φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เที่ยวสิงคโปร์ ๕ วัน.. วันที่ ๓: ศูนย์วิทยาศาสตร์และสวนจีน
เขียนเมื่อ 2017/09/07 08:31
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พฤหัส 31 ส.ค. 2017

ต่อจาก https://phyblas.hinaboshi.com/20170906



ตอนเช้าตื่นมายังเหนื่อยกันอยู่จึงเรื่อยเปื่อยในโรงแรม ได้ลองขึ้นไปชมทิวทัศน์บนดาดฟ้า



เห็นบริเวณรอบข้างสวยงาม วันนี้ท้องฟ้าก็ดูดี



โดมกลมๆที่เห็นโดนยังอยู่เล็กน้อยคือสนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ (新加坡国家体育场) ซึ่งเพิ่งเริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี 2010 เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2014



จากนั้นก็ไปกินข้าวที่ศูนย์อาหารที่เดิม คราวนี้ได้ทานบะหมี่แต้จิ๋ว ชิ่งซิงหวงผู่เฉาโจวหลู่เมี่ยน (庆兴黃埔潮洲卤面)




จากนั้นก็ไปขึ้นรถไฟฟ้า พบว่าเวลานี้คนโล่งมาก





เป้าหมายแรกของวันนี้คือศูนย์ค้นพบสิงคโปร์ (新加坡知新馆) ซึ่งอยู่ไปไกลจนเกือบสุดขอบทางตะวันตกของเกาะสิงคโปร์



ที่นี่เป็นศูนย์การศึกษาในรูปแบบหนึ่ง ใช้สื่อต่างๆในการเล่าเรื่องราวทำความรู้จักสิ่งต่างๆของสิงคโปร์ ทั้งประวัติศาสตร์และอนาคต

การไปนั่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวไปลงสถานีรถไฟฟ้า EW29 เมื่อก่อนสถานีนี้เป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าเส้นนี้ แต่เพิ่งมีเปิดลากยาวต่ออีก ๔​ สถานี แล้วเดินต่อไปทางเหนือก็จะเจอตัวพิพิธภัณฑ์

หลังจากชมข้างในเสร็จแล้วก็นั่งรถไฟฟ้าย้อนกลับมายังสถานที่เที่ยวอีกแห่งที่ใกล้ใจกลางเมืองเข้ามาหน่อย คือศูนย์วิทยาศาสตร์สิงคโปร์ (新加坡科学馆)

ศูนย์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ข้างสวนยวี่หัว (裕华园) ซึ่งเป็นสวนจีน เวลาเดินทางมาก็นั่งรถไฟฟ้ามายังสถานีสวยยวี่หัวนี้เอง

สถานีนี้พอมาถึงก็พบว่ามีการสร้างบรรยากาศให้ดูเป็นจีน เช่นที่ใต้บันไดเลื่อนและหลังคาเองก็ดูเป็นแบบจีน



สวนข้างๆก็คือสวนยวี่หัว แต่ตอนนี้ยังไม่แวะเพราะจะเข้าศูนย์วิทยาศาสตร์ก่อน

อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์



หน้าอาคารมีนาฬิกาแดดอยู่ด้วย ซึ่งจะเห็นว่าแท่งสร้างเงาแทบจะขนานกับพื้น เป็นเพราะสิงคโปร์อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมาก



ที่นี่มีส่วนของหอดูดาวอยู่ด้วย ซึ่งปกติจะเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมทุกคืนวันศุกร์ แต่ว่าวันศุกร์ที่อยู่ในช่วงเวลาเที่ยวนี้เป็นวันหยุดราชการ ซึ่งเขาจะยกเว้น จึงไม่เปิด ดังนั้นก็เลยตัดสินใจมาวันพฤหัสซึ่งเป็นวันธรรมดาแทน

แล้วก็มีเมืองหิมะด้วย แต่ไม่ได้เข้า

เป็นความโชคดีที่รู้จักคนที่ทำงานอยู่ที่นั่น เขาก็เลยพาชมด้านใน ซึ่งรวมถึงส่วนที่ปกติไม่เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมด้วย อีกทั้งยังให้บัตรเข้าชมฟรีทำให้ไม่เสียค่าใช้จ่าย

เริ่มแรกมาถึงเขาพาพวกเราไปชมส่วนที่เป็นที่เล่นของเด็ก ซึ่งปกติแล้วมักจะต้องเป็นเด็กหรือผู้ปกครองเท่านั้นที่เข้ามา แต่เราแค่เข้ามาดูบรรยากาศเฉยๆ



