φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



การจัดการวันเวลาใน python ด้วย datetime
เขียนเมื่อ 2016/06/21 19:35
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
มอดูล datetime เป็นหนึ่งในมอดูลภายในตัวของไพธอน มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องวันเดือนปีและเวลาต่างๆ

หน้าที่มีความคล้ายคลึงกับมอดูล time (อ่านรายละเอียดใน https://phyblas.hinaboshi.com/20160610) แต่ก็มีความต่างกันอยู่ บางครั้งก็อาจใช้ร่วมกัน

datetime มักถูกใช้เมื่อต้องการจัดการกับข้อมูลที่อยู่ในรูปของวันเดือนปีหรือเวลาชั่วโมงนาทีวินาที

เวลาและวันเดือนปีนั้นเป็นปริมาณที่ใช้หน่วยหลากหลายในการอธิบาย และการแปลงหน่วยก็มีความยุ่งยากเพราะมีความไม่สม่ำเสมอ เช่นจำนวนวันในหนึ่งปีหรือหนึ่งเดือนเป็นต้น

การใช้ออบเจ็กต์พิเศษของ datetime จะทำให้การคำนวณทำได้โดยง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ง่ายด้วย

การใช้มอดูลนี้ก่อนอื่นต้องเริ่มจากทำการ import เรียกใช้ก่อน
import datetime



ออบเจ็กต์พิเศษใน datetime
มอดูล datetime นั้นมีการนิยามคลาสของออบเจ็กต์สำหรับเก็บค่าวันเดือนปีและเวลาโดยเฉพาะ มีอยู่ ๔ ชนิดคือ
datetime.date ออบเจ็กต์เก็บค่าวันเดือนปี
datetime.time ออบเจ็กต์เก็บค่าเวลา
datetime.datetime เป็นออบเจ็กต์ที่เอา datetime.date กับ datetime.time มารวมกัน เก็บค่าทั้งวันเดือนปีและเวลา
datetime.timedelta ออบเจ็กต์เก็บค่าระยะห่างระหว่างเวลาซึ่งมีหน่วยเป็นวันและวินาที

datetime.date จะเก็บค่าตัวเลขปี เดือน วัน ทั้งหมดเป็นจำนวนเต็มเอาไว้ ในการสร้าง datetime.date จะต้องใส่ค่าปี, เดือน, วัน ตามลำดับ เช่น
datetime.date(1905, 6, 1)

เมื่อใช้คำสั่ง print จะแสดงผลเป็น ปี-เดือน-วัน
print(datetime.date(1905, 6, 1)) # ได้ 1905-06-01

ค่าเดือนจะใส่ได้แค่ 1 ถึง 12 และค่าวันจะใส่ได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับจำนวนวันในเดือนนั้น และทั้งหมดต้องเป็นจำนวนเต็มเท่านั้น จะมีทศนิยมไม่ได้ ถ้าใส่ค่าที่ไม่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดจะเกิดข้อผิดพลาดทันที เช่น
datetime.date(1911,2,29) # ได้ ValueError: day is out of range for month
datetime.date(1911,0,28) # ได้ ValueError: month must be in 1..12
datetime.date(1911,2,27.1) # ได้ TypeError: integer argument expected, got float

ส่วน datetime.time จะเก็บค่าเวลาในหน่วยชั่วโมง, นาที, วินาที และไมโครวินาที การสร้าง datetime.time จะต้องใส่ค่า ชั่วโมง, นาที, วินาที และไมโครวินาที เรียงตามลำดับ โดยจะใส่แต่ค่าชั่วโมงอย่างเดียวก็ได้ ค่าที่เหลือจะเป็น 0 เช่น
datetime.time(1) # คือ 1 ชั่วโมง 0 นาที 0 วินาที 0 ไมโครวินาที
datetime.time(23, 59, 59, 999999) # คือ 23 ชั่วโมง 59 นาที 59 วินาที 999999 ไมโครวินาที

เมื่อสั่ง print จะแสดงผลเป็น ชั่วโมง:นาที:วินาที.ไมโครวินาที
print(datetime.time(23, 59, 59, 999999)) # ได้ 23:59:59.999999

ค่าชั่วโมงจะต้องอยู่ในช่วง 0 ถึง 23 นาทีและวินาทีเป็น 0 ถึง 60 ส่วนไมโครวินาทีตั้งแต่ 0 ถึง 999999 ค่าทั้งหมดต้องเป็นจำนวนเต็มเท่านั้น

ส่วนออบเจ็กต์ชนิด datetime.datetime นั้นเป็นตัวที่รวม datetime.date กับ datetime.time เข้าด้วยกัน คือจะเก็บค่า ปี, เดือน, วัน, ชั่วโมง, นาที, วินาที, ไมโครวินาที

เวลาที่สร้าง datetime.datetime ขึ้นมาก็ใส่ค่าเรียงไล่ตั้งแต่ปีไปจนถึงไมโครวินาที โดยอาจใส่แค่ปีเดือนวัน ๓ ตัวเท่านั้นส่วนที่เหลือละไว้ก็ได้ เช่น
datetime.datetime(2016,6,21) # 21 มิ.ย. 2016 เวลา 0:00:00:000000 น.

