φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
หออนุสรณ์ยุทธการเหลียวเสิ่น ที่ระลึกชัยชนะแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน
เขียนเมื่อ 2015/07/24 21:57
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 23 พ.ค. 2015
ในตอนที่แล้วเราได้แนะนำเกี่ยวกับเมืองจิ่นโจวไปคร่าวๆแล้ว และพูดถึงประวัติศาสตร์ของจิ่นโจวรวมถึงความสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณมา
https://phyblas.hinaboshi.com/20150722
ในตอนนี้จะเริ่มแนะนำถึงสถานที่เที่ยวภายในเมืองจิ่นโจวโดยเริ่มจากที่แรกคือ
หออนุสรณ์ยุทธการเหลียวเสิ่น (辽沈战役纪念馆)
ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ยุทธการเหลียวเสิ่นซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก มีส่วนในการก่อให้เกิดจุดเปลี่ยนที่สำคัญทางการเมืองของจีน
ก่อนอื่นขอกล่าวนำถึงประวัติศาสตร์ของสงครามครั้งนี้ก่อน
เมื่อสมัยก่อนที่จีนจะกลายมาเป็นอย่างทุกวันนี้ต้องผ่านการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอะไรต่างๆมามากมาย เดิมทีจีนปกครองด้วยระบบกษัตริย์ แต่พอปี 1911 กษัตริย์ราชวงศ์ชิงก็ถูกโค่นล้มลง ประเทศเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐจีนซึ่งปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย
แต่เหตุการณ์ภายในประเทศก็ยังไม่เรียบร้อยเพราะเกิดการต่อสู้ภายในเพื่อแย่งชิงอำนาจตลอดเวลา ปี 1927 พรรคก๊กมินตั๋ง (国民党) ได้เข้ามากุมอำนาจในการปกครองจีนโดยสมบูรณ์ แต่การเมืองก็ยังคงไม่สงบเพราะพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ (共产党) เริ่มแตกแยกกันทำให้จีนเข้าสู่ยุคสงครามกลางเมืองตั้งแต่ช่วงนั้นมา
เมื่อสงครามกลางเมืองเริ่มต้นพรรคคอมมิวนิสต์มีกำลังน้อยกว่าและค่อนข้างเสียเปรียบมาก มักจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อยู่ตลอดเวลาแต่ยังรอดมาได้และค่อยๆแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ความขัดแย้งนี้มีหยุดพักไปในช่วงที่ญี่ปุ่นมาบุกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองปี 1937 ถึง 1945 เมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้ไปแล้วสงครามกลางเมืองระหว่างสองพรรคจึงดำเนินต่อไป
ในช่วงระหว่างทำสงครามกับญี่ปุ่นนั้นกองทัพทหารของพรรคคอมมิวนิสต์ได้สร้างผลงานไว้มากกว่าฝ่ายก๊กมินตั๋ง จนได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังยึดอาวุธยุทโธปกรณ์จากทางญี่ปุ่นมาได้ด้วย พอถึงปี 1945 จึงมีกำลังเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังถือว่ามีกำลังน้อยกว่าฝ่ายก๊กมินตั๋งอยู่
อย่างไรก็ตามเวลายิ่งผ่านไปรูปการณ์ก็เริ่มจะพลิกกลับขึ้นมาเรื่อยๆ ในช่วงท้ายของสงครามช่วงปี 1948 - 1949 มีศึก ๓ ครั้งใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญซึ่งถูกเรียกว่า
