φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ ตอนที่ ๑: ห้องฉายดาวและศูนย์วิทยาศาสตร์
เขียนเมื่อ 2017/08/03 21:20
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:15
# อาทิตย์ 9 ก.ค. 2017

หลังจากที่ได้เที่ยวสถานที่ทางดาราศาสตร์ในเจียอี้และไถหนานเสร็จไปแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20170801

วันนี้ก็ยังคงจะต่อกันด้วยสถานที่เที่ยวที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ที่หมายต่อมาคือพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (國立自然科學博物館, 国立自然科学博物馆) ซึ่งอยู่ที่เมืองไถจง

ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน นอกจากจะแค่จัดแสดงของแล้วยังประกอบไปด้วยห้องฉายหนัง, ห้องฉายดาว และสวนพฤกษศาสตร์ด้วย

ที่นี่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1986 เวลาที่เข้าชมได้คือ 9:00-17:00 หยุดทุกวันจันทร์

เนื้อหาที่จัดแสดงภายในมีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆหลายด้าน บริเวณแบ่งหลักๆเป็น ๖ ส่วนดังนี้
- โถงวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (生命科學廳, 生命科学厅)
- โถงวัฒนธรรมมนุษย์ (人類文化廳, 人类文化厅)
- โถงสิ่งแวดล้อมโลก (全球環境廳, 全球环境厅)
- โรงละครอวกาศ (空間劇院, 空间剧院)
- ศูนย์วิทยาศาตร์ (科學中心, 科学中心)
- สวนพฤกษศาสตร์ (植物園, 植物园)

โถงทั้ง ๓ จะอยู่ในส่วนอาคารหลัก มีขนาดใหญ่สุด ส่วนโรงละครกับศูนย์วิทยาศาตร์อยู่ในส่วนของตึกที่ยื่นยาวออกมาด้านข้าง และสวนพฤกษศาสตร์จะแยกอยู่ห่างจากส่วนอื่น โดยมีถนนกั้นอยู่อีกที

เนื่องจากที่นี่กว้างมากการจะเดินเที่ยวหมดภายในวันเดียวแทบเป็นไปไม่ได้ ครั้งนี้เราจึงตัดสินใจเลือกชมเฉพาะส่วนที่สนใจเป็นหลัก

นอกจากนี้ที่นี่ยังมีส่วนจัดแสดงพิเศษที่เปลี่ยนไปตามเวลา ซึ่งช่วงที่ไปนั้นหัวข้อที่จัดแสดงอยู่ก็คือเรื่องของตุนหวง (敦煌)

ในการเล่าเรื่องเที่ยวครั้งนี้จะแบ่งเป็น ๕ ตอน โดยตอนแรกคือตอนนี้จะเล่าช่วงต้นซึ่งเราดูส่วนของห้องฉายดาวและศูนย์วิทยาศาตร์

จากนั้นตอนถัดไปจะเป็นส่วนของโถงวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แล้วก็ตามด้วยเรื่องของตุนหวง และสองตอนสุดท้ายดูในส่วนของโถงวัฒนธรรมมนุษย์



ในการเดินทางนั้นเนื่องจากเราพักอยู่เจียอี้ การจะไปถึงไถจงต้องนั่งรถไฟเป็นชั่วโมง จึงต้องออกตั้งแต่เช้ามาก

เพื่อให้แน่ใจว่ามีที่นั่งเราจึงได้จองตั๋วสำหรับเที่ยวไปนี้ไว้ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว รถไฟจื้อเฉียงรอบ 7:32 ไปถึง 8:50



ถึงสถานีไถจง



จากนั้นก็รีบไปขึ้นรถเมล์ ซึ่งมีอยู่หลายสายที่ไปได้ ตรวจสอบได้จาก google ในมือถือ แต่ละสายก็มีจุดขึ้นอยู่คนละจุด เราเลือกวิธีไปสักทางนึง

ป้ายที่เรามาขึ้นเป็นแถวฝั่งตะวันออกของสถานี



รถเมล์สาย 51



ใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาทีก็นั่งรถมาถึง แล้วก็เดินมาที่หน้าอาคารหลัก




