φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



[python] การใช้ aiohttp เพื่อล้วงข้อมูลจากเว็บด้วยการถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา
เขียนเมื่อ 2020/03/18 16:09
แก้ไขล่าสุด 2024/02/22 09:44


เมื่อต้องการดึงข้อมูลจากเว็บด้วยไพธอน ปกติแล้วนิยมใช้มอดูล requests หรืออาจใช้มอดูลที่มีอยู่ในตัวแต่แรกเช่น urllib วิธีการใช้ได้เขียนแนะนำไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20180320

แต่หากต้องการความรวดเร็ว สามารถใช้วิธีการอะซิงโครนัสไอโอ (asynchronous IO) คือ "การถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา"

aiohttp เป็นมอดูลที่สร้างขึ้นเพื่อทำการล้วงข้อมูลจากเว็บด้วยวิธีนี้ ในบทความนี้จะเขียนถึงวิธีใช้ในเบื้องต้น




การติดตั้งมอดูล

เนื่องจาก aiohttp ไม่ใช่มอดูลที่มีอยู่แล้ว จึงต้องติดตั้งเพิ่มเอง ซึ่งก็ทำได้ง่ายโดยใช้ pip
pip install aiohttp

นอกจากนี้อาจมีส่วนที่อาจติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อเสริมอีก รายละเอียดอื่นๆอาจดูในเว็บหลักของ aiohttp




การสร้างเซสชันเพื่อใช้งานเบื้องต้น

ก่อนจะใช้มอดูล aiohttp ควรจะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการใช้มอดูล asyncio และรูปไวยากรณ์ async await สำหรับทำการถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา

เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อธิบายไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20200315

ที่สำคัญคือควรเข้าใจความหมายของ async await รู้ว่าเมื่อไหร่ควรใช้ async หรือ await ไม่เช่นนั้นอาจไม่สามารถเข้าใจหลักการทำงานของ aiohttp ได้อย่างเต็มที่

การใช้งานมอดูล aiohttp นั้นมีความคล้ายเคียงกับมอดูล requests แต่ก็ต่างกันไปพอสมควร

เริ่มแรกในการใช้งาน aiohttp เพื่อทำการเชื่อมต่อกับเว็บจะต้องสร้างสิ่งที่เรียกว่า "เซสชัน" (session) ขึ้นมา คำว่า "เซสชัน" ปกติหมายถึง "วาระการประชุม" แต่ในที่นี้สำหรับเรื่องเว็บไซต์จะหมายถึงขอบเขตช่วงเวลาที่ทำการเชื่อมต่อ

โดยใน aiohttp จะสร้างเซสชันขึ้นมาโดยใช้ async คู่กับ with กลายเป็น async with

เพื่อความเข้าใจ ขอยกตัวอย่างการใช้งานเบื้องต้นอย่างง่าย คือสร้างเซสชัน แล้วเปิดหน้าเว็บขึ้นมาธรรมดา
import aiohttp,asyncio

async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        url = 'https://ja.wikipedia.org/wiki/Python'
        r = await ses.get(url)
        print('==type==\n',type(r))
        print('\n==url==\n',r.url)
        print('\n==status==\n',r.status)
        print('\n==charset==\n',r.charset)
        print('\n==cookies==\n',r.cookies)
        print('\n==version==\n',r.version)
        print('\n==content_type==\n',r.content_type)
        print('\n==request_info==\n',r.request_info)
        print('\n==reason==\n',r.reason)
        print('\n==method==\n',r.method)
        r.close()

asyncio.run(aioioio())

ได้
==type==
 <class 'aiohttp.client_reqrep.ClientResponse'>

==url==
 https://ja.wikipedia.org/wiki/Python

==status==
 200

==charset==
 UTF-8

==cookies==
 Set-Cookie: GeoIP=TW:HSQ:Hsinchu:24.81:120.97:v4; Domain=wikipedia.org; Path=/; Secure
Set-Cookie: WMF-Last-Access=17-Mar-2020; Domain=ja.wikipedia.org; expires=Sat, 18 Apr 2020 12:00:00 GMT; HttpOnly; Path=/; Secure
Set-Cookie: WMF-Last-Access-Global=17-Mar-2020; Domain=wikipedia.org; expires=Sat, 18 Apr 2020 12:00:00 GMT; HttpOnly; Path=/; Secure

