φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



บ้านเก่าของซุนยัดเซนในเมืองจงซาน
เขียนเมื่อ 2012/08/29 21:41
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42


#อาทิตย์ 19 ส.ค. 2012

หลังจากที่ได้ไปเที่ยวในตัวเมืองจงซานมาแล้วเที่ยวหนึ่งดังที่เล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20120811

เราได้กลับไปที่เมืองจงซานอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ย่านใจกลางเมืองแต่อยู่ห่างออกมาในบริเวณที่เรียกว่าตำบลหนานหล่าง (南朗) ที่นี่มีสถานีรถไฟทำให้มาได้สะดวก

เป้าหมายการมาเที่ยวรอบนี้คือไปเยี่ยมชมบ้านเก่าของซุนยัดเซน (孙中山故居) เขาเกิดที่นี่ ปัจุบันบ้านที่เขาเคยอาศัยอยู่นั้นก็ยังคงอยู่และได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมือง





ซุนยัดเซนเกิดในปี 1966 ที่หมู่บ้านชุ่ยเฮิง (翠亨) ตำบลหนานหล่าง เมืองจงซาน เขาได้ไปเรียนต่อที่ฮาวายตั้งแต่เด็ก หลังจากนั้นก็ไปเรียนแพทย์ที่ฮ่องกง ก่อนที่หลังจากนั้นเขาจะเริ่มหันเหมาสนใจเรื่องการปฏิวัติเพื่อล้มล้างระบบกษัตริย์ของราชวงศ์ชิง

เขาได้ก่อการปฏิวัติหลายครั้ง แต่ก็ล้มเหลวแล้วต้องหนีลี้ภัยหลายครั้ง จนในที่สุดในปี 1911 เขาก็เป็นแกนนำในการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ เรียกว่าการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) และก่อตั้งสาธารณรัฐจีนขึ้น แต่กลับให้หยวนซื่อไข่ (袁世凯) ซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลเป่ย์หยาง (北洋政府) เป็นประธานาธิบดี

แล้วก็เกิดความขัดแย้งกันภายในขึ้นระหว่างหยวนซื่อไข่กับทางซุนยัดเซน ทำให้ซุนยัดเซนต้องลี้ภัยไปญี่ปุ่น ระหว่างอยู่ที่นั่นเขาก็ยังพยายามทำการปฏิวัติเพื่อต่อต้านมาโดยตลอด

จนในปี 1915 หยวนซื่อไข่ตั้งตัวเองขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ แต่อยู่ได้ไม่นานก็กลับป่วยตายในปี 1916

ปี 1917 ซุนยัดเซนกลับมายังจีนด้วยความหวังที่จะปกครองประเทศและทำให้ประเทศชาติเป็นปึกแผ่นสงบเรียบร้อย โดยแรกสุดตั้งฐานที่มั่นอยู่ที่กว่างโจว แต่ตอนนั้นจีนก็ยังคงเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เขาไม่สามารถทำอะไรได้มาก

จนในปี 1919 เขาได้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (国民党) ขึ้น และได้ทุ่มเทเวลาที่เหลือทั้งหมดให้กับการปฏิวัติเพื่อรวมประเทศจีนเเต่จนเขาตายลงก็ยังคงรวมประเทศไม่สำเร็จ

เขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับในปี 1925 ที่ปักกิ่งขณะอายุ ๕๘ ปี ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่หนานจิง (南京) ปัจจุบันหลุมฝังศพของเขาที่หนานจิงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง



ซุนยัดเซนนั้นมีชื่อเรียกอยู่ด้วยกันหลายชื่อ ชื่อซุนยัดเซนนั้นเป็นชื่อที่ชาวตะวันตกส่วนใหญ่รู้จักเขา นั่นเพราะเวลาเขาเขียนชื่อตัวเองเป็นภาษาอังกฤษเขาจะเขียนว่า Sun Yat-sen

