φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
ซัวเม็นลินนะ ป้อมปราการบนเกาะ มรดกโลกในเฮลซิงกิ
เขียนเมื่อ 2014/07/17 11:33
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 12 พ.ค. 2014
เรือเดินทางออกจาก
เกาป์ปะโตะริ (Kauppatori)
https://phyblas.hinaboshi.com/20140715
เป้าหมายคือ
ซัวเม็นลินนะ (Suomenlinna)
ป้อมปราการกลางทะเลซึ่งเป็นสถานที่เที่ยวที่สำคัญของเฮลซิงกิ
ป้อมปราการแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1748 ซึ่งสมัยนั้นฟินแลนด์ยังเป็นของสวีเดนอยู่ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นป้อมสำหรับต่อสู้กับรัสเซีย โดยตัวป้อมอยู่บนหมู่เกาะใกล้ชายฝั่งทางตะวันออกของเฮลซิงกิ ต่อมาสวีเดนก็พ่ายแพ้และฟินแลนด์ก็ตกเป็นของรัสเซีย ป้อมแห่งนี้ก็อยู่ภายใต้การดูแลของรัสเซีย
ในตอนแรกที่นี่ใช้ชื่อว่า
สเวียบอรี (Sveaborg)
ซึ่งเป็นภาษาสวีเดนแปลว่าป้อมปราการของสวีเดน แต่ต่อมาในปี 1918 ก็เปลี่ยนเป็นซัวเม็นลินนะซึ่งแปลว่าป้อมปราการของฟินแลนด์
ที่นี่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี 1991
ระหว่างนั่งเรืออยู่ระหว่างทางเห็นเกาะเล็กๆโดดเดี่ยว นี่คือเกาะ
ลนนะ (Lonna)
เรือจะมาจอดที่เกาะหลักคือเกาะ
อิโสะมุสตะซาริ (Iso Mustasaari)
แปลว่าเกาะดำใหญ่
ข้างๆนั้นเป็นเกาะปิกกุมุสตะซาริ (Pikku Mustasaari) แปลว่าเกาะดำเล็ก ตึกที่เห็นคือโรงเรียนนายเรือ เชื่อมกันกับเกาะอิโสะมุสตะซาริอยู่ด้วยสะพาน และยังมีทางเชื่อมไปเกาะเล็กอีกเกาะคือเกาะ
แล็นซิมุสตะซาริ (Länsi Mustasaari)
แปลว่าเกาะดำตะวันตก
เรือจอดเทียบท่า ที่เห็นทันทีอยู่ด้านหน้าคือตึกหลักของที่นี่ซึ่งมีทั้งภัตตาคารและที่ทำการไปรษณีย์อยู่
เดินทะลุผ่านตึกนี้ไปก็จะเป็นทางเดินที่ไปสู่ด้านในของเกาะ
มีโบสถ์เล็กๆอยู่ด้วย
ภายในเกาะมีอาคารอะไรต่างๆอยู่หลายหลัง เป็นพวกที่ทำการต่างๆแล้วก็มีร้านอาหารประปราย
เดินไปเรื่อยๆจนสุดเกาะก็ได้เห็นทิวทัศน์ริมน้ำที่สวยงาม
ที่สุดปลายเกาะเป็นเรือนจำ
ในนี้ห้ามเข้า
จากนั้นเดินย้อนกลับมาแล้วเลี้ยวไปอีกทางจะเจอ
พิพิธภัณฑ์ซัวเม็นลินนะ (Suomenlinna-museo)
ภายในจัดแสดงพวกอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆที่พบที่นี่
ตอนที่ไปมันก็เปิดอยู่ด้วย แม้จะเป็นวันจันทร์ก็ตาม การจะเข้าไปชมต้องซื้อตั๋วซึ่งก็มีค่าใช้จ่าย ดังนั้นเลยตัดสินใจไม่เข้าไป
ภายในอาคารของพิพิธภัณฑ์มีร้านขายของกินและของที่ระลึก
ก็เลยไปซื้อโดนัทมาทานรองท้องสักหน่อย
ข้างๆพิพิธภัณฑ์เป็นสะพานข้ามไปเกาะใหญ่อีกเกาะ คือ
เกาะซุซิซาริ (Susisaari)
แปลว่าเกาะหมาป่า
ในเกาะนี้จะเห็นตัวกำแพงป้อมอยู่มาก
ข้างใต้มีอุโมงค์ด้วย
ออกมาริมทะเล
นี่คือเรือดำน้ำ
เวะซิกโกะ (Vesikko)
ซึ่งถูกใช้ตั้งแต่ปี 1936 เป็นของกองทัพเรือฟินแลนด์ ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้วจึงนำมาตั้งไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปเข้าไปชมภายในได้
ดูเหมือนจะไปในช่วงวันที่กำลังเปิดอยู่พอดี แต่น่าเสียดายว่ามาเช้าไป กว่าที่นี่จะเปิดก็ตั้่งสิบเอ็ดโมง คงจะรอถึงตอนนั้นไม่ไหว
จังหวะนั้นมีเรื่องของไวกิงไลน์ซึ่งเดินทางระหว่างเฮลซิงกิและสตอกโฮล์มแล่นผ่านมาพอดีก็เลยถือโอกาสถ่ายรูปคู่กับเรือดำน้ำซะเลย
ใกล้ๆกันข้างๆนั้นดูเหมือนจะเป็นที่เก็บเรือ
