φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



เยวี่ยถาน แท่นบูชาจันทรา
เขียนเมื่อ 2015/04/17 08:29
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 6 เม.ย. 2015

ปักกิ่งมีกลุ่มโบราณสถานแห่งหนึ่งที่เรียกว่าอู่ถาน (五坛) หมายถึงแท่นบูชาทั้งห้า

ซึ่ง ๕ แห่งที่ว่านี้กระจายอยู่นอกถนนวงแหวนที่ ๒ ของปักกิ่ง ได้แก่ เทียนถาน (天坛) แท่นบูชาสวรรค์, ตี้ถาน (地坛) แท่นบูชาปฐพี, รื่อถาน (日坛) แท่นบูชาสุริยะ, เยวี่ยถาน (月坛) แท่นบูชาจันทรา และเซียนหนงถาน (先农坛) แท่นบูชาเทพแห่งการเกษตร

แต่ละแห่งถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง (明朝, ปี 1368 - 1644) เพื่อประกอบพิธีบูชาต่างๆกันไป

เทียนถานเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังซึ่งใครมาเที่ยวปักกิ่งย่อมเข้าไปเที่ยวชมอยู่แล้ว เราเองก็เคยไปมา เพียงแต่ยังไม่มีโอกาสได้เล่าถึง ส่วนแท่นบูชาอื่นๆนั้นไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก

ก่อนหน้านี้เราได้ไปเที่ยวชมตี้ถานมาแล้วเมื่อนานมาแล้ว และเขียนบันทึกไว้ https://phyblas.hinaboshi.com/20111211
สำหรับคราวนี้ที่จะพูดถึงก็คือเยวี่ยถาน แท่นบูชาจันทรา

รื่อถานและเยวี่ยถานถูกสร้างขึ้นพร้อมกันในปี 1530 สมัยจักรพรรดิเจียจิ้ง (嘉靖, ปี 1522 - 1566)

เยวี่ยถานเป็นแท่นบูชาที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองปักกิ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับรื่อถานที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก

เยวี่ยถานเป็นแท่นบูชาสูง ๑.๕ เมตร กว้าง ๑๔ เมตร พื้นที่ ๑๙๖ ตารางเมตร ทำขึ้นจากหินอ่อนฮั่นไป๋ยวี่ (汉白玉)

เป็นที่น่าเสียดายว่าแท่นบูชาของเยวี่ยถานนั้นไม่เหลืออยู่ในปัจจุบันแล้ว จึงไม่อาจเห็นตัวแท่นบูชาได้เหมือนอย่างของตี้ถาน แต่ก็ยังมีสิ่งก่อสร้างโบราณอื่นๆเหลือให้ชมได้อยู่

เยวี่ยถานถูกใช้ในช่วงยุคสมัยราชวงศ์หมิงและชิง ราชวงศ์ชิงถูกโค่นล้มลงในปี 1911 หลังจากนั้นเข้าสู่ยุคสาธารณะรัฐจีนที่นี่ก็ถูกทิ้งร้างไว้ จากนั้นในปี 1955 จึงมีการบูรณะใหม่ เปลี่ยนให้เป็นสวนสาธารณะ จากนั้นก็มีการสร้างหอคอยส่งสัญญาณโทรทัศน์ขึ้นที่บริเวณที่เคยเป็นแท่นบูชา

ปัจจุบันบริเวณเยวี่ยถานคือสวนสาธารณะเยวี่ยถาน (月坛公园, เยวี่ยถานกงหยวน)



เยวี่ยถานตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฟู่เฉิงเหมิน (阜成门站) จากที่นั่นสามารถเดินมาได้ไม่ไกลนัก

แต่ว่าที่แวะมาเยวี่ยถานครั้งนี้เป็นเรื่องราวต่อเนื่องจากที่ก่อนหน้านี้ไปเดินชมซากกำแพงเมืองเก่าที่ซีเปี้ยนเหมิน (西便门)
https://phyblas.hinaboshi.com/20150415

ซึ่งเราได้ขึ้นรถเมล์สาย 42 มา รถเมล์สายนี้เดินทางไปตามถนนซีเปี้ยนเหมินเน่ย์ (西便门内大街, ซีเปี้ยนเหมินเน่ย์ต้าเจีย)

ระหว่างทางผ่านสถานีรถไฟฟ้าสถานีหนานลี่ซื่อ (南礼士路站) ซึ่งเป็นสถานีหนึ่งที่ถือว่าอยู่ใกล้กับเยวี่ยถานรองจากฟู่เฉิงเหมิน แต่ก็ยังอยู่ห่างออกไปอีก ๒ ป้ายรถเมล์ สถานีนี้เป็นสุดแบ่งกั้นนะหว่างถนนซีเปี้ยนเหมินเน่ย์กับถนนหนานหลี่ซื่อ (南礼士路, หนานหลี่ซื่อลู่)



