# อังคาร 28 พ.ค. 2019หลังจากที่วันจันทร์ไปงานประชุมวิชาการที่สถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติในเมืองทาจิกาวะ
https://phyblas.hinaboshi.com/20190527วันอังคารก็ได้ไปมาเข้าร่วมต่ออีกวัน
และพอดีสังเกตเห็นว่าข้างๆนั้นมีสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจอยู่ คือ
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ขั้วโลก (南極・北極科学館) จึงตัดสินใจแวะเข้าไปชมด้วย
พิพิธภัณฑ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ
สถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งชาติ (国立極地研究所) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
องค์กรวิจัยข้อมูลข่าวสารและระบบ (情報・システム研究機構) เช่นเดียวกับสถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติ
สถาบันนี้มีส่วนที่ตั้งอยู่ในอาคารวิจัยรวม (
総合研究棟) ซึ่งเป็นอาคารเดียวกันกับสถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติ นั่นคืออาคารที่เรามางานประชุมวิชาการ แล้วก็มีส่วนที่เป็นพิพิธภัณฑ์ซึ่งตั้งอยู่อีกอาคาร รวมถึงอาคารอื่นๆแถวๆนั้น
พิพิธภัณฑ์นี้จัดแสดงเกี่ยวกับการสำรวจขั้วโลกเหนือและใต้ โดยเน้นไปที่คณะสำรวจของทางญี่ปุ่น และก็มีให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขั้วโลกด้วย
พูดถึงเรื่องสำรวจขั้วโลกแล้วนึกถึงอนิเมะเรื่อง sora yori mo tooi basho (
宇宙よりも
遠い
場所) ซึ่งฉายไปในฤดูหนาวปี 2018 เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กมัธยมปลาย ๔ คนที่ไปสำรวจขั้วโลก
ตอนแรกก็ยังคิดว่าที่นี่น่าจะมีพูดถึงเกี่ยวกับอนิเมะเรื่องนี้บ้างสักหน่อย แต่ผิดคาด ไม่มีเลยแม้แต่นิดเดียว อาจเพราะผ่านมานานเกินปีแล้ว
การเข้าชมไม่มีค่าใช้จ่าย เดินเข้าไปได้เลย
ที่นี่เปิดวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา 10:00-17:00 หยุดวันอาทิตย์และจันทร์และวันหยุดต่างๆ
งานประชุมที่เรามาเข้าร่วมในวันอังคารนี้ยาวตั้งแต่เช้ายันเย็น ดังนั้นเดิมทีไม่น่าจะมีเวลาว่างพอให้เข้ามาชมในพิพิธภัณฑ์ได้ แต่เนื่องจากไม่ได้จำเป็นต้องเข้าร่วมฟังทุกหัวข้อ จึงอาศัยเวลาช่วงบ่ายสองกว่าที่เป็นหัวข้อที่ไม่ได้สนใจปลีกตัวออกมาเพื่อเข้าร่วม
สไลด์จากงานประชุมตอนเช้า เนื้อหาเต็มไปด้วยเรื่องการใช้การเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) ในงานดาราศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่อง GAN
ตอนเที่ยงมาหาอะไรกินแถว
ที่ว่าการเมืองทาจิกาวะ (立川市役所)ซึ่งมีร้านสะดวกซื้อ
โปปุระ (ポプラ) ซื้อข้าวปั้นกินเป็นมื้อเที่ยง
บ่ายโมงกลับมาฟังบรรยายเรื่องกระบวนการเกาส์ (Gaussian process)
จากนั้นตอนบ่ายสองได้เวลาแวะไปเข้าชมพิพิธภัณฑ์ขั้วโลก ที่ตึกข้างๆ
ทางเข้าห้องจัดแสดง
ห้องจัดแสดงกว้างขวางพอสมควร แต่ก็มีอยู่ห้องเดียว
แผนที่ทวีปแอนตาร์กติกา ขั้วโลกใต้
แผนที่ทะเลอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ
ตรงนี้พูดถึงเรื่องการขุดเจาะแกนน้ำแข็ง มีการเทียบให้เห็นว่าบางแห่งลึกกว่าความสูงของภูเขาไฟฟุจิเสียอีก
ที่วางยาวอยู่ด้านล่างคือท่อขุดเจาะแกนน้ำแข็ง
การขุดเจาะแกนน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้มีประโยชน์ตรงที่ทำให้เราเข้าใจลักษณะของอากาศในช่วงเวลาต่างๆ เพราะแกนน้ำแข็งจะแปรตามสภาพอากาศ จึงเป็นตัวเก็บบันทึกอย่างดี และนี่ทำให้เรารู้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา
มีวีดิทัศน์เรื่องสถานีสำรวจขั้วโลกใต้ของญี่ปุ่นและเรื่องของโอโซน
ส่วนประกอบของเครื่องขุด
ส่วนประกอบของแกนน้ำแข็ง
มีดตัดน้ำแข็ง
ราดิโอซอนเดอ (Radiosonde) เครื่องตรวจสภาพอากาศ เอาไว้ติดกับบอลลูนให้ลอยขึ้นไปในชั้นบบรยากาศสูง ใช้วัดสภาพของโอโซนได้
ต่อไปมุมนี้เป็นที่แสดงเกี่ยวกับนักสำรวจขั้วโลกใต้ เริ่มจากชุดกันหนาวที่หนาเป็นพิเศษที่ใส่ในขั้วโลกใต้
นักสำรวจขั้วโลกใต้คนแรกของญี่ปุ่น ชื่อ ชิราเสะ โนบุ (
白瀬 矗)
พูดถึงชื่อนี้แล้วทำให้นึกถึงตัวละครหลักคนนึงจากเรื่อง sora yori mo tooi basho ชื่อ โคบุจิซาวะ ชิราเสะ (
小淵沢 報瀬) น่าจะเป็นที่มาของชื่อ
(ที่มาของภาพ
https://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=67979745)
วีดิทัศน์เล่าเรื่องการเดินทางของพวกชิราเสะ
พวกเขาไปสำรวจขั้วโลกใต้โดยเริ่มออกเดินทางตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 1910 โดยที่สามารถเดินทางไปถึงทวีปแอนตาร์กติกาได้ แต่ไปไม่ถึงจุดขั้วโลกใต้เพราะพบข้อจำกัดหลายอย่างทำให้ต้องตัดใจ
จุดที่พวกเขาเดินทางไปถึงสุดท้ายถูกตั้บชื่อว่า ยามาโตะ ยุกิฮาระ (
大和雪原) อยู่แถวละติจูด ๘๐ องศา ๕ ลิบดา
ของที่คณะสำรวจของชิราเสะเหลือไว้
แบบจำลองเรือสำรวจ ไคนัมมารุ (
開南丸) ที่พวกชิราเสะใช้เดินทางไปขั้วโลกใต้
รถลากเลื่อนบนหิมะ
ภาพสุนัขพันธุ์คาราฟุโตะ (
樺太犬) ๒ ตัว ทาโระ (タロ) กับ จิโระ (ジロ) ซึ่งไปสำรวจขั้วโลกใต้กับคณะสำรวจในปี 1956 แต่ถูกทิ้งเอาไว้ในขั้วโลกใต้หลังเจอสภาพอากาศที่เลวร้าย แต่หลังจากคณะสำรวจเดินทางกลับมาอีกทีกลับพบว่าพวกมันยังมีชีวิตรอดอยู่ จึงเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่ว
แบบจำลองเรือสำรวจขั้วโลกใต้ของญี่ปุ่นที่ใช้ในยุคต่างๆ
รถสำรวจขั้วโลกใต้
สามารถเข้าไปข้างในได้
ตรงนี้เป็นห้องฉายออโรรา สามารถเข้าไปนั่งด้านในเพื่อดูออโรราเหมือนอยู่ที่ขั้วโลกจริงๆได้ แต่ว่าเขาไม่ให้ถ่ายภาพด้านใน
แบบจำลองย่อส่วนของสถานีโชววะ (
昭和基地) ซึ่งเป็นฐานสำรวจขั้วโลกใต้ของญี่ปุ่นที่ตั้งขึ้นในปี 1957
แบบจำลองห้องพักภายในสถานีโชววะ
จอแสดงคลื่นแผ่นดินไหวที่สถานีโชววะ
ตรงนี้ว่าด้วยเรื่องอุกกาบาตที่พบที่ขั้วโลกใต้ ขั้วโลกใต้เป็นที่นึงที่ใช้วิจัยเรื่องอุกกาบาตได้ดี เพราะมีอุกกาบาตมาตกลงที่นี่จำนวนมากและถูกเก็บไว้ในน้ำแข็งอย่างดี
มีให้ส่องกล้องจุลทรรศน์ดูอุกกาบาต
ในตู้นี้มีก้อนหินชนิดต่างๆที่พบในขั้วโลกใต้
สิ่งมีชีวิตต่างๆในแถบขั้วโลก
จอตรงนี้ฉายภาพสิ่งที่เพนกวินเห็นขณะว่ายน้ำ
ในห้องจัดแสดงก็หมดเท่านี้ ส่วนตรงหน้าห้องจัดแสดงมีร้านขายของที่ระลึกเล็กๆน้อยๆ
มีตู้กาชาปงของที่เกี่ยวกับขั้วโลก
ตรงหน้าทางออกมีแสดงตารางรถเมล์ที่วิ่งระหว่างที่นี่กับสถานีทาจิกาวะด้วย ถ้าใครจะนั่งรถเมล์ก็ดูตารางเวลาตามนี้ได้จะได้ออกไปพอดีเวลาอย่างไม่ต้องห่วง
ใช้เวลาประมาณชั่วโมงนึงในการชม พอชมเสร็จกลับมายังอาคารวิจัยรวมเพื่อจะกลับมาฟังบรรยายต่อ พอเข้ามาจึงพบว่ามีส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับขั้วโลกอีกเล็กๆน้อยๆตรงมุมนี้
ที่จัดแสดงคือพวกเพนกวิน
กลับมาฟังบรรยายช่วงบ่ายต่อ
วันนี้เลิกค่อนข้างเย็น เกือบหกโมง เลิกแล้วก็เดินกลับสถานีทาจิกาวะ
ก่อนกลับแวะกินมื้อเย็นที่ร้านเทนดงเทนยะ (
天丼てんや)
โคเทนดง ๔๗๐ เยน
แล้วก็ขึ้นรถไฟจากสถานีทาจิกาวะไปลงสถานีมุซาชิซาไกเพื่อนั่งรถเมล์กลับหอดูดาวแห่งชาติ