φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



พิพิธภัณฑ์วอซา เรือโบราณที่หลับไหลอยู่ใต้ทะเลถึงสามร้อยกว่าปี
เขียนเมื่อ 2014/06/21 02:38
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พฤหัส 8 พ.ค. 2014

หลังจากที่ไปชมพระราชวังดร็อตนิงโฮล์มมาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20140619

หลังจากแวะหาอะไรทานแถวๆสถานีรถไฟเสร็จก็ได้เวลาไปเที่ยวที่ต่อไปนั่นคือพิพิธภัณฑ์วอซา (Vasamuseet) ซึ่งเป็นสถานที่เที่ยวที่โดดเด่นมากที่สุดในสตอกโฮล์มก็ว่าได้

ปกติแล้วเวลาท่องเที่ยวตามที่ต่างๆบางคนอาจไม่ค่อยสนใจเที่ยวพวกพิพิธภัณฑ์เพื่อดูพวกสิ่งของอะไรที่จัดแสดงอยู่เฉยๆแค่นั้น แต่ว่าสำหรับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีความโดดเด่นไม่เหมือนที่ไหน เพราะสิ่งที่จัดแสดงอยู่ข้างในนั้นเป็นอะไรที่ใหญ่โตมาก นั่นก็คือซากเรือโบราณขนาดใหญ่นั่นเอง

พิพิธภัณฑ์วอซาถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1990 เพื่อตั้งแสดงเรือวอซา (Vasa) ซึ่งเป็นเรือสมัยโบราณที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1626 และสร้างเสร็จในปี 1628 จากนั้นเรือก็ออกเดินทางครั้งแรกแต่ก็ล่มลงภายในปีเดียวกันหลังจากที่ออกเรือไปได้ไม่ไกลโดยยังอยู่ภายในหมู่เกาะสตอกโฮล์ม

เรือถูกกู้ขึ้นมาได้สำเร็จเมื่อปี 1961 หลังจากที่จมอยู่นาน ๓๓๓ ปี โดยอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ หลังจากนั้นจึงซ่อมแซมแล้วก็นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ให้ผู้คนได้ทำความรู้จักเรื่องราวของเรือในสมัยก่อนกัน

ตัวเรือที่จัดแสดงนี้ ๙๕% คงอยู่ในสภาพเดิมจากสมัยโบราณ มีการซ่อมแซมแต่งเติมเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ก็ยังมีจัดแสดงของที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง เช่นวิธีการสร้างเรือ อธิบายประวัติของเรือโดยละเอียด

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีคนเข้าชมมากที่สุดในยุโรปเหนือ เพราะเป็นสถานที่ที่ไม่ว่าใครมาสตอกโฮล์มก็มักจะไม่พลาดที่จะแวะมาชม

รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ในเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์ได้เลย มีภาษาไทยด้วย http://www.vasamuseet.se/sv/Sprak/11

ตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนเกาะยูโกร์เดิน (Djurgården) ซึ่งเป็นเกาะหนึ่งที่สำคัญของสตอกโฮล์ม ภายในบริเวณเกาะไม่ใช่ที่อยู่อาศัยแต่เต็มไปด้วยสวนและพิพิธภัณฑ์มากมาย นอกจากพิพิธภัณฑ์วอซาที่จะไปนี้แล้วก็ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่งซึ่งถ้าหากจะแวะให้หมดก็คงต้องใช้เวลาไม่น้อย แต่อย่างไรก็ตามเป้าหมายคราวนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์วอซาแห่งเดียวเพราะไม่มีเวลามากนัก



จากสถานีรถไฟกลางสามารถเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์วอซาได้ง่ายโดยนั่งรถรางไป โดยสถานีรถรางอยู่ที่จตุรัสแซร์เกล (Sergels torget) ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟไปทางตะวันออกเล็กน้อย เดินไปแค่นิดเดียวก็ถึง



การขึ้นรถรางก็สามารถใช้บัตร SL ได้เช่นกัน จุดขึ้นรถรางอยู่ใต้สะพานนี้ ที่ต้องนั่งไปคือหมายเลข 7



