φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



บันทึกการเข้าร่วมค่ายอบรมวิชาการทางดาราศาสตร์โดยโซวเคนไดปี 2019
เขียนเมื่อ 2019/03/04 14:11
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# อังคาร 26 ก.พ. 2019

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ~ 2 มีนาคม 2019 ได้ไปโตเกียวเพื่อร่วมโรงเรียนฤดูหนาวเอเชียโซวเคนได (SOKENDAI Asia Winter School) เป็นอบรมวิชาการที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยบัณฑิตวิทยาลัยศูนย์รวมการวิจัย (総合研究大学院大学そうごうけんきゅうだいがくいんだいがく) หรือเรียกย่อๆว่าโซวเคนได (総研大そうけんだい, SOKENDAI)

งานนี้จัดทุกปีและเคยไปมาแล้วเมื่อปี 2013 บันทึกเขียนไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20131205

ดังนั้นครั้งนี้จะไม่เขียนรายละเอียดอะไรมากเท่าครั้งที่แล้ว เพราะบางส่วนจะคล้ายๆกับครั้งก่อน

สำหรับหัวข้อที่จัดในแต่ละปีจะต่างกันออกไป ปีนี้เป็นเรื่องของการก่อตัวของดาวฤกษ์และเคราะห์

งานจัดระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ~ 1 มีนาคม 2019 เป็นเวลา ๓ วัน สถานที่จัดอยู่ที่หอดูดาวแห่งชาติ (国立天文台こくりつてんもんだい) ของญี่ปุ่น เรียกย่อๆว่า NAOJ (ย่อมาจาก National Astronomical Observatory of Japan) วิทยาเขตมิตากะ (三鷹みたかキャンパス) ซึ่งอยู่ในเมืองมิตากะ (三鷹市みたかし) จังหวัดโตเกียว

ตำแหน่งเมืองมิตากะ




ผู้ร่วมงานมีทั้งหมด ๔๔ คน มาจากประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน, ไต้หวัน, เกาหลีใต้, เวียดนาม, อินโดนีเซีย และไทย

รายละเอียดอื่นๆดูได้ในเว็บของทาง NAOJ https://guas-astronomy.jp/eng/Applicants/winter2018.html

นอกจากจะมาเพื่อฟังบรรยายจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยแต่ละท่านแล้ว งานนี้ยังให้ผู้เข้าร่วมได้จัดกลุ่มกันเพื่อคิดปัญหาบางอย่างและรายงานเป็นกลุ่มด้วย โดยกลุ่มแบ่งเป็น ๘ กลุ่ม แบ่งโดยการให้ผู้เข้าร่วมเสนอกลุ่มที่อยากเข้าร่วม และกลุ่มถูกกำหนดแบ่งเสร็จก่อนเริ่มงาน

ทางผู้จัดงานได้เตรียมทั้งค่าที่พักและค่าเครื่องบินให้ผู้ร่วมงาน แต่ครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนตรงที่ว่าเขาไม่ได้จัดเตรียมทุกอย่างให้ แต่ให้ผู้ร่วมงานจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมโดยจ่ายเงินเองก่อน แล้วจึงค่อยคืนเป็นเงินสดให้ในวันที่สองของงาน คือวันที่ 28 ก.พ. เพียงแต่ว่าต้องเตรียมหางตั๋วเครื่องบินและใบเสร็จจากโรงแรมซึ่งมีระบุวันเวลาที่พักไว้ชัดเจนด้วย ต้องยื่นให้เขาไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับเงินคืน

การมาในครั้งนี้นอกจากจะมาเพื่อร่วมงานอบรมวิชาการแล้วยังได้นัดอาจารย์ที่ทำงานอยู่ที่หอดูดาวแห่งชาติเพื่อคุยเรื่องงานไว้ด้วย วานเริ่มวันที่ 27 แต่เครื่องบินมาถึงตั้งแต่เช้าวันที่ 26 จึงมีเวลาวันนึง สามารถไปเที่ยวหรือทำงานอะไรที่ไม่ได้เกี่ยวกับงานนี้ได้

อาจารย์นัดเอาไว้ตอนสี่โมงเย็น ก่อนจะถึงเวลานั้นจึงมีเวลาก็ใช้เวลาในส่วนนี้ไปเที่ยวเล่นได้



กำหนดการณ์เป็นดังนี้

อังคาร 26 ก.พ. 2019
- เดินทางถึง

พุธ 27 ก.พ. 2019
- ช่วงเช้าตั้งแต่ 9:00 น. ลงทะเบียน กล่าวเปิดงาน และเริ่มฟังบรรยาย
- กินมื้อเที่ยงที่โรงอาหาร
- ช่วงบ่ายฟังบรรยายตลอดจนถึง 18:30 น.
- มื้อเย็นมีงานเลี้ยงที่โรงอาหาร

