φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



[python] การสร้างเมทริกซ์ความสับสนเพื่อวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของเครื่อง
เขียนเมื่อ 2017/09/26 08:42
แก้ไขล่าสุด 2022/07/21 15:19
บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความตอนที่แล้วที่ลองใช้การเรียนรู้ของเครื่องเพื่อจำแนกตัวเลขของข้อมูล MNIST https://phyblas.hinaboshi.com/20170924

โปรแกรมสามารถทายตัวเลขถูกได้มากกว่า 90% ซึ่งเป็นผลที่น่าพอใจ

แต่มีสิ่งที่น่าสนใจซึ่งน่ามาลองมาวิเคราะห์ดูได้ก็คือ เลขไหนทายถูกง่ายหรือยาก และมีการทายเลขไหนผิดไปเป็นเลขไหนมาก

เพื่อให้เห็นภาพชัดลองมาสร้างตารางเพื่อสรุปการทายถูกผิดซึ่งเรียกว่า เมทริกซ์ความสับสน (混淆矩阵, confusion matrix)

ชื่ออาจฟังดูแปลก แต่โดยรวมก็คือเป็นตารางที่สร้างขึ้นมาเพื่อสำหรับไว้ดูเทียบว่ามีการทายสับสนระหว่างตัวไหนกับตัวไหน เป็นวิธีการที่ดีในการวิเคราะห์ผลการทายการจัดหมวดหมู่

ต่อไปจะยกตัวอย่างการเขียนเมทริกซ์ความสับสน อย่างไรก็ตาม โค้ดต่อไปนี้มีตัวแปรที่ต่อเนื่องมาจากตอนที่แล้ว ได้แก่
- X_truat ตัวแปรต้นของชุดข้อมูลตรวจสอบ
- z_truat คำตอบของชุดข้อมูลตรวจสอบ
- tl ออบเจ็กต์ตัวทำถดถอยโลจิสติกที่ฝึกเรียบร้อยแล้ว

หากใครไม่ได้อ่านแล้วทำตามต่อเนื่องมาจากตอนที่แล้วก็ให้เอาโค้ดนี้มารัน จากนั้นค่อยตามขั้นตอนต่อไป
https://github.com/phyblas/rianrupython/blob/master/kanrianrukhongkhrueang/thotthoi_mnist_2.py

การทำเมทริกซ์ค่าสับสนอาจทำได้โดยการเอาผลการทายกับผลเฉลยมาแปลงเป็นแบบวันฮ็อต แล้วก็เอามาคูณเมทริกซ์กัน แบบนี้

z_thamnai = tl.thamnai(X_truat)
z_thamnai_1h = (z_thamnai[:,None]==np.arange(10)).astype(int)
z_truat_1h = (z_truat[:,None]==np.arange(10)).astype(int)
conma = np.dot(z_truat_1h.T,z_thamnai_1h)
[print(c) for c in conma]

ได้
[1276    0    4    2    3    9    8    3    6    1]
[   0 1556   11    4    1    5    0    4   17    6]
[   9   16 1225   21   11    3   15   16   26    6]
[   4   12   33 1269    0   45    3   17   34   10]
[   5    7   11    2 1245    3   16    5   12   56]
[  12    6   16   44   10 1105   25   10   39   13]
[  12    3    9    0    5   16 1343    2    4    3]
[   6    4   20    5   14    1    1 1377    1   32]
[   6   34   12   36    7   24   10    5 1242   14]
[  10    6    6   20   35   12    1   46   10 1273]


แนวตั้งคือคำตอบจริง แนวนอนคือผลที่ทาย ค่าที่อยู่ในแนวทแยงคือที่ทายถูก ไล่จากบนลงล่าง และซ้ายไปขวา จาก 0 ถึง 9 ตามลำดับ

จากตรงนี้จะเห็นว่ามีการทาย 4 ผิดเป็น 9 เยอะเป็นพิเศษ



รูปนี้คือเลข 4 ที่โปรแกรมทายผิดเป็นเลข 9 สำหรับมนุษย์ทั่วไปอาจดูออกโดยง่าย แต่ตัวโปรแกรมนี้เองอาจเรียนรู้ได้ไม่ถูกต้องสมบูรณ์จึงตัดสินผิดพลาดไปได้



เพื่อให้สร้างเมทริกซ์สับสนได้ง่ายขึ้นอาจใช้ sklearn ช่วยก็ได้

ใน sklearn มีเตรียมฟังก์ชันสำหรับทำตารางนี้ให้โดยอัตโนมัติ ใช้ได้ง่าย แค่ป้อนค่าคำตอบกับค่าที่ทายลงไป
from sklearn.metrics import confusion_matrix
conma = confusion_matrix(z_truat,z_thamnai)
[print(c) for c in conma]

แต่ว่าที่จริงฟังก์ชันที่คล้ายๆกันนี้เราอาจสามารถสร้างขึ้นเองได้ไม่ยากนัก โดยเขียนแค่ ๒ บรรทัด
def confusion_matrix(z1,z2):
    n = max(z1.max(),z2.max())+1
    return np.dot((z1==np.arange(n)[:,None]).astype(int),(z2[:,None]==np.arange(n)).astype(int))


นอกจากนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปเพื่อให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้นเราอาจลองมาวาดเป็นตารางระบายสีโดยใช้ matplotlib ด้วยได้

ลองเขียนฟังก์ชันแล้วใช้ดู ได้ดังนี้
def plotconma(conma,log=0):
    n = len(conma)
    plt.figure(figsize=[9,8])
    plt.axes(xticks=np.arange(n),xticklabels=np.arange(n),yticks=np.arange(n),yticklabels=np.arange(n))
    plt.xlabel(u'ทายได้',fontname='Tahoma',size=16)
    plt.ylabel(u'คำตอบ',fontname='Tahoma',size=16)
    for i in range(n):
        for j in range(n):
            plt.text(j,i,conma[i,j],ha='center',va='center',size=14)
    if(log):
        plt.imshow(conma,cmap='autumn_r',norm=mpl.colors.LogNorm())
    else:
        plt.imshow(conma,cmap='autumn_r')
    plt.colorbar(pad=0.01)
    plt.show()

plotconma(conma,log=1)


ในภาพนี้สีแดงคือมีจำนวนมาก ส่วนเหลืองคือมีน้อย เนื่องจากที่ทายถูกมีมากดังนั้นแนวทแยงจึงแดง

ในที่นี้เนื่องจากว่าค่าที่ถูกกับผิดต่างกันมากก็เลยใส่ log ลงไปด้วยเพื่อให้สีมีการกระจายตัวเห็นได้ชัดดี

ถ้าไม่ทำให้เป็น log ไปจะกลายเป็นแบบนี้
plotconma(conma,log=0)



ส่วนที่ทายผิดนั้นแทบจะกลายเป็นสีเดียวกันทั้งหมด แบบนี้ดูยาก ดังนั้นแปลงเป็น log ดีกว่า



กล่าวโดยสรุปก็คือ การนำข้อผิดพลาดมาวิเคราะห์ให้เห็นภาพชัดนั้นก็เป็นทางหนึ่งในการหาทางปรับปรุงอะไรต่างๆ

ดังนั้นการใช้เมทริกซ์ความสับสนเพื่อวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของเครื่องก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยในการปรับปรุงโปรแกรมต่อไปได้



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> sklearn

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文