สามยุทธการใหญ่ (三大战役, ซานต้าจ้านอี้)
ซึ่งได้แก่
ยุทธการเหลียวเสิ่น (辽沈战役)
,
ยุทธการหวยไห่ (淮海战役)
และ
ยุทธการผิงจิน (平津战役)
หลังจบการรบ ๓ ครั้งนี้ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งพินาศย่อยยับและสูญเสียอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่ไปจนเกือบหมดสิ้น
การต่อสู้ระหว่างทั้งสองฝ่ายเห็นผลแพ้ชนะในปี 1949 จบลงด้วยชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ ส่วนพรรคก๊กมินตั๋งก็หนีไปตั้งตัวที่ไต้หวัน จีนแผ่นดินใหญ่ได้เข้าสู่ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่น้นมาจนถึงปัจจุบัน
ในยุทธการทั้ง ๓ ครั้งนั้นครั้งที่เป็นครั้งแรกและเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญก็คือยุทธการเหลียวเสิ่น ซึ่งเป็นศึกที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน โดยเป็นการปะทะกันระหว่างกองทัพปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่นำโดยหลินเปียว (林彪) และ หลัวหรงหวน (罗荣桓) และ หน่วยบัญชาการใหญ่ปราบคอมมิวนิสต์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่นำโดยเว่ย์ลี่หวง (卫立煌)
ช่วงต้นปี 1948 ก่อนเริ่มสงครามนี้กองทัพปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์ได้เริ่มยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกได้แล้วจากการชนะในยุทธการฤดูหนาวปี 1947 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (东北1947年冬季战役) และการรบ ๔ ครั้งในยุทธการซื่อผิง (四平战役) ทำให้นี่เป็นภาคเดียงของจีนในตอนนั้นที่พรรคคอมมิวนิสต์มีกำลังเหนือกว่า
อย่างไรก็ตามทางก๊กมินตั๋งก็ยังครอบครองเมืองใหญ่ๆที่สำคัญอย่างเสิ่นหยาง, จิ่นโจว และฉางชุน การจะยึดให้ได้นั้นก็ยังถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย
ในเดือนกันยายน 1948 ยุทธการเหลียวเสิ่นได้เริ่มเปิดฉากขึ้นโดยกองทัพปลดแอกได้เริ่มเปิดศึกโจมตีเมืองจิ่นโจวซึ่งขณะนั้นอยู่ในความดูแลของฟ่านฮ่านเจี๋ย (范汉杰) รองผู้บัญชาการของหน่วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกนี้เรียกว่ายุทธการจิ่นโจว (锦州战役)
ในขณะที่ศึกกำลังเดินอยู่นั้นเจียงไคเชก (蒋介石, เจี่ยงเจี้ยสือ) ผู้นำก๊กมินตั๋งได้บินมายังเสิ่นหยางเพื่อบัญชาการรบด้วยตัวเอง เขาได้สั่งให้เลี่ยวเย่าเซียง (廖耀湘) ผู้นำหมู่ทัพที่ ๙ ของก๊กมินตั๋ง นำทัพจากเสิ่นหยางไปช่วยรบทางจิ่นโจวแต่ก็ถูกสกัดไว้โดยการซุ่มโจมตีทำให้ไม่สามารถเข้ามาเสริมกำลังที่จิ่นโจวได้ และในที่สุดในเดือนตุลาคมกองทัพปลดแอกก็สามารถยึดเมืองจิ่นโจวมาได้ ฟ่านฮ่านเจี๋ยและทหารจำนวนมากถูกจับเป็นเชลย
