φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



เดินในสวนญี่ปุ่นคิวยาสึดะ เข้าชมพิพิธภัณฑ์ดาบญี่ปุ่น และสวนสาธารณะโยโกอามิโจวที่ระลึกภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
เขียนเมื่อ 2023/05/17 21:16
แก้ไขล่าสุด 2023/05/20 05:42
# พุธ 17 พ.ค. 2023

เล่าเรื่องเที่ยวต่อจากตอนที่แล้วที่มาถึงโตเกียวมาเจอเพื่อนแล้วได้เที่ยวในอากิฮาบาระทั้งวัน https://phyblas.hinaboshi.com/20230516

สำหรับแผนเที่ยวในตอนเช้าของวันถัดมาเป็นการเที่ยวในบริเวณใกล้ๆกับโรงแรมที่พักอยู่

โรงแรมที่พักอยู่นี้คือโรงแรมอาปารีสอร์ต (アパリゾート) ซึ่งอยู่ข้างสถานีเรียวโงกุ (両国駅りょうごくえき) สถานที่นี้อยู่ในย่านโยโกอามิ (横網よこあみ) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเขตสึมิดะ (墨田区) ติดริมแม่น้ำสึมิดะ (隅田川すみだがわ) ย่านนี้มีโรงแรมหลายแห่ง และมีสถานที่เที่ยวอยู่ด้วย จึงน่ามาเดินเล่น

ที่จริงแล้วในย่านนี้มีพิพิธภัณฑ์เอโดะโตเกียว (江戸東京博物館えどとうきょうはくぶつかん) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจ อยากแวะเที่ยว อยู่ติดกับโรงแรมเลย แต่ว่ากำลังอยู่ในช่วงปิดปรับปรุงอยู่ เลยไม่ได้แวะเข้าชมไปด้วย น่าเสียดาย

วันนี้เราเริ่มจากเดินจากโรงแรมมาที่สถานีเรียวโงกุ จากนั้นก็เริ่มเดินจากที่นี่ไป

ที่ข้างๆสถานีเรียวโงกุนั้นมีสนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุ (両国国技館りょうごくこくぎかん) เป็นสนามแข่งซูโม่ ตอนที่ไปนี้ข้างในก็ดูเหมือนมีจัดการแข่งอยู่ด้วย แต่เราไม่ได้สนใจซูโม่อยู่แล้ว จึงแค่มาเดินดูด้านหน้าแล้วผ่านไป



จากนั้นจึงเดินขึ้นมาทางเหนืออีกหน่อยจึงเจอสถานที่ที่ตั้งใจจะมาเที่ยวที่แรก ก็คือสวนคิวยาสึดะ (旧安田庭園きゅうやすだていえん) เป็นสวนญี่ปุ่นเล็กๆซึ่งมองเห็นเด่นชัดมาตั้งแต่ตอนอยู่บนโรงแรมแล้ว เลยลองแวะมาเดินดูสักหน่อย ภายในยังมีพิพิธภัณฑ์ดาบญี่ปุ่น (刀剣博物館とうけんはくぶつかん) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ใหม่ที่เปิดปี 2018 ตั้งอยู่ที่มุมทางเหนือของสวน



ตรงนี้เป็นประตูทางมุมตะวันตกเฉียงใต้ของสวน



เมื่อเข้าไปก็เจอป้ายที่มีภาษาไทยด้วย แต่ดูแล้วเหมือนจะไม่ใช่เรื่องดีเท่าไหร่



เดินเข้าไปในสวน



บริเวณกลางสวนนี้เป็นบึงสวย ทางซ้ายเห็นพิพิธภัณฑ์ดาบญี่ปุ่น แล้วตรงกลางมองไปไกลๆเห็นโตเกียวสกายทรีด้วย



เดินมาใกล้ๆริมน้ำ มีดอกไม้บานสวยอยู่ เห็นปลาด้วย




สวนเล็กนิดเดียว เดินแป๊บเดียวก็ทั่วแล้ว จากนั้นก็มาเดินที่พิพิธภัณฑ์ดาบญี่ปุ่นต่อ เข้าทางนี้



ต้องเดินอ้อมมาด้านหน้า



จากนั้นเข้ามาด้านในจึงพบว่ามีค่าเข้าแพงถึง ๑๐๐๐ เยน ทำเอาลังเลว่าควรจะเข้าดีหรือเปล่า เพราะจริงๆตอนแรกก็ไม่ได้อยู่ในแผน แต่คิดว่าไหนๆก็มาแล้ว จึงตัดสินใจเข้าไป