==version==
 HttpVersion(major=1, minor=1)

==content_type==
 text/html

==request_info==
 RequestInfo(url=URL('https://ja.wikipedia.org/wiki/Python'), method='GET', headers=<CIMultiDictProxy('Host': 'ja.wikipedia.org', 'Accept': '*/*', 'Accept-Encoding': 'gzip, deflate', 'User-Agent': 'Python/3.7 aiohttp/3.6.2')>, real_url=URL('https://ja.wikipedia.org/wiki/Python'))

==reason==
 OK

==method==
 GET

ในโปรแกรมหนึ่งๆถ้าไม่ได้ใหญ่มากแนะนำให้ใช้แค่เซสชันเดียวตลอดโปรแกรม จะเชื่อมต่อกี่เว็บก็ทำได้พร้อมกันในเซสชันเดียวกัน ไม่ต้องสร้างเซสชันหลายอันโดยไม่จำเป็น

async with จะสร้างได้ภายในฟังก์ชันโครูทีน (ฟังก์ชันที่สร้างขึ้นด้วย async def) เท่านั้น ดังนั้นในที่นี้จึงสร้างฟังก์ชันโครูทีน คือ aioioio จากนั้นก็สั่งรันด้วย asyncio.run

aiohttp.ClientSession() จะทำการสร้างออบเจ็กต์เซสชันขึ้นมา ในที่นี้ไปเก็บอยู่ในตัวแปร ses ภายในกรอบตรงนั้นให้ใช้ออบเจ็กต์นี้เป็นตัวกลางในการทำการเชื่อมต่อกับเว็บ

ที่ใช้ในครั้งนี้คือเมธอด .get() คือใช้สำหรับเชื่อมต่อแบบ get คือแบบธรรมดา (นอกจากนี้ก็มีพวก post, patch, delete, ฯลฯ)

จะเห็นว่าต้องใช้ await ด้วย เพราะ .get() เป็นฟังก์ชันโครูทีน

ออบเจ็กต์ที่ได้จากการเชื่อมต่อมาเก็บไว้ในตัวแปร r ลองดูชนิดของข้อมูลจะเห็นว่าเป็นคลาส aiohttp.client_reqrep.ClientResponse คือเป็นออบเจ็กต์ที่เก็บผลการเชื่อมต่อเข้ากับเว็บเอาไว้

ในออบเจ็กต์นี้มีแอตทริบิวต์และเมธอดต่างๆมากมาย ในที่นี้ได้ลองให้แสดงส่วนหนึ่ง คือ
- .url คือ เว็บที่เราเข้า
- .status คือ สถานะการเชื่อมต่อ ถ้าต่อสำเร็จจะได้ 200
- .charset คือ ชุดรหัสอักษรที่ใช้ ปกติเว็บสมัยนี้มักจะใช้ยูนิโค้ด UTF-8 กันหมดแล้ว แต่ก็อาจมีบางเว็บใช้อย่างอื่น บางทีก็มีผลต่อการอ่านข้อมูลในเว็บ
- ฯลฯ

และตอนท้ายสุดควรจะใช้เมธอด .close() เพื่อปิดออบเจ็กต์ตัวนี้ด้วย แต่จะไม่ปิดก็ไม่เป็นอะไร แค่บางทีอาจมีเตือนขึ้นมาว่าไม่มีการปิด

หรือจะใช้โครงสร้าง with เพื่อจะได้เปิดมาแล้วปิดให้อัตโนมัติ คล้ายกับเวลาใช้คำสั่ง open เพื่ออ่านไฟล์ก็ได้ (รายละเอียด https://phyblas.hinaboshi.com/tsuchinoko17) เพียงแต่ว่า .get() ก็เป็นฟังก์ชันโครูทีน ก็ต้องเขียนเป็น async with ไม่ใช่ with เฉยๆ

เช่นเขียนแบบนี้
async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        url = 'https://ja.wikipedia.org/wiki/async'
        async with ses.get(url) as r:
            print('url: ',r.url)
            print('status: ',r.status)
            print('charset: ',r.charset)

asyncio.run(aioioio())

