φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ทำความเข้าใจความเป็นโลหะ (metalness) ของ standardSurface ใน arnold ใน maya
เขียนเมื่อ 2021/09/17 17:12
แก้ไขล่าสุด 2021/10/23 19:12

หลังจากที่ในบทความก่อนหน้านี้ได้อธิบายถึงสีพื้นฐาน (base) และสีสเป็กคิวลาร์ (specular) ไปแล้ว (https://phyblas.hinaboshi.com/20210915 และ https://phyblas.hinaboshi.com/20210916)

คราวนี้มาต่อกันด้วยเรื่องของค่า metalness (メタル性) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงความเป็นโลหะ

เมื่อลองเปิดดูแอตทริบิวต์อีดิเตอร์ จะพบว่าค่า metalness ปรากฏอยู่ที่ลำดับสุดท้ายของสีพื้นฐาน



แต่จริงๆเรื่องของความเป็นโลหะนั้นเกี่ยวเนื่องไปถึงสเป็กคิวลาร์ด้วย จึงขอแยกมาเขียนถึงหลังจากที่ได้ทำความเข้าใจทั้งส่วนของสีพื้นฐานและสีสเป็กคิวลาร์ไปแล้ว

เช่นเดียวกับบทความก่อนหน้านี้ คราวนี้เราจะลองมาทำการปรับค่าต่างๆแล้วเรนเดอร์เปรียบเทียบความแตกต่างของภาพที่ได้กันดู

สำหรับตัวอย่างคราวนี้จะใช้โมเดลฮารุซาเมะ (春雨はるさめ) (ที่มา https://3d.nicovideo.jp/works/td27807)




ความเปลี่ยนแปลงไปตามค่าความเป็นโลหะ

ค่า metalness นั้นถ้าจะอธิบายง่ายๆก็คือค่าที่กำหนดระดับความเป็นโลหะของวัสดุนั้นๆนั่นเอง โดยปกติแล้วถ้าไม่ใช่โลหะจะให้เป็น 0 ถ้าเป็นโลหะก็จะเป็น 1 อาจมีบางกรณีเช่นสารที่มีความเป็นโลหะปนบางส่วนเช่นพวกสีทารถ แบบนั้นอาจใช้ค่าระหว่าง 0 ถึง 1

การปรับให้เป็นโลหะนั้นคือการทำให้เกิดสีสเป็กคิวลาร์เป็นสีเดียวกับสีพื้นฐานขึ้นมา ทำให้ดูระยิบระยับเป็นโลหะขึ้นมา ซึ่งส่วนนี้จะไปเสริมในส่วนของสเป็กคิวลาร์ พวกค่าดัชนีหักเหและความหยาบตรงนี้ก็ถูกกำหนดโดยคุณสมบัติในส่วนของสีสเป็กคิวลาร์ไปด้วย

ตัวอย่างเช่น ลองให้ค่าน้ำหนักของสเป็กคิวลาร์เป็น specular=0, specularIOR=1.5, specularRoughness=0.1 แล้วลองปรับค่า metalness เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ 0 จนถึง 1


จะเห็นว่ายิ่งค่าความเป็นโลหะมากขึ้นก็ยิ่งดูเหมือนเป็นโลหะ แสงที่สะท้อนมานั้นเป็นสีเดียวกับสีพื้นฐาน ซึ่งกำหนดสีตามเท็กซ์เจอร์

ในที่นี้ให้ specular=0 การสะท้อนทั้งหมดจึงเกิดขึ้นจากความเป็นโลหะทั้งหมด




เมื่อลองใช้พร้อมกับสเป็กคิวลาร์

ค่า metalness นั้นสามารถใช้ร่วมไปพร้อมกันกับส่วนของแสงสเป็กคิวลาร์ที่กำหนดในแผง specular

ลองทำแบบตัวอย่างที่แล้ว คือปรับค่า metalness เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจาก 0 ถึง 1 แต่คราวนี้ให้ specular=1 และ specularColor เป็นสีขาว และ specularRoughness=0.1


จะเห็นว่าเริ่มต้นมาก็ดูมีความแวววาวเพราะสเป็กคิวลาร์ แต่แสงที่สะท้อนทั้งหมดนั้นเป็นสีขาว ดูแล้วไม่เหมือนการสะท้อนของผิวโลหะ แต่พอปรับค่าความเป็นโลหะมากขึ้น สีที่สะท้อนก็จะออกมาดูสมเป็นโลหะขึ้นมา




ความเปลี่ยนแปลงไปตามค่าความหยาบ

ความหยาบของสเป็กคิวลาร์ก็ส่งผลถึงความเป็นโลหะด้วย คราวนี้ลองให้น้ำหนัก specular=0 อีกที ให้แสงสเป็กคิวลาร์กำหนดด้วย metalness ทั้งหมด จากนั้นลองปรับ specularRoughness ตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 1





ความเปลี่ยนแปลงไปตามค่า anisotropy

นอกจากความหยาบแล้ว ค่าอื่นๆเช่น specularAnisotropy ก็มีผลเมื่อใช้ metalness เช่นกัน

ลองให้ specularRoughness=0.2 แล้วปรับค่า specularAnisotropy ตั้งแต่ 0 ถึง 1 แล้วเทียบดู





เปรียบเทียบภาพที่มุมมองต่างๆ

สุดท้ายนี้ ลองปรับมุมกล้องดูจากมุมต่างๆเพื่อแสดงให้เห็นว่าผลจาก metalness ก็เปลี่ยนไปตามทิศทางของที่มอง

สำหรับตัวอย่างนี้ให้ specularRoughness=0.2, specularIOR=1.5, specularAnisotropy=0




จากตัวอย่างที่ลองทำมาจะเห็นได้ว่าเราสามารถจำลองผิวที่ดูระยิบระยับเหมือนโลหะได้โดยการปรับที่ค่า metalness และปรับค่าต่างๆในส่วนของ specular เพื่อให้ได้ผลการสะท้อนแสงเป็นไปตามที่ต้องการ






-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文