ซึ่งชื่อนี้มาจากชื่อ 孙逸仙 ซึ่งอ่านตามสำเนียงจีนกลางว่า ซุนอี้เซียน อ่านตามสำเนียงกวางตุ้งว่า ซวิ้นหยัดซิ้น เนื่องจากเขาเป็นคนกวางตุ้งก็เลยเขียนชื่อตัวเองตามคำอ่านแบบกวางตุ้ง แต่เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีหลักการเขียนชื่อภาษาอังกฤษที่แน่นอน เขาจึงเขียนตามที่เขาสะดวก คือเขียนเป็น Sun Yat-sen คนไทยเริ่มแรกรู้จักเขาจากชื่อนี้ก็เลยเรียกเขาว่าซุนยัดเซนตามที่เขียน

แต่ชื่อที่คนจีนนิยมเรียกเขามากที่สุดก็คือชื่อซุนจงซาน (孙中山) ซึ่งชื่อนี้ที่จริงแล้วมาจากชื่อภาษาญี่ปุ่น เนื่องจากสมัยก่อนเขาเคยอาศัยอยู่ญี่ปุ่นก็เลยมีการใช้ชื่อญี่ปุ่น เขาใช้ชื่อว่า นากายามะ โชว (中山樵) ซึ่งนามสกุลนากายามะนี้อ่านเป็นภาษาจีนว่าจงซาน เขาก็เลยนำชื่อนี้มาใช้เป็นชื่อเขาในตอนหลัง

ชื่อเดิมของเขาซึ่งเป็นอีกชื่อที่คนนิยมเรียกกันก็คือ ซุนเหวิน (孙文)

ปัจจุบันชื่อสถานที่ต่างๆทั้งสวนสาธารณะ ถนนต่างๆจะพบว่ามีหลายแห่งใช้ชื่อจงซาน ส่วนใหญ่ชื่อเหล่านี้คือเพิ่งถูกเปลี่ยนมาภายหลังเพื่อเป็นเกียรติแก่ซุนยัดเซน

สำหรับเมืองจงซานนั้นถูกตั้งชื่อใหม่ในปี 1925 ทันทีที่เขาตาย เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในฐานะที่ที่นี่เป็นบ้านเกิดของเขา เดิมที่เมืองนี้มีชื่อว่าเซียงซาน (香山)



ซุนยัดเซนเคยอาศัยอยู่ในหลายที่ทั้งในประเทศจีนและในต่างประเทศ แต่ละสถานที่จึงมีบ้านเก่าของเขาอยู่มากมาย แต่สำหรับในเมืองจงซานนี้มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นบ้านเกิดของเขา ดังนั้นจึงมีความสำคัญมาก

ภายในบริเวณบ้านเก่าของซุนยัดเซนประกอบไปด้วยตัวบ้านซึ่งรอบๆก็มีบ้านเก่าแบบโบราณอยู่จำนวนหนึ่ง ปัจจุบันไม่มีใครอยู่ในบริเวณนั้นเพราะว่ากลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ตามตัวบ้านเก่ามีจัดแสดงของต่างๆเกี่ยวกับหมู่บ้านชุ่ยเฮิง

และข้างๆตัวอาคารบ้านเก่าของซุนยัดเซนก็มีหอที่ระลึกซุนยัดเซน ซึ่งภายในจัดแสดงประวัติของซุนยัดเซนและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด



เรานั่งรถไฟจากสถานีใต้กว่างโจวมาลงยังสถานีรถไฟหนานหล่าง จากนั้นก็นั่งรถเมล์ต่อมาไม่กี่ป้ายก็มาถึงบ้านเก่าของซุนยัดเซน

ด้านหน้าทางเข้า




สามารถรับบัตรเข้าชมได้ฟรี สาเหตุที่เข้าฟรีแต่ต้องใช้บัตรคงเพราะเขาต้องการรู้ยอดจำนวนคนเข้าชม



ข้างในนี้คนมหาศาลเลย



ภายในบริเวณ ก่อนจะเดินถึงส่วนอาคารก็เป็นสวนสวยๆ





นี่คืออาคารบ้านเก่าของซุนยัดเซน



เนื่องจากบ้านไม่ได้ใหญ่มาก จำนวนคนเข้าได้จำกัด เลยต้องต่อคิวเพื่อเข้า




แต่ว่าภายในตัวบ้านเขาไม่ให้ถ่ายรูป จึงถ่ายมาได้แค่รูปนี้ ซึ่งเป็นรูปหน้าบ้านชั้นล่างสุด หลังจากนั้นก็ต้องเก็บกล้องแล้ว