ที่นี่นกเยอะมาก
ทางเดินยาวต่อไปเรื่อยๆมุ่งสู่ส่วนใต้ของเกาะซึ่งเรียกว่าเกาะ
กุสตานเมียกกะ (Kustaanmiekka)
ที่จริงเป็นเกาะเดียวกันต่อเนื่องกันเพียงแต่มีคอคอดเลยมักเรียกกันว่าเป็นคนละเกาะ
ส่วนของเกาะนี้เป็นบริเวณที่มีป้อมอยู่หนาแน่น
ริมฝั่งเป็นสันดอนทรายทำให้มีทิวทัศน์ที่สวยงาม
และมีปืนใหญ่ตั้งหันออกไปทางทะเลมากมาย
นก
มองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือจะเห็นตัวเมืองเฮลซิงกิ
เห็น
โบสถ์เซ็นต์จอห์น (Johanneksenkirkko)
โดดเด่นแต่ไกล
บริเวณป้อมสุดปลายเกาะ
ตัวป้อมถูกทำเป็นแฉกๆดูสวยงาม ถ้ามองจากด้านนอกเกาะเข้ามาน่าจะยิ่งสวย
มีร้านพิซซาอยู่ด้วย
เห็นเรือใบแล่นผ่านมาพอดีก็เลยเก็บภาพไว้สักหน่อย
นี่คือ
ประตูราชา (Kuninkaanportin)
เป็นประตูทางเข้าป้อม ประตูนี้สร้างในที่ที่
จักรพรรดิอดอล์ฟ เฟรดริก (Adolf Fredrik)
แห่งสวีเดนมาถอนสมอเทียบท่าเมื่อตอนที่คุมการก่อสร้างที่นี่ ก็เลยได้ชื่อว่าประตูราชา
มองจากด้านนอก
ตรงนี้มีท่าเรือซึ่งสามารถขึ้นเรือเพื่อกลับเฮลซิงกิได้เหมือนกัน แต่ว่าเปิดทำการเฉพาะฤดูร้อน ซึ่งช่วงนี้ยังไม่ถึง จึงไม่สามารถขึ้นเพื่อกลับจากตรงนี้ได้
จากตรงนี้ยังเห็นเรือใบลำที่เห็นเมื่อครู่
ขยายเข้าไปเห็นคนบนเรือ
เมื่อเดินมาจนถึงสุดทางแล้วก็ได้เวลาย้อนกลับ
เดินกลับมาถึงตรงป้อมในเกาะซุซิซาริก็เจอกลุ่มเด็กเหมือนจะมาทัศนศึกษากัน คนผู้หญิงแต่งตัวซะหรูเชียว
ระหว่างทางยังได้เดินผ่านตรงจุดที่ตอนแรกข้ามไป คือหลุมศพของ
เอากุสติน เอเรินสแวร์ด (Augustin Ehrensvärd)
เขาเป็นผู้สั่งให้สร้างที่นี่ขึ้นมา
และอาคารที่เห็นอยู่ใกล้ๆกันนี้ก็คือ
พิพิธภัณฑ์เอเรินสแวร์ด (Ehrensvärd-museo)
แต่ตอนที่ไปก็ยังไม่เปิด ในนี้จัดแสดงพวกภาพวาด, เครื่องเรือน, อาวุธ และแบบจำลองเรือ
ใกล้ๆกันนั้นมี
ท่าเรือแห้ง (Kuivatelakka)
ซึ่งไว้ใช้สำหรับต่อเรือ ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นของสวีเดน และตอนช่วงที่ฟินแลนด์ได้กลายเป็นประเทศอิสระแล้วที่นี่ยังใช้สร้างเครื่องบินลำแรกของฟินแลนด์ด้วย ปัจจุบันที่นี่ยังถูกใช้เพื่อเก็บและซ่อมแซมเรือไม้
หลังจากที่เดินเที่ยวจนทั่วก็ได้เวลานั่งเรือเพื่อกลับไปยังแผ่นดินใหญ่ ใช้เวลาเดินไปประมาณ ๒ ชั่วโมง เกาะทั้งหมดไม่ใหญ่มากแต่เดินแล้วเพลิดเพลินดี ทั้งชมความสวยงามของธรรมชาติและความอลังการของป้อมปราการบนเกาะนี้ ถือว่าคุ้มค่าที่ได้มาเดิน
ตอนต่อไปจะกลับไปเก็บบรรยากาศในตัวเมืองเฮลซิงกิต่อ ซึ่งก็คงเป็นตอนสุดท้ายของการเที่ยวทั้งหมดแล้ว การเดินทางที่ยาวนานกำลังจะสิ้นสุดลงเท่านี้
https://phyblas.hinaboshi.com/20140719
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ต่างแดน
>>
ยุโรป
>>
ฟินแลนด์
--
ท่องเที่ยว
>>
มรดกโลก
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินเล่นริมฝั่งทะเลเบปปุยามเช้า มีหาดทรายนิดหน่อย
ปราสาทคิฟุเนะ จุดชมทิวทัศน์ยุเกมุริ เบปปุทาวเวอร์
เบปปุจิโงกุเมงุริ เที่ยวชมอนเซงบ่อนรกที่มีสีสันสวยงามแปลกตาทั้ง ๗ แห่งในเบปปุ
ขึ้นรถกระเช้าเบปปุไปยังยอดเขาทสึรุมิสูง ๑๓๗๕ เมตร มองเห็นเมืองเบปปุริมฝั่งทะเลจากมุมสูง
เดินไปตามถนนยุโนะทสึโบะ ชมยุฟุอิงฟลอรัลวิลเลจ แวะกินตามข้างทางไปเรื่อย
おすすめの記事
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文