φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



การใช้ glob เพื่อค้นหาไฟล์ที่ต้องการใน shell
เขียนเมื่อ 2019/01/09 18:08
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ปกติเวลาที่เราใช้คำสั่งจัดการพวกไฟล์ต่างๆภายในเชลทีละหลายๆไฟล์มักจะมีการใช้สัญลักษณ์ดอกจัน * ในการเขียน

เช่นเวลาที่ต้องการแสดงชื่อไฟล์ .jpg ทั้งหมดในเชลจะพิมพ์ว่า ls *.jpg

ในที่นี้ * แทนตัวหนังสืออะไรก็ได้ ดังนั้นไฟล์อะไรก็ตามที่ชื่อลงท้ายด้วย .jpg จึงเข้าข่ายหมด

วิธีการเขียนแบบนี้เรียกว่ากล็อบ (glob) ส่วนดอกจัน * ในที่นี้เรียกว่าไวลด์การ์ด (wild card)

กล็อบเป็นรูปแบบการเขียนเพื่อคัดกรองข้อความที่เข้าข่าย มักถูกใช้ในการจัดการข้อความต่างๆในระบบเชลยูนิกซ์ แต่ก็ถูกใช้ในที่อื่นอย่างกว้างขวาง ในภาษาไพธอนเองก็มีคำสั่งที่ดึงมาใช้ได้สะดวกเช่นกัน

นอกจากการใช้ * แล้ว ยังมีรูปแบบการเขียนอย่างอื่นอีก ซึ่งจะเขียนถึงต่อไปในบทความนี้

ในบทความนี้จะเริ่มจากอธิบายรูปแบบวิธีการเขียนกล็อบโดยทั่วไป ส่วนวิธีการใช้ในไพธอนอ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20190110





ดอกจัน *

สัญลักษณ์ดอกจัน * จะแทนอักษรอะไรกี่ตัวก็ได้ที่ไม่ใช่สแลช /

ที่ยกเว้น / เพราะ / เป็นสัญลักษณ์ที่เอาไว้กั้นระหว่างชื่อโฟลเดอร์กับชื่อไฟล์

เพียงแต่ถ้าเป็นใน windows ตัวยกเว้นจะเป็นแบ็กสแลช \ แทน เพราะ windows ใช้ \ ในการกั้นชื่อไฟล์

ในบทความนี้จะยกตัวอย่างด้วย mac และ linux เป็นหลัก เพราะเดิมทีกล็อบถูกใช้กับเชลยูนิกซ์เป็นหลัก

ยกตัวอย่างเช่น a* จะได้ชื่อไฟล์อะไรก็ตามที่ขึ้นต้นด้วย a เช่น aaa.txt ab.png

*.*g จะได้ไฟล์ที่เป็นสกุลที่ลงท้ายด้วย g ทั้งหมด เช่น bb.png cc.jpg แต่จะไม่ได้ hh.gif

เนื่องจาก * จะไม่รวม / ด้วย ดังนั้นถ้าจะหาไฟล์ที่อยู่ในโฟลเดอร์ย่อยให้เขียนเป็น */* แบบนี้ได้

เช่น */*.txt แบบนี้จะเป็นการค้นหาไฟล์ .txt ทุกไฟล์ในโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมด



เครื่องหมายคำถาม ?

สำหรับเครื่องหมายคำถาม ? จะแทนอักษรอะไรก็ได้เพียงตัวเดียว

เช่น a?.txt จะเจอ ab.txt ak.txt แต่จะไม่เจอ aac.txt

ข้อแตกต่างกับดอกจัน * ก็คือเครื่องหมายคำถาม ? จะแทนแค่ตัวเดียวเสมอ แต่ดอกจัน * จะแทนกี่ตัวก็ได้แม้แต่ศูนย์ตัว

จะให้แทนอักษรกี่ตัวก็ใส่ ? ไปเท่านั้น

เช่นจะหาไฟล์ .txt อะไรก็ได้ที่ชื่อยาว ๓ ตัวก็ใช้ ???.txt แบบนี้ก็จะเจอ abc.txt ggg.txt ฯลฯ



วงเล็บเหลี่ยม [ ]

