φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



วิธีการพิมพ์อักษรกรีกหรืออักษรพิเศษเพิ่มเติมโดยใช้ ipython
เขียนเมื่อ 2020/06/29 18:24
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในภาษาไพธอนสามารถใช้ชื่อตัวแปรเป็นอักษรยูนิโค้ดใดๆได้นอกเหนือจากอักษร ASCII ที่มีแค่อักษรโรมันพื้นฐาน ๒๖ ตัวกับตัวเลขแล้วก็ขีดล่าง _

และบ่อยครั้งเวลาที่ใช้งานด้านคณิตศาสตร์มักจะต้องเจอตัวแปรที่เป็นอักษรกรีก หรืออักษรพิเศษเพิ่มเติมต่างๆมากมาย

แน่นอนว่าอักษรพวกนี้ถูกใช้ในไพธอนได้เช่นกัน แต่ปัญหาก็คือจะพิมพ์มันออกมาอย่างไร? หรือจะทำได้แต่ก๊อปปี้มาแปะ?

ปัญหานี้จะหมดไปหากเขียนไพธอนโดยใช้ ipython หรือ jupyter

ใน ipython ได้เตรียมความสามารถอะไรต่างๆที่สะดวกช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมขึ้นมาก หนึ่งในนั้นก็คือ การพิมพ์ตัวอักษรพิเศษ

วิธีการใช้ก็ง่ายดาย คือเมื่อใช้ ipython ถ้าหากพิมพ์ \ แล้วตามด้วยชื่ออักษรเสร็จแล้วกดปุ่ม tab ก็จะได้อักษรนั้นขึ้นมา

ลองดูง่ายๆเช่นอักษร δ (delta) ก็พิมพ์ \delta ไป



จากนั้นกด tab ก็จะกลายเป็นอักษร δ ทันที


นอกจากนั้น หากนึกไม่ออกว่าควรจะพิมพ์อย่างไรให้ได้อักษรอะไร ก็อาจกดดูแค่อักษรตัวแรก เช่นพิมพ์ \d ตัวเดียวก็จะโผล่อักษรต่างๆที่ขึ้นต้นด้วย \d มา กดเลือกเอาได้



นอกจากนี้แล้วพวกอักษรเติมแต่งที่เติมบนหรือล่างของอักษรเดิมก็พิมพ์ได้ด้วยวิธีนี้เช่นกัน โดยจะต้องเติมอักษรที่เป็นฐานเข้าไปก่อน เช่นต้องการ ä ก็พิมพ์ a\ddot ถ้าต้องการ é ก็พิมพ์ e\acute เป็นต้น



ต่อไปจะแสดงรายการอักษรที่สามารถใช้ได้ โดยแบ่งเป็นหมวดต่างๆ



อักษรกรีกมาตรฐาน

อักษรที่น่าจะมีโอกาสได้ใช้บ่อยที่สุดก็คืออักษรกรีก ในวิชาคณิตศาสตร์น่าจะคุ้นเคยกับหลายตัวอยู่แล้ว อักษรกรีกเองก็มีทั้งตัวพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ บางตัวก็มีรูปต่างแตกต่างกันไปหลายแบบด้วย ในที่นี้จะแสดงอักษรกรีกมาตรฐานทั้งหมด เรียงตามลำดับตัวอักษร

\alpha α
\Alpha Α
\beta β
\upvarbeta ϐ
\Beta Β
\gamma γ
\pgamma ɣ
\Gamma Γ
\delta δ
\Delta Δ
\epsilon ϵ
\upepsilon \varepsilon ε
\Epsilon Ε
\zeta ζ
\Zeta Ζ
\eta η
\Eta Η
\theta θ
\vartheta ϑ
\Theta Θ
\varTheta ϴ
\iota ι
\Iota Ι
\kappa κ
\varkappa ϰ
\Kappa Κ
\lambda λ
\Lambda Λ
\mu μ
\upMu Μ
\nu ν
\upNu Ν
\xi ξ
\Xi Ξ
\upomicron ο
\upOmicron Ο
\pi π
\varpi ϖ
\Pi Π
\rho ρ
\varrho ϱ
\Rho Ρ
\sigma σ
\varsigma ς
\Sigma Σ
\tau τ
\Tau Τ
\upsilon υ
\pupsil ʊ
\pscrv ʋ
\Upsilon Υ
\phi ϕ
\varphi φ
\Phi Φ
\ltphi ɸ
\chi χ
\Chi Χ
\psi ψ
\Psi Ψ
\omega ω
\Omega Ω

อักษรกรีกบางตัว โดยเฉพาะตัวพิมพ์ใหญ่นั้นจะมีหน้าตาเหมือนกับอักษรโรมัน แต่ก็ถือเป็นอักษรคนละตัว มีรหัสยูนิโค้ดคนละตัว โดยทั่วไปใช้แทนกันไม่ได้

ที่น่าจะมีโอกาสได้ใช้จริงๆน่าเป็นอักษรกรีกข้างบนนี้เป็นหลัก ส่วนที่เหลือด้านล่างนี้เป็นของแถม แนะนำให้รู้จักเพิ่ม เผื่ออยากลองใช้ดูบ้าง ส่วนใหญ่ใช้เป็นชื่อตัวแปรในไพธอนได้เช่นกัน (แต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้นัก)