ส่วนทางเมืองฉางชุนนั้นกองทัพปลดแอกได้ปิดล้อมเมืองมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมแล้ว จนถึงเดือนตุลาคมก็ผ่านมาแล้ว ๕ เดือน เนื่องจากเริ่มขาดแคลนเสบียงและอาวุธ ขวัญกำลังใจของทหารก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ ในที่สุดจึงประกาศยอมแพ้ เจิ้งต้งกั๋ว (郑洞国) รองผู้บัญชาการอีกคนก็ยอมจำนนแล้วแปรพักตร์ ทำให้ทางกองทัพปลดแอกจึงยึดเมืองฉางชุนได้สำเร็จ ศึกนี้เรียกว่าศึกปิดล้อมฉางชุน (长春围困战)
สถานการณ์เริ่มเป็นลางหายนะของฝ่ายก๊กมินตั่ง แต่เจียงไคเชกก็ยังคงไม่ตัดใจ สั่งให้เลี่ยวเย่าเซียงพยายามตีเอาเมืองจิ่นโจวคืนมาให้ได้ แต่กองทัพของเลี่ยวเย่าเซียงก็ถูกซุ่มโจมตีแถวเฮย์ซาน (黑山) จนแตกพ่าย เลี่ยวเย่าเซียงถูกจับเป็นเชลย ศึกนี้เรียกว่าศึกซุ่มโจมตีที่เฮย์ซาน (黑山阻击战)
ปลายเดือนตุลาคมกองทัพปลดแอกก็เข้าปิดล้อมเสิ่นหยาง เว่ย์ลี่หวงได้ขึ้นเครื่องบินหนีออกจากเสิ่นหยางไปในระหว่างนี้ จากนั้นพอเข้าเดือนพฤศจิกายนกองทัพปลดแอกก็ยึดเสิ่นหยางได้สำเร็จ เท่ากับว่าหัวเมืองหลักทั้ง ๓ แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือถูกตีมาได้ทั้งหมด ปิดฉากยุทธการเหลียวเสิ่นลง
ชัยชนะในยุทธการเหลียวเสิ่นนี้ทำให้กองทัพปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์สามารถยึดภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนได้ทั้งหมด ส่วนทางก๊กมินตั๋งต้องสูญเสียทรัพยากรในบริเวณนี้ไปทั้งหมด และเป็นจุดเริ่มที่กองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มมีกำลังเหนือพรรคก๊กมินตั๋งขึ้นมาเป็นครั้งแรก
หลังจากนั้นเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์รบชนะในยุทธการหวยไห่และยุทธการผิงจินที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยตามกันมาติดๆ ก็ทำให้กลายเป็นฝ่ายที่มีกำลังเหนือกว่าขึ้นมาอย่างท่วมท้น และนำไปสู่การรวมประเทศได้ในที่สุด
เพื่อเป็นที่ระลึกสงครามนี้จึงมีการสร้างหออนุสรณ์ยุทธการเหลียวเสิ่นขึ้นในปี 1959 ที่เมืองจิ่นโจวซึ่งเป็นเมืองจุดเริ่มต้นของยุทธการนี้ โดยสร้างไว้ที่ข้างๆวัดกว่างจี้ (广济寺) ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมือง แต่ว่าในปี 1985 ได้มีการสร้างที่ใหม่ขึ้นและสร้างเสร็จในปี 1988 จึงย้ายไปอยู่ที่นั่น ซึ่งก็คือสถานที่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสถานีรถไฟจิ่นโจว
จากตอนที่แล้วเราทานข้าวเที่ยงที่หน้าสถานีรถไฟจิ่นโจวเสร็จ จากนั้นก็เดินตามถนนด้านหน้าสถานีรถไฟคือถนนหยานอาน (延安路) ไปทางตะวันออกเรื่อยๆ
จนมาถึงถนนใหญ่เส้นหนึ่งคือถนนหยวินเฟย์ (云飞街) ก็เลี้ยวซ้ายไปทางทิศเหนือ
ลอดผ่านอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟไป
พอผ่านอุโมงค์ออกมาก็จะเริ่มมองเห็นทางเข้าอยู่โดดเด่นมาแต่ไกล
เดินเข้ามาด้านใน