ได้
url:  https://ja.wikipedia.org/wiki/Async
status:  200
charset:  UTF-8

เพียงแต่แบบทำให้ยิ่งมี async ซ้อนกัน ดูซับซ้อนไปหน่อย ตัวอย่างต่อจากนี้ไปนี้จะไม่ใช้วิธีนี้ และจะไม่ใส่ .close() ด้วย แต่หากใครถนัดจะใช้ with ก็สามารถเปลี่ยนโค้ดเอาได้

ต่อไปมาลองดูข้อมูลเฮดเดอร์ สำหรับข้อมูลเฮดเดอร์นั้นจะอยู่ในแอตทริบิวต์ .headers ในรูปของดิกชันนารี สามารถนำมาใช้ดูข้อมูลได้ง่าย ตัวอย่างเช่น
async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        url = 'https://th.wikipedia.org/wiki/สาธารณรัฐจีน'
        r = await ses.get(url)
        for h in r.headers:
            print(h+': '+r.headers[h])

asyncio.run(aioioio())

ได้
Date: Tue, 17 Mar 2020 14:04:22 GMT
Content-Type: text/html; charset=UTF-8
Server: mw1405.eqiad.wmnet
X-Powered-By: PHP/7.2.26-1+0~20191218.33+debian9~1.gbpb5a340+wmf1
X-Content-Type-Options: nosniff
P3P: CP="See https://th.wikipedia.org/wiki/Special:CentralAutoLogin/P3P for more info."
Content-Language: th
Vary: Accept-Encoding,Cookie,Authorization
Last-Modified: Sun, 08 Mar 2020 15:33:33 GMT
Backend-Timing: D=155554 t=1584453862004328
X-ATS-Timestamp: 1584453862
Content-Encoding: gzip
X-Varnish: 234496320
Age: 2
X-Cache: cp5012 miss, cp5007 miss
X-Cache-Status: miss
Server-Timing: cache;desc="miss"
Strict-Transport-Security: max-age=106384710; includeSubDomains; preload
Set-Cookie: WMF-Last-Access=17-Mar-2020;Path=/;HttpOnly;secure;Expires=Sat, 18 Apr 2020 12:00:00 GMT
Set-Cookie: WMF-Last-Access=17-Mar-2020;Path=/;HttpOnly;secure;Expires=Sat, 18 Apr 2020 12:00:00 GMT
X-Client-IP: 140.114.202.20
Cache-Control: private, s-maxage=0, max-age=0, must-revalidate
Set-Cookie: WMF-Last-Access=17-Mar-2020;Path=/;HttpOnly;secure;Expires=Sat, 18 Apr 2020 12:00:00 GMT
Accept-Ranges: bytes
Transfer-Encoding: chunked
Connection: keep-alive




การอ่านเนื้อหาภายในเว็บ

หากต้องการเนื้อหา (โค้ด html) ภายในเว็บ ทำได้โดยใช้เมธอด .text() เช่น
async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        url = 'https://ja.wikipedia.org/wiki/Async'
        r = await ses.get(url)
        html = await r.text()
        print(len(html)) # ลองดูความยาวโค้ดทั้งหมด
        print(html.count('div')) # ลองนับจำนวนคำว่า div
        ss = html.split('\n') # แบ่งเป็นบรรทัด
        print(len(ss)) # ลองดูจำนวนบันทัด
        print('\n'.join(ss[:5])) # ลองดู 5 บรรทัดแรก

asyncio.run(aioioio())

ได้
63738
506
136
<!DOCTYPE html>
<html class="client-nojs" lang="ja" dir="ltr">
<head>
<meta charset="UTF-8"/>
<title>async - Wikipedia</title>

ตรงนี้ .text() ก็เป็นฟังก์ชันโครูทีน จึงต้องใช้กับ await เช่นกัน

เวลาอ่านหน้าเว็บ ปกติจะมีการถอดรหัสอักษรตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน charset ในที่นี้คือ UTF-8 เช่นเดียวกับเว็บส่วนใหญ่สมัยนี้

ถ้าหากต้องการให้แน่ใจว่าจะถอดรหัสถูกต้องตามที่ต้องการก็อาจใส่ระบุไปโดยตรงได้ที่คีย์เวิร์ด encoding เช่นถ้าพิมพ์ r.text(encoding='UTF-8') แบบนี้หน้าเว็บก็จะถูกถอดเป็น UTF-8 ไม่ว่า charset จะถูกกำหนดมาเป็นยังไงก็ตาม

