φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



บันทึกการร่วมงาน APRIM ในไทเป
เขียนเมื่อ 2017/07/16 23:47
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#3-7 ก.ค. 2017

ตั้งแต่วันที่ 3-7 ก.ค. 2017 มีงานประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หรือที่เรียกย่อๆว่า APRIM

APRIM คืออะไรสามารถทำความรู้จักได้ที่ https://daejeonastronomy.wordpress.com/2014/09/04/aprim2014

งานประชุมนี้จัดขึ้นทุก ๓ ปี โดยเปลี่ยนประเทศที่จัดไปเรื่อยๆเมื่อปี 2011 เคยจัดที่เชียงใหม่มาแล้ว ส่วนครั้งนี้ปี 2017 จัดที่ไทเป

ครั้งนี้เรามาเรียนต่ออยู่ที่ไต้หวันอยู่แล้วพอมีงานนี้ก็เลยมาเข้าร่วมได้ง่าย อาจารย์ที่ปรึกษาเองก็ค่อนข้างแนะนำให้เข้าร่วม เพราะงานใหญ่แบบนี้นานทีมีครั้ง

ส่วนเพื่อนที่ไทยเองก็มีไม่น้อยเลยที่มาร่วมงานนี้ด้วย ดังนั้นก็เลยได้พาเพื่อนเที่ยวแนะนำสถานที่เที่ยวสำคัญในไต้หวัน โดยเน้นที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์เป็นพิเศษ

เนื้อหาเกี่ยวกับงานประชุมครั้งนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างเฉพาะทางมาก ดังนั้นจะไม่กล่าวถึงรายละเอียด แต่จะอธิบายเฉพาะภาพรวม



ตารางกำหนดการ
วันที่ 3 (จ้นทร์)
 16:00-16:30 พิธีเปิด
 16:30-18:00 บรรยายรวม
 18:00 งานเลี้ยงต้อนรับ

วันที่ 4 (อังคาร)
 9:00-10:30 บรรยายรวม
 10:30-11:00 พักดื่มกาแฟ
 11:00-12:30 บรรยายแยก
 14:00-15:30 บรรยายแยก
 15:30-16:00 พักดื่มกาแฟ
 16:00-17:30 บรรยายแยก

วันที่ 5 (พุธ)
 9:00-10:30 บรรยายรวม
 10:30-11:00 พักดื่มกาแฟ
 11:00-12:30 บรรยายแยก
 12:30-17:00 กิจกรรมพาเที่ยว
 18:00-20:00 งานเลี้ยงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กง
* กิจกรรมพาเที่ยวและงานเลี้ยงต้องจ่ายเงินเพิ่มสำหรับการเข้าร่วม แต่ไม่ได้บังคับว่าต้องเข้าร่วม

วันที่ 6 (พฤหัส)
 9:00-10:30 บรรยายรวม
 10:30-11:00 พักดื่มกาแฟ
 11:00-12:30 บรรยายแยก
 14:00-15:30 บรรยายแยก
 15:30-16:00 พักดื่มกาแฟ
 16:00-17:30 บรรยายแยก

วันที่ 7 (ศุกร์)
 9:00-10:30 บรรยายรวม
 10:30-11:00 พักดื่มกาแฟ
 11:00-12:30 บรรยายแยก
 12:30-13:00 พิธีปิด



สถานที่จัดงาน
งานนี้จัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมนานาชาติไทเป (台北國際會議中心, TICC)

ภาพสถานที่จัดงาน (จากเว็บไซต์หลักของงานนี้ http://www.aprim2017.tw)



สถานที่ตั้งอยู่ใกล้กับตึกไทเป 101 (台北101) สถานท่องเที่ยวสำคัญของไต้หวันที่ใครๆก็รู้จักกันดี

ภาพไทเป 101 ถ่ายในวันที่ 4 ก.ค. ซึ่งท้องฟ้ากำลังสวยตอนเที่ยง ก่อนที่จะฝนตกใหญ่ในตอนบ่าย



