φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๑๖: การแบ่งข้อมูลฝึกและข้อมูลตรวจสอบ
เขียนเมื่อ 2018/08/26 23:35
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
>> ต่อจาก บทที่ ๑๕



ในบทที่ผ่านมาเราใช้ข้อมูลทั้งหมดที่มีในการเรียนรู้แล้วก็พิจารณาคะแนนที่ได้จากการทำนายข้อมูลชุดนั้นเอง

แต่ว่าในความเป็นจริงแล้วเราไม่ได้ให้โปรแกรมเรียนรู้เพื่อที่จะให้ทำนายแค่ข้อมูลชุดนั้น แต่ต้องให้สามารถทำนายข้อมูลที่ไม่เคยใช้เรียนรู้ด้วย

การที่โปรแกรมสามารถทำนายข้อมูลที่ใช้เรียนรู้ได้อย่างถูกต้องแต่กลับทำนายข้อมูลชุดอื่นไม่ค่อยได้ดีนักแบบนั้นเรียกว่าการเรียนรู้เกิน (过学习, overlearning) แบบนั้นไม่สามารถเอาไปใช้งานได้จริงในสถานการณ์จริง

ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วนอกจากจะมีข้อมูลสำหรับใช้ฝึกแล้วจำเป็นต้องมีข้อมูลส่วนหนึ่งไว้ใช้เพื่อตรวจสอบ และอาจใช้เพื่อเป็นเงื่อนไขในการหยุดด้วย

ลองเขียนคลาสของโครงข่ายประสาทเทียมขึ้นใหม่ โดยเขียนให้รับข้อมูลส่วนหนึ่งมาใช้เป็นข้อมูลตรวจสอบ แล้วให้เลือกใช้เป็นเงื่อนไขในการหยุดได้ด้วย

เขียนได้ดังนี้ (เช่นเคย ให้โหลดคลาสต่างๆจาก unagi.py ก่อน)
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt
from unagi import Affin,Relu,Softmax_entropy,ha_1h,Adam

class Prasat:
    def __init__(self,m,eta):
        self.m = m
        self.chan = []
        for i in range(len(m)-1):
            self.chan.append(Affin(m[i],m[i+1],np.sqrt(2./m[i])))
            if(i<len(m)-2):
                self.chan.append(Relu())
        self.chan.append(Softmax_entropy())
        self.opt = Adam(self.param(),eta=eta)
    
    def rianru(self,X,z,X_truat,z_truat,n_thamsam=100,n_batch=50,ro=0):
        n = len(z)
        Z = ha_1h(z,self.m[-1])
        self.entropy = []
        self.khanaen_fuek = []
        self.khanaen_truat = []
        khanaen_sungsut = 0
        for o in range(n_thamsam):
            lueak = np.random.permutation(n)
            for i in range(0,n,n_batch):
                Xb = X[lueak[i:i+n_batch]]
                Zb = Z[lueak[i:i+n_batch]]
                entropy = self.ha_entropy(Xb,Zb)
                entropy.phraeyon()
                self.opt()
            entropy,khanaen_fuek = self.ha_entropy(X,Z,ao_khanaen=1)
            khanaen_truat = self.ha_khanaen(X_truat,z_truat)
            self.entropy.append(entropy.kha)
            self.khanaen_fuek.append(khanaen_fuek)
            self.khanaen_truat.append(khanaen_truat)
            print(u'รอบที่ %d. เอนโทรปี=%.2f, ทำนายข้อมูลฝึกแม่น=%.2f, ทำนายข้อมูลตรวจสอบแม่น=%.2f'%(o,entropy.kha,khanaen_fuek,khanaen_truat))
            
            if(khanaen_truat>khanaen_sungsut):
                khanaen_sungsut = khanaen_truat
                maiphoem = 0
            else:
                maiphoem += 1
            
            if(ro>0 and maiphoem>=ro):
                break
    
    def ha_entropy(self,X,Z,ao_khanaen=0):
        for c in self.chan[:-1]:
            X = c(X)
        if(ao_khanaen):
            return self.chan[-1](X,Z),(X.kha.argmax(1)==Z.argmax(1)).mean()
        return self.chan[-1](X,Z)
    
    def ha_khanaen(self,X,z):
        return (self.thamnai(X)==z).mean()
    
    def param(self):
        p = []
        for c in self.chan:
            if(hasattr(c,'param')):
                p.extend(c.param)
        return p
    
    def thamnai(self,X):
        for c in self.chan[:-1]:
            X = c(X)
        return X.kha.argmax(1)
ในที่นี้ค่า ro คือตัวกำหนดว่าจะให้หยุดเมื่อความแม่นในการทำนายข้อมูลตรวจสอบไม่เพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนกี่รอบแล้ว