เพียงแต่โดยทั่วไปเว็บสมัยใหม่มักจะกำหนด charset ไว้ตรงอยู่แล้ว ถ้าหากไม่มีข้อผิดพลาดอะไรก็อาจไม่ได้จำเป็นต้องกำหนด encoding โดยตรง

หากต้องการให้อ่านโดยไม่มีการถอดรหัสก็ใช้เมธอด .read() จะได้ข้อมูลมาเป็นชนิดไบต์

ลองดูความแตกต่างระหว่าง .read() กับ .text()
async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        url = 'https://ja.wikipedia.org/wiki/IO'
        r = await ses.get(url)
        text = await r.text()
        read = await r.read()
        print(type(text)) # ได้ <class 'str'>
        print(len(text)) # ได้ 33855
        print(type(read)) # ได้ <class 'bytes'>
        print(len(read)) # ได้ 37753

.read() เหมาะจะใช้เมื่อต้องการโหลดข้อมูลทั้งหมดโดยตรงมากกว่า ในขณะที่ .text() ใช้เมื่อต้องการอ่านเนื้อหาข้างใน เอาเนื้อหาบางส่วนมาใช้




การเชื่อมต่อหลายครั้งพร้อมๆกัน

ตัวอย่างที่ยกมาจนถึงตรงนี้แค่อ่านหน้าเว็บทีละหน้าธรรมดา แบบนี้ใช้ aiohttp ไปก็อาจไม่มีผลอะไรนัก นอกจากจะทำให้โค้ดเขียนยากขึ้นกว่าใช้ requests หรือ urllib

แต่จุดประสงค์ของการที่เราใช้ aiohttp ก็คือเพื่อจะสามารถทำการเชื่อมต่อดึงข้อมูลจากเว็บได้อย่างรวดเร็ว จึงต้องอาศัยวิธีอะซิงโครนัส

ตรงนี้ได้เวลาใช้ฟังก์ชันต่างๆในมอดูล asyncio ที่ใช้งานได้สะดวก เช่น asyncio.wait, asyncio.gather, asyncio.as_completed ฟังก์ชันเหล่านี้ช่วยให้สามารถรันโครูทีนหลายตัวได้ในเวลาเดียวกัน

ในที่นี้ขอใช้แค่ asyncio.gather เป็นหลัก เพราะเข้าใจได้ง่ายที่สุด แต่หากจะเปลี่ยนมาใช้วิธีอื่นดูก็ได้เช่นกัน ในตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถใช้แทนกันได้

ขอยกตัวอย่างโดยให้ไปดึงข้อมูลโค้ด html ของหน้าตัวเลข 0 ถึง 4 จากหน้าวิกิพีเดีย เพื่อมาดูว่ายาวแค่ไหนและมีกี่บรรทัด ทำได้ดังนี้
import aiohttp,asyncio,time

async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        url = 'https://vi.wikipedia.org/wiki/'
        coru_get = [ses.get(url+'%d'%i) for i in range(5)]
        print('[เริ่มโหลดหน้าเว็บ] เวลาผ่านไป %.6f'%(time.time()-t0))
        rr = await asyncio.gather(*coru_get)
        print('[โหลดเสร็จแล้ว] เวลาผ่านไป %.6f'%(time.time()-t0))
        coru_text = [r.text() for r in rr]
        print('[เริ่มอ่านข้อมูล] เวลาผ่านไป %.6f'%(time.time()-t0))
        htmlhtml = await asyncio.gather(*coru_text)
        for i,html in enumerate(htmlhtml):
            print('หน้า %s ยาว %d มี %d บรรทัด'%(rr[i].url,len(html),len(html.split('\n'))))
        print('[อ่านเสร็จแล้ว] เวลาผ่านไป %.6f'%(time.time()-t0))

t0 = time.time()
asyncio.run(aioioio())