หากมีอักษรที่ต้องการค้นหาหลายตัวในทีเดียวมีวิธีการเขียนที่แสดงถึงอักษรนั้นตัวไหนก็ได้โดยมัดรวมอักษรที่ต้องการหาทั้งหมดไว้ในวงเล็บเหลี่ยม

เช่น [aei]n.txt แบบนี้จะเป็นการหาไฟล์ที่ชื่อ an.txt en.txt in.txt



เครื่องหมายตกใจ ! หรือ ^

ถ้าใส่ ! หรือ ^ ไว้ที่ด้านหน้าสุดภายในวงเล็บเหลี่ยมจะให้ผลในทางตรงกันข้าม คือจะแทนตัวอักษรตัวไหนก็ได้ที่ไม่อยู่ในนั้น

เช่น [^ab]* หรือ [!ab]* แบบนี้จะเจอชื่อไฟล์ไหนก็ได้ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วย a หรือ b

ต่อให้มีอักษรที่ต้องการยกเว้นอยู่แค่ตัวเดียวก็ยังต้องใส่วงเล็บเหลี่ยมเช่นกัน เช่นถ้าจะเอาไฟล์ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วย a ก็เป็น [^a]*

ในเชลปกติแล้วจะแยกตัวพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็ก ดังนั้นวิธีการเขียนแบบนี้ช่วยให้หาชื่อไฟล์ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กได้ในขณะเดียวกัน

เช่น [aA][bB][cC].txt จะเจอ aBc.txt AbC.txt ABc.txt ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ในบางระบบอาจใช้ได้แค่ ^ หรือ ! อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นคำสั่ง glob ในไพธอนจะใช้ ! ไม่ใช้ ^



ขีด - ในวงเล็บเหลี่ยม

กรณีที่อักษรที่ต้องการค้นหลายๆตัวนั้นเป็นอักษรต่อเนื่องกัน อาจใช้ - เพื่อแทนอักษรทั้งหมดตั้งแต่ตัวซ้ายถึงตัวขวา

[a-i] จะแทนอักษรตั้งแต่ a,b,c,... ไปจนถึง i

หรือเลข [1-7] แบบนี้เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น [c-e][3-5] แบบนี้จะเจอ c3 e4 d5 แต่จะไม่เจอ b4 b6 e2 เป็นต้น



แบ็กสแลช \

ทั้งเครื่องหมาย * และ ? ล้วนเป็นอักษรที่ใช้ตั้งเป็นชื่อไฟล์ได้ แต่ว่าเวลาค้นหาด้วยกล็อบกลับเป็นอักษรที่มีความหมายพิเศษ ดังนั้นถ้าต้องการหาแค่ชื่อไฟล์ที่เป็น * หรือ ? จะมีปัญหา

ดังนั้นถ้าค้นหาว่า a*.txt แทนที่จะเจอแค่ไฟล์ชื่อ a*.txt ก็กลับจะได้ไฟล์ ab.txt ax.txt มาด้วย

เพื่อแก้ปัญหานี้ ให้ใส่ \ นำหน้า * หรือ ?

เช่น a\*.txt แบบนี้จึงจะเป็นการหาแค่ไฟล์ a*.txt



เปรียบเทียบกับเรกูลาร์เอ็กซ์เพรชชัน

รูปแบบการเขียนของกล็อบมีส่วนคล้ายกับเรกูลาร์เอ็กซ์เพรชชัน (regular expression, รายละเอียดเรื่องนี้อ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20160922)

ที่คล้ายกันก็คือการใช้ดอกจัน * กับวงเล็บเหลี่ยม [] แต่ความหมายของเครื่องหมายคำถาม ? จะต่างกัน ดังนั้นต้องระวังสับสนและใช้ผิด

งานหลักๆของกล็อบก็คือใช้จัดการกับชื่อไฟล์ แต่เรกูลาร์เอ็กซ์เพรชชันถูกใช้งานกว้างขวางกว่ามาก

สำหรับงานค้นหาที่ไม่ซับซ้อนใช้กล็อบได้ก็ใช้กล็อบจะดูง่ายกว่า



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> shell

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文