φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เมืองเซนได ตอนที่ ๑: ส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
เขียนเมื่อ 2023/07/01 23:26
แก้ไขล่าสุด 2023/07/09 20:14
# เสาร์ 1 ก.ค. 2023

เพิ่งผ่านวันครบรอบ ๑ ปีที่ได้อยู่ญี่ปุ่นมา จากที่มาอยู่นี่ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน ปีที่แล้ว

ในวันที่เป็นที่น่ารำลึกแบบนี้ก็เลยอยากออกไปเที่ยวในเมืองสักหน่อย อากาศก็กำลังไม่เลว แม้จะเริ่มเข้าฤดูร้อนแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ร้อนมาก

สถานที่ที่ตัดสินใจแวะเที่ยวคราวนี้ก็คือที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เมืองเซนได (仙台市科学館せんだいしかがくかん)

ตัวพิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ภายในสวนสาธารณะป่าไม้ไดโนฮาระ (台原森林公園だいのはらしんりんこうえん) ซึ่งเป็นพื้นที่เขียวแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของเมืองเซนได

พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท 3M Japan ซึ่งเป็นนิติบุคคลด้านเคมีและไฟฟ้า ฉะนั้นชื่อเรียกที่นี่อย่างเป็นทางการจริงๆจะมีคำว่า 3M นำหน้าด้วย

ที่นี่เปิดขึ้นตั้งแต่ปี 1968 แต่ว่าเดิมทีเคยตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะนิชิกิโจว (錦町公園にしきちょうこうえん) ใกล้ใจกลางเมืองเซนได หลังจากนั้นจึงย้ายมาตั้งอยู่ในตำแหน่งปัจจุบันที่สวนสาธารณะป่าไม้ไดโนฮาระในปี 1990

ส่วนจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ใหญ่มากและมีอะไรอยู่มากกว่าที่คิดไว้มาก ต้องใช้เวลาเดินนานกว่าจะทั่วทั้งหมด เรามาถึงที่นี่และเริ่มชมตั้งแต่ 10 โมงเช้า แต่เสร็จตอนบ่าย 2 เท่ากับใช้เวลาไปกว่า ๔ ชั่วโมงเลย และที่จริงถ้าหากจะดูละเอียดจริงๆน่าจะอยู่ได้ทั้งวัน

ดังนั้นแล้วในบันทึกนี้ก็จะแบ่งเขียนเป็น ๓ ตอน ไม่อาจจะสรุปจบได้ทันทีในตอนเดียว



การเดินทางไปทำได้ง่ายโดยนั่งรถไฟใต้ดินไปลงที่สถานีอาซาฮิงาโอกะ (旭ヶ丘駅あさひがおかえき)

สถานีนี้ตั้งคร่อมพื้นที่ต่างระดับ โดยทางตะวันตกเป็นบริเวณสวนสาธณะป่าไม้ไดโนฮาระซึ่งพื้นอยู่ต่ำ และทางตะวันออกเป็นถนนเมย์โซวโนะมัตสึ (瞑想めいそう松通まつどおり) ซึ่งพื้นอยู่สูงกว่า ทำให้เมื่อมองจากฝั่งตะวันตก ตัวสถานีนี้อยู่บนพื้นดิน แต่มองจากฝั่งตะวันออกสถานีนี้อยู่ใต้ดิน

ภาพถ่ายภายในสถานีหลังจากลงจากรถไฟมา ทางซ้ายมองออกไปจากหน้าต่างรถไฟเห็นทิวทัศน์สวนสาธารณะด้วย



จากนั้นเดินมาออกทางฝั่งตะวันออก เป็นบันไดเดินขึ้นเหมือนสถานีรถไฟใต้ดินที่อยู่ใต้ดินทั่วไป



ภาพทางเข้าสถานี มีป้ายชี้ไปยังพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์



มองไปฝั่งตรงข้ามคือทางตะวันตกเห็นเป็นบริเวณสีเขียวของสวนสาธารณะไดโนฮาระ ตัวพิพิธภัณฑ์ก็อยู่ฝั่งนั้น แต่ว่าฝั่งนั้นไม่มีทางคนเดิน จึงต้องมาเดินทางฝั่งตะวันออก



ที่ตรงนี้มีโรงละคร ฮิตาจิซิสเตมส์ฮอลเซนได (日立ひたちシステムズホール仙台せんだい)




เดินขึ้นเหนือมาเรื่อยๆก็มาถึงพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์