ได้
[เริ่มโหลดหน้าเว็บ] เวลาผ่านไป 0.000397
[โหลดเสร็จแล้ว] เวลาผ่านไป 0.296747
[เริ่มอ่านข้อมูล] เวลาผ่านไป 0.296778
หน้า https://vi.wikipedia.org/wiki/0 ยาว 33858 มี 273 บรรทัด
หน้า https://vi.wikipedia.org/wiki/1 ยาว 72232 มี 347 บรรทัด
หน้า https://vi.wikipedia.org/wiki/2 ยาว 62739 มี 316 บรรทัด
หน้า https://vi.wikipedia.org/wiki/3 ยาว 62227 มี 318 บรรทัด
หน้า https://vi.wikipedia.org/wiki/4 ยาว 61862 มี 316 บรรทัด
[อ่านเสร็จแล้ว] เวลาผ่านไป 0.342659

ในที่นี้เราเริ่มจากสร้างโครูทีนของเมธอด .get() เตรียมไว้ในลิสต์ coru_get จากนั้นก็ใช้ asyncio.gather เพื่อทำการอ่านข้อมูลพร้อมกัน

ขั้นตอนต่อมาคือการอ่านข้อความจากหน้าเว็บด้วยเมธอด .text() นี่ก็เตรียมไว้ในลิสต์ก่อนเช่นกัน จากนั้นก็มาปล่อยให้ทำงานพร้อมกันด้วย asyncio.gather อีกที

พอทำแบบนี้ก็จะเกิดการโหลดและอ่านข้อมูลอย่างรวดเร็ว

ลองเปลี่ยนโดยเพิ่มจำนวนหน้าที่โหลดให้มากขึ้น เช่นเพิ่มจาก 0 ถึง 4 เป็นถึง 9 แทนแล้วทำแบบเดิมก็จะพบว่าเวลาแทบไม่ต่างจากเดิม

แต่วิธีที่ดีกว่าก็คือให้รวมขั้นตอนทั้งหมดที่ต้องการทำแยกกันไว้สร้างเป็นฟังก์ชันโครูทีนแยกไว้ต่างหาก

เช่นลองเขียนฟังก์ชันที่ดึงข้อมูลหน้าตัวเลขจากวิกิพีเดียเช่นเดียวกับตัวอย่างที่แล้ว แต่คราวนี้แยกฟังก์ชัน
async def loadwiki(ses,url):
    lek = url.split('/')[-1]
    print('[หน้า %s เริ่มโหลด] เวลาผ่านไป %.6f'%(lek,time.time()-t0))
    r = await ses.get(url)
    print('[หน้า %s โหลดเสร็จ] เวลาผ่านไป %.6f'%(lek,time.time()-t0))
    html = await r.text()
    print('หน้า %s ยาว %d มี %d บรรทัด'%(url,len(html),len(html.split('\n'))))
    print('[หน้า %s อ่านเสร็จ] เวลาผ่านไป %.6f'%(lek,time.time()-t0))
    
async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        coruru = [loadwiki(ses,'https://nl.wikipedia.org/wiki/%d'%i) for i in range(5)]
        await asyncio.gather(*coruru)

t0 = time.time()
asyncio.run(aioioio())

ได้
[หน้า 0 เริ่มโหลด] เวลาผ่านไป 0.000671
[หน้า 1 เริ่มโหลด] เวลาผ่านไป 0.023000
[หน้า 2 เริ่มโหลด] เวลาผ่านไป 0.023533
[หน้า 3 เริ่มโหลด] เวลาผ่านไป 0.023896
[หน้า 4 เริ่มโหลด] เวลาผ่านไป 0.024206
[หน้า 0 โหลดเสร็จ] เวลาผ่านไป 0.276355
หน้า https://nl.wikipedia.org/wiki/0 ยาว 25283 มี 272 บรรทัด
[หน้า 0 อ่านเสร็จ] เวลาผ่านไป 0.276677
[หน้า 2 โหลดเสร็จ] เวลาผ่านไป 0.277732
[หน้า 4 โหลดเสร็จ] เวลาผ่านไป 0.279316
[หน้า 3 โหลดเสร็จ] เวลาผ่านไป 0.281153
หน้า https://nl.wikipedia.org/wiki/2 ยาว 64762 มี 382 บรรทัด
[หน้า 2 อ่านเสร็จ] เวลาผ่านไป 0.284768
หน้า https://nl.wikipedia.org/wiki/4 ยาว 66476 มี 392 บรรทัด
[หน้า 4 อ่านเสร็จ] เวลาผ่านไป 0.288138
หน้า https://nl.wikipedia.org/wiki/3 ยาว 62396 มี 374 บรรทัด
[หน้า 3 อ่านเสร็จ] เวลาผ่านไป 0.288892
[หน้า 1 โหลดเสร็จ] เวลาผ่านไป 0.294034
หน้า https://nl.wikipedia.org/wiki/1 ยาว 67829 มี 393 บรรทัด
[หน้า 1 อ่านเสร็จ] เวลาผ่านไป 0.302973