ก่อนอื่นดูแผนที่ จะเห็นว่าถ้าเดินตรงเข้าไปเรื่อยๆก็จะเจออนุสาวรีย์และหอจัดแสดง
เดินตรงเข้ามาเรื่อยๆเจออนุสาวรีย์ มีคนเต็มเลยน่าจะมาเที่ยวกันเป็นหมู่คณะ
ข้างๆอนุสาวรีย์มีแผ่นป้ายเขียนบันทึก ลงวันที่ปี 1957
เดินมายื่นพาสปอร์ตเพื่อรับบัตรเข้าชมฟรีตรงนี้ แล้วก็ต้องฝากกระเป๋าด้วย
หออนุสรณ์
เข้ามาด้านในอาคาร
เริ่มเข้าสู่ห้องแรกซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โดยเริ่มต้นตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1945
รายละเอียดในนี้เยอะมาก คงไม่อาจเล่าได้ไหว คงได้แต่ยกมาคร่าวๆบางส่วน
เส้นทางเดินในช่วงต้นของสงคราม ปี 1945 ของทหารแปดวิถี ปาลู่จวิน (八路军) กองกำลังที่สำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์
รูปพวกผู้นำคนสำคัญของกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ ที่สำคัญสุดคือคนซ้ายบนสุด หลินเปียว
สงครามที่ซื่อผิงครั้งที่ ๒ ในปี 1946
แผนที่แสดงพื้นที่ที่ฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ยึดมาได้ในช่วงปี 1946 ก่อนที่สงครามเต็มรูปแบบจะเริ่มเปิดฉากขึ้น
ในนี้ยังมีจัดแสดงข้าวของต่างๆมากมายที่ใช้ในสมัยนั้น
หนังสือตำราเรียนและหลักฐานแสดงการจบการศึกษาของโรงเรียนทหาร แล้วก็เหรียญตรา
ยุทธการหลินเจียง (临江战役) ในปี 1946 - 1947 เกิดขึ้นที่หลินเจียง (临江) มณฑลจี๋หลินในปัจจุบัน
ในปี 1947 กองทัพปลดปล่อยได้ทำการบุกโจมตีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓ ครั้งใน ๓ ฤดู ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ยึดเขตแดนมาได้มากมาย
ปืนกลที่ใช้ในการบุกโจมตีฤดูร้อน
ผลจากศึกที่ผ่านมาทำให้พอขึ้นปี 1948 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ตกเป็นของฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ นี่เป็นการปูทางก่อนเริ่มยุทธการเหลียวเสิ่น
หลังจากที่ก่อนหน้านี้เป็นส่วนเท้าความ พอมาถึงส่วนนี้ก็เข้าสู่เรื่องราวของยุทธการเหลียวเสิ่น
รถถังรุ่นกงเฉิน (功臣号坦克) เป็นรถถังที่สร้างขึ้นภายในโรงงานของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในเสิ่นหยาง หลังญี่ปุ่นแพ้สงครามแล้วถอยทัพออกไปรถถังนี้ก็ได้ตกเป็นของกองทัพปลดปล่อยพรรคคอมมิวนิสต์
ข้างๆมีปืนตั้งอยู่จำนวนมากมาย
และปืนใหญ่
แบบจำลองแสดงเส้นทางการบุกโจมตีจิ่นโจว
ในสมรภูมิรบที่ถ่าซาน (塔山) ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองจิ่นโจวมีการปะทะกันอย่างดุเดือดจนเละ จากที่ต้นไม้ขึ้นเยอะแยะในบริเวณนั้นก็เหลือแต่ซากไม้แห้ง
การบุกเข้ายึดจิ่นโจว
ศึกที่เฮย์ซานและต้าหู่ซาน
การบุกเข้ายึดเสิ่นหยาง เป็นการปิดท้ายยุทธการนี้
ชาวเมืองฉลองชัยชนะ
ตรงนี้เขียนถึงสถิติสรุปผลของศึกนี้ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