เดินข้ามถนนไป



เข้าไปยังในอาคาร



เมื่อเข้ามาก็จะมาโผล่ที่ชั้น ๓ ของอาคาร ตัวอาคารมี ๔ ชั้น แต่ว่าชั้นที่เชื่อมกับด้านนอกซึ่งคนทั่วไปจะเดินเข้ามาถึงก่อนชั้น ๓ ที่เป็นแบบนี้เพราะตัวอาคารตั้งอยู่บนพื้นดินต่างระดับ ส่วนฐานของตึกตั้งอยู่บนส่วนด้านล่าง ตรงนั้นจึงนับเป็นชั้น ๑



ส่วนจัดแสดงนั้นมีอยู่ในบริเวณชั้น ๓ และ ๔ รวมแล้ว ๒ ชั้น ส่วนชั้น ๑ และ ๒ เป็นส่วนห้องวิจัยและห้องบรรยาย

จากตรงนี้มองขึ้นไปจะเห็นชั้น ๔ เริ่มแรกมาซื้อตั๋วเข้าชม ที่ตรงที่ขายตั๋วตรงนี้



ตั๋วเข้าชม ราคา ๕๕๐



สำหรับส่วนจัดแสดงอยู่ทางนี้



ส่วนที่ตั้งเด่นอยู่ใต้บันไดเลื่อนคือช้างเนามัน (ナウマンゾウ) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Palaeoloxodon naumanni เป็นช้างที่เคยอาศัยอยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่น แต่สูญพันธ์ไปตั้งแต่กว่าหมื่นปีที่แล้ว มีความใกล้ชิดกับช้างเอเชีย



จากนั้นก็ยื่นตั๋วเข้าชมแล้วเดินเข้าส่วนจัดแสดงส่วนชั้น ๓ ส่วนนี้เรียกว่าเป็นส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน (生活系)



เข้ามาแล้วมองเข้าไปเห็นสิ่งจัดแสดงตั้งอยู่เต็มไปหมดตั้งแต่เบื้องหน้าไปจนไกลสุดทาง



ตู้นี้จัดแสดงหินชนิดต่างๆที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำฮิโรเสะ (広瀬川ひろせがわ) ที่ไหลผ่านเมืองเซนได



ส่วนตรงนี้เป็นส่วนที่เรียกว่าอาเตอลีเยสิ่งแวดล้อม (環境かんきょうアトリエ)



ซึ่งมีการจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน




ตรงนี้มีไจโรสโกปให้ลองไปนั่งเล่นดูได้




ตรงนี้แสดงท่อคาร์บอนซึ่งเป็นวัสดุที่เบาเป็นพิเศษ มีให้ลองยกดูน้ำหนักเปรียบเทียบกับท่อเหล็ก



แบบจำลองส่วนการขับเครื่องบินแรงมนุษย์ (人力飛行機じんりきひこうき)



ตรงนี้แสดงแบบจำลองเครื่องบินในประวัติศาสตร์




ส่วนตรงนี้ให้ลองสร้างฟองสบู่ขึ้นมา



สามารถเข้าไปข้างในแล้วก็ดึงเพื่อให้มีฟองล้อมรอบตัวได้




ลูกแก้วพลาสมา



ผลงานที่พิมพ์ขึ้นโดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ



ลูกโลกและดาวอื่นในระบบสุริยะ ไม่รู้ทำไมเอามาวางบนอ่างล้างมือ



กล้องจุลทรรศน์ ให้ลองกดปุ่มควบคุมดูของแต่ละอย่างที่ถูกขยายได้ สามารถปรับขนาดได้หลายระดับ



ในระหว่างที่ชมไปเรื่อยๆ ก็ถึงเวลาสิบโมงครึ่งซึ่งมีจัดกิจกรรมให้ผู้เข้าชมร่วมทดลองได้ เข้าร่วมได้ฟรี แต่เราแค่มองดูอยู่เฉยๆ ไม่ได้เข้าร่วม เพราะส่วนใหญ่ที่เข้าไปมีแต่พวกเด็กๆกับผู้ปกครองที่มาด้วยซะมาก




ตรงนี้เกี่ยวกับการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ โดยลองส่งเสียงเข้าไปแล้วลูกบอลในนี้จะขยับ