ภายในรถราง



รถรางจะวิ่งข้ามเกาะไปยังเกาะยูโกร์เดิน และเราก็ลงตรงป้ายแรกหลังข้ามเกาะไปเลยนั่นก็คือป้ายพิพิธภัณฑ์นอร์ดิสกา / พิพิธภัณฑ์วอซา (Nordiska museet/Vasamuseet)



พิพิธภัณฑ์นอร์ดิสกา (Nordiska museet) เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสวีเดนตั้งแต่สิ้นสุดยุคกลางไปจนถึงปัจจุบัน



คำว่านอร์ดิสกา (Nordiska) เป็นคำคุณศัพท์ในภาษาสวีเดนหมายถึงเกี่ยวกับกลุ่มประเทศต่างๆในยุโรปเหนืออันได้แก่สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์

ความจริงแล้วพิพิธภัณฑ์นี้แรกทีเดียวตั้งใจจะแสดงวัฒนธรรมของทั้งแถบยุโรปเหนือ แต่สุดท้ายเนื่องจากพื้นที่มีจำกัดก็เลยจัดแสดงแค่ของสวีเดนอย่างเดียว ตัวอาคารถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1888 ถึง 1907 โดยเป็นสถาปัตยกรรมแบบเรอเนซ็องส์แบบเดนมาร์ก



เราได้แต่ชมความสวยงามของตึกนี้จากภายนอกแต่ไม่ได้เข้าไปชมด้านใน เกาะยูโกร์เดินนี้จริงๆแล้วค่อนข้างใหญ่พอสมควร มีอะไรให้เที่ยวมากมาย แต่เรามาแวะแค่พิพิธภัณฑ์วอซาซึ่งอยู่ตางส่วนนอกสุดของเกาะ หากเดินลึกเข้าไปก็ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่ง ที่สำคัญก็เช่นสกานเซิน (Skansen) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งขนาดใหญ่และยังประกอบด้วยสวนสัตว์อีกด้วย มีคนแนะนำให้ไปที่นี่มากเหมือนกัน แต่มันต้องใช้เวลามากพอสมควรจึงไม่ได้ไป น่าเสียดายเหมือนกัน

แน่นอนหากคิดจะเที่ยวภายในเกาะนี้ทั้งหมดละก็ ซื้อ Stockholm card ไปเลยน่าจะคุ้มที่สุด เพราะที่เที่ยวแต่ละแห่งในนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ต้องเสียค่าเข้าทั้งนั้น หากมีเวลาได้แวะมาเที่ยวอีกละก็น่าลองเที่ยวให้ทั่วเกาะนี้ดู




เดินนิดหน่อยก็มาถึงพิพิธภัณฑ์วอซา ตัวอาคารนี้ก็สวยเด่นมีเอกลักษณ์เช่นกัน




เข้าไปด้านในแล้วก็ซื้อตั๋วตรงนี้ ราคาค่าเข้าคือ ๑๓๐ โครน แพงทีเดียว แต่ก็คิดว่าคุ้มค่า



เมื่อเข้าไปถึงก็จะได้เห็นเรือวอซาตั้งเด่นอยู่กลางห้องจัดแสดงภายในอาคาร จะเห็นว่าตัวอาคารประกอบไปด้วยชั้นต่างๆเพื่อที่จะดูเรือได้จากหลายๆมุมทั้งมุมสูงและข้างใต้



ข้างๆตัวเรือของจริงนี้มีแบบจำลองเรือขนาดเล็กๆวางอยู่ด้วย



ข้างๆนั้นมีห้องสำหรับฉายหนังซึ่งฉายเกี่ยวกับเรื่องราวตอนที่กู้เรือขึ้นมา โดยพูดเป็นภาษาอังกฤษและมีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาสวีเดน



จากนั้นเราขึ้นไปชั้นบนสุดเพื่อจะชมเรือจากด้านบน จากมุมนี้เห็นดาดฟ้าเรือได้ชัด



และยังเห็นบรรยากาศของแต่ละชั้นที่อยู่ข้างล่างลงมาด้วย



ท้ายเรือนี่คือจุดที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของเรือนี้เลย มีการแกะสลักอย่างวิจิตรสวยงามมากทีเดียว



ชั้นบนสุดมีพื้นที่ให้ยืนอยู่แค่นี้ จากนั้นเราลงมาชั้นล่างถัดไปก็ยังเห็นเรือจากมุมสูงอยู่ ตรงนี้เราสามารถมองเห็นดาดฟ้าเรือได้ชัดๆใกล้ๆ