พอออกจากตัวบ้านมา รอบๆตัวบ้านนี้ก็มีพวกอาคารบ้านเก่าอยู่เต็มไปหมด







บางอาคารก็จัดแสดงพวกของเก่าๆไว้ภายใน




อาหารนี่ไม่ใช่ของจริงนะ แต่เหมือนดี



พวกร้านค้าก็มีเยอะ หาของที่ระลึกได้จากตรงนี้




ลองสังเกตผนังบางส่วนของที่นี่จะพบว่าทำจากซากเปลือกหอย



ขยายดูให้ชัดๆ





ข้างๆตัวอาคารบ้านเก่าของซุนยัดเซนนั้นมีอนุสรณ์สถานของเขาตั้งอยู่ เป็นอาคารใหญ่สูงสองชั้น



เมื่อเข้ามาถึงก็จะพบรูปปั้นของซุนยัดเซนตั้งอยู่เด่นตรงหน้า แต่สังเกตดีๆผ้าที่ปูด้านบนสีคุ้นๆนะ นั่นมันธงไทยนี่นา!



ธงไทยยังพาดอยู่ตามระเบียงชั้นสองด้วย ไม่รู้ว่ามีความเกี่ยวข้องยังไงกับไทยหรือเปล่า




ชั้นล่างนี้มีส่วนที่ขายของ





ภายในมีจัดแสดงอะไรเยอะมาก ส่วนใหญ่จะมีสองภาษา จีนกับอังกฤษ






แผนภาพทางซ้ายอธิบายประวัติศาสตร์สมัยกบฏไท่ผิง (太平天国) สงครามกบฏต่อต้านราชวงศ์ชิงครั้งใหญ่ซึ่งสิ้นสุดลงไปก่อนที่ซุนยัดเซนจะเกิดได้ ๒ ปี



ตรงนี้เป็นประวัติศาสตร์เล่าถึงซุนยัดเซนในช่วงต่างๆ






แบบจำลองห้องที่ซุนยัดเซนใช้ในการฝึกวิชาแพทย์ เตียงเหล็กที่เห็นนั่นเป็นของที่เขาใช้จริงตอนอยู่มาเก๊า



แบบจำลองห้องที่ซุนยัดเซนอาศัยอยู่ในเซี่ยงไฮ้



ไปต่อกันที่ชั้นสอง



ห้องนี้จัดแสดงข้อมูลของลูกหลานและญาติพี่น้องของซุนยัดเซน




ภาพนี้คือภาพครอบครัวตระกูลซุน ลูกหลานของซุนยัดเซนซึ่งได้กลับมารวมตัวพร้อมหน้ากันที่บ้านเก่าแห่งนี้ในปี 1996



พูดถึงเรื่องครอบครัวแล้ว ซุนยัดเซนกับภรรยาคนแรกคือหลูมู่เจิน (卢慕贞) มีลูกชายอยู่ ๑ คน ลูกสาวอยู่ ๒ คน นอกจากนี้เขายังมีลูกสาวกับภรรยาชาวญี่ปุ่นอีก ๑ คน แต่เขาลาจากญี่ปุ่นมาก่อนที่เธอจะเกิดเสียอีก ซุนยัดเซนมีภรรยาใหม่ซึ่งอายุน้อยกว่าเขาถึง ๒๗ ปี คือซ่งชิ่งหลิง (宋庆龄) หนึ่งในสามพี่น้องตระกูลซ่งอันโด่งดัง ซ่งชิ่งหลิงมีชีวิตอยู่ยืนยาวต่อมาและได้มีบทบาทสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์จีน



หลังจากดูตรงส่วนนี้จบไปก็เท่ากับจบการเที่ยวที่นี่ แต่ว่าการเที่ยวในเมืองจงซานยังไม่จบแค่นั้น ยังมีอีกสถานที่ซึ่งน่าสนใจซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตรงนี้ สถานที่นั้นคือเมืองภาพยนตร์จงซาน (中山城) เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งมีการจำลองฉากสถานที่ต่างๆมากมาย

อ่านต่อ
https://phyblas.hinaboshi.com/20120831



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> กวางตุ้ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文