รถเมล์มาลงที่ป้ายเยวี่ยถานกงหยวน (月坛公园)



จากนั้นต้องข้ามถนนกลับไป



ตรงนี้ถือประตูตะวันออกของสวนสาธารณะเยวี่ยถาน ซึ่งปิดไว้เข้าไม่ได้



ต้องอ้อมไปเข้าประตูเหนือ ค่าผ่านประตู ๑ หยวน แต่มีบัตรนักเรียนก็ลดเหลือครึ่งหยวน (ถูกขนาดนี้ก็ยังอุตส่าห์ต้องเก็บ สวนสาธารณะในจีนเป็นแบบนี้อยู่หลายแห่ง)



แผนที่ภายใน แบ่งเป็นส่วนเหนือกับใต้



ภายในร่มรื่น ต้นสนมากมายตามรายทาง



หลังเข้ามาถ้าเลี้ยวขวาก็เป็นหอระฆัง



ถัดจากหอระฆังไป อาคารตรงมุมโน้นคือห้องน้ำ



ริมกำแพงฝั่งตะวันตกของที่นี่มีซากกำแพงเก่าตั้งแต่สมัยที่สร้างที่นี่ในสมัยราชวงศ์หมิงหลงเหลืออยู่ด้วย ตอนนี้ถูกเก็บรักษาไว้ในกรอบกระจกโดยมีกำแพงปัจจุบันหุ้มอยู่รอบๆ



ตรงนี้เป็นทางตัน เห็นคนมาระบำอยู่ด้วย



ถัดมาที่ประตูทางเข้าไปยังแท่นบูชา ซึ่งอย่างที่บอกไปตอนต้นว่าปัจจุบันแท่นบูชาไม่อยู่แล้ว กลายเป็นที่ตั้งหอส่งสัญญาณโทรทัศน์แทน ดังนั้นตรงนี้จึงปิดเข้าไม่ได้ แต่ว่าประตูนี้เองก็เป็นประตูสมัยโบราณที่ยังอนุรักษ์ไว้อยู่ ประตูลักษณะแบบนี้เรียกว่าหลิงซิงเหมิน (棂星门) มีอยู่สี่ประตูสี่ทิศรอบแท่นบูชา



หอส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่ว่า ตั่งเด่นอยู่ในบริเวณที่ควรจะเป็นแท่นบูชา แบบนี้แทนที่จะได้บูชาพระจันทร์คงได้แต่บูชาคลื่นเหล็กไฟฟ้าแทนแล้วล่ะ



ตรงข้ามกับประตูเข้าแท่นบูชา มองไปทางทิศตะวันออกก็จะเห็นประตูทิศตะวันออกซึ่งปิดไว้ไม่ให้เข้าได้



ถัดมาตรงนี้เป็นอาคารจวี้ฝูเตี้ยน (具服殿) ซึ่งเป็นที่สำหรับพักผ่อนหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าสำหรับเข้าพิธีบูชา



ข้างๆนั้นมีแผ่นป้ายที่อธิบายเกี่ยวกับที่นี่



ส่วนฝั่งเหนือของสวนสาธารณะเยวี่ยถานหมดลงเท่านี้ จากนั้นผ่านประตูตรงนี้เพื่อไปยังฝั่งใต้



ฝั่งใต้เป็นสวนสวยๆ



สวนริมน้ำแบบจีนสวยงามบรรยากาศร่มรื่น




แถวนี้เดินชมดอกไม้ไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรมากมาย









ห้าโมงแล้ว ตะวันเริ่มคล้อยลงมา ได้เวลากลับแล้ว



ต่อจากนี้เป็นนอกเรื่องแล้ว ก่อนกลับเรานั่งรถเมล์ไปแถวสถานีรถไฟฟ้าสถานีเชอกงจวาง (车公庄站) ซึ่งอยู่ไม่ไกล หาอะไรทานก่อนกลับ



เจอร้านชื่อหมาล่าเสวียย่วน (麻辣学院)



สั่งข้าวหน้าเนื้อมาทาน อร่อยดี



ทานเสร็จอิ่มแล้วก็ออกมา ยามเย็นแถวสถานีเชอกงจวาง หันหน้าเข้าหาพระอาทิตย์ ขณะนั้นเกือบหกโมงเย็นแล้ว



จากนั้นก็นั่งรถเมล์กลับหอ หมดวันที่เที่ยวเหนื่อยๆไปอีกวัน แม้จะมีอุปสรรคไปบ้างแต่วันนี้ก็สนุกเต็มที่เช่นกัน



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文