ส่วนจัดแสดงหลักอยู่บนชั้น ๓



ทางเข้าอยู่ตรงนี้ แต่พอมาถึงจึงรู้ว่าด้านในห้ามถ่ายรูป แถมเข้าไปไปในห้องจัดแสดงแล้วก็เล็กนิดเดียว ไม่ได้มีอะไรน่าสนใจเพียงพอตามที่คาดหวังไว้ ดูแล้วไม่คุ้มค่าเข้าที่ค่อนข้างแพงเลย ทำเอาผิดหวังไปตามๆกัน



หลังจากชมเสร็จจึงกลับลงมาชั้นล่าง แล้วก็ชมส่วนจัดแสดงเล็กๆตรงนี้



ตรงส่วนนี้ถ่ายรูปได้ จึงได้ถ่ายเก็บกลับมาลง แต่ก็ไม่ได้มีอะไรมาก เล็กนิดเดียว





การเดินเที่ยวในสวนคิวยาสึดะและพิพิธภัณฑ์ดาบญี่ปุ่นก็จบลงเท่านี้ เป้าหมายต่อไปคือสวนสาธารณะโยโกอามิโจว (横網町公園よこあみちょうこうえん) ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน ถัดไปทางตะวันออกอีกนิดหน่อย



สวนสาธารณะนี้มีประวัติศาสตร์ย้อนไปร้อยปีพอดี คือเดิมทีเป็นสวนที่เริ่มถูกสร้างขึ้นในปี 1923 แต่ในปีนั้นเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในโตเกียวขึ้น แล้วผู้คนก็มาหลบภัยกันที่นี่ แต่ก็เกิดเหตุไฟไหม้อันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตที่นี่ถึง ๓ หมื่น ๘ พันคน ซึ่งเป็นผู้คนที่มาหลบภัยอยู่ที่นี่

หลังจากนั้นจึงได้มีการตั้ง โตเกียวอิเรย์โดว (東京都慰霊堂とうきょうといれいどう) ซึ่งเป็นหอบูชาวิญญาณผู้ล่วงลับในเหตุการณ์นั้น ซึ่งเสร็จในปี 1930 ที่นี่จึงถูกเปิดสถานที่สำหรับระลึกถึงเหตุการณ์นั้น

ในปี 1945 ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง โตเกียวได้ถูกกองทัพมะกันทิ้งระเบิดใส่อย่างหนัก ทำให้คนตายไปมหาศาล ที่นี่ก็ได้กลายมาเป็นสถานที่เก็บรวบรวมและฝังศพจากเหตุการณ์นั้น ทำให้ที่นี่กลายมาเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์สงครามครั้งนั้นไปด้วย



ทางเข้าสวนสาธารณะโยโกอามิโจว จากตรงนี้มองเห็นหอคอยด้านใน นั่นคือส่วนหนึ่งของอาคารอิเรย์โดว



ภายในสวน



เดินเข้ามาเรื่อยๆจนถึงด้านหลังของหอคอยอิเรย์โดว



ส่วนทางเข้าอาคารอยู่ด้านหน้า สามารถเดินเข้าไปชมด้านในได้



ภายในเป็นโถงใหญ่ บรรยากาศคล้ายโบสถ์



ที่ผนังมีวางภาพวาดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตอนนั้น



ส่วนด้านนี้มีภาพเกี่ยวกับเหตุการณ์ทิ้งระเบิดโตเกียวสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนี้ยังมีวิดีโอให้ดูเกี่ยวกับความเป็นมาของที่นี่ด้วย เราจึงนั่งดูอยู่สักพัก ความยาวประมาณ ๑๐ นาที



ส่วนด้านในลึกสุด



ส่วนด้านหน้าอาคารมีสวนดอกไม้ที่ทำเป็นรูปนกสวยดี



บริเวณอื่นๆภายในสวน




หลังจากนั้นก็ดูจะไม่มีอะไรแล้ว เราก็เดินออกมาทางประตูฝั่งตะวันออก



แล้วก็เดินลงไปทางใต้เพือจะไปขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อไปเที่ยวต่อไป การเที่ยวภายในย่านนี้ก็หมดลงเท่านี้



สถานีที่เราเดินมาเพื่อขึ้นรถไฟนั้นคือสถานีเรียวโงกุ ซึ่งชื่อเหมือนกับสถานีเรียวโงกุของ JR ที่อยู่ใกล้โรงแรมซึ่งเรามาตอนแรก แต่ว่าเป็นสถานีของรถไฟใต้ดิน และอยู่ห่างออกมาอีกหน่อย ระยะห่างกัน ๓๐๐ เมตร ไม่มีทางเชื่อมกันจากในใต้ดินด้วย ถ้าใครจะมาเปลี่ยนรถที่สถานีนี้ก็ต้องเดินไกลหน่อย



หลังจากนั้นเราก็ขึ้นรถไฟใต้ดินเพื่อไปยังสถานที่เที่ยวที่เป็นเป้าหมายต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20230518



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> โตเกียว
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ท่องเที่ยว >> ที่ระลึกภัยพิบัติ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文