เนื่องจากแยกไว้อีกฟังก์ชัน ดังนั้นจำเป็นต้องใส่ตัวออบเจ็กต์เซสชันลงไปในฟังก์ชันนั้นด้วย พร้อมกับ url ของแต่ละหน้าที่ต้องการโหลด

พอเขียนแบบนี้แล้วจะดูเป็นระเบียบและเข้าใจง่ายขึ้นกว่า




การโหลดเว็บหรือข้อมูลมาเก็บไว้

ตอนนี้รู้วิธีอ่านหน้าเว็บแล้ว และเมื่อจะโหลดข้อมูลหน้าเว็บมาลงใส่ไฟล์ในเครื่องก็แค่เพิ่มส่วนบันทึกข้อมูลลงไป อาจใช้ with open() เพียงแต่ว่า open() ไม่ใช่โครูทีน ในที่นี้จึงเขียน with เฉยๆ ไม่ต้องใช้เป็น async with

ตัวอย่าง
async def loadwiki(ses,url):
    lek = url.split('/')[-1]
    r = await ses.get(url)
    with open(lek+'.html','wb') as f:
        f.write(await r.read())
    
async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        coruru = [loadwiki(ses,'https://ko.wikipedia.org/wiki/%d'%i) for i in range(5)]
        await asyncio.gather(*coruru)

asyncio.run(aioioio())

กรณีที่ต้องการโหลดข้อมูลทั้งหน้าเว็บอยู่แล้วแบบนี้ไม่จำเป็นต้องอ่านแบบถอดโค้ดด้วยเมธอด .text() แต่ใช้ .read() ซึ่งอ่านเป็นข้อมูลดิบไปเลยจะเร็วกว่า ในเปิดไฟล์ก็ให้เปิดในโหมด wb (คือ write binary)




การโหลดไฟล์เป็นก้อนๆ

สำหรับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มากเช่นพวกรูปภาพแทนที่จะโหลดทีเดียวควรใช้วิธีการโหลดเป็นก้อนๆมากกว่า

ปกติถ้าใช้เมธอด .read() ไฟล์จะถูกอ่านหมดในทีเดียว แต่ก็มีวิธีที่จะทำให้ไฟล์ค่อยๆอ่านออกมา นั่นคือใช้ .content.read() โดยระบุขนาดก้อนที่ต้องการโหลดไว้ในวงเล็บ

ตัวอย่าง ให้โหลดทีละ 1 กิโลไบต์ (1024 ไบต์)
async def loadhina(ses,url):
    chue_file = url.split('/')[-1]
    r = await ses.get(url)
    with open(chue_file,'wb') as f:
        while(1):
            c = await r.content.read(1024)
            if(c):
                f.write(c)
            else:
                break
    
async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        lis_lek = [2357144827637608,1570268969658535,2666957966656291]
        coruru = [loadhina(ses,'https://hinaboshi.com/rup/rupprakopwalidet/%d.jpg'%i) for i in lis_lek]
        await asyncio.gather(*coruru)

asyncio.run(aioioio())

แล้วก็จะโหลดได้ภาพมาได้



การเติม .content เข้ามาจะทำให้ข้อมูลถูกอ่านในรูปแบบสตรีม




การใส่พารามิเตอร์ลงใน get

ปกติเวลาเชื่อมต่อเว็บด้วย get นั้นหลังจาก url แล้วสามารถเติมเครื่องหมายคำถาม ? แล้วเติมข้อมูลพารามิเตอร์เข้าไปด้านหลัง url ได้

สำหรับการใช้งานใน asyncio นี้เราจะพิมพ์ต่อจาก url ลงไปโดยตรงเลยก็ได้ หรือจะใส่พารามิเตอร์ลงไปในคีย์เวิร์ด params เมื่อใช้ .get() ก็ได้