แล้วเขาก็พามาชมห้องทำงานซึ่งอยู่ชั้น ๔ ปกติชั้นนี้นักท่องเที่ยวทั่วไปจะไม่เข้ามา



เขามีพาเข้าชมห้องทำงานหลายห้อง ซึ่งทำให้เราได้เห็นการทำงานของคนที่นี่

ส่วนภาพนี้เป็นห้องทำงานส่วนหนึ่งที่ชั้น ๓



เขาพาเดินชมนานพอสมควร และบวกกับการที่เดินมาไกลจากสถานีรถไฟฟ้า และความเหนื่อยสะสมจาก ๒ วันแรก ทำให้เมื่อยสุดๆจนต้องหาที่นั่งพัก ที่นี่มีโรงอาหารอยู่สามารถมาซื้ออะไรกินได้



อาหารที่นี่จะค่อนข้างแพง และตอนนั้นหิวน้ำมากกว่า เลยซื้อแค่น้ำเก๊กฮวยมาดื่มแก้ขัด เห็นขวดแค่นี้แต่ราคาแพงถึง ๓ เหรียญ



จากนั้นก็เข้าไปเดินจนถึงประมาณห้าโมงครึ่ง





หลังเที่ยวศูนย์วิทยาศาสตร์เสร็จก็ไปเดินที่สวนยวี่หัวซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เดินผ่านมา ด้านติดทางรถไฟฟ้าเป็นทุ่งโล่ง



เข้ามาส่วนด้านในเป็นสวนจีน มีหอคอยอยู่ตรงกลาง



ตรงส่วนนี้ปิดเร็ว ตอนไปถึงก็เย็นแล้วเลยไม่ได้เข้าไป



เดินเข้าไปด้านในลึกหน่อยยังมีสวนญี่ปุ่นอยู่ด้วย ต้องข้ามสะพานนี้ไป



สวนญี่ปุ่น



นั่งเล่นเรื่อยเปื่อยริมน้ำ เอากาชาปงที่หยอดเล่นจากในศูนย์วิทยาศาสตร์มาเปิดเล่น ราคาหยอดครั้งละ ๑ เหรียญเท่านั้น เป็นรูปมอนสเตอร์บอลที่ข้างในมีโปเกมอน ตัวที่สุ่มได้คือมิวทู




ระหว่างเดินอยู่ในนี้ก็เริ่มค่ำ




เดินเสร็จก็ออกไปทางประตูทางตะวันตก ซึ่งตรงกันข้ามกับทางที่เข้ามา





จากนั้นก็ขึ้นรถเมล์เพื่อกลับย่านในกลางเมือง โดยแวะย่านถนนออร์ชาร์ด (乌节路) ซึ่งเป็นย่านที่เต็มไปด้วยห้างร้านเต็มข้างทาง เป็นแหล่งการค้าที่สำคัญของสิงคโปร์

ที่แวะมานี่จริงๆมีจุดประสงค์เดียว คือเพื่อไปดูหนังสือที่ร้านคิโนะคุนิยะ (紀伊国屋) ซึ่งอยู่ชั้น ๔ ในห้างทากาชิมายะ (髙島屋) ตึก หงี่อังเซี้ย (义安城) ชื่อนี้มาจากสำเนียงแต้จิ๋ว แต่จีนกลางจะอ่านว่า "อี้อานเฉิง"




ที่นี่เป็นคิโนะคุนิยะสาขาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นได้ชัดว่าใหญ่กว่าคิโนะสาขาไหนๆที่เคยไปมาจริงๆ



ในนี้มีหนังสือภาษาจีนมากมาย



พวกมังงะแปลจะเป็นของนำเข้าจากไต้หวันซะมาก



ที่กำลังสนใจคือหนังสือเรียนภาษาไต้หวัน (ฮกเกี้ยน) แต่เห็นว่าดูแล้วแพง แล้วก็เป็นหนังสือของไต้หวันเลยคิดว่ากลับไปซื้อที่ไต้หวันน่าจะดีกว่า ถ้าถึงตอนนั้นยังต้องการอยู่



จากนั้นพอ 3 ทุ่มครึ่งร้านก็ปิด ตั้งใจจะไปหาอะไรทานแถวนั้นแต่ร้านก็ปิดไปหมดแล้ว สุดท้ายก็เลยได้แต่แวะ 7-11 เพื่อซื้อเสบียงไปทานที่ห้อง ที่นี่มีขายแฮมเบอร์เกอร์ของ CP เหมือนที่มีในไทย

แล้วก็นั่งรถเมล์จากตรงนั้นกลับมายังโรงแรม จบการเที่ยวในวันที่เหนื่อยสาหัส พักผ่อนเอาแรงสำหรับวันถัดไป



ตอนต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20170908


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ต่างแดน >> อุษาคเนย์ >> สิงคโปร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文