φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ เก็บตกส่วนที่เหลือ
เขียนเมื่อ 2022/06/05 11:31
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:12
# เสาร์ 4 มิ.ย. 2022

หลังจากที่เมื่อปี 2017 ได้เคยไปเที่ยวไถจง (台中) แล้วก็แวะ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (國立自然科學博物館) มา แต่ยังเดินไม่ทั่วเพราะกว้างเกินไป https://phyblas.hinaboshi.com/20170803

เมื่อวานนี้พอดีมีธุระแวะไปหาเพื่อนที่ไถจงอีก ก็เลยถือโอกาสแวะไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์นี้อีกครั้งเพื่อเก็บส่วนที่เหลือ

ในการเดินทางไปนั้น มีรถเมล์ให้บริการจากหน้ามหาวิทยาลัยชิงหัว ไปถึงสถานีรถไฟไถจง

พอมาถึงไถจงก็พบว่าฝนตกอยู่ แต่ก็ตกๆหยุดๆเป็นช่วงๆ อากาศแปรปรวนนัก



เรามาลงแถวสถานีไถจง (台中站) ซึ่งนัดเจอเพื่อนเอาไว้




ระหว่างนั้นเป็นช่วงฝนหยุดตกพอดี ฟ้ากำลังสวยเลย



เพื่อนกะพาไปกินร้านอาหารเซี่ยงไฮ้ที่อยู่แถวสถานี แต่คนแน่นเกินก็เลยเปลี่ยนแผน



ก็เลยเข้ามากินในตัวสถานีไถจง มีศูนย์อาหารอยู่



หลังจากกินข้าวมื้อเที่ยงและคุยกับเพื่อนเสร็จแล้วเราก็แยกย้ายไปยังพิพิธภัณฑ์ที่เป็นเป้าหมายถัดไป โดยขึ้นรถเมล์



แล้วก็มาถึง



เริ่มเข้าชมหอวิทยาศาสตร์ชีวิต (生命科學廳)



เมื่อเข้ามาสิ่งที่ตั้งโดดเด่นอยู่ตรงนี้ก็คือแบบจำลองซากช้างโบราณ Palaeoloxodon (古菱齒象) สูง ๓.๗ เมตร ยาว ๗.๘ เมตร สร้างจำลองมาจากฟอสซิลช้างโบราณที่ขุดพบที่เกาะเผิงหู (澎湖) ของไต้หวัน



จากนั้นก็เข้าชมไปทีละส่วน เริ่มจากส่วนแสดงโลกของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อยู่ในชั้น ๑






ขึ้นมาที่ชั้น ๒ เป็นส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับมนุษย์ ทั้งเรื่องของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย






ชีวิตหลังความตายของอียิปต์โบราณ



ถัดมาจัดแสดงวิวัฒนาการมนุษย์




แล้วก็เรื่องของวิวัฒนาการสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีแบบจำลองหัวกระโหลกช้างแมมมอธ



แบบจำลองสมมุติว่าถ้าช้างตัวเล็กนิดเดียวแต่แมลงมีขนาดยักษ์



แผนผังแสดงวิวัฒนาการของสัตว์ ว่าชนิดไหนกำเนิดขึ้นและสูญพันธุ์ไปเมื่อไหร่



ถัดมาเป็นส่วนจัดแสดงไดโนเสาร์







ที่โดดเด่นที่สุดก็คือไดโนเสาร์ตัวใหญ่กลางห้อง ซึ่งเขาทำมาให้มันเคลื่อนไหวได้ด้วย



มีบริเวณด้านนอกเป็นสวนให้เดินชมด้วย




ส่วนตรงนี้เป็นเรื่องของวิวัฒนาการสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์




จบจากส่วนจัดแสดงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแค่นี้ ถัดมาดูตรงที่จัดแสดงพิเศษ ซึ่งตอนครั้งที่แล้วที่มานั้นจัดแสดงเรื่องถ้ำตุนหวง https://phyblas.hinaboshi.com/20170807

แต่คราวนี้มีจัดแสดงเกี่ยวกับเชื้อรา








แล้วก็จัดแสดงอำพัน








ก็เดินจบลงแต่เพียงเท่านี้ คราวนี้ไม่ได้ไปเดินในส่วนของศูนย์วิทยาศาสตร์เพราะว่าครั้งก่อนได้เคยเดินมาแล้ว



หลังจากนั้นตอนเย็นก็เดินออกจากที่นี่ไปเพื่อเดินทางกลับ แต่ว่าระหว่างทางกลับยังมีเรื่องเล่าต่ออีกหน่อย ซึ่งจะแยกไปเล่าต่อในอีกตอน https://phyblas.hinaboshi.com/20220606



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไถจง
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文