พฤหัส 28 ก.พ. 2019
- ช่วงเช้าตั้งแต่ 9:00 น. ฟังบรรยาย
- กินมื้อเที่ยงที่โรงอาหาร
- ช่วงบ่ายประชุมกลุ่มเพื่อร่วมกันเตรียมรายงาน
- ไปกินมื้อเย็นร่วมกับคนในกลุ่ม

ศุกร์ 1 มี.ค. 2019
- ช่วงเช้า 9:00~11:00 ประชุมกลุ่มกันต่อ
- ตั้งแต่ 11:00 กลุ่ม 1~3 เริ่มรายงาน
- กินมื้อเที่ยงที่โรงอาหาร
- กลุ่ม 4~8 รายงาน
- 15:30~16:30 ไปชมห้องฉายดาว 4D2U
- จบงาน แยกย้าย

เสาร์ 2 มี.ค. 2019
- เดินทางกลับ



รายชื่อผู้บรรยายทั้งหมด เรียงตามลำดับ ได้แก่

1. ทามุระ โมโตฮิเดะ (田村たむら 元秀もとひで) จากมหาวิทยาลัยโตเกียว, ABC และ NAOJ
2. โทมิดะ เคงโงะ (富田とみだ 賢吾けんご) จากมหาวิทยาลัยโอซากะ
3. ฮิราโนะ นาโอมิ (平野ひらの 尚美なおみ) จาก ASIAA
4. คาตาโอกะ อากิมาสะ (片岡かたおか 章雅あきまさ) จาก NAOJ และ SOKENDAI
5. คิม คีแท (キム 기태キテ) จาก KASI และ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลี
6. อิโนอุเอะ อากิโอะ (井上うのうえ 昭雄あきお) จากมหาวิทยาลัยโอซากะซังเงียว
7. โนมุระ ฮิเดโกะ (野村のむら 英子ひでこ) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโตเกียว
8. โคกุโบะ เอย์อิจิโรว (小久保こくぼ 英一郎えいいちろう) จาก NAOJ และ SOKENDAI
9. โฮริ ยาสึโนริ (ほり 安範やすのり) จาก ABC และ NAOJ
10. ฮาชิโมโตะ จุง (橋本はしもと じゅん) จาก ABC และ NAOJ
11. ไซโตว มาซาโอะ (齋藤さいとう 正雄まさお) จาก NAOJ และ SOKENDAI

*ASIAA = Academia Sinica Institute of Astronomy and Astrophysics คือสถาบันวิจัยดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งสถาบันวิจัยศูนย์กลาง (中央研究院天文及天文物理研究所) ของไต้หวัน
*ABC = AstroBiology Center เป็นสถาบันวิจัยชีวดาราศาสตร์ของญี่ปุ่น

แต่ละคนมาพูดประมาณหนึ่งชั่วโมง แต่พอถึงเวลาจริงๆก็มักจะเกินเวลาทำให้กำหนดการณ์เลื่อนล่าช้าไปเรื่อยๆจากตารางเวลาเดิม นี่ดูจะเป็นเรื่องปกติ



สำหรับการเดินทาง ครั้งนี้เลือกสายการบินไทเกอร์แอร์ไต้หวัน (台灣虎航) เที่ยวไปบินจากสนามบินเถาหยวนไปลงสนามบินฮาเนดะ เที่ยวบิน IT216 วันอังคารที่ 26 ก.พ. ออก 00:10 ไปถึงฮาเนดะ 04:00

ส่วนเที่ยวกลับเที่ยวบิน IT201 วันเสาร์ที่ 2 มี.ค. กลับจากสนามบินนาริตะเวลา 13:00 ไปถึงสนามบินเถาหยวน 16:25

ค่าใช้จ่ายทั้งหมดคิดเป็นเงินไต้หวัน ๑๓,๔๔๑ หยวน

ส่วนที่พักพักที่โรงแรมธุรกิจซันไลต์สาขาหลัก (ビジネスホテルサンライト本館ほんかん) อยู่ที่เมืองฟุจู (府中市ふちゅうし) ในจังหวัดโตเกียวค่อนไปทางตะวันตก ไม่ห่างจากที่จัดงานมากนัก