พารามิเตอร์ให้ใส่ในรูปของลิสต์ของทูเพิลคู่ของชื่อและค่า

ตัวอย่างเช่น หน้าวิกิพีเดียภาษาไทยหากพิมพ์ชื่อภาษาอังกฤษไปมันจะโยงตรงไปยังหน้าที่เป็นชื่อภาษาไทย แต่เมื่อใส่ ?redirect=no ลงไปก็จะไม่ถูกโยง

ตัวอย่าง
async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        url = 'https://th.wikipedia.org/wiki/bangkok'
        coru0 = ses.get(url)
        coru1 = ses.get(url,params=[('redirect','no')])
        coru2 = ses.get(url,params=[('redirect','yes')])
        for coru in asyncio.as_completed([coru0,coru1,coru2]):
            r = await coru
            html = await r.text()
            print('%s\nยาว %d มี %d บรรทัด'%(r.url,len(html),len(html.split('\n'))))
        
asyncio.run(aioioio())

ได้
https://th.wikipedia.org/wiki/Bangkok
ยาว 693396 มี 2039 บรรทัด
https://th.wikipedia.org/wiki/bangkok?redirect=no
ยาว 23838 มี 237 บรรทัด
https://th.wikipedia.org/wiki/bangkok?redirect=yes
ยาว 693510 มี 2039 บรรทัด




การใช้ post

ในตัวอย่างที่ผ่านมาล้วนใช้ get แต่หากจะใช้ post ก็สามารถทำได้คล้ายๆกัน ทำโดยใช้เมธอด .post

ข้อมูลที่จะป้อนให้ขณะที่ post ให้ใส่ไว้ในคีย์เวิร์ด data ในรูปของดิกชันนารี

ตัวอย่างเช่น ปกติแล้วเวลาที่ทำการค้นข้อความอะไรในวิกิพีเดียจะเป็นการส่ง post เข้า https://th.wikipedia.org/w/index.php พร้อมส่งข้อมูลคำที่ต้องการค้นไว้ใน search จากนั้นวิกิก็จะพาโยงไปยังหน้าที่ค้น
async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        url = 'https://th.wikipedia.org/w/index.php'
        kham = ['python','java','ruby']
        coruru = [ses.post(url,data={'search':x}) for x in kham]
        rr = await asyncio.gather(*coruru)
        for r in rr:
            print('%s\n-> %s'%(r.history[0].url,r.url))
        
asyncio.run(aioioio())

ได้
https://th.wikipedia.org/w/index.php
-> https://th.wikipedia.org/wiki/Python
https://th.wikipedia.org/w/index.php
-> https://th.wikipedia.org/wiki/Java
https://th.wikipedia.org/w/index.php
-> https://th.wikipedia.org/wiki/Ruby

ในที่นี้มีการใช้แอตทริบิวต์ .history คือโดยปกติหากมีการโยงเปลี่ยนหน้า ประวัติจะถูกเก็บเอาไว้ในแอตทริบิวต์ .history ดังที่เห็น เป็นออบเจ็กต์ของการเชื่อมต่อครั้งก่อนหน้า เอามาดูข้อมูลได้เช่นกัน เมื่อดู url ก็จะพบว่าเป็น url ที่ใส่ไปตอนแรก แต่ถ้าดู url ของตัวออบเจ็กต์ปัจจุบันจะพบว่าเป็นอีกหน้าซึ่งเปลี่ยนตามคำที่เราค้นไป

นอกจากนี้ก็ยังมี patch, delete, ฯลฯ ก็ใช้ได้เช่นกัน ซึ่งจะไม่ได้เขียนถึงในที่นี้




การอ่าน json

หากข้อมูลเป็น json สามารถใช้เมธอด .json เพื่อแปลงข้อมูลเป็นดิกชันนารีได้ทันที สามารถนำมาใช้ได้สะดวก

ขอใช้ qiita api เป็นตัวอย่าง รายละเอียดอ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20190627
async def aioioio():
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        url = 'https://qiita.com/api/v2/tags/'
        tagtag = ['c','c++','csharp']
        coruru = [ses.get(url+tag) for tag in tagtag]
        for coru in asyncio.as_completed(coruru):
            r = await coru
            qjson = await r.json()
            print('\n==%s=='%r.url)
            for k in qjson:
                print('%s = %s'%(k,qjson[k]))
        
asyncio.run(aioioio())

