φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
หออนุสรณ์ต้านอเมริกาหนุนเกาหลีเหนือ
เขียนเมื่อ 2014/10/01 23:59
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 14 ก.ย. 2014
หลังจากที่ได้ชมทิวทัศน์เมืองตานตงจากมุมสูงเสร็จแล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20140929
ต่อมาเป้าหมายที่จะไปก็คือ
หออนุสรณ์ต้านอเมริกาหนุนเกาหลีเหนือ (抗美援朝纪念馆, ค่างเหม่ย์หยวนเฉาจี้เนี่ยนกว่าน)
ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เล่าประวัติศาสตร์สมัยสงครามเกาหลีซึ่งเกิดในช่วงปี 1950 - 1953 โดยในตอนนั้นเกาหลีได้แยกเป็นเหนือและใต้ โดยฝ่ายเหนือได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต ส่วนฝ่ายใต้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ผลของสงครามทำให้เส้นแบ่งดินแดนเกาหลีเหนือและใต้กลายมาเป็นอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
มาเที่ยวตานตงนี้นอกจากจะได้มองเห็นเกาหลีเหนือจากระยะใกล้แล้วยังได้ศึกษาประวัติศาสตร์ด้วย เพื่อที่จะเข้าใจที่มาที่ไปมากขึ้นว่าทำไมเกาหลีเหนือจึงได้กลายมาเป็นอย่างทุกวันนี้
เดินจากสถานีรถไฟใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง ไกลพอสมควรแต่ไม่มีปัญหา ผังเมืองนี้เข้าใจไม่ยากเลย คือมีแม่น้ำอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนทางตะวันตกเฉียงเหนือติดภูเขา ตัวเมืองเป็นแนวยาวจากตะวันออกเฉียงเหนือไปตะวันตกเฉียงใต้ขนาบโดยแม่น้ำและภูเขา และทางรถไฟลากผ่านใจกลางเมือง
ระหว่างทางต้องลอดใต้ทางรถไฟเพื่อข้ามไปซีกตะวันตกเฉียงใต้
เมื่อลอดผ่านรางรถไฟออกมาตรงบริเวณนี้ก็เป็นซีกตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง ภาพที่ถ่ายระหว่างทาง
เห็นมีบริเวณที่ก่อสร้างอยู่ไม่น้อยเลย เมืองนี้ดูเหมือนพยายามจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ
ถึงปากทางเข้า ตัวหออนุสรณ์อยู่บนเขา ต้องปีนขึ้นไป
ที่จริงแล้วตรงนี้เป็นทางเข้าด้านหลัง ทางเข้าด้านหน้าจะต้องเข้าจากหลังเขา
ขึ้นมาถึงก็เห็นมีคนมามากมายเลย เด็กๆก็มีไม่น้อยเหมือนมาทัศนศึกษากัน
ตรงข้ามอาคารอนุสรณ์มีอนุสาวรีย์เป็นหอคอยสูงตั้งอยู่
มีคนเล่นว่าวอยู่หน้าอนุสาวรีย์
มองลงไปจะเห็นที่จอดรถและบ้านเมืองที่อยู่หลังเขา เดี๋ยวตอนกลับก็จะออกไปทางนี้
เวลาที่จะเข้าต้องไปรับบัตรเข้าชมจากด้านข้างอาคาร ค่าเข้าฟรี ถ้าถือกระเป๋ามาด้วยจะต้องเอาไปฝากด้วย ค่าฝาก ๓ หยวน
ในการเดินเที่ยวข้างในนี้ต้องเป็นไปตามลำดับจะเดินย้อนไม่ได้ แต่เส้นทางไม่ได้ต่อเนื่องกันดีเสียทีเดียวต้องดูป้ายให้ดี เราเดินเข้าไปทีแรกมึนๆพลาดบางห้องไปเดินยังไม่ทั่วก็ถึงทางออกแล้ว จะเดินย้อนกลับไปเขาก็ไม่ให้ก็เลยต้องไปเอาบัตรแล้วเข้าใหม่เป็นรอบสอง คนแจกบัตรจำหน้าได้ด้วยเลยสงสัยว่าจะเข้าไปทำไมอีกรอบเลยต้องอธิบายให้เขาฟัง
เข้ามาด้านใน
แด่ผู้ที่เป็นที่รัก