เมื่อสั่ง print จะแสดงผลเป็น ปี-เดือน-วัน ชั่วโมง:นาที:วินาที.ไมโครวินาที
print(datetime.datetime(2016,6,21,17,35,30,115421)) # ได้ 2016-06-21 17:35:30.115421

ส่วน datetime.timedelta นั้นจะเก็บค่าช่วงระยะเวลา โดยเก็บในรูปของวัน, วินาที และ ไมโครวินาทีเท่านั้น โดย 1 วันมีค่าเท่ากับ 60*60*24 = 86400 วินาที

การสร้าง datetime.timedelta นั้นต้องใส่ค่าเป็น วัน, วินาที และไมโครวินาที ตามลำดับ โดยสามารถละตัวหลังแล้วใส่แต่ตัวแรกๆก็ได้ เช่น
datetime.timedelta(1, 60) # คือ 1 วัน 60 วินาที (1 นาที)

ค่าวันและวินาทีจะเป็นทศนิยมก็ได้ ถ้าใส่เป็นทศนิยมค่าจะถูกแปลงไปเป็นตัวหลังแทน เช่น
datetime.timedelta(1.1) # กลายเป็น datetime.timedelta(1, 8640)
datetime.timedelta(1.1111111111) # กลายเป็น datetime.timedelta(1, 9599, 999999)

ในทางกลับกันหากใส่ค่าวินาทีเกิน 86400 ก็จะถูกแปลงเป็นวัน และหากใส่ไมโครวินาทีเกิน 1 ล้านก็จะถูกแปลงเป็นวินาที

ค่าที่ใส่จะติดลบก็ได้ ถ้าหากวินาทีหรือไมโครวินาทีติดลบจะถูกนำไปหักจากวันและวินาทีตามลำดับ เช่น
datetime.timedelta(1,-1,-1) # กลายเป็น datetime.timedelta(0, 86398, 999999)

เรายังอาจสร้าง datetime.timedelta โดยกำหนดระยะเวลาเป็นมิลลิวินาที, นาที, ชั่วโมง, หรือสัปดาห์ได้ด้วย โดยใส่ในรูปคีย์เวิร์ด เวลาจะถูกแปลงเป็นหน่วยวัน, วินาที และไมโครวินาทีโดยอัตโนมัติ
datetime.timedelta(weeks=1,hours=17,minutes=2,milliseconds=999) # ได้ datetime.timedelta(7, 61320, 999000)

เมื่อสั่ง print จะอยู่ในรูปของ วัน days, ชั่วโมง:นาที:วินาที.ไมโครวินาที
print(datetime.timedelta(111.9999999)) # ได้ 111 days, 23:59:59.991360



การคำนวณของ datetime.datetime และ datetime.timedelta
เมื่อนำ datetime.datetime มาลบกันจะได้ผลออกมาเป็น datetime.timedelta ซึ่งเก็บค่าระยะเวลาระหว่างสองเวลาที่เอามาลบกันนั้น เช่น
datetime.datetime(2016,6,21)-datetime.datetime(2016,6,20) # ได้ datetime.timedelta(1)

เนื่องจากหน่วยที่เก็บใน datetime.timedelta นั้นใหญ่สุดเป็นวัน และรองลงมาเป็นวินาที ดังนั้นหน่วยอื่นก็จะถูกแปลงเป็นวันและวินาทีหมด
datetime.datetime(2016,6,21,7)-datetime.datetime(2016,6,21,3) # ได้ datetime.timedelta(0, 14400)
datetime.datetime(2016,6,21)-datetime.datetime(1905,6,21) # ได้ datetime.timedelta(40543)

นอกจากการลบกันแล้ว datetime.datetime และ datetime.datetime ด้วยกันไม่สามารถนำมาคำนวณอย่างอื่นได้เลย ทั้งบวก, คูณ, และยกกำลัง

แต่ datetime.datetime สามารถนำมาบวกหรือลบกับ datetime.timedelta ได้ ซึ่งก็จะได้ผลเป็น datetime.datetime ตัวใหม่ เช่น
datetime.datetime(2016,6,21)+datetime.timedelta(0.71) # ได้ datetime.datetime(2016, 6, 21, 17, 2, 24)
datetime.datetime(2016,6,21)-datetime.timedelta(1,1,1) # ได้ datetime.datetime(2016, 6, 19, 23, 59, 58, 999999)

ส่วน datetime.timedelta นั้นสามารถเอามาคูณหรือหารกับตัวเลขได้ แต่ไม่สามารถบวกหรือลบหรือยกกำลังได้
datetime.timedelta(1,1,1)*2 # ได้ datetime.timedelta(2, 2, 2)
datetime.timedelta(1,1,1)/2 # ได้ datetime.timedelta(0, 43200, 500000)

datetime.timedelta กับ datetime.timedelta สามารถนำมาบวกหรือลบกันได้ แต่ไม่สามารถคูณหรือยกกำลังกันได้
datetime.timedelta(1,1)+datetime.timedelta(0,0,111) # ได้ datetime.timedelta(1, 1, 111)
datetime.timedelta(1,1,1)-datetime.timedelta(1,1,1) # ได้ datetime.timedelta(0)

และสามารถหารกันได้ ผลที่ได้คือค่าจำนวนเท่าของระยะเวลา
datetime.timedelta(1,1,1)/datetime.timedelta(1) # ได้ 1.0000115740856481

และสามารถหารเอาเศษได้
datetime.timedelta(7,1,1)%datetime.timedelta(1) # ได้ datetime.timedelta(0, 1, 1)
datetime.timedelta(7,2,1)%datetime.timedelta(0,0,999999) # ได้ datetime.timedelta(0, 0, 604803)

สำหรับการเปรียบเทียบระหว่างเวลานั้น datetime.datetime นึงจะมากกว่าอีก datetime.datetime หนึ่งเมื่อเป็นเวลาช้ากว่า ส่วน datetime.timedelta ก็เทียบตามความยาวของเวลา
datetime.datetime(2016,6,21)>datetime.datetime(2016,6,20) # ได้ True



แอตทริบิวต์และเมธอดของ datetime.timedelta
ค่าของวัน, วินาที และไมโครวินาที ถูกเก็บอยู่ในแอตทริบิวต์ days, seconds และ microseconds ตามลำดับ

สามารถแสดงค่าทั้งหมดเป็นวินาทีได้ด้วยเมธอด total_seconds()

ตัวอย่าง
tdt = datetime.timedelta(3,70000,400000)
print(tdt.days) # ได้ 3
print(tdt.seconds) # ได้ 70000
print(tdt.microseconds) # ได้ 400000
print(tdt.total_seconds()) # ได้ 329200.4



แอตทริบิวต์และเมธอดของ datetime.datetime
ภายในออบเจ็กต์ datetime.datetime นั้นเก็บข้อมูลของปี, เดือน, วัน, ชั่วโมง, นาที, วินาที, ไมโครวินาที เอาไว้โดยสามารถดูค่าแต่ละค่าได้ที่แอตทริบิวต์ year, month, day, hour, minute, second, microsecond
dtdt = datetime.datetime(2016,6,21,17,35,30,115421)
print(dtdt.year) # ได้ 2016
print(dtdt.month) # ได้ 6
print(dtdt.day) # ได้ 21
print(dtdt.hour) # ได้ 17
print(dtdt.minute) # ได้ 35
print(dtdt.second) # ได้ 30
print(dtdt.microsecond) # ได้ 115421

datetime.datetime ยังประกอบด้วยเมธอดต่างๆที่ใช้แสดงผลข้อมูลส่วนต่างๆในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
date() แสดงส่วนวันเดือนปีในรูป datetime.date
time() แสดงส่วนเวลาในรูป datetime.time
weekday() แสดงเลขวันในสัปดาห์ โดยวันจันทร์เป็น 0 วันอาทิตย์เป็น 6
isoweekday() แสดงเลขวันในสัปดาห์ โดยวันจันทร์เป็น 1 วันอาทิตย์เป็น 7
isocalendar() แสดงผลวันเดือนปีในรูปแบบทูเพิล
ctime() แสดงวันเวลาในรูป วันในสัปดาห์ เดือน วัน ชั่วโมง:นาที:วินาที ปี
timetuple() แสดงวันเวลาในรูปออบเจ็กต์ time.struct_time
timestamp() แสดงเวลาในรูปของจำนวนวินาทีนับจากเที่ยงคืนเวลา UTC ของวันที่ 1 ม.ค. 1970
isoformat() แสดงวันเวลาในรูป ปี-เดือน-วันTชั่วโมง:นาที:วินาที.ไมโครวินาที

สำหรับ isoformat ถ้าใส่อาร์กิวเมนต์ลงไปจะเป็นตัวคั่นระหว่างวันกับชั่วโมงแทนตัว T

ตัวอย่างเมธอดต่างๆ
dtdt = datetime.datetime(2016,6,21,17,35,30,115421)
print(dtdt.date()) # ได้ 2016-06-21
print(dtdt.time()) # ได้ 17:35:30.115421
print(dtdt.weekday()) # ได้ 1
print(dtdt.isoweekday()) # ได้ 2
print(dtdt.isocalendar()) # ได้ (2016, 25, 2)
print(dtdt.ctime()) # ได้ Tue Jun 21 17:35:30 2016
print(dtdt.timetuple()) # ได้ time.struct_time(tm_year=2016, tm_mon=6, tm_mday=21, tm_hour=17, tm_min=35, tm_sec=30, tm_wday=1, tm_yday=173, tm_isdst=-1)
print(dtdt.isoformat()) # ได้ 2016-06-21T17:35:30.115421
print(dtdt.isoformat(' ')) # ได้ 2016-06-21 17:35:30.115421

สำหรับ timestamp() ค่าจะเป็น 0 ที่เวลา 7 โมงเช้าของวันที่ 1 ม.ค. 1970 เนื่องจากไทยอยู่เขตเวลา +7
print(dtdt.timestamp()) # ได้ 1466505330.115421
print(datetime.datetime(1970,1,1,0,0,0).timestamp()) # ได้ -25200.0
print(datetime.datetime(1970,1,1,7,0,0).timestamp()) # ได้ 0.0



การแก้ค่าวันเวลาใน datetime.datetime
ใน datetime.datetime มีเมธอด replace ซึ่งใช้แก้ไขค่าต่างๆภายใน datetime.datetime โดยอาร์กิวเมนต์ที่ต้องใส่นั้นเหมือนกับตอนสร้าง datetime.datetime เพียงแต่ว่าจะใส่แค่บางค่าในรูปคีย์เวิร์ดเฉพาะค่าที่ต้องการแก้เท่านั้น

เพียงแต่ว่าเมธอดนี้ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงตัว datetime.datetime แค่คืนค่าของ datetime.datetime ที่ถูกแก้แล้วกลับมาเท่านั้น

ตัวอย่าง
dtdt = datetime.datetime(2016,6,21,17,35,30,115421)
dtdt.replace(2015) # ได้ datetime.datetime(2015, 6, 21, 17, 35, 30, 115421)
dtdt.replace(month=7) # ได้ datetime.datetime(2016, 7, 21, 17, 35, 30, 115421)
dtdt.replace(second=0,microsecond=0) # ได้ datetime.datetime(2016, 6, 21, 17, 35)



การแสดงผลวันเวลาตามที่ต้องการ
นอกจาก การแสดงผล datetime.datetime ด้วยเมธอดตามที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถให้แสดงผลวันเวลาในรูปแบบตามที่ต้องการซึ่งกำหนดเองได้โดยใช้เมธอด strftime

อาร์กิวเมนต์ที่ต้องใส่คือสายอักขระที่ประกอบไปด้วย % ตามด้วยอักษร ซึ่งแทนค่าในส่วนต่างๆในรูปแบบต่างๆของวันเวลา ซึ่งสรุปได้ตามนี้
%a วันในสัปดาห์ในรูปย่อ
%A วันในสัปดาห์เป็นชื่อเต็ม
%w วันในสัปดาห์เป็นตัวเลข อาทิตย์เป็น 0 เสาร์เป็น 6
%d วันที่ในรูปเลขสองหลัก (เติม 0 เมื่อมีหลักเดียว)
%b ชื่อเดือนในรูปย่อ
%B ชื่อเดือนเป็นชื่อเต็ม
%m เลขเดือนเป็นเลขสองหลัก (เติม 0 เมื่อมีหลักเดียว)
%y เลขปีในรูปเลขสองหลักสุดท้าย
%Y เลขปีในรูปเลขสี่หลัก (เติม 0 เมื่อมีไม่ถึงสี่หลัก)
%H เวลาชั่วโมงเป็นเลขสองหลักถึง 24 (เติม 0 เมื่อมีหลักเดียว)
%I เวลาชั่วโมงเป็นเลขสองหลักไม่เกิน 12 (เติม 0 เมื่อมีหลักเดียว)
%p เวลา AM หรือ PM
%M เวลานาทีเป็นเลขสองหลัก (เติม 0 เมื่อมีหลักเดียว)
%S เวลาวินาทีเป็นเลขสองหลัก (เติม 0 เมื่อมีหลักเดียว)
%f เวลาไมโครวินาทีเป็นเลขหกหลัก (เติม 0 เมื่อมีไม่ถึงหกหลัก)
%j เลขลำดับวันในปี (1 ถึง 366)
%U หรือ %W ลำดับของสัปดาห์ภายในปี
%c แสดงวันเวลาในรูปแบบเดียวกับ ctime()
%x เดือน/ปี/วัน
%X ชั่วโมง:นาที:วินาที

ตัวอย่าง
dtdt = datetime.datetime(2016,6,21,17,35,30,115421)
print(dtdt.strftime('%a')) # ได้ Tue
print(dtdt.strftime('%A')) # ได้ Tuesday
print(dtdt.strftime('%w')) # ได้ 2
print(dtdt.strftime('%d')) # ได้ 21
print(dtdt.strftime('%b')) # ได้ Jun
print(dtdt.strftime('%B')) # ได้ June
print(dtdt.strftime('%m')) # ได้ 06
print(dtdt.strftime('%y')) # ได้ 16
print(dtdt.strftime('%Y')) # ได้ 2016
print(dtdt.strftime('%H')) # ได้ 17
print(dtdt.strftime('%I')) # ได้ 05
print(dtdt.strftime('%p')) # ได้ PM
print(dtdt.strftime('%M')) # ได้ 35
print(dtdt.strftime('%S')) # ได้ 30
print(dtdt.strftime('%f')) # ได้ 115421
print(dtdt.strftime('%j')) # ได้ 173
print(dtdt.strftime('%U')) # ได้ 25
print(dtdt.strftime('%W')) # ได้ 25
print(dtdt.strftime('%c')) # ได้ Tue Jun 21 17:35:30 2016
print(dtdt.strftime('%x')) # ได้ 06/21/16
print(dtdt.strftime('%X')) # ได้ 17:35:30



การสร้าง datetime.datetime จากเมธอดของคลาส
เราสามารถสร้าง datetime.datetime ขึ้นมาจากเมธอดของคลาส datetime.datetime เองได้ด้วย

เมธอดเหล่านั้นได้แก่
now() สร้าง datetime.datetime ขึ้นจากเวลาขณะนี้
utcnow() สร้าง datetime.datetime ขึ้นจากเวลาขณะนี้ในเขตเวลาสากล
fromtimestamp() สร้าง datetime.datetime ขึ้นจาก timestamp โดยอิงเวลาท้องถิ่น
utcfromtimestamp() สร้าง datetime.datetime ขึ้นจาก timestamp โดยอิงเวลาสากล
combine() สร้าง datetime.datetime โดยใช้ datetime.date และ datetime.time มารวมกัน
strptime() สร้าง datetime.datetime ขึ้นจากกระบวนการตรงข้ามกับ strftime

ตัวอย่าง
print(datetime.datetime.now()) # ได้เวลาปัจจุบัน
print(datetime.datetime.utcnow()) # ได้เวลาปัจจุบันลบ 7 ชั่วโมง
print(datetime.datetime.fromtimestamp(0)) # ได้ 1970-01-01 07:00:00
print(datetime.datetime.utcfromtimestamp(0)) # ได้ 1970-01-01 00:00:00
dtd = datetime.date(2016,6,21)
dtt = datetime.time(17,35,30,115421)
print(datetime.datetime.combine(dtd,dtt)) # ได้ 2016-06-21 17:35:30.115421

เมธอด strptime นั้นเป็นกระบวนการที่ตรงกันข้ามกันกับ strftime ใช้แปลงสายอักขระที่มีรูปแบบตามที่กำหนดให้กลายเป็น datetime.datetime

ในการใช้ให้ใส่สายอักขระที่จะแปลง ตามด้วยสายอักขระที่เขียนรูปแบบที่กำหนดการแปลง

ตัวอย่าง
print(datetime.datetime.strptime('11:11:11.1111','%X.%f')) # ได้ 1900-01-01 11:11:11.111100
print(datetime.datetime.strptime('02','%H')) # ได้ 1900-01-01 02:00:00
print(datetime.datetime.strptime('7/6/1991','%d/%m/%Y')) # ได้ 1991-06-07 00:00:00
r = u'1842-11-5 เวลา 8 โมง 41 นาที 32 วินาที'
fmt = u'%Y-%m-%d เวลา %I โมง %M นาที %S วินาที'
print(datetime.datetime.strptime(r,fmt)) # ได้ 1842-11-05 08:41:32



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文