การเดินทางมาสามารถมาได้ง่ายโดยนั่งรถไฟสายสีแดงมาลงที่สถานีไทเป 101 / ซื่อเม่า (台北101/世貿站)

ภาพทางเข้าสถานีประตูที่ใกล้กับศูนย์ประชุม



กิจกรรมต่างๆภายในงานจะอยู่แค่บริเวณชั้น ๑ และ ๒



ภาพรวมของงาน
ผู้เข้าร่วมงานอาจแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
- มานำเสนอด้วยการบรรยาย
- มานำเสนอด้วยโปสเตอร์
- ไม่ได้มานำเสนอ แค่มาฟังเฉยๆ

การบรรยายในงานนี้จะแบ่งเป็นช่วงบรรยายรวมกับช่วงบรรยายแยก

ช่วงบรรยายรวมนั้นคือจะเป็นการบรรยายที่ทุกคนที่มาร่วมงานร่วมกันฟังในห้องใหญ่

ส่วนช่วงที่บรรยายแยกนั้นจะแบ่งออกเป็น ๕ ห้องตามสาขางานวิจัย ให้เลือกเข้าฟังตามสายที่ตัวเองสนใจ

ส่วนในระหว่างช่วงที่มีการบรรยายนั้น หากเวลาไหนไม่มีการบรรยายที่ตัวเองสนใจก็อาจจะไม่เข้าฟังก็ได้ อาจจะแวะไปเที่ยวที่อื่น หรืออาจมาชมโปสเตอร์



ครั้งนี้เนื่องจากจัดที่ไต้หวันทำให้คนที่เข้าร่วมมีเป็นชาวไต้หวันเยอะที่สุด และรองลงมาก็คือจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี

เมื่อครั้งที่จัดที่เชียงใหม่คนไทยก็เยอะที่สุดเช่นกัน

จำนวนรวมคนที่เข้าร่วมในแต่ละประเทศ
ไต้หวัน 160
จีน 87 (รวมฮ่องกง ไม่รวมไต้หวัน)
ญี่ปุ่น 74
เกาหลี 61
ไทย 21
ออสเตรเลีย 19
อินเดีย 16
อินโดนีเซีย 8
ส่วนประเทศที่เหลือมีแค่ประเทศละแค่ไม่กี่คน

คนไทยที่มาเข้าร่วมส่วนใหญ่จะมาจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) และก็มีจากมหาวิทยาลัยเช่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ส่วนงานในครั้งหน้าใน ๓ ปีข้างหน้าจะจัดขึ้นที่ออสเตรเลีย โดยเมืองที่จัดคือเมืองเพิร์ธ (Perth) ซึ่งมีกล้องโทรทัศน์วิทยุชื่อ ASKAP อยู่

จะสังเกตได้ว่าส่วนใหญ่แล้วงาน APRIM ในแต่ละครั้งจะไม่ค่อยได้จัดในเมืองหลวงของประเทศที่เป็นเจ้าภาพเลย อย่างคราวที่แล้วที่เกาหลีเองก็จัดที่เมืองแทจ็อน แต่ครั้งนี้ที่ไต้หวันจัดที่ไทเปเมืองหลวง



พิธีเปิดและงานเลี้ยงต้อนรับ
วันจันทร์ที่ 3 ก.ค. เวลา 4 โมงเย็น เริ่มพิธีเปิด โดยมีการกล่าวต้อนรับ จากนั้นก็เริ่มรอบบรรยายรวมเรื่องแรก



จากนั้นก็เริ่มงานเลี้ยงต้อนรับ มีอาหารให้กินโดยไปหยิบแล้วเดินคุยกันไปเรื่อยๆ ไม่มีที่นั่ง