อุปกรณ์ เครื่องใช้ และอาวุธต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการรบในช่วงนี้วางจัดแสดงอยู่มากมาย
ธงที่เขียนว่า 打到南京去,活捉蒋介石 "ตีหนานจิงให้แตก แล้วจับเป็นเจียงไคเชก"
จบบริเวณที่เล่าประวัติศาสตร์แล้ว จากนั้นเดินถัดไปเป็นส่วนที่อธิบายเกี่ยวกับเรื่องการสนับสนุนจากประชาชน เพราะการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์จะไม่อาจสำเร็จได้ถ้าขาดประชาชน
ถัดมาเดินลงไปข้างล่างเป็นหอจัดแสดงเกี่ยวกับวีรบุรุษในสงครามนี้
ในนี้มีภาพและรูปปั้นของบุคคลต่างๆมากมาย
เหรียญตราต่างๆ
ถัดมาเป็นร้านขายของที่ระลึก
และส่วนสุดท้ายคือห้องแสดงภาพพาโนรามา
ในนี้เป็นห้องครึ่งทรงกลม รอบๆรายล้อมด้วยแบบจำลองและภาพวาดจำลองเหตุการณ์ทั้ง ๓๖๐ องศา
ดูแล้วสมจริงมาก ห้องแบบนี้ว่าไปแล้วคล้ายกับที่
หออนุสรณ์ต้านอเมริกาหนุนเกาหลีเหนือ (抗美援朝纪念馆)
ที่เมือง
ตานตง (丹东)
ซึ่งไปมาก่อนหน้านี้เลย
https://phyblas.hinaboshi.com/20141001
เสร็จจากตรงนี้ไปก็เป็นทางออก พอออกมาจากอาคารก็มาโผล่แถวใกล้ประตูหลังของที่นี่
ที่ประตูหลังมีป้ายชี้ทางไปยัง
สถานบัญชาการแนวหน้ายุทธการเหลียวเสิ่น (辽沈战役前线指挥所)
ซึ่งอยู่ห่างออกไป ๒๒ กม. นั่นก็เป็นสถานที่เที่ยวอีกแห่งแต่อยู่ไกลออกไปมากไปและไม่ได้มีอะไรมากมายจึงไม่ได้อยู่ในแผน
ใกล้ๆตรงนั้นยังมีสวนที่จัดแสดงเครื่องบินรบจำนวนหนึ่งที่ใช้โดยกองทัพปลดปล่อย
จบแล้ว ในนี้ใหญ่และมีรายละเอียดมากพอสมควรถ้าใครที่สนใจเกี่ยวกับสงครามคงชอบใจอยู่ไม่น้อย แต่ว่าสำหรับเราแล้วสนใจประวัติศาสตร์โดยรวมๆมากกว่าที่จะอยากเจาะลึกเกี่ยวกับสงครามจึงไม่ได้เก็บรายละเอียดมากเท่าไหร่ แค่อยากรู้คร่าวๆว่าสงครามเกิดขึ้นอย่างไร มีผลลงเอยเป็นยังไง มีผลกระทบอะไรต่อมาบ้าง
ภายในบริเวณของอนุสรณ์สถานแห่งนี้นอกจากจะจัดแสดงเกี่ยวกับสงครามแล้วก็ยังมี
พิพิธภัณฑ์บรรพชีวินจิ่นโจว (锦州古生物博物馆)
ตั้งอยู่ตรงด้านหน้าทางเข้าด้วย ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่แม้จะขนาดเล็กแต่ก็ถือว่าน่าสนใจไม่น่าพลาดอีกแห่ง ตรงส่วนนี้จะพูดถึงในตอนต่อไป
https://phyblas.hinaboshi.com/20150726
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ท่องเที่ยว
>>
พิพิธภัณฑ์
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
เหลียวหนิง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเล่นริมฝั่งทะเลเบปปุยามเช้า มีหาดทรายนิดหน่อย
ปราสาทคิฟุเนะ จุดชมทิวทัศน์ยุเกมุริ เบปปุทาวเวอร์
เบปปุจิโงกุเมงุริ เที่ยวชมอนเซงบ่อนรกที่มีสีสันสวยงามแปลกตาทั้ง ๗ แห่งในเบปปุ
ขึ้นรถกระเช้าเบปปุไปยังยอดเขาทสึรุมิสูง ๑๓๗๕ เมตร มองเห็นเมืองเบปปุริมฝั่งทะเลจากมุมสูง
เดินไปตามถนนยุโนะทสึโบะ ชมยุฟุอิงฟลอรัลวิลเลจ แวะกินตามข้างทางไปเรื่อย
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文