φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



เที่ยวสิงคโปร์ ๕ วัน.. วันที่ ๒: ชมพิพิธภัณฑ์และโบสถ์ย่านใจกลางเมือง
เขียนเมื่อ 2017/09/06 08:20
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พุธ 30 ส.ค. 2017

ต่อจาก https://phyblas.hinaboshi.com/20170905



หลังจากที่เมื่อวานเที่ยวมาจนเหนื่อยมากวันนี้จึงตื่นมาสายๆแล้วนั่งสบายๆในห้องสักพัก


แผนวันนี้ถือว่าค่อนข้างหนักทีเดียว คือจะเป็นการชมพิพิธภัณฑ์ในย่านใจกลางเมืองเป็นหลัก ดังนั้นจึงต้องเดินทั้งวัน แต่เนื่องจากขายังไม่หายเจ็บจึงทำให้ต้องเดินไปพักไป มีความลำบากอยู่บ้าง แต่โดยรวมก็ถือว่าเที่ยวสนุก

ออกจากห้องไปตอนประมาณ 9 โมง แล้วก็ไปกินข้าวก่อน ที่ฝั่งตรงข้ามโรงแรมมีโรงอาหารอยู่ อาหารที่นี่ค่อนข้างถูก แถมยังอร่อยด้วย พอมากินที่นี่จะทำให้ประหยัดเงินไปได้ไม่น้อย



ตอนเช้าร้านเปิดน้อย แต่ก็มีมากพอที่จะหาของที่ถูกใจได้ มื้อนี้ลองข้าวไก่มายองเนส ๔.๕ เหรียญ อร่อยดี



พอจะเดินไปขึ้นรถไฟฟ้าจึงพบว่าลืมเอาบัตรเติมตังค์มา แต่จะอุตส่าห์กลับไปก็เสียเวลาเปล่า จึงตัดสินใจซื้อใหม่ตรงนั้นเลย

เป้าหมายในวันนี้อยู่ในย่านบรัส บาซะห์ (百胜) เป็นย่านเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีรถไฟฟ้าไปถึง เป็นสายสีเหลือง



สถานที่เที่ยวซึ่งอยู่ใกล้สถานีที่สุดก็เลยเป็นเป้าหมายแรกคือพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ (新加坡艺术博物馆) แต่แค่ไปดูด้านหน้าเฉยๆไม่ได้เข้าไป



ด้านหลังมีโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ & พอล (圣伯多禄圣保禄堂) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก สร้างในปี 1869-1870



แล้วข้างๆกันก็มีโบสถ์ยิว Maghain Aboth (马海阿贝犹太庙, מגן אבות) เป็นโบสถ์ยิวที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างขึ้นเมื่อปี 1878



ต่อมาเดินต่ออีกนิดก็ถึงเป้าหมายสำคัญสุดในวันนี้ นั่นคือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์ (新加坡国家博物院)



ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์และสมบัติเก่าๆต่างๆ ถือเป็นโบราณสถานค่อนข้างเก่าแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อปี 1849

ค่าเข้าชม ๑๕ เหรียญ แต่ว่าที่นี่ถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษาสามารถลดราคาได้ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยประเทศไหนก็ตามแค่แสดงบัตรนักศึกษาก็พอ เลยได้ส่วนลดไปด้วย เหลือ ๑๐ เหรียญ




เสร็จแล้วเดินต่อมายังพิพิธภัณฑ์เปอรานากันสิงคโปร์ (新加坡土生华人博物馆) ค่าเข้าชม ๑๐ เหรียญ สำหรับนักศึกษาเป็น ๕ หยวน



ชาวเปอรานากัน (Peranakan) บางทีก็ถูกเรียกว่าบาบา Baba-Nyonya โดยที่ Baba เป็นคำที่ใช้เรียกชาวเปอรานากันผู้ชาย ส่วน Nyonya คือผู้หญิง

คำนี้ถูกทับศัพท์เป็นอักษรจีนโดยใช้เสียงตามสำเนียงฮกเกี้ยนเป็น 峇峇娘惹 อ่านว่า "บ่าบาเนียเยี่ย" แต่พอเป็นจีนกลางจะอ่านเป็น "ปาปาเหนียงเหร่อ" กลายเป็นชื่อที่ใช้ในภาษาจีน แต่ก็ยังมีอีกชื่อคือ ถู่เซิงหัวเหริน (土生华人)

ชาวเปอรานากันหมายถึงกลุ่มคนที่มีเชื้อสายผสมระหย่างชาวจีนและชนพื้นเมืองในแถบภาคใต้ของไทยไปจนถึงคาบสมุทรมลายู ที่สิงคโปร์เองก็มีคนกลุ่มนี้อยู่ พวกเขามีวัฒนธรรมในแบบของตัวเองที่เกิดจากการผสมผสาน มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยทั่วไปจะเป็นจีนฮกเกี้ยนกับแต้จิ๋ว





ตัวพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนอาร์เมเนีย ที่มาของชื่อถนนนี้ก็คือการที่แถวนี้เคยเป็นย่านที่อยู่อาศัยของชาวอาร์เมเนียซึ่งเมื่อก่อนเคยมีอยู่จำนวนเล็กน้อยในสิงคโปร์

เดินต่อมาอีกนิดก็ถึงโบสถ์อาร์เมเนีย (亚米尼亚教堂) อยู่ตรงนั้นด้วย




ตรงข้ามโบสถ์อาร์เมเนียมีพิพิธภัณฑ์ดวงตราไปรษณียากร (集邮博物馆)



เดินต่อมาก็เจอโบสถ์โบสถ์เซนต์แอนดริว (圣安德烈座堂) เป็นโบสถ์คริสต์เก่าแก่สร้างเมื่อปี 1835-1836



เข้ามาภายในโบสถ์ได้



ถัดไปเป็นหอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์ (新加坡国家美术馆) ซึ่งขณะนี้มีจัดงานแสดงศิลปะของคุซามะ ยาโยอิ (草間 彌生) ศิลปินชาวญี่ปุ่น



ที่นี่เมื่อก่อนเป็นอาคารศาลากลาง (政府大厦) สร้างเมื่อปี 1926-1929 แต่ตั้งแต่ปี 2015 ได้เอามาทำเป็นหอศิลป์

ส่วนใจกลางของอาคารนี้จริงๆแล้วเป็นส่วนนอกอาคารที่ถูกนำกระจกมาปิดทับด้านบน กลายเป็นด้านในซึ่งเปิดแอร์ได้




พอขึ้นมาที่ดาดฟ้าก็สามารถเห็นส่วนพื้นกระจกที่ปิดใจกลางนี้ได้



ที่ชั้นดาดฟ้าของที่นี่เป็นชุดชมทิวทัศน์อย่างดี สามารถเห็นบริเวณรอบๆได้สวยงาม



ทางตะวันออกของหอศิลป์เป็นสนามที่เรียกว่า สนามหญ้าขนาดใหญ่หน้าศาลากลาง (政府大厦大草场) ชื่อปาดัง (Padang)



โรงละครและคอนเสิร์ตวิกตอเรีย (维多利亚剧院及音乐会堂) เป็นกลุ่มอาคาร เริ่มสร้างเมื่อปี 1906



ด้านใน




เดินต่อมาจนถึงริมแม่น้ำตรงนี้เป็นพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมเอเชีย (亚洲文明博物馆)



ที่นี่มีส่วนหนึ่งยังไม่สร้างเสร็จสมบูรณ์ ทำให้ชมได้ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น ค่าเข้าชมคือ ๘ เหรียญ แต่สำหรับนักศึกษาลดเหลือ ๔ เหรียญ

ของจัดแสดงภายใน ตอนนี้ยังเปิดไม่เต็มที่ทำให้เดินลำบาก แต่ก็มีอะไรอยู่มากพอสมควรแล้ว





จากตรงนี้มองข้ามน้ำไปก็จะเห็นพวกอาคารรอบอ่าวมารีนาซึ่งไปมาเมื่อวานแล้ว



หากข้ามสะพานตรงนี้แล้วย้อนไปหน่อยก็จะไปถึงสิงโตหางปลาพ่นน้ำ จึงตัดสินใจไปเพื่อถ่ายภาพตอนกลางวันด้วย



พอได้มาถ่ายตอนกลางวันก็สวยไปอีกแบบ



ส่วนทางอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ศิลปะและห้างทางโน้นก็สวยงามเช่นกัน



เสร็จแล้วนั่งรถเมล์กลับ จากตรงนั้นกลับไปยังโรงแรมสามารถนั่งสาย 100 กลับได้



กลับมาถึงก็มาทานที่ศูนย์อาหารแห่งเดิม



คราวนี้ทานหลู่โร่วฟ่าน (卤肉饭) อาหารไต้หวัน ราคา ๓ เหรียญ



พอทานเสร็จก็แวะ 7-11 ซื้อเสบียงเผื่อมื้อดึกสักหน่อย แล้ว 6 โมงเย็นกว่าก็กลับมาถึงโรงแรม แล้วก็พักผ่อนกัน เตรียมแรงสำหรับวันต่อไป



ตอนต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20170907


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> โบสถ์
-- ต่างแดน >> อุษาคเนย์ >> สิงคโปร์
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文