ได้
==https://qiita.com/api/v2/tags/c==
followers_count = 26303
icon_url = https://s3-ap-northeast-1.amazonaws.com/qiita-tag-image/ceb54fec6cccd1711edeeccfca306a16ecf08834/medium.jpg?1481808976
id = C
items_count = 3057

==https://qiita.com/api/v2/tags/csharp==
followers_count = 29041
icon_url = https://s3-ap-northeast-1.amazonaws.com/qiita-tag-image/5d80f1647ab8e9f5dde2fd4164c24cd26bfcc672/medium.jpg?1558927763
id = C#
items_count = 9190

==https://qiita.com/api/v2/tags/c++==
followers_count = 30485
icon_url = https://s3-ap-northeast-1.amazonaws.com/qiita-tag-image/fe7df47710bdae8b8565b323841a6b89e2f66b89/medium.jpg?1515774066
id = C++
items_count = 7144




เปรียบเทียบความเร็วกับมัลติโพรเซสซิง

เพื่อแสดงให้เห็นว่าอะซิงโครนัสเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการดึงข้อมูลมากจริงๆ ลองเปรียบเทียบกับมัลติโพรเซสซิงดู

เกี่ยวกับมัลติโพรเซสซิงอ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20180317

ลองให้ไล่ดึงข้อมูลตัวเลขจากวิกิพีเดีย ลองเทียบความเปลี่ยนแปลงต่อจำนวนหน้าที่โหลด ตั้งแต่ ๑ หน้า ถึง ๙ หน้า
import multiprocessing as mp
import aiohttp,asyncio,time,requests

# ฟังก์ชันที่ใช้ multiprocessing
def load_mp(lek):
    url = 'https://th.wikipedia.org/wiki/%d'%lek
    r = requests.get(url)
    with open('mp_%d.html'%lek,'wb') as f:
        f.write(r.content)

# ฟังก์ชันที่ใช้ async
async def load_asy(ses,lek):
    url = 'https://th.wikipedia.org/wiki/%d'%lek
    r = await ses.get(url)
    with open('asy_%d.html'%lek,'wb') as f:
        f.write(await r.read())
    
async def main(n):
    async with aiohttp.ClientSession() as ses:
        coruru = [load_asy(ses,i) for i in range(n)]
        await asyncio.gather(*coruru)


if(__name__=='__main__'):
    t_ml = []
    t_asy = []
    for n in range(1,10):
        # เริ่มโหลดด้วย multiprocessing
        t0 = time.time()
        mp.Pool(processes=n).map(load_mp,range(n))
        t_ml.append(time.time()-t0) # ได้ 0.5492181777954102
        
        
        # เริ่มโหลดด้วย async
        t0 = time.time()
        asyncio.run(main(n))
        t_asy.append(time.time()-t0) # ได้ 0.35967516899108887
    
    print(t_ml)
    print(t_asy)

ได้
[0.37029385566711426, 0.36657190322875977, 0.3823528289794922, 0.39493608474731445, 0.3996908664703369, 0.4152510166168213, 0.4314148426055908, 0.44281506538391113, 0.4738590717315674]
[0.3343980312347412, 0.31613683700561523, 0.31936192512512207, 0.32141804695129395, 0.3262810707092285, 0.3238258361816406, 0.32375288009643555, 0.3356812000274658, 0.3322031497955322]

หากนำมาวาดกราฟก็จะได้ดังนี้



จะเห็นได้ว่าเมื่อใช้มัลติโพรเซสซิงพอจำนวนงานเพิ่มขึ้นก็จะค่อยๆกินเวลามากขึ้น เพราะต่อให้แยกงานกันทำคู่ขนานไป แต่ CPU ก็มีจำกัด ยิ่งงานมากก็ดึงกันเองไปด้วย

ในขณะที่เมื่อใช้อะซิงโครนัสจะใช้เวลาน้อยกว่า และจะโหลดกี่หน้าก็แทบไม่เห็นผลว่าต่างกันมาก ยังคงเสร็จอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นถ้าใช้ aiohttp เป็นก็จะสามารถดึงข้อมูลจากเว็บมาได้อย่างรวดเร็ว




อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文