อันนี้มีให้เล่นเกมเกี่ยวกับการทำนายทิศทางของไต้ฝุ่น



ส่วนนี้อธิบายเกี่ยวกับการทำงานวิจัยวิทยาศาสตร์






ตรงนี้เป็นห้องน้ำ แต่ด้านหน้ามีชั้นวางที่แสดงพวกแบบจำลองเครื่องบิน



จำลองพายุหมุน



ลูกตุ้มฟูโก ซึ่งเป็นตัวพิสูจน์ว่าโลกหมุน



พิณที่ทำงานโดยใช้เซนเซอร์แสง แค่เอามือเข้าไปใกล้ก็เกิดเสียงขึ้น



ส่วนนี้จัดแสดงเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ แต่ไม่ได้มีของอะไร มีแค่ป้ายให้อ่าน


ส่วนตรงนี้จัดแสดงเกี่ยวกับหุ่นยนต์


อะตอม เจ้าหนูปรมาณู ตัวละครหุ่นยนต์จากอนิเมะเก่าแก่ของญี่ปุ่น



ภายในวางหุ่นยนต์ต่างๆ




หุ่นยนต์แมวน้ำน่ารักดี



นี่คือซันโซงเกงอาริสึ (産総研さんそうけんありす) กับ ซันโซวเกงเทเรสึ (産総研さんそうけんてれす) ตัวละครมาสคอตของซันโซวเกง (産総研さんそうけん) หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น




หุ่นยนต์ที่เข้าใจรอยยิ้มได้ของบริษัทโคเวิร์ก (株式会社かぶしきかいしゃコー・ワークス)



หุ่นยนต์ทำความสะอาด



กลไกที่กดแล้วมีบอลวิ่งในนี้



หุ่นแบบตุ๊กตาญี่ปุ่นก็มี



ตรงส่วนนี้อธิบายเกี่ยวกับแผ่นดินไหว



ที่ตั้งเด่นตรงกลางเป็นเครื่องวัดแผ่นดินไหวใต้ทะเล




ตรงนี้เป็นดอกไม้ที่ทำจากโลหะผสมที่จำรูปร่างได้ (形状記憶合金けいじょうきおくごうきん)



มีให้เดาไดมาเป่าเพื่อให้ความร้อน แล้วจะทำให้ดอกไม้บานออก และถ้าเอาไดออกแล้วปล่อยไว้สักพักก็จะหุบกลับไปเหมือนเดิม



ตรงนี้เป็นแผ่นที่ฉายทำเป็นรูปหน้าไพ่ หน้าไพ่ถูกทำเป็นภาพฉาย แต่ไม่ว่าจะหันไปด้านไหนภาพที่ฉายมาก็จะทำให้เห็นหน้าไพ่เหมือนเดิม เหมือนกับภาพนั้นติดอยู่ที่แผ่นนั้นจริงๆ




ที่เล่นเกมเหยียบตอบคำถามคำนวณ



ห้องเอมส์ (エイムズの部屋へや) เป็นห้องที่มีพื้นเป็นตารางแต่มีขนาดช่องและระดับพื้นไม่เท่ากันทำให้เกิดการลวงตาให้คนตีความขนาดผิดไป ทำให้เห็นคนเป็นยักษ์หรือคนแคระได้




ตรงนี้จัดแสดงเกี่ยวกับขบวนรถไฟใต้ดินของเซนได



โต๊ะซีซือโพส (Σίσυφοςシシュポス) วาดภาพบนทรายโดยการวางบอลเหล็กไว้แล้วใช้แม่เหล็กควบคุมให้บอลเคลื่อนไป




ทางวงกตที่ทำขึ้นจากกล่องกระดาษ




ราวกับหลุมที่จะตกลงไปได้



แผ่นสีแดงนี่น่ากลัว เหยียบแล้วลายเปลี่ยนด้วย



เปียโนที่ดีดอัตโนมัติ ตัวกล่องทำเป็นใสให้เห็นกลไกข้างใน



ส่วนนี้จัดแสดงเครื่องบินกระดาษ




เท่านี้ก็ถือว่าเดินมาจนถึงสุดทางแล้ว จากตรงนี้ไปมีบันไดทางขึ้นไปสู่ส่วนจัดแสดงชั้นบนต่อได้



เท่าที่เดินดูด้านล่างมาจนถึงตอนนี้ก็ใช้ เวลาไปชั่วโมงนึง แต่ด้านบนยังมีอะไรให้ดูอีกมากมายกว่านี้และจะยิ่งใช้เวลานานกว่านี้          

ตอนต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20230708



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文