φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๑๕: มินิแบตช์
เขียนเมื่อ 2018/08/26 23:34
แก้ไขล่าสุด 2022/07/10 21:08
>> ต่อจาก บทที่ ๑๔



ในบทที่ผ่านๆมาเราใช้ข้อมูลที่มีในการฝึกโครงข่ายประสาทเทียมทีเดียวพร้อมกันทั้งหมด

แต่ในทางปฏิบัติแล้วเรานิยมแบ่งข้อมูลเป็นกลุ่มเล็กๆแล้วคำนวณทีละกลุ่ม วิธีการนี้เรียกว่ามินิแบตช์ (minibatch)

การใช้มินิแบตช์ในการเคลื่อนลงตามความชันก็ถือว่าเป็นการเคลื่อนลงตามความชันแบบสุ่ม (随机梯度下降法, stochastic gradient descent) เช่นเดียวกับการใช้ข้อมูลแค่ทีละตัว

การใช้ข้อมูลเป็นกลุ่มแบบนี้มีความแน่นอนมากกว่าใช้ข้อมูลทีละตัว เพราะทำให้ไม่ไวต่อข้อมูลตัวใดตัวหนึ่งมากไป

และจะดีกว่าการใช้ข้อมูลทั้งหมดทีเดียวในเรื่องของความเร็วด้วย ดังนั้นจึงสามารถทั้งรักษาความแน่นอนและเวลาในการคำนวณด้วย

นอกจากนี้ยังมีข้อดีอีกอย่าง นั่นคือลดโอกาสที่จะได้คำตอบที่เป็นแค่ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์

ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์คือค่าที่ดูแล้วต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับบริเวณรอบๆ แต่จริงๆแล้วอาจยังมีจุดที่ต่ำกว่านั้นอยู่ไกลออกไป

ถ้าเราใช้ข้อมูลทั้งหมดทีเดียวค่าเสียหายก็จะมีอยู่ค่าเดียว ทิศทางของการปรับค่าก็จะค่อนข้างแน่นอน แบบนั้นถ้าเจอจุดต่ำสุดสัมพัทธ์ก่อนก็จะมุ่งไปทางนั้นและได้ตรงนั้นเป็นคำตอบ

แต่ถ้าเราเปลี่ยนกลุ่มข้อมูลที่พิจารณาไปเรื่อยๆค่าเสียหายที่คำนวณได้ก็จะเปลี่ยนไปในแต่ละครั้ง โอกาสที่จะเปลี่ยนทิศทางออกจากจุดสัมพัทธ์ตรงนั้นไปเจอจุดต่ำสุดอื่นก็จะมีมากขึ้น ดังนั้นจึงกลายเป็นว่าความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นนี้กลับเป็นผลดีมากกว่า

ด้วยเหตุนี้ทำให้ในทางปฏิบัติแล้วมินิแบตช์เป็นที่นิยมกว่า



ลองสร้างคลาสของโครงข่ายประสาทเทียมที่คล้ายกับที่ทำไปในบทที่ ๑๒ แต่เพิ่มการใช้มินิแบตช์ลงไป จะกลายเป็นแบบนี้ (อย่าลืมโหลดคลาสของชั้นต่างๆก่อนจาก >> unagi.py)
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt
from unagi import Affin,Sigmoid,Sigmoid_entropy,Adam,Relu

class Prasat:
    def __init__(self,m,eta,kratun='relu'):
        m.append(1)
        self.m = m
        self.chan = []
        for i in range(len(m)-1):
            self.chan.append(Affin(m[i],m[i+1],np.sqrt(2./m[i])))
            if(i<len(m)-2):
                if(kratun=='relu'):
                    self.chan.append(Relu())
                else:
                    self.chan.append(Sigmoid())
        self.chan.append(Sigmoid_entropy())
        self.opt = Adam(self.param(),eta=eta)
    
    def rianru(self,X,z,n_thamsam,n_batch=50):
        n = len(z)
        self.entropy = []
        self.khanaen = []
        for o in range(n_thamsam):
            lueak = np.random.permutation(n)
            for i in range(0,n,n_batch):
                Xb = X[lueak[i:i+n_batch]]
                zb = z[lueak[i:i+n_batch]]
                entropy = self.ha_entropy(Xb,zb)
                entropy.phraeyon()
                self.opt()
            entropy,khanaen = self.ha_entropy(Xb,zb,ao_khanaen=1)
            self.entropy.append(entropy.kha)
            self.khanaen.append(khanaen)
    
    def ha_entropy(self,X,z,ao_khanaen=0):
        for c in self.chan[:-1]:
            X = c(X)
        if(ao_khanaen):
            return self.chan[-1](X,z),((X.kha>=0).flatten()==z).mean()
        return self.chan[-1](X,z)
    
    def param(self):
        p = []
        for c in self.chan:
            if(hasattr(c,'param')):
                p.extend(c.param)
        return p
    
    def thamnai(self,X):
        for c in self.chan[:-1]:
            X = c(X)
        return (X.kha>=0).flatten().astype(int)