อักษรกรีกเก่า

มีอักษรกรีกส่วนหนึ่งที่ใช้น้อยและไม่ได้ใช้ในภาษากรีกปัจจุบันแล้ว อักษรเหล่านี้อาจจะดูแล้วไม่คุ้น แต่ก็สามารถพิมพ์ได้เช่นกันถ้าต้องการ

\digamma ϝ
\Digamma Ϝ
\Stigma Ϛ
\upstigma ϛ
\upkoppa ϟ
\Koppa Ϟ
\upoldkoppa ϙ
\upoldKoppa Ϙ
\upsampi ϡ
\Sampi Ϡ



อักษรโรมันที่ใช้ในบางภาษา

อักษรโรมันนอกจาก abcd... ที่เป็นอักษรพื้นฐานแล้วก็ยังมีอักษรอีกมากมายที่ใช้ในภาษาต่างๆ อักษรพวกนี้บางทีก็อาจมีโอกาสใช้ หากต้องการพิมพ์อะไรที่เป็นภาษาต่างๆโดยไม่ต้องเปลี่ยนแป้นพิมพ์ไปเป็นภาษานั้น

\aa å
\AA Å
\ae æ
\AE Æ
\dh \eth ð
\DH Ð
\dj đ
\DJ Đ
\imath ı
\jmath ȷ
\l ł
\L Ł
\nrleg ƞ
\o ø
\O Ø
\oe œ
\OE Œ
\openo ɔ
\ordfeminine ª
\ordmasculine º
\ss ß
\th þ
\TH Þ
\Zbar Ƶ



อักษรโรมันกลับหัว

มีอักษรจำนวนหนึ่งที่เป็นอักษรที่เอาอักษรโรมันทั่วไปมากลับหัว อักษรพวกนี้บางส่วนก็มีการใช้ในทางคณิตศาสตร์

\Finv Ⅎ
\invv ʌ
\invw ʍ
\trna ɐ
\trnsa ɒ
\trnh ɥ
\trnm ɯ
\trnmlr ɰ
\trnr ɹ
\trnrl ɺ
\trnt ʇ
\trny ʎ
\turnk ʞ



อักษรอื่นๆที่ใช้ใน IPA (สัทอักษรสากล)

มีอักษรจำนวนหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสัทอักษรสากลเพื่อแสดงเสียงอ่าน ส่วนหนึ่งก็ใช้อักษรโรมันหรืออักษรกรีก ซึ่งได้เขียนไปข้างบนแล้ว สำหรับอื่นๆที่ใช้ใน IPA เพิ่มเติมมีดังนี้

\btdl ɬ
\clomeg ɷ
\doublepipe ǂ
\dyogh ʤ
\esh ʃ
\fhr ɾ
\glst ʔ
\hlmrk ˑ
\inglst ʖ
\lmrk ː
\ltlmr ɱ
\ltln ɲ
\ng ŋ
\NG Ŋ
\pbgam ɤ
\rasp ʼ
\reglst ʕ
\rl ɼ
\rtld ɖ
\rtll ɭ
\rtln ɳ
\rtlr ɽ
\rtls ʂ
\rtlt ʈ
\rtlz ʐ
\rttrnr ɻ
\schwa ə
\tesh ʧ
\tieconcat ⁀
\verts ˈ
\verti ˌ



อักษรภาษาอื่นๆหรืออักษรที่เจอในคณิตศาสตร์

อักษรที่เหลือที่ไม่เข้ากลุ่มข้างบนขอนำมาไว้ตรงนี้ ส่วนใหญ่เป็นอักษรที่ใช้ในคณิตศาสตร์

\aleph ℵ
\Angstrom Å
\beth ℶ
\cdotp ·
\daleth ℸ
\euler ℯ
\ell ℓ
\eulermascheroni ℇ
\gimel ℷ
\hbar ħ
\hvlig ƕ
\hslash ℏ
\Im ℑ
\planck ℎ
\Re ℜ
\wp ℘

เครื่องหมายต่อเติมที่ใช้ในภาษาต่างๆที่ใช้อักษรโรมัน

พวกเครื่องหมายที่เอาไว้ต่อเติมลงบนอักษร ใช้ในภาษาต่างๆ ในที่นี้จะใช้ a เป็นฐานทั้งหมด

a\acute á
a\bar ā
a\breve ă
a\c a̧
a\check ǎ
a\dot ȧ
a\ddot ä
a\grave à
a\hat â
a\H a̋
a\k ą
a\ocirc å
a\overhook ả
a\tilde ã



เครื่องหมายต่อเติมอื่นๆ

เครื่องหมายที่เหลือที่ไม่ได้ใช้ในภาษาต่างๆ แต่อาจใช้ในทางคณิตศาสตร์ หรือบางส่วนก็ใช้ใน IPA

a\annuity a⃧
a\dddot a⃛
a\ddddot a⃜
a\droang a̚
a\leftharpoonaccent a⃐
a\not a̸
a\rightharpoonaccent a⃑
a\oturnedcomma a̒
a\overbar a̅
a\overleftarrow a⃖
a\overleftrightarrow a⃡
a\palh a̡
a\rh a̢
a\sout a\strike a̶
a\sbbrg a̪
a\threeunderdot a⃨
a\underbar a̲
a\underleftrightarrow a͍
a\vec a⃗
a\vertoverlay a⃒
a\widebridgeabove a⃩
a\wideutilde a̰


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文