   0 933]]

ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะโครงข่ายประสาทที่มีแค่ชั้นเดียวแบบนี้เป็นแค่การแบ่งเชิงเส้นอย่างง่าย ทำได้แค่พิจารณาง่ายๆว่ารูปแบบไหนมีการขีดที่จุดไหนมากๆ ไม่ได้คิดอะไรซับซ้อน

เพื่อที่จะพิจารณาปัญหาที่ซับซ้อนขึ้นได้จำเป็นต้องสร้างโครงข่ายที่ต่อกัน ๒ ชั้นขึ้นไป ซึ่งจะพูดถึงในบทต่อไป



>> อ่านต่อ บทที่ ๗


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文