ข้อมูลในเว็บ https://travel.rakuten.co.jp/HOTEL/8298/8298.html

ตำแหน่งเมืองฟุจูในจังหวัดโตเกียว



ค่าที่พักคืนละ ๖๐๕๐ เยน รวม ๔ คืนเป็น ๒๔๒๐๐ เยน เป็นห้องเดี่ยวมีห้องน้ำในตัว รวมอาหารเช้าให้ทุกเช้า ในห้องมี WIFI (แต่เน็ตกาก)

ที่เลือกที่พักที่นี่เพราะราคาถูก ทางผู้จัดงานเขาจะออกค่าโรงแรมให้โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกิน ๗๐๐๐ เยน ถ้าเกินจะต้องออกส่วนเกินเอาเอง ดังนั้นจึงเลือกที่ราคา ๖ พันกว่า ก็มาเจอที่นี่กำลังเหมาะ

โรงแรมตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟถึง ๔ แห่ง
- ตะวันออก สถานีฟุจู (府中駅ふちゅうえき)
- เหนือ สถานีคิตะฟุจู (北府中駅きたふちゅうえき)
- ตะวันตก สถานีบุไบงาวาระ (分倍河原駅ぶんばいがわりえき)
- ใต้ ฟุจูฮมมาจิ (府中本町駅ふちゅうほんまちえき)

ดังนั้นจะลงสถานีไหนเพื่อมาที่โรงแรมนี้ก็อาจขึ้นอยู่กับว่ามาจากทางไหน นั่งรถไฟสายไหนมา

สำหรับการเดินทางจากสถานีนี้เพื่อไปยังหอดูดาวแห่งชาติมีหลายวิธี ง่ายสุดคือขึ้นรถไฟที่สถานีฟุจู นั่งไปตามสายเคย์โอวไปลงสถานีโจวฟุ (調布駅ちょうふえき) ในเมืองโจวฟุ (調布市ちょうふし) ซึ่งอยู่ค่อนไปทางตะวันออก จากนั้นนั่งรถเมล์จากหน้าสถานีนี้ไป





เราเดินทางไปสนามบินเถาหยวนตั้งแต่คืนวันจันทร์ที่ 25 เพื่อขึ้นเครื่องบินรอบ 0:10 น. ของวันที่ 26

เมื่อขึ้นเครื่องบินไปก็รีบนอนทันที เพราะเวลาบนเครื่องบินยาวไม่ถึง ๓ ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นคืนนี้จะนอนไม่พอ

ถึงสนามบินฮาเนดะตอนตีสี่ตามเวลา



ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองมาแล้วก็เดินออกมาเลยเพราะไม่ได้โหลดกระเป๋าเพราะสัมภาระน้อย ออกมาก็ประมาณตีสี่ครึ่ง ซึ่งเช้าไปสำหรับเวลารถไฟที่จะออกจากที่นี่ ต้องรอไป

ระหว่างนั้นใช้เวลาไปกับการจัดการทดสอบซิมที่ซื้อมาจากไต้หวัน ครั้งนี้ใช้ซิมของไถวันต้าเกอต้า (台灣大哥大) ของไต้หวัน เป็นซิมแบบใช้ต่อเน็ตอย่างเดียว ใช้ได้ไม่อั้นเป็นเวลา ๖ วัน ราคา ๕๙๙ หยวนไต้หวัน เมื่อมาถึงญี่ปุ่นก็รีบเปิดใช้แล้วก็ดูจะใช้ได้ไม่มีปัญหา

เวลาที่เหลืออีกหน่อยก็เดินเล่นดูในบริเวณสนามบิน เห็นผู้คนที่กำลังนอนกันตามที่นั่ง หลายคนน่าจะนอนเอาแรงรอเวลารถไฟออกเหมือนกัน ที่นี่สามารถค้างคืนได้ถ้าหากยอมนอนบนเก้าอี้เอา ห้องน้ำและห้องอาบน้ำก็มีพร้อม




ที่จริงก็อยากนอนเหมือนกัน แต่ก็เห็นว่าแค่แป๊บเดียว ไปนอนบนรถไฟดีกว่า

จะขึ้นรถไฟต้องไปทางนี้ บรรยากาศดูเงียบๆเพราะทางไปขึ้นรถไฟยังไม่เปิด แต่ตรงกลางมีเคาน์เตอร์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งเปิดอยู่ตลอด สามารถไปถามข้อมูลได้



เมื่อใกล้ถึงเวลารถไฟออก สักตีห้า ตัวสถานีรถไฟก็เปิด ได้เวลาเดินเข้าไปรอรถไฟ



ก่อนอื่นต้องเติมเงินในบัตร Suica เพื่อที่จะเอามาใช้ในการเดินทางตลอดเที่ยวนี้ บัตรนี้ซื้อไว้ตั้งแต่ครั้งที่แล้วที่มาญี่ปุ่น ตอนนั้นเหลือเงินไว้ในบัตรเพียง ๑๒​ เยนเท่านั้น ครั้งนี้เอามาเติมลงไป ๓๐๐๐ เยน

