φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



พิพิธภัณฑ์บรรพชีวินวิทยาจิ่นโจว ที่จัดแสดงฟอสซิลยุคไดโนเสาร์
เขียนเมื่อ 2015/07/26 22:54
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:18
#เสาร์ 23 พ.ค. 2015

ชื่อเมืองจิ่นโจว (锦州) นั้นนอกจากจะโด่งดังจากยุทธการจิ่นโจว (锦州战役) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธการเหลียวเสิ่น (辽沈战役) แล้ว ยังเป็นที่รู้จักในฐานะชื่อของไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งด้วย คือจิ่นโจวเซารุส (Jinzhousaurus) หรือเรียกในภาษาจีนว่าจิ่นโจวหลง (锦州龙)

ฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ถูกขุดพบเมื่อปี 2001 ที่อำเภออี้เซี่ยน (义县) ในจังหวัดจิ่นโจว ซากที่ขุดพบนั้นมีสภาพเกือบสมบูรณ์แบบ คาดว่ามีอายุประมาณร้อยกว่าล้านปีก่อนซึ่งเป็นช่วงยุคเครทาเชียสตอนต้น มีขนาดประมาณ ๗ เมตร จากการวิจัยในปัจจุบันได้จัดจิ่นโจวเซารุสอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์ปากเป็ด (Hadrosauroidae)

จิ่นโจวเซารุสเป็นชื่อสกุล มีอยู่สายพันธุ์เดียวคือ Jinzhousaurus yangi โดย yangi นี้มาจากชื่อแซ่หยางของนักบรรพชีวินวิทยาชาวจีนชื่อหยางจงเจี้ยน (杨钟健)

อำเภออี้เซี่ยน อีกทั้งบริเวณรอบๆในมณฑลเหลียวหนิงตอนตะวันตกเป็นแหล่งขุดฟอสซิลที่สำคัญแห่งหนึ่งของจีน มีการค้นพบฟอสซิลต่างๆมากมาย ในปี 2000 ได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์บรรพชีวินจิ่นโจว (锦州古生物博物馆) ขึ้น โดยตั้งอยู่หน้าทางเข้าหออนุสรณ์ยุทธการเหลียวเสิ่น (辽沈战役纪念馆) ที่นี่จัดแสดงฟอสซิลที่ขุดพบได้ในบริเวณแถวๆนี้ รวมทั้งจิ่นโจวเซารุส

ซากฟอสซิลที่ขุดพบที่นี่จัดอยู่ในหมวดหินอี้เซี่ยน (义县组) ซึ่งเป็นส่วนหนื่งของชีวชาติเร่อเหอ (热河群) สิ่งมีชีวิตที่ขุดพบมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคเครทาเชียส (140 - 65 ล้านปีก่อน) ตอนต้น ซึ่งอยู่ในมหายุคเมโซโซอิก (250 - 65 ล้านปีก่อน) ยุคแห่งไดโนเสาร์



หลังจากที่เที่ยวหออนุสรณ์ยุทธการเหลียวเสิ่นเสร็จในตอนที่แล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20150724

ก็เดินย้อนกลับมาตรงหน้าทางเข้าก็เจอกับพิพิธภัณฑ์บรรพชีวินจิ่นโจว ความจริงแล้วที่นี่เป็นที่ที่ไม่ได้หาข้อมูลมาก่อนเลย ไม่รู้ว่ามีอยู่ด้วยเพราะไม่มีข้อมูลในเว็บท่องเที่ยว และไม่ปรากฏในแผนที่ด้วย เป็นแค่อาคารเล็กๆที่ไม่ได้โดดเด่นสะดุดตาเท่าไหร่ แต่ถึงจะเล็กแต่ข้างในก็จัดแสดงอะไรอยู่ไม่น้อยเลย

ด้านหน้าทางเข้ามีรูปปั้นจิ่นโจวเซารุส



เข้ามาด้านในอาคาร ต้องซื้อบัตรเข้าชม ราคา ๑๐ หยวน ถ้าเป็นนักเรียนก็ลดครึ่งราคาเหลือ ๕ หยวน แต่ตอนที่ซื้อบัตรลืมนึกไปเพราะตอนแรกไม่คิดว่าจะต้องมีค่าเข้าด้วย ก็เลยเผลอจ่ายไปทันทีโดยไม่ทันได้ถามว่าบัตรนักเรียนลดได้หรือเปล่า น่าเสียดาย ความจริงแล้วสถานที่เที่ยวทุกแห่งที่ไปมาในจิ่นโจวที่เก็บค่าเข้าสามารถใช้บัตรนักเรียนลดได้หมด