ของหวานอันนี้อร่อย ทุกคนต่างชื่นชม



มีชุดของชาวพื้นเมืองบนเขาในไต้หวันให้ลองใส่กันด้วย





การนำเสนอ
สำหรับช่วงที่เป็นบรรยายรวมทุกคนจะไปรวมกันที่ห้องประชุมกลางที่ชั้น ๒ แต่ในช่วงบรรยายแยกจะแยกย้ายไปห้องต่างๆซึ่งมี ๓ ห้องอยู่ที่ชั้น ๒ และมี ๒ ห้องอยู่ชั้น ๑

นี่คือห้องที่ใช้บรรยายเรื่องเกี่ยวกับดาวเคราะห์เป็นหลัก เป็นห้องเล็กๆบนชั้น ๒



ส่วนนี่เป็นห้องที่ชั้น ๑ ใหญ่กว่า กำลังบรรยายเรื่องเกี่ยวกับมวลสารระหว่างดาว




ส่วนห้องที่บรรยายเรื่องเกี่ยวกับดาราจักรและจักรวาลวิทยาจะเป็นห้องเดียวกับห้องบรรยายรวม จึงมีขนาดใหญ่สุด



โดยทั่วไปแล้วการบรรยายแต่ละช่วงจะยาว ชั่วโมงครึ่ง โดยมีคนพูดอย่างมากก็ ๖ คน ใช้เวลาบรรยายรวมกับตอบคำถามทั้งหมดคนละ ๑๕ นาที

และพอหมดช่วงก็จะเป็นช่วงพักกินกาแฟนานครึ่งชั่วโมง โดยจััดขึ้นที่ห้องใหญ่ชั้นหนึ่งซึ่งเป็นที่เดียวกับที่ตั้งโปสเตอร์ ทำให้ระหว่างพักสามารถชมโปสเตอร์ไปได้ด้วย





ไม่มีช่วงที่ถูกแบ่งสำหรับให้เข้าชมโปสเตอร์โดยเฉพาะ ดังนั้นโดยส่วนใหญ่จึงอาศัยช่วงพักเอา

นอกจากโปสเตอร์แล้วห้องนั้นยังมีพวกเคาน์เตอร์แนะนำหน่วยงานต่างๆ



ของไทยเองก็มีสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ NARIT มาร่วม โดยคนที่เฝ้าคือคนที่ทำงานอยู่ฝ่ายวิเทศ (= ฝ่ายติดต่องานต่างประเทศ)





ถือโอกาสเที่ยวระหว่างงาน
งานประชุมทางวิชาการนั้นแม้จะมีจุดประสงค์หลักที่การแลกเปลี่ยนความรู้ แต่อีกวัตถุประสงค์หนึ่งก็คือการได้เที่ยวชม ได้ทำความรู้จักกับประเทศที่จัดงาน

ไต้หวันมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ น่าแวะเข้าชม

สำหรับงานนี้มีทั้งอาจารย์ ทั้งเพื่อน และรุ่นพี่รุ่นน้องที่รู้จักจาก NARIT มาหลายคน จึงได้มีโอกาสพากันไปเที่ยวเมื่อมีเวลา และช่วงกลางวันของบางวันก็ได้ไปทานข้าวด้วยกัน

คนที่มาทีทั้งนักวิจัย ผู้ทำงานบริการวิชาการ แล้วก็ฝ่ายวิเทศ

การพาเที่ยวครั้งนี้ได้เลือกเน้นสถานที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์เป็นหลัก แต่ก็มีแนวอื่นปนอยู่ด้วย

เพื่อนคนหนึ่งที่ได้มาเข้าร่วมงานนี้ก็คือหนุ่มแทจ็อน ผู้เขียนบล็อก https://daejeonastronomy.wordpress.com

ช่วงเช้าวันที่ 3 ก่อนงานจะเริ่มไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กง (国立故宮博物院) เป็นที่แรก หลังจากนั้นก็ได้แวะไปยัง

บันทึกการเดินทางเที่ยวเหล่านี้คือเนื้อหาที่จะเขียนถึงในตอนต่อๆไป



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไทเป

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文