จากนั้นก็ลงไปยังสถานี รอรถไฟ





สนามบินฮาเนดะตั้งอยู่ในเขตโอตะ (大田区おおたく) ทางตะวันออกเฉียงใต้สุดของโตเกียว



การนั่งรถไฟจากสนามบินฮาเนดะไปยังโรงแรมก็มีหลายวิธี แต่ที่เลือกไปคราวนี้คือ นั่งรถไฟสายสนามบิน (空港線くうこうせん) ไปลงสถานีเคย์กิวคามาตะ (京急蒲田駅けいきゅうかまたえき) ต่อรถไฟสายหลักเคย์กิว (京急本線けいきゅうほんせん) ไปลงที่สถานีคาวาซากิ (川崎駅かわさきえき) แล้วต่อสายนัมบุ (南武線なんぶせん) ของ JR ไปลงที่สถานีฟุจูฮมมาจิ



นั่งแป๊บเดียวก็ถึงสถานีเคย์กิวคามาตะ การเปลี่ยนรถที่นี่ไม่จำเป็นต้องออกนอกสถานี เพราะเป็นรถไฟของเคย์กิวเหมือนกัน แค่คนละสาย



แล้วไม่นานก็มาถึงสถานีคาวาซากิ



ที่สถานีนี้ต้องออกจากตัวสถานีก่อนเพื่อไปเปลี่ยนเป็นรถไฟของ JR



ต้องเดินออกมาข้างนอกแล้วเดินต่อไปหน่อย สถานีนี้ที่จริงเพิ่งจะมาเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2018 ครั้งที่แล้วที่มาญี่ปุ่นนั่นเอง https://phyblas.hinaboshi.com/20181226

บรรยากาศบริเวณสถานีในยามก่อนรุ่งสาง ดูแล้วก็ไม่ต่างจากตอนหัวค่ำที่มาครั้งที่แล้ว แต่ที่ต่างกันคือคนน้อยดูเงียบเหงากว่ามาก






เข้ามายังตัวสถานีของ JR




ลงไปยังชานชลา



รถไฟมาจอดรออยู่แล้ว รถไฟขบวนนี้มีปลายทางอยู่ที่สถานีทาจิกาวะ (立川駅たちかわえき) ซึ่งก็เคยแวะไปเมื่อครั้งก่อนเช่นกัน https://phyblas.hinaboshi.com/20181225



ขึ้นรถรอบ 6:00 มา เมื่อขึ้นมาแล้วก็รีบหลับเอาแรง เพราะในเครื่องบินยังนอนไม่พอ แต่ก็ต้องตั้งนาฬิกาปลุกไว้ด้วยเพื่อไม่ให้หลับจนเลยสถานีที่จะลง

แล้วก็มาถึงสถานีฟุจูฮมมาจิโดยไม่เผลอนอนจนเลยสถานี เพราะเอาจริงๆก็ไม่อาจนอนหลับได้สนิทนัก



ตอนที่มาถึงฟ้าสว่างไปแล้ว อากาศยามเช้าสดใส เย็นสบาย



เดินออกมาจากสถานีแล้วเดินมุ่งหน้าไปทางเหนือ




แล้วก็มาถึงโรงแรมที่จะพัก แต่ว่าตอนนี้ยังเช็กอินไม่ได้ ได้แต่เอาสัมภาระมาวางไว้ก่อน แล้วก็ไปหาอะไรทำ



แน่นอนว่าไหนๆมาถึงญี่ปุ่นทั้งทีก็ต้องไปเที่ยวสักหน่อย ครั้งนี้มีแค่วันแรกเท่านั้นที่พอมีเวลาให้เที่ยว วันอื่นต้องอยู่ที่หอดูดาวแห่งชาติตลอดทั้งวัน

เราเอาสัมภาระส่วนใหญ่ฝากไว้ที่โรงแรม แต่ยังต้องพกโน้ตบุ๊กและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องไปเพราะว่าตอนบ่ายสี่โมงจะได้เลยไปหาอาจารย์ตามนัดไว้โดยไม่ต้องกลับมาเอาของที่นี่อีก ดังนั้นจึงหนักอยู่หน่อย แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหามาก

ตอนต่อไปจะเล่าเรื่องการเที่ยวในวันแรกนี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20190306



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> โตเกียว
-- ประเทศญี่ปุ่น >> คานางาวะ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ดาราศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文