φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



การใช้ glob เพื่อค้นหาไฟล์ที่ต้องการใน python
เขียนเมื่อ 2019/01/10 14:06
แก้ไขล่าสุด 2024/02/22 10:51
ปกติเวลาค้นชื่อไฟล์ในเชลยูนิกซ์จะนิยมเขียนแสดงในรูปแบบกล็อบ ดังที่ได้เขียนถึงไว้แล้วในบทความที่แล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20190109

ส่วนในภาษาไพธอนเองถ้าต้องการค้นชื่อไฟล์ด้วยกล็อบก็มีมอดูลชื่อ glob สามารถใช้งานได้สะดวก

ในบทความนี้จะแนะนำวิธีการใช้กล็อบในไพธอน ส่วนรายละเอียดวิธีการเขียนกล็อบสามารถเข้าไปอ่านในบทความที่แล้ว



glob.glob

ฟังก์ชัน glob.glob (ชื่อฟังก์ชันเหมือนกับชื่อมอดูล ระวังสับสน) เป็นคำสั่งพื้นฐานที่ใช้งานบ่อยสุดใน glob การใช้งานง่ายๆตรงไปตรงมาเลยคือ

ตัวอย่างการใช้ สมมุติว่าในโฟลเดอร์ที่อยู่มีไฟล์ชื่อ a.txt bb.txt ccc.txt dddd.csv
from glob import glob
print(glob('*.txt')) # ได้ ['ccc.txt', 'bb.txt', 'a.txt']
ผลที่ได้จะเป็นลิสต์ของชื่อไฟล์ทั้งหมดที่เข้าข่าย เพียงแต่ว่าผลที่ได้มักจะไม่ได้เรียงกันตามลำดับ อะไรจะขึ้นก่อนนั้นไม่อาจรู้ได้ หากต้องการให้เรียงตามชื่อควรใช้ sorted ช่วยจะดีกว่า
print(sorted(glob('*.txt'))) # ได้ ['a.txt', 'bb.txt', 'ccc.txt']

นอกจากนี้ถ้าต้องการให้เรียงตามขนาดไฟล์หรือเรียงตามเวลาที่แก้ไขไฟล์ก็อาจใช้แบบนี้ได้
import os
sorted(glob('*.txt'),key=os.path.getsize) # เรียงตามขนาดไฟล์
sorted(glob('*.txt'),key=os.path.getmtime) # เรียงตามเวลาที่แก้ไขไฟล์


glob.iglob

คำสั่ง glob.glob จะคืนค่าเป็นลิสต์ ซึ่งรายชื่อไฟล์ทั้งหมดจะถูกนำมาแสดงหรือเก็บไว้ในตัวแปรโดยทันที

แต่ในกรณีที่ต้องการนำมาวนด้วย for เพื่อเอาชื่อไฟล์มาใช้งานทีละชื่ออาจเลือกใช้คำสั่ง glob.iglob ได้

glob.iglob เหมือนกับ glob.glob แต่ต่างกันตรงที่ผลการค้นหาที่ได้จะเป็นเจเนอเรเตอร์ที่จะให้ค่าชื่อไฟล์ออกมาเมื่อถูกเรียกใช้ ไม่ได้ให้เป็นลิสต์ทันที
from glob import iglob
print(iglob('*.txt')) # ได้

ตัวอย่างการใช้ เช่นเอามาเข้าใน for เพื่อทำอะไรกับไฟล์ทีละไฟล์ได้ เช่นถ้าจะค้นหาไฟล์ทุกไฟล์เพื่อมาเปิดแล้วแสดงเนื้อหาทั้งหมดก็ทำแบบนี้ได้ เป็นต้น
for g in sorted(iglob('*.txt')):
   f = open(g)
   print(f.read())
   f.close()

glob.iglob จะไปค้นหาไฟล์ตอนที่มันถูกเรียกใช้ใน for นั่นหมายความว่าต่อให้ใช้ glob.iglob เพื่อสร้างตัวเจเนอเรเตอร์ไว้ก่อน ถ้าระหว่างนั้นไฟล์ในนั้นมีการเปลี่ยนแปลง ผลที่ได้ออกมาก็จะเป็นไปตามหลังจากการเปลี่ยนแปลง

อีกอย่างคือเนื่องจาก glob.iglob เป็นเจเนอเรเตอร์จึงถูกใช้วนใน for ได้แค่ครั้งเดียว นำมาใช้ซ้ำไม่ได้ถ้าไม่สร้างใหม่

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจเนอเรเตอร์ อ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/tsuchinoko26



glob.glob1

ฟังก์ชัน glob.glob1 จะคล้ายกับ glob.glob แต่ต่างกันตรงที่จะแยกโฟลเดอร์หลักกับไฟล์ที่ต้องการค้นออกจากกัน

เช่น ๒
from glob import glob,glob1
glob1('fg/','*') # ได้ ['ac.txt', 'ba.txt']

ถ้าใช้ glob จะเขียนแบบนี้
glob('fg/*') # ได้ ['fg/ac.txt', 'fg/ba.txt']

ผลที่ได้จะค้นเจอไฟล์เดียวกัน แต่ใช้ glob1 แล้วจะไม่มีชื่อโฟลเดอร์ติดมาด้วย ดังนั้นอาจสะดวกกว่าถ้าต้องการแค่ชื่อไฟล์อย่างเดียว



ถ้าเข้าใจความแตกต่างระหว่าง glob, iglob และ glob1 ก็สามารถแยกใช้ตามความเหมาะสมได้





fnmatch.fnmatch หรือ glob.fnmatch.fnmatch

ฟังก์ชัน fnmatch.fnmatch ในมอดูล fnmatch (ชื่อฟังก์ชันเหมือนกับชื่อมอดูลอีกแล้ว) ใช้สำหรับแค่ดูว่าชื่อไฟล์เข้าข่ายตามรูปแบบกล็อบที่กำหนดหรือไม่

ตัวอย่างการใช้
from fnmatch import fnmatch
print(fnmatch('a.py','*.py')) # ได้ True
print(fnmatch('a.py','*.txt')) # ได้ False

ที่จริงแล้วคำสั่ง glob ในไพธอนคือการเรียก os.listdir ซึ่งเป็นคำสั่งสำหรับไล่รายชื่อไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ แล้วจากนั้นก็นำชื่อไฟล์มาคัดกรองด้วย fnmatch อีกทีนั่นเอง

ดังนั้น glob('*.txt') จะเท่ากับ
[g for g in os.listdir('./') if (fnmatch(g,'*.txt'))]

มอดูล fnmatch นี้มีการเรียกใช้โดย glob จึงถูกทำให้สามารถเข้าถึงผ่านมอดูล glob ได้ด้วย นั่นคือ fnmatch เท่ากับ glob.fnmatch
import glob,fnmatch
print(glob.fnmatch is fnmatch) # ได้ True


อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文