ซื้อตั๋วตรงหน้าทางเข้า



สำหรับค่าเข้าชมนั้น ส่วนจัดแสดงหลักซึ่งรวมส่วนของโถงทั้ง ๓ ค่าเข้าชม ๑๐๐ ในขณะที่ส่วนแสดงพิเศาตุนหวงมีอยู่ ๒ ส่วน ส่วนแรก ๑๘๐ อีกส่วนคือ ๕๐ ส่วนศูนย์วิทยาศาสตร์ไม่มีค่าเข้าชม

นอกจากนี้พวกหนังต้องซื้อตั๋วเพิ่ม โรงหนังอวกาศ (ห้องฉายดาว) ๑๐๐ โรงหนังสามมิติ ๗๐ เราได้ลองเข้าชมแค่โรงหนังอวกาศ

โดยรวมแล้วที่พวกเราเข้าก็คือ ส่วนจัดแสดงหลัก ๑๐๐ + โรงหนังอวกาศ ๑๐๐ + ส่วนจัดแสดงพิเศษสองห้อง ๑๘๐+๕๐

ตั๋วหนังที่ซื้อไว้เป็นรอบ 11 โมง แต่เวลาขณะนั้นตอนที่เรามาถึงคือ 10 โมง จึงมีเวลาเดินดูในส่วนจัดแสดงหลักสักพักก่อนระหว่างรอหนังเริ่ม

ตอนที่เข้ามาด้านในทีแรกก็รู้สึกสับสนกับห้องต่างๆของที่นี่ซึ่งมีมากมาย กว้างใหญ่มาก



เริ่มแรกเราลงมาที่ชั้นใต้ดินในฝั่งของโถงสิ่งแวดล้อมโลก เจอห้องฉายหนังสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเปิดรอบฉายทุกชั่วโมง ดูได้ฟรีทั้งหมด มี ๓ เรื่องวนสลับกันไป เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม



แต่ตอนที่เราไปนั้นเลยเวลาฉายมาหน่อยจึงไม่ได้เข้าชม เลยได้แต่เดินดูโถงหน้าห้องไปก่อน



ที่โถงด้านหน้าตรงนี้มีฉายหนังแนะนำหอดูดาวที่ราบสูงทิเบต (青藏高原天文台) ซึ่งทางไต้หวันมีความร่วมมือกับทางจีนแผ่นดินใหญ่อยู่




เรารีบออกไปยังอาคารที่ฉายหนังล่วงหน้าก่อนเวลาเนื่องจากกลัวจะหาไม่เจอ แต่ก็มาถึงได้ไม่ยาก ข้างหน้านี้คืออาคารฝั่งที่ฉายหนัง ส่วนทางซ้ายเป็นส่วนของศูนย์วิทยาศาตร์



ไปถึงก่อนเวลาเยอะไปหน่อยเลยกะจะเข้าชมศูนย์วิทยาศาสตร์ซึ่งอยู่ข้างๆกัน อาคารนี้ประกอบไปด้วย ๕ ชั้น และชั้นใต้ดินอีกชั้น รวมแล้วใหญ่พอสมควร



ชั้นแรกเป็นโรงอาหารกับร้านขายของฝาก

เนื่องจากไม่มีเวลามากพอที่จะเริ่มชมจริงๆ จึงได้แค่ลองเดินดูของที่ร้านขายของฝากที่อยู่ชั้นล่าง แต่ก็ไม่ได้ซื้ออะไร




เวลา 10:40 ก่อนหนังเริ่มฉายสัก ๒๐ นาทีก็พบว่าเริ่มมีคนมาเข้าแถวรอเข้าอยู่แล้ว



เมื่อถึงเวลาก็เข้าไปในห้องฉายดาว




การฉายเริ่มจากแสดงจำลองท้องฟ้าในค่ำคืนนี้ให้ดู แล้วจากนั้นก็เริ่มฉายหนัง ซึ่งรอบที่เราเลือกดูมีเนื้อหาเกี่ยวกับการค้นหาชีวิตในต่างดาว