ห้องจัดแสดงลำดับแรกเล่าเรื่องสงครามตั้งแต่เริ่มต้นที่เกาหลีแยกเป็นสองประเทศและเริ่มรบกัน ช่วงนั้นเกาหลีเหนือและใต้ผลัดกันรุกรับจนสุดท้ายมาลงเอยที่แผนที่ดังที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
เนื้อหามีเขียนทั้งเป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษตลอด เท่าที่อ่านดูค่อนข้างเขียนในลักษณะที่ว่าอเมริกาเป็นตัวร้าย ไม่แปลกเพราะใครเป็นคนเขียนประวัติศาสตร์คนนั้นก็ต้องพยายามเข้าข้างฝ่ายตัวเองและถล่มฝ่ายตรงข้าม
รูปคิมอิลซ็อง ผู้นำคนแรกของเกาหลีเหนือตอนยังอายุน้อย เห็นแล้วทีแรกนึกว่าคิมจองอึนเสียอีก คล้ายกันจริงๆสมแล้วที่เป็นปู่หลาน
กราฟนี้แสดงถึงกำลังและทรัพยากรของจีนและสหรัฐฯในสมัยนั้นเปรียบเทียบกัน ทางซ้ายคือจีน จะเห็นว่าด้อยกว่าอย่างขาดลอยแทบทุกด้าน
นี่คืออาวุธชีวภาพที่อเมริกาใช้ในสงครามครั้งนั้น แต่ทางจีนและเกาหลีเหนือป้องกันไว้ได้จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร
พูดถึงการสนับสนุนจากโซเวียต
คาทยูชา เครื่องยิงจรวดของโซเวียต
แบบจำลองเส้นทางขนส่งในตอนที่รบ
ห้องนี้จัดแสดงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเกาหลี
ห้องนี้เกี่ยวกับกองทัพทหารอากาศ
สัญลักษณ์กองทัพอากาศของประเทศต่างๆ มีของไทยด้วย
ระเบิดอากาศ
หลังจากตรงนี้เป็นช่วงสุดท้าย ทางเดินเวียนเพื่อขึ้นไป
ด้านบนนี้เป็นห้องครึ่งทรงกลม รอบๆรายล้อมด้วยแบบจำลองและภาพวาดจำลองเหตุการณ์
ทำได้สมจริงมากทีเดียว ราวกับว่าหลุดเข้าไปอยู่ในนั้นจริงๆเลย ดูแค่ในภาพที่ถ่ายมานี้อาจจะไม่เห็นว่ามันสมจริงแค่ไหน ต้องลองไปดูกับตาตัวเอง
ภายในอาคารจัดแสดงดูจบแค่นี้ หลังจากนั้นออกจากอาคารมาเดินไปด้านหลังจะเจอกับสนามที่จัดแสดงพวกรถสงคราม สามารถเข้าชมได้แต่ค่าเข้า ๑๐ หยวน เราไม่ได้เข้าไปเพราะดูจากตรงนี้ก็เห็นทั้งหมดแล้ว
แล้วข้างๆก็มีสนามสำหรับเล่นเกมยิงปืนลูกกระสุนสี
หลังจากนั้นเราก็เดินลงไปหาที่เรียกแท็กซีเพื่อจะเดินทางไปยังที่เที่ยวต่อไป เวลาขณะนั้นบ่ายๆแล้วแต่ก็ยังดูจะมีเวลาเหลือเฟืออยู่ แต่แท็กซีที่นี่ไม่แพงเลยเพื่อความสะดวกจึงเลือกแท็กซี
ตอนต่อไปจะไปเดินชมริมแม่น้ำยาลู่มองเกาหลีเหนืออย่างใกล้ชิด
https://phyblas.hinaboshi.com/20141003
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ท่องเที่ยว
>>
พิพิธภัณฑ์
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
เหลียวหนิง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเล่นริมฝั่งทะเลเบปปุยามเช้า มีหาดทรายนิดหน่อย
ปราสาทคิฟุเนะ จุดชมทิวทัศน์ยุเกมุริ เบปปุทาวเวอร์
เบปปุจิโงกุเมงุริ เที่ยวชมอนเซงบ่อนรกที่มีสีสันสวยงามแปลกตาทั้ง ๗ แห่งในเบปปุ
ขึ้นรถกระเช้าเบปปุไปยังยอดเขาทสึรุมิสูง ๑๓๗๕ เมตร มองเห็นเมืองเบปปุริมฝั่งทะเลจากมุมสูง
เดินไปตามถนนยุโนะทสึโบะ ชมยุฟุอิงฟลอรัลวิลเลจ แวะกินตามข้างทางไปเรื่อย
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文