φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



งานประชุมวิชาการเรื่องการใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับในงานดาราศาสตร์ที่สถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติ
เขียนเมื่อ 2019/05/27 23:58
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# จันทร์ 27 พ.ค. 2019

วันนี้มีโอกาสได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการสำหรับงานวิจัยในหัวข้อเรื่องการใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับในงานดาราศาสตร์ (天文学てんもんがくにおけるデータ科学的方法かがくてきほうほう)

งานจัดขึ้นในวันที่ 27~29 พ.ค. 2019 ที่สถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติ (統計数理研究所とうけいすうりけんきゅうじょ)

รายละเอียด https://sites.google.com/view/astrodatascience2019

งานนี้จัดขึ้น ๒ ปีต่อครั้ง ครั้งที่แล้วปี 2017

การเข้าร่วมงานอาจลงชื่อมาก่อนล่วงหน้าในเว็บ แต่ก็ไม่ได้จำเป็น อาจมาลงชื่อขอร่วมเอาหน้างานก็ได้

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการร่วมงาน

ผู้เข้าร่วมมีทั้งผู้ที่มาฟังเฉยๆและผู้ที่สมัครคมาเป็นผู้บรรยายด้วย ถ้ามีงานวิจัยของตัวเองที่ต้องการเผยแพร่ก็สมัครเข้ามาพูดในงานนี้ได้

งานนี้บรรยายทั้งหมดเป็นภาษาญี่ปุ่น ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่เป็นคนญี่ปุ่น แต่ก็มีชาวต่างชาติอยู่ด้วย ไม่ได้จำกัดแค่คนญี่ปุ่น

สำหรับวันแรกนี้งานเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่าย แต่อีก ๒ วันที่เหลือจะเริ่มตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นทั้งวัน

สถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติเป็นองค์กรคล้ายมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ในเมืองทาจิกาวะ (立川市たちかわし) ทางตะวันตกของโตเกียว

ก่อนหน้านี้พอดีว่าเคยมีโอกาสได้มาเที่ยวเมืองทาจิกาวะมาแล้วทีนึง เล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20181225

แต่สถานที่ที่จะไปคราวนี้อยู่ห่างจากสถานีทาจิกาวะ (立川駅たちかわえき) ไปทางเหนือพอสมควร หากนั่งรถไฟรางเดี่ยวจากสถานีทาจิกาวะขึ้นไปทางเหนืออีกสถานีนึงก็จะเป็นสถานีทากามัตสึ (高松駅たかまつえき) ซึ่งอยู่ใกล้ที่หมายที่สุด

แต่เนื่องจากดูแล้วอยู่ในระยะที่เดินได้ จึงเดินจากสถานีทาจิกาวะไปดีกว่า เพื่อจะประหยัดค่ารถ เพราะเราเดินทางมาจากทางหอดูดาวแห่งชาติโดยมาตามสายจูโอวของ JR แต่โมโนเรลไม่ใช่สถานีของ JR ถ้าจะขึ้นต้องเสีย ๒ ต่อ



เราเดินทางออกจากหอดูดาวแห่งชาติตอนประมาณ 11:30 มายังสถานีมุซาชิซาไก (武蔵境駅むさしさかいえき) เพื่อขึ้นรถไฟรอบ 11:46



แล้วก็ไปลงที่สถานีโคกุบุนจิ (国分寺駅こくぶんじえき) เวลา 11:54 เพื่อต่อรถไฟแบบเร็วรอบ 11:56 ไปยังสถานีทาจิกาวะ



ไปถึงเวลา 12:01



จากนั้นก็เดินขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ ระยะทาง ๑.๗ กม. กว่าจะถึงที่หมาย



ระหว่างทาง







ระหว่างทางแวะ 7-11 เพื่อหาอะไรรองท้องเป็นมื้อเที่ยง วันนี้ไม่มีเวลาไปกินที่ร้านเพราะเวลาฉุกละหุก



เดินเข้าผ่านทางวิทยาลัยจิจิไดงักโกว (自治大学校じちだいがっこう)




ที่นี่มีสระบัวสวยงาม



เดินผ่านสวน เจอเป็ดเดินเล่นอยู่ด้วย



เดินผ่านสวนมาก็ถึงตึกของสถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติที่เป็นสถานที่จัดประชุม



เมื่อไปถึงก็ลงชื่อแล้วก็รับป้ายชื่อแล้วก็เข้าห้องบรรยาย

บรรยากาศในห้องบรรยายก่อนงานเริ่ม



สไลด์ส่วนหนึ่งในการบรรยายวันแรกบ่ายนี้

13:45 - 14:30 เรื่องการค้นหาพัลซาร์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม



14:45 - 15:45 เรื่องการแบ่งหมวดวัตถุท้องฟ้าที่มีการแปรเปลี่ยนตามเวลาโดยอาศัยการเรียนรู้ของเครื่อง




16:00 - 16:15 เรื่องการค้นหาดาวเคราะห์ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ TESS โดยการสังเกตการณ์โดยถ่ายภาพหลายสีความเที่ยงสูงและการวิเคราะห์ทางสถิติ



17:00 - 17:15 เรื่องการวิเคราะห์โครงสร้างสนามแม่เหล็กที่หัวเจ็ตของดาวคู่ SS433 โดยใช้ฟาราเดย์โทโมกราฟี (Faraday tomographyファラデートモグラフィー)



ขากลับลองกลับโดยใช้อีกเส้นทางนึง คือนั่งรถไฟรางเดียวจากสถานีทากามัตสึไปที่สถานีทากาฮาตะฟุโดว (高幡不動駅たかはたふどうえき) แล้วค่อยต่อรถไฟสายเคย์โอวไปสถานีโจวฟุเพื่อนั่งรถเมล์กลับหอดูดาวแห่งชาติ



ขึ้นรถไฟที่สถานีทากามัตสึ




จากนั้นนั่งไปทางใต้ ไปที่สถานีทากาฮาตะฟุโดวเพื่อเปลี่ยนรถไฟ ซึ่งพอดีที่นั่นมีที่ให้เที่ยวจึงถือโอกาสแวะระหว่างทาง ขอแบ่งไปเขียนเล่าเป็นอีกตอน https://phyblas.hinaboshi.com/20190528




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> โตเกียว
-- ดาราศาสตร์
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文