φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เมืองเซนได ตอนที่ ๒: ส่วนจัดแสดงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เขียนเมื่อ 2023/07/08 19:36
แก้ไขล่าสุด 2023/07/15 14:48
# เสาร์ 1 ก.ค. 2023

ต่อจากตอนที่แล้วที่เข้ามาชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เมืองเซนไดโดยเริ่มจากส่วนชั้น ๓ https://phyblas.hinaboshi.com/20230701

ตอนนี้เราขึ้นมาส่วนชั้น ๔ ซึ่งมีอะไรมากกว่าชั้น ๓ และใช้เวลาในการชมนานกว่า

ภาพส่วนจัดแสดงชั้น ๔ หลังจากเดินขึ้นบันไดมา

 

จากชั้นนี้มองออกไปดูทิวทัศน์ข้างนอก กำลังฟ้าครึ้ม แต่ก็ไม่ได้มีฝนตกลงมา



แผนที่ชั้น ๔ แสดงให้เห็นว่าแบ่งเป็ฯ ๒ ส่วนชัดเจน สำหรับส่วนที่กำลังอยู่ตรงนี้คือส่วนสีฟ้า เรียกว่าเป็นส่วนจัดแสดงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (理工系りこうけい) ส่วนอีกส่วนคือที่พื้นสีเขียวเป็นส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (自然史系しぜんしけい)



ภายในส่วนจัดแสดงนี้จะเห็นเสาที่ประกอบด้วยชื่อธาตุและตัวอย่างธาตุที่วางอยู่ภายในแบบนี้เรียงตัวอยู่กระจัดกระจาย ส่วนใหญ่ธาตุหมู่เดียวกันจะวางอยู่ข้างๆกัน แต่ก็ไม่เสมอไป ไม่แน่ใจหลักการเรียงที่แน่ชัด



          

ในตู้นี้มีแบบจำลองรูปทรงต่างๆที่เกิดจากการประกอบรูปต่างๆ


ตรงส่วนนี้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการขนถ่ายพลังงานแบบไร้สาย



เรื่องวัตถุนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า



ตรงนี้แสดงการทดลองด้วยแบบจำลองยานฮายาบุสะ (はやぶさ) ซึ่งลงจอดบนดาวเคราะห์น้อยอิโตกาวะ (イトカワ) โดยในการลงจอดนั้นจำเป็นต้องรู้ตำแหน่งในขณะนั้นของยาน ซึ่งทำโดยใช้หลักการสะท้อนแบบรีโทรทีเฟลกเตอร์ (リトロリフレクター) คือการสะท้อนที่ทำให้แสงที่กระทบถูกสะท้อนกลับมายังทิศเดิม โดยยานส่งแสงไปแล้ววัดเวลาที่แสงสะท้อนกลับมายังตัวยาน




เครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ



เครื่องให้ขึ้นไปนั่งปั่นเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กให้