โดยรวมแล้วดูซับซ้อนขึ้นมา เพราะต้องเพิ่มวังวน for ด้านในมาเพื่อวนทำซ้ำเพื่อหยิบข้อมูลเป็นกลุ่มๆในแต่ละรอบ

ทุกรอบจะมีจำนวนข้อมูลเท่ากันหมดยกเว้นรอบสุดท้ายจะเป็นการเก็บเศษที่เหลืออยู่ ซึ่งอาจไม่ครบตามจำนวน

ในแต่ละรอบจะเปลี่ยนกลุ่ม เปลี่ยนลำดับการสุ่มทั้งหมด

นอกจากนี้เวลาคำนวณคะแนนจะไม่คำนวณในแต่ละรอบย่อย แต่จะรอให้ใช้ข้อมูลทั้งหมดครบแล้วคำนวณทั้งหมดพร้อมกันใหม่ทีเดียว จึงได้มีการปรับปรุงเมธอด .ha_entropy() ให้สามารถเลือกที่จะคำนวณค่าคะแนนไปด้วย ทั้งคะแนนและเอนโทรปีเป็นผลจากการคำนวณไปข้างหน้าเหมือนกัน แต่ต่างตรงขั้นตอนสุดท้าย ดังนั้นถ้าต้องการทั้งสองอย่างจึงควรคำนวณพร้อมกัน

สำหรับจำนวนต่อรอบนั้นโดยทั่วไปที่คนนิยมใช้กันมากคือเลขยกกำลังของสอง เช่น 64, 128, 256 สาเหตุไม่ใช่เพราะจะทำให้ผลลัพธ์ดีกว่า แต่เป็นเหตุผลในแง่ของความเร็ว เพราะคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลในรูปแบบของเลขฐานสองเป็นหลัก

ยังไงจำนวนต่อรอบต่างกันเล็กน้อยก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อผลลัพธ์ ดังนั้นการเลือกค่าที่ทำให้คำนวณได้เร็วจึงกลายเป็นปัจจัยที่ถูกพิจารณาไป

ลองนำมาใช้จำแนกข้อมูลหน้าตาซับซ้อนแบบนี้
np.random.seed(7)
r = np.tile(np.sqrt(np.linspace(0.5,25,2000)),2)
t = np.random.normal(np.sqrt(r*50),0.5)
z = np.arange(2).repeat(2000)
t += z*np.pi
X = np.array([r*np.cos(t),r*np.sin(t)]).T

plt.scatter(X[:,0],X[:,1],50,c=z,alpha=0.1,edgecolor='k',cmap='RdYlGn')
plt.show()



ให้ทำการแบ่งเขตพร้อมทั้งแสดงค่าเอนโทรปีและคะแนนการทำนายด้วย
prasat = Prasat(m=[2,70],eta=0.005)
prasat.rianru(X,z,n_thamsam=100,n_batch=50)
plt.subplot(211,xticks=[])
plt.plot(prasat.entropy,'#772277')
plt.title(u'เอนโทรปี',family='Tahoma',size=12)
plt.subplot(212)
plt.plot(prasat.khanaen,'#227777')
plt.title(u'คะแนน',family='Tahoma',size=12)
plt.figure()

mx,my = np.meshgrid(np.linspace(X[:,0].min(),X[:,0].max(),200),np.linspace(X[:,1].min(),X[:,1].max(),200))
mX = np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T
mz = prasat.thamnai(mX).reshape(200,-1)
plt.axes(aspect=1,xlim=(X[:,0].min(),X[:,0].max()),ylim=(X[:,1].min(),X[:,1].max()))
plt.contourf(mx,my,mz,cmap='RdYlGn',alpha=0.2)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],20,c=z,alpha=0.5,edgecolor='k',cmap='RdYlGn')
plt.show()




ผลที่ได้จะเห็นว่าเอนโทรปีไม่ได้ลดลงอย่างสม่ำเสมอแต่มีการขึ้นๆลงๆไม่แน่นอน เพราะแต่ละรอบสุ่มข้อมูลมาในลำดับที่ไม่ซ้ำกันทำให้ทิศทางการปรับพารามิเตอร์มีความไม่แน่นอนมากขึ้น แต่โดยแนวโน้มแล้วก็จะยังคงไปในทิศทางที่ลดลงเรื่อยๆ



>> อ่านต่อ บทที่ ๑๖


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文