ลองนำมาใช้ทำนายชุดข้อมูลรูปร่างต่างๆ >> https://phyblas.hinaboshi.com/triamhai/ruprang-raisi-25x25x1000x5.rar

อ่านข้อมูลรูปภาพทั้ง 5000 รูป โดยแบ่ง 4000 รูปไว้เป็นข้อมูลฝึก อีก 1000 รูปไว้เป็นข้อมูลตรวจสอบ ตั้งเงื่อนไขให้หยุดเมื่อคะแนนในการทายข้อมูลตรวจสอบไม่เพิ่มขึ้นเลย ๒๐ รอบ
from glob import glob
n = 1000
X = np.array([plt.imread(x) for x in sorted(glob('ruprang-raisi-25x25x1000x5/*/*.png'))])
X = X.reshape(-1,25*25)
z = np.arange(5).repeat(n)
np.random.seed(1)
sumlueak = np.random.permutation(5*n)
X_fuek,X_truat = X[sumlueak[:4000]],X[sumlueak[4000:]]
z_fuek,z_truat = z[sumlueak[:4000]],z[sumlueak[4000:]]

prasat = Prasat(m=[625,100,100,50,6],eta=0.002)
prasat.rianru(X_fuek,z_fuek,X_truat,z_truat,n_thamsam=200,n_batch=64,ro=20)
plt.figure(figsize=[6,8])
plt.subplot(211,xticks=[])
plt.plot(prasat.entropy,'b')
plt.title(u'เอนโทรปี',family='Tahoma',size=12)
plt.subplot(212)
plt.plot(prasat.khanaen_fuek,'m')
plt.plot(prasat.khanaen_truat,'g')
plt.title(u'คะแนน',family='Tahoma',size=12)
plt.legend([u'ข้อมูลฝึก',u'ข้อมูลตรวจสอบ'],prop={'family':'Tahoma','size':14})
plt.tight_layout()
plt.show()



จะเห็นว่าความแม่นในการทายชุดข้อมูลฝึกจะมากกว่าชุดข้อมูลตรวจสอบเสมอ

แต่ในตัวอย่างนี้ความแตกต่างไม่มากเกินไปนักเพราะจำนวนข้อมูลฝึกมีมากพอ จึงไม่มีปัญหาการเรียนรู้เกิน แต่ปัญหาจะเด่นชัดขึ้นหากข้อมูลมีจำนวนน้อย

ลองลดข้อมูลลงสิบเท่าแล้วฝึกใหม่
X_fuek,X_truat,z_fuek,z_truat = X_fuek[::10],X_truat[::10],z_fuek[::10],z_truat[::10]
prasat = Prasat(m=[625,100,100,50,6],eta=0.002)
prasat.rianru(X_fuek,z_fuek,X_truat,z_truat,n_thamsam=200,n_batch=64,ro=20)

จากนั้นก็เอาผลมาวาดกราฟเหมือนเดิมจะได้ผลแบบนี้



จะเห็นได้ว่าความแตกต่างระหว่างข้อมูลฝึกและตรวจสอบดูชัดเจนมากขึ้น

วิธีในการแก้เรื่องการเรียนรู้เกินมีหลายวิธีด้วยกัน วิธีหนึ่งก็คือเพิ่มจำนวนข้อมูล เพราะยิ่งมีตัวอย่างมากแบบจำลองของเราก็จะยิ่งเข้าใจได้ง่ายว่าเกณฑ์ทั่วไปควรจะเป็นยังไง

แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถมีข้อมูลมากเหลือเฟือเสมอไป

สำหรับโครงข่ายประสาทเทียม วิธีหนึ่งที่นิยมใช้มากในการแก้ปัญหาการเรียนรู้เกินก็คือ ดรอปเอาต์ (dropout)



>> อ่านต่อ บทที่ ๑๗


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