ตรงนี้เป็นบริเวณสำหรับให้มือปืนซุ่มยิง จะเห็นว่าด้านนอกก็ตกแต่งอย่างสวยงาม มีรูปแกะสลักอยู่มากมาย



ส่วนหัวเรือ



ที่หัวเรือนี้มีเสากระโดงยื่นออกไป เห็นแล้วนึกถึงวันพีซเลยลูฟีชอบไปนั่งตำแหน่งนั้นบ่อยๆ



ขอภาพมุมสวยๆที่เห็นเรือทั้งลำจากหัวเรือสักรูป



จากนั้นเดินลงมาอีกชั้นก็จะเป็นส่วนที่จัดแสดงอะไรต่างๆมากมาย อย่างอันนี้เป็นแบบจำลองแสดงการเดินเรือ



แบบจำลองส่วนปลายหัวเรือ ทำมาให้คนสามารถไปเดินเล่นได้



ตรงส่วนนี้จำลองห้องภายในเรือ ให้บรรยากาศเหมือนไปอยู่บนเรือจริงๆ



ห้องปืนใหญ่



แบบจำลองภาคตัดขวางของเรือ ทำให้รู้ว่าภายในเรือแต่ละห้องมีไว้ทำอะไรกันบ้าง



ชั้นล่างเป็นห้องเก็บพวกลุกปืนและเสบียงต่างๆ



เมื่อเดินดูชั้นนี้เสร็จแล้วลงไปอีกชั้นก็จะกลับสู่ชั้นเดิมที่เข้ามาตอนแรก เดินลงไปอีกก็จะเป็นชั้นล่างสุด



เรือบดที่ใช้ในเรือวอซา ยาว ๑๒ เมตร เอาไว้ใช้ติดต่อกับเรืออื่น หรือบางทีก็ใช้ลากพ่วง



แผนที่ที่เล่าถึงประวัติศาสตร์ แต่จังหวะตอนนั้นมีกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีมาและเขากำลังบรรยายอยู่ก็เลยเข้าใกล้ไม่ได้เลย



จบแค่นี้ ที่จริงถ้ามีเวลาก็สามารถอยู่ได้อีกนาน มีรายละเอียดอะไรต่างๆให้ดูอีกเยอะ แต่ยังมีสถานที่ที่อยากไปอีกดังนั้นพยายามทำเวลาดีกว่า เท่าที่ได้มาดูนี่ก็ถือว่าคุ้มแล้ว

หลังจากดูเสร็จก็ออกมาด้านนอก มีขายของที่ระลึกอยู่ แต่ก็ไม่ได้ซื้ออะไร แค่เดินดูนิดหน่อย







จากนั้นก็ออกมาจากพิพิธภัณฑ์แล้วเดินกลับทางเดิม แต่คราวนี้เดินข้ามสะพานไปขึ้นรถรางอีกฝั่ง ไหนๆมาแถวนี้แล้วก็อยากเดินเก็บบรรยากาศสักหน่อย ทิวทัศน์ริมน้ำเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของสตอกโฮล์ม มันสวยเด่นมาก



เดินข้ามสะพานไปก็จะกลับสู่ฝั่งแผ่นดินใหญ่



มองกลับไปยังเห็นพิพิธภัณฑ์นอร์ดิสกาตั้งอยู่เด่นมองเห็นได้แต่ไกล



หากเดินไปตามทางนี้ก็จะสามารถกลับไปถึงสถานีรถไฟได้ บรรยากาศน่าเดินแบบนี้น่าจะเดินเพลินๆชมข้างทางไปเรื่อยๆได้ แต่ก็ไกลพอสมควร



จากนั้นเราข้ามไปฝั่งตรงข้ามเพื่อขึ้นรถ สักพักรถรางก็มาถึง เราขึ้นรถขบวนนี้เพื่อจะกลับไปยังสถานีรถไฟ



หลังจากที่กลับถึงสถานีรถไฟอีกครั้งเราก็แยกทางกับคนอื่นที่มาด้วยอีกครั้งเพื่อจะแยกไปยังสถานที่เที่ยวต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20140623


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ต่างแดน >> ยุโรป >> สวีเดน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文