โดยรวมแล้วทั้งหมดยาว ๕๐ นาที ขณะฉายหนังห้ามถ่ายรูป ดังนั้นจึงไม่ขอพูดถึงรายละเอียด



เมื่อดูหนังเสร็จก็มาเดินในส่วนของศูนย์วิทยาศาสตร์

เริ่มจากชั้น ๒ เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับสารกึ่งตัวนำ






ชั้น ๓ เป็นเรื่องราวของจักรวาล









การเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกตามยุคสมัย



ส่วนตรงนี้เกี่ยวกับเรื่องการติดต่อกับมนุษย์ต่างดาว มีอธิบายภาพจากข้อความอาเรซีโบ
>> https://th.wikipedia.org/wiki/ข้อความอาเรซีโบ



แผ่นเสียงทองคำที่ถูกส่งไปกับยานวอยเอเจอร์ในปี 1977



ภายในแผ่นนั้นมีคำทักทายเป็นภาษาต่างๆมากมาย มีภาษาไทยด้วย พูดว่า "สวัสดีค่ะ สหายในธรณีโพ้น พวกเราในธรณีนี้ขอส่งมิตรจิตมาถึงท่านทุกคน" เราสามารถฟังได้จากเครื่องตรงนี้ บางภาษาก็พูดสั้นๆ แต่ของไทยนี่ค่อนข้างยาว



อธิบายสเป็กโตรสโกปี



แร่บางอย่างดูดกลืนคลื่นในช่วงรังสีอุลตราไวโอเล็ตแล้วปลดปล่อยแสงในช่วงที่ตามองเห็น ทำให้เราเห็นแสงเรืองที่ดูน่าพิศวงได้



นี่คือเครื่องฉายดาวอันเก่าที่เคยใช้ฉายที่นี่ในปี 1986-2015 เป็นเวลา ๒๙ ปี แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เครื่องฉายแบบดิจิทัลแทนแล้ว ท้องฟ้าจำลองที่ไทยเองก็เคยใช้เครื่องฉายดาวลักษณะแบบนี้ก่อนที่จะเพิ่งเปลี่ยนเป็นดิจิทัลเหมือนกัน เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย





ชั้น ๔ มีพวกเครื่องมือทดลองทางฟิสิกส์มากมายให้เล่น





อุปกรณ์สำหรับลองสร้างคลื่นขึ้นในขดสปริง



อุปกรณ์แสดงการสั่นของลูกตุ้ม ซึ่งมีคาบการสั่นต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับความยาว ตามสมการ T ≈ 2π(l/g)^0.5



อุปกรณ์แสดงการหักเหและสะท้อนแสงผ่านกระจกและเลนส์ เส้นทางเดินแสงเห็นได้ด้วยหมอกจากน้ำแข็งแห้ง



ตรงนี้เป็นหน้าจอแสดงภาพที่มองเห็นโดยใช้ช่วงคลื่นต่างๆส่อง โดยซ้ายสุดคือช่วงแสงที่ตามองเห็น ส่วนอันกลางคืออินฟราเรดช่วงคลื่นกลาง อันขวาคืออินฟราเรดช่วงคลื่นสั้น



อุปกรณ์สร้างพายุทอร์นาโด





ส่วนชั้น ๕ เป็นชั้นดาดฟ้า เป็นส่วนจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก






ลงมาชั้นใต้ดิน เป็นส่วนที่เรียกว่าแดนเวทมนตร์ของต๋าต๋า (達達的魔法樂園)





ลูกโลกนี้โดนขูดซะจนน่ากลัว บริเวณที่เป็นเกาะไต้หวันแหว่งหายไปเลย ส่วนเกาะไหหลำซึ่งอยู่ข้างๆเองก็โดนไปด้วย





จบการเข้าชมในส่วนของศูนย์วิทยาศาสตร์แต่เพียงเท่านี้ ต่อไปเราจะกลับไปยังส่วนโถงหลัก https://phyblas.hinaboshi.com/20170805



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ดาราศาสตร์
-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไถจง
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文