แม้จะเล็กแต่ด้านในมีจัดแสดงอะไรมากมาย และยังมีชั้นใต้ดินด้วยก็เลยดูมีอะไรมากกว่าที่คิด



นอกจากจัดแสดงฟอสซิลแล้วก็ยังมีให้ข้อมูลความรู้ต่างเกี่ยวกับฟอสซิลและการแบ่งยุคต่างๆทางธรณีกาล



鹦鹉嘴龙 Psittacosaurus ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว



朝阳长翼鸟 Longipteryx chaoyangensis นกขนยาวเฉาหยาง ชื่อสายพันธุ์ตั้งชื่อตามสถานที่ค้นพบคือจังหวัดเฉาหยางในมณฑลเหลียวหนิง



郑氏波罗赤鸟 Boluocbia zhengi นกโบราณชนิดหนึ่งที่ตั้งชื่อตามสถานที่ค้นพบคือที่ตำบลปัวหลัวชื่อ (波罗赤) ในจังหวัดเฉาหยาง



三塔中国鸟 Sinornis santensis นกโบราณอีกชนิด



孔子鸟 Confuciusornis นกขงจื๊อ นกโบราณที่ได้ตั้งชื่อสกุลเป็นชื่อขงจื๊อเพราะว่าหัวหน้ากลุ่มที่วิจัยนกชนิดนี้คือโหวเหลียนไห่ (侯连海) เป็นคนมณฑลซานตงซึ่งเป็นบ้านเกิดของขงจื๊อ



始反鸟 Eoenantiornis นกโบราณอีกชนิดหนึ่ง



驰龙 Dromaeosaurus ไดโนเสาร์จำพวกเทโรพอด (theropod) ชนิดหนึ่ง



เดินชมไปเรื่อยๆก็มาถึงบันไดที่เดินลงไปชั้นใต้ดิน



ที่สุดทางด้านล่างของบันไดนั้นเจอฟอสซิลที่ตั้งเด่นอยู่ นั่นคือจิ่นโจวเซารุส



ชั้นล่างเป็นแบบนี้



狼鳍鱼 Lycoptera ปลาโบราณที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิกถึงต้นยุคเครทาเชียส



บริเวณนี้ได้สร้างจำลองพื้นที่ที่ไดโนเสาร์อาศัยอยู่ขนาดย่อแล้วเอาแบบจำลองโครงกระดูกของไดโนเสาร์ไปวาง



พวกนี้เป็นไดโนเสาร์ปากนกแก้ว



马鬃龙 Equijubus ไดโนเสาร์ที่มีแผงที่หลังเหมือนม้า



似鸟龙 Ornithomimus เป็นไดโนเสาร์ขนาดประมาณ ๒ เมตร สามารถวิ่งได้เร็ว



古角龙 Archaeoceratops ไดโนเสาร์จำพวกเซราท็อปส์ (Ceratops) ซึ่งเป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่มีเขา เป็นสกุลที่พบได้ในจีน



窃蛋龙 Oviraptor เป็นเทโรพอดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง



จากนั้นที่เหลือก็จัดแสดงพวกฟอสซิลต่างๆต่อ


满洲鳄 Monjurosuchus จระเข้แมนจู มีชีวิตอยู่ในยุคจูราสสิก ถูกพบครั้งแรกในปี 1940 ในสมัยที่บริเวณนี้กลายเป็นประเทศหมั่นโจวกั๋วอยู่



ฟอสซิลเต่า



攀援始祖兽 Eomaia scansoria สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคแรกเริ่มชนิดหนึ่ง ใช้ชีวิตอยู่ในยุคเครทาเชียส ขนาดประมาณ ๑๐ ซม.



枝脉蕨 Cladophlebis เฟิร์นโบราณที่สูญพันธุ์ไปในยุคเครทาเชียส



และอีกมากมายไม่อาจกล่าวถึงทั้งหมดได้ เดินไปเรื่อยๆก็สุดทางแค่นี้



ใช้เวลาอยู่ในนี้นานแค่ ๒๐ นาทีเท่านั้น ชมเสร็จแล้วก็เดินออกมาแล้วเดินลอดอุโมงค์กลับไปยังสถานีรถไฟเพื่อจะไปขึ้นรถเพื่อไปเที่ยวปี่เจี้ยซาน (笔架山) ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการเที่ยวในวันนี้ 
https://phyblas.hinaboshi.com/20150728



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> เหลียวหนิง
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文