φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



รวมรายชื่อโปเกมอนในภาษาต่างๆ
เขียนเมื่อ 2016/08/19 23:15
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
กระแสโปเกมอนโกที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้ก็ได้ทำให้เราเริ่มกลับมาสนใจเกี่ยวกับโปเกมอนขึ้นมา ถึงกับไปหยิบโปเกมอนภาคใหม่ที่ยังไม่เคยดูตอนเด็กมาลองดูต่อ

และตอนนี้จึงได้ทำเว็บใหม่ขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลชื่อโปเกมอน

>> http://hinaboshi.com/ruamraichuepokemon

ชื่อโปเกมอนที่เราคุ้นเคยกันนั้นเป็นชื่อที่เรียกตามเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น แต่ที่จริงแล้วชือโปเกมอนได้ถูกแปลเป็นหลายภาษา ชื่อต่างกันออกไปทั้งหมด

แต่ยังหาไม่เจอเว็บไหนที่รวบรวมรายชื่อในแต่ละภาษามาไว้เป็นตารางในหน้าเดียวให้เรียบร้อย ดังนั้นจึงลองจัดทำขึ้นมาเอง

พร้อมกันนั้นก็ได้พยายามเขียนชื่อในเวอร์ชันญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องมากที่สุดด้วย จากที่เดิมทีเห็นว่าหลายคนเรียกชื่อมาผิด ซึ่งอาจเนื่องจากมังงะหรืออนิเมะที่แปลไทยมานั้นเรียกชื่อคลาดเคลื่อนไป

รายชื่อในวิกิพีเดียไทยเองนั้นเดิมทีก็มีผิดเยอะ ดังนั้นจึงได้เข้าไปแก้ในนั้นให้เหมือนกันด้วย

ลองเข้าไปดูในนี้ได้ หากลองกดไปดูที่ประวัติก็จะเห็นชื่อเก่าและเทียบได้ว่าแก้ไปแค่ไหน https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อโปเกมอน



การแปลชื่อให้ถูกต้องนั้นจริงๆแล้วก็เรียกได้ว่าไม่ใช่ง่ายๆเลย ครั้งนี้ซึ่งเราได้พยายามสังคยานาชื่อโปเกมอนก็ต้องใช้เวลาและความพยายามพอสมควรเหมือนกัน

การแปลยึดตามชื่อในภาษาญี่ปุ่นซึ่งเขียนเป็นคาตาคานะ (เช่น リザードン) และชื่อที่ถอดเป็นอักษรโรมัน (เช่น Lizardon) นอกจากนี้ยังต้องดูความหมายที่มาของชื่อด้วย เพราะชื่อโปเกมอนแต่ละตัวมีที่มา ไม่ได้ตั้งขึ้นมาลอยๆแบบไม่ได้คิดอะไร

ซึ่งที่มาก็มักจะมาจากภาษาต่างๆหลายภาษา เพื่อจะให้รู้ว่าควรแปลคำอ่านเป็นอะไรจึงต้องศึกษาวิธีการอ่านชื่อภาษาต่างๆอีกทั้งหลักการทับศัพท์ไว้บ้าง

ยกตัวอย่างเช่น 124 รูฌลา (ルージュラ, Rougela) คำว่า Rouge มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่าสีแดง จึงใช้หลักการทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส >> อ้างอิงวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/การเขียนคำทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส

ส่วน 129 โคยคิง (コイキング,Koiking) นั้น Koi มาจากคำว่า "โคย" เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของปลาคาร์ฟ ดังนั้นจึงแปลเป็น "โคยคิง" ไม่ใช่ "คอยคิง"

และก็มีชื่อบางชื่อที่เรียกกันผิดเล็กๆน้อยๆเนื่องจากยึดตามคาตาคานะมากแต่พอได้รู้ตัวสะกดแบบโรมันจริงๆจึงรู้ว่าควรแก้ เช่น 052 เนียร์ธ (ニャース, Nyarth) เดิมทีคนส่วนใหญ่เรียกเป็นเนียส แต่พอรู้ว่า ス ในที่นี้แทน th จึงควรเปลี่ยนเป็น "ธ" แทน "ส" เป็นต้น

แล้วก็มีอีกหลายตัวอย่าง ถ้าให้ยกมาพูดถึงในนี้ก็คงจะไม่ไหว

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ชื่อคาตาคานะกับชื่อโรมันเกิดขัดแย้งกันเองด้วย เช่น 384 เรย์ควาซา (レックウザ, Rayquaza) ซึ่งถ้าดูจากคาตาคานะแล้วน่าจะอ่านเป็น "เร็กกูซา" อย่างไรก็ตามเลือกที่จะยึดตามชื่อโรมันมากกว่าเพราะชื่อนี้ถูกใช้เรียกในภาษาอื่นๆเหมือนๆกันหมดด้วย

โดยรวมแล้วก็คิดว่าชื่อทั้งหมดที่รวบรวมมานี้ต่อให้ไม่ได้ถูกต้อง 100% แต่ก็ถูกมากกว่าข้อมูลในวิกิพีเดียเดิมและชื่อที่หลายคนคุ้นเคยกันมาก่อนหน้า



สำหรับเรื่องของชื่อในภาษาต่างๆนั้น ชื่อของโปเกมอนถูกแปลต่างออกไปทั้งหมด ๗ แบบได้แก่
- ญี่ปุ่น
- จีน
- กวางตุ้ง
- เกาหลี
- อังกฤษ
- ฝรั่งเศส
- เยอรมัน

โปเกมอนบางตัวชื่อต่างกันไปทั้งหมด ๗ แบบใน ๗ ภาษาเลย เช่น 062 เนียวโรบอน
ญี่ปุ่น: ニョロボン (Nyorobon)
จีน: 蚊香泳士 (wén xiāng yǒng shì, แปลว่า "นักว่ายน้ำขดยากันยุง")
กวางตุ้ง: 大力蛙 (daai lik waa, แปลว่า "กบจอมพลัง")
เกาหลี: 강챙이 (Gangchaengi)
อังกฤษ: Poliwrath
ฝรั่งเศส: Tartard
เยอรมัน: Quappo

ในขณะเดียวกันโปเกมอนบางตัวก็ชื่อเหมือนกันหมดทุกภาษา เช่น 025 พีคาชู (ピカチュウ, Pikachu)

สำหรับประเทศที่ใช้ภาษานอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ก็มีทั้งที่ใช้ตามชื่อภาษาญี่ปุ่นและที่ใช้ตามภาษาอังกฤษ

ในเกมโปเกมอนโกภาษาของเกมจะเปลี่ยนไปตามภาษาที่ตั้งไว้ในเครื่อง และชื่อโปเกมอนก็จะเปลี่ยนไปตามภาษานั้นด้วย



ความหลากหลายทางภาษาทำให้อาจเกิดการสื่อสารกันไม่รู้เรื่องเวลาที่ไปคุยกับโปเกมอนเทรนเนอร์ต่างชาติ

ดังนั้นแล้วหวังว่าตารางรายชื่อที่ทำไว้นี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันเทิง >> เกม >> โปเกมอน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文