φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ซีเปี้ยนเหมิน ป้อมประตูเมืองเก่าทิศตะวันตก
เขียนเมื่อ 2015/04/15 08:18
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 6 เม.ย. 2015

สมัยก่อนปักกิ่งมีกำแพงเมืองล้อมรอบอยู่ กำแพงเมืองปักกิ่งเริ่มสร้างในสมัยราชวงศ์หยวน และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่อีกในสมัยราชวงศ์หมิง

กำแพงสมัยราชวงศ์หมิงนั้นเริ่มสร้างในช่วงปี 1436 - 1439 โดยล้อมอาณาเขตบริเวณที่เรียกว่าถนนวงแหวนที่สองในปัจจุบัน ในปัจจุบันแม้เมืองปักกิ่งจะขยายออกไปจนล้นออกไปไกลแล้ว แต่ด้านในถนนวงแหวนนี้ก็ยังถือว่าเป็นใจกลางเมืองมาโดยตลอด

บนกำแพงส่วนนี้ได้มีการสร้างป้อมประตูทั้งหมด ๙ แห่ง ซึ่งได้แก่เต๋อเซิ่งเหมินซึ่งเพิ่งพูดถึงไป และอื่นๆ https://phyblas.hinaboshi.com/20150411

แต่นอกจากกำแพงส่วนนี้แล้ว ในปี 1553 เพื่อที่จะตั้งรับทัพมองโกลซึ่งหลังๆมักจะบุกมาจากทางทิศใต้ อีกทั้งรองรับประชากรนอกกำแพงเมืองที่นับวันก็จะเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบนอกกำแพงเมืองเดิมทางทิศใต้ ทำให้ตัวกำแพงเมืองปักกิ่งดูแล้วมีลักษณะเป็นรูป 凸

กำแพงส่วนเดิมเรียกว่ากำแพงส่วนใน (内城) ส่วนกำแพงส่วนที่เพิ่มมานี้เรียกว่ากำแพงส่วนนอก (外城) ในกำแพงส่วนนอกนี้ได้มีการสร้างประตูเมืองไว้  ๓ แห่งทางใต้ และทางตะวันออกและตะวันตกข้างละแห่ง นอกจากนี้ตรงส่วนฝั่งเหนือของกำแพงส่วนนอกซึ่งต่อเชื่อมกับกำแพงส่วนในนั้นก็ได้สร้างป้อมประตูไว้ข้างละแห่งทั้งทางตะวันตกและตะวันออกโดยหันไปทางทิศเหนือทั้งคู่ ประตูทางตะวันออกมีชื่อว่าตงเปี้ยนเหมิน (东便门) ส่วนประตูตะวันตกมีชื่อว่าซีเปี้ยนเหมิน (西便门)

กำแพงเมืองและป้อมประตูเมืองทั้งส่วนนอกและในนี้ได้ถูกใช้เพื่อป้องกันเมืองปักกิ่งจากการบุกของข้าศึกมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง แต่พอมาถึงยุคสมัยศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นยุคสมัยใหม่ กำแพงเมืองเก่าเริ่มกลายเป็นสิ่งไร้ประโยชน์แถมยังเริ่มถูกมองว่าเป็นตัวกีดขวางทางจราจรด้วย ด้วยเหตุนี้จึงถูกทยอยรื้อทิ้งไปจนเกือบหมด ปัจจุบันซากกำแพงเมืองและป้อมประตูเก่าเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นอนุสรณ์เท่านั้น

หนึ่งในส่วนของกำแพงเมืองเก่าที่ถูกเหลือเอาไว้นั้น ก็คือกำแพงเมืองจีนส่วนซีเปี้ยนเหมิน ซึ่งเรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้

กำแพงในตำแหน่งที่เคยเป็นป้อมประตูซีเปี้ยนเหมินนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกรักษาเอาไว้ไม่รื้อทิ้ง ปัจจุบันบริเวณรอบๆกำแพงได้กลายเป็นส่วนสาธารณะ เรียกว่าสวนสาธารณซากกำแพงเมืองซีเปี้ยนเหมิน (西便门城墙遗址公园)

แม้จะเรียกว่าสวนสาธารณะซีเปี้ยนเหมิน แต่ความจริงแล้วป้อมประตูซีเปี้ยนเหมินนั้นไม่เหลืออยู่แล้ว ถูกรื้อทิ้งไปพร้อมกับกำแพงส่วนนอกอื่นๆ กำแพงส่วนนี้ที่เหลืออยู่คือส่วนของกำแพงส่วนในที่อยู่ใกล้รอยต่อกับกำแพงส่วนนอก และนอกจากกำแพงเปล่าๆแล้วก็ยังมีหอธนูที่ชื่อว่าปาเติ้งหย่าน (八瞪眼) ซึ่งเป็นหอธนูตรงจุดรอยต่อของกำแพงส่วนนอกกับส่วนใน แต่ว่าหอธนูปาเจิ้งหย่านที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นของที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี 1988 ส่วนของเดิมถูกรื้อไปก่อนแล้ว

นอกจากบริเวณซีเปี้ยนเหมินแล้ว อีกส่วนหนึ่งของกำแพงที่ถูกรักษาเอาไว้ก็คือส่วนของตงเปี้ยนเหมิน ซึ่งอยู่ตำแหน่งตรงกันข้ามกับซีเปี้ยนเหมิน โดยอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง ที่ต่างกันก็คือตงเปี้ยนเหมินเหลือกำแพงไว้เป็นช่วงยาวกว่ามาก และเป็นกำแพงส่วนทิศใต้ซึ่งวางตัวตามแนวตะวันออกตก ส่วนที่ซีเปี้ยนเหมินเป็นกำแพงทิศตะวันตกซึ่งวางตัวตามแนวเหนือใต้

ส่วนของกำแพงเมืองใกล้ตงเปี้ยนเหมินปัจจุบันก็เป็นส่วนสาธารณะ เรียกว่าสวนสาธารณะซากกำแพงเมืองสมัยราชวงศ์หมิง (明城墙遗址公园) ซึ่งมีต้นบ๊วยปลูกอยู่เต็มริมกำแพง ที่นี่เราเคยไปเที่ยวมาแล้วและได้เล่าถึงไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20120406



สวนสาธารณะซีเปี้ยนเหมินสามารถเดินทางมาได้ง่ายด้วยรถไฟฟ้า โดยลงที่สถานีฟู่ซิงเหมิน (复兴门站) ครั้งนี้เรามาเที่ยวที่นี่หลังจากที่ไปเที่ยววัดเจี้ยไถ (戒台寺) ซึ่งอยู่นอกเมืองทางตะวันตกของปักกิ่งมา https://phyblas.hinaboshi.com/20150413



จากวัดเจี้ยไถเรานั่งรถเมล์กลับมาถึงรถไฟฟ้าสถานีผิงกั่วหยวน (苹果园站) ซึ่งเป็นสถานีทางทิศตะวันตกสุดสาย ๑ เมื่อย้อนกลับเข้ามาในเมืองก็ต้องผ่านสถานีฟู่ซิงเหมินจึงถือโอกาสแวะมาเที่ยวที่นี่ไปด้วย

ฟู่ซิงเหมิน (复兴门) เป็นชื่อของประตูบนกำแพงเมืองอีกแห่งในปักกิ่ง แต่ไม่ใช่หนึ่งในป้อมประตูเมืองโบราณที่สร้างสมัยราชวงศ์หมิง แต่เพิ่งถูกสร้างเมื่อปี 1939 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒

สมัยนั้นกำแพงเมืองส่วนในยังคงไม่ได้ถูกรื้อทิ้ง เพื่อความสะดวกในการจราจรจึงได้มีการสั่งให้เปิดช่องบนกำแพงขึ้น ประตูนี้เป็นแค่ช่องเปิดบนกำแพงเฉยๆ ไม่ใช่ป้อมประตูแบบพวกป้อมประตูโบราณ นอกจากฟู่ซิงเหมินแล้วก็ยังมีประตูอื่นที่ถูกเปิดอีก และแน่นอนว่าประตูเหล่านี้ก็ถูกรื้อออกไปพร้อมกับกำแพง แต่ว่าชื่อประตูเหล่านี้ก็ยังคงถูกหลงเหลือไว้เป็นชื่อสถานที่จนถึงปัจจุบัน อย่างเช่นฟู่ซิงเหมินซึ่งได้กลายมาเป็นชื่อย่านและชื่อถนนแถวนี้ และก็ได้กลายมาเป็นชื่อสะพานทางยกระดับข้ามแยกและชื่อสถานีรถไฟฟ้า ฟู่ซิงเหมินเป็นสถานีสำคัญเพราะเป็นทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสาย ๑ และสาย ๒

จากสถานีฟู่ซิงเหมินต้องเดินไปทางใต้




ระหว่างทางมีรูปปั้นอยู่ตรงสวนริมถนน นี่เป็นการเต้นระบำของชนกลุ่มน้อย ส่งมาจากเขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่ (大理白族自治州)



ถนนที่เดินอยู่นี้คือถนนวงแหวนที่สองซึ่งเป็นถนนขนาดใหญ่สายหลักสำคัญ ตรงกลางถนนส่วนนี้เป็นสะพานทางยกระดับเอาไว้ข้ามแยก มีชื่อว่าสะพานซีเปี้ยนเหมิน (西便门桥) ซึ่งตั้งชื่อตามซีเปี้ยนเหมิน



มีอุโมงค์ลอดใต้ทางยกระดับอยู่เป็นช่วงๆ



และที่ใต้อุโมงค์ตรงส่วนนี้เองที่มีทางเข้าสวนสาธารณะ



ทางเข้า



เดินเข้ามา



เมื่อเข้ามาก็เห็นซากกำแพงทันที




ป้ายนี้บอกให้รู้ว่าที่นี่ได้รับการคุ้มครองโดยจากหน่วยงานอนุรักษ์วัฒนธรรมที่สำคัญตั้งแต่ปี 2013



ข้างๆเป็นแผ่นหินที่จารึกไว้ว่ามีการซ่อมบำรุงในปี 1988



ส่วนปลายของซากกำแพงที่เหลืออยู่



เดินไปด้านข้างกำแพงสักพักก็เริ่มเห็นตัวหอธนูปาเติ้งหย่านซึ่งเป็นของสร้างเลียนแบบของเก่า



และตรงนี้มีประตูเล็กๆให้ลอดช่องกำแพงได้อยู่



เมื่อลอดผ่านประตูนี้ไป



ก็จะเจอบันไดสำหรับขึ้นไปบนกำแพง



สามารถขึ้นไปเดินบนกำแพงได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าผ่าน




เดินเล่นบนกำแพง




แท่นหินนี้ตั้งขึ้นในปี 1988 ที่มีการปรับปรุงที่นี่



ทางเข้าหอธนูถูกปิดไว้อยู่



มองเข้าไปข้างในก็เห็นกระถางต้นไม้อยู่หลายใบ



แปลงดอกไม้บนกำแพง



มองลงไปชมทิวทัศน์ข้างล่าง



ทิวทัศน์ฝั่งตะวันออกของสวน




มองออกไปทางตะวันตกเพื่อมองหอธนูจากด้านข้าง



ทางตะวันตกนั้นเป็นถนนวงแหวนที่สอง และสะพานทางยกระดับซีเปี้ยนเหมินเฉียว



ทางเดินบนกำแพงส่วนที่อยู่หลังบันไดทางขึ้นนั้นค่อนข้างแคบ



จากสุดปลายฝั่งเหนือของกำแพงมองออกไปยังทิศเหนือ



กลับลงมาด้านล่าง เห็นผู้คนตีแบดกันอยู่



เดินกลับมาด้านตะวันออกของกำแพงอีกที ถ่ายหอธนูจากมุมนี้บ้าง



แถวนี้มีเป็ดเดินอยู่ด้วย





ในนี้ไม่มีอะไรแล้ว มีแค่นี้ โดยรวมแล้วก็คิดว่าไม่เลว เหมือนมาเดินสวนสาธารณะเล่นธรรมดา บรรยากาศร่มรื่น แต่ได้กลิ่นอายของประวัติศาสตร์ไปด้วย

ใช้เวลาเดินในนั้นประมาณแค่ครึ่งชั่วโมง เดินเสร็จก็เป็นเวลาสี่โมง ใกล้ค่ำแล้ว แต่ในตอนนั้นก็นึกได้ว่ามีที่เที่ยวอีกที่ที่ยังอยากไปต่ออยู่ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่นี่ คือสวนสาธารณะเยวี่ยถาน (月坛公园) ซึ่งก็เป็นโบราณสถานอีกแห่งที่กลายมาเป็นสวนสาธารณะ

ในขณะที่เริ่มเหนื่อยจากการเที่ยวและเดินทางไกล แต่ก็ยังอยากเที่ยวต่อให้หมดวันจากนั้นก็หาอะไรกินแล้วค่อยเดินทางกลับหอพัก

ดังนั้นเมื่อเดินเสร็จเราก็ออกประตูเดิมไปแล้วก็เดินลงมาตามถนนวงแหวนที่สองลงมาทางใต้ต่อ



จากตรงนี้มองกลับไปก็ยังสามารถเห็นหอธนูได้อยู่ด้วย



เราได้เดินมาขึ้นรถเมล์ที่ป้ายเทียนหนิงซื่อเฉียวตง (天宁寺桥东) โดยสะพานเทียนหนิงซื่อ (天宁寺桥) เป็นสะพานทางยกระดับที่อยู่ถัดจากสะพานซีเปี้ยนเหมินมาทางตะวันตก ซึ่งป้ายรถเมล์นี้อยู่ทางตะวันตกของสะพานซีเปี้ยนเหมินจึงชื่อว่าเทียนหนิงซื่อเฉียวตง แปลว่าตะวันออกของสะพานเทียนหนิงซื่อ เทียนหนิงซื่อ (天宁寺) คือวัดแห่งหนึ่งที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเหมือนกัน แต่ครั้งนี้เราไม่มีแผนจะแวะวัดนี้ ไว้โอกาสหน้ากะว่าจะแวะมาเที่ยวเหมือนกัน

จากตรงนี้มีรถเมล์สาย 42 ที่สามารถไปยังเยวี่ยถานได้ รอสักพักรถก็มาแล้วเราก็ขึ้นรถเพื่อเดินทางไปยังเยวี่ยถาน https://phyblas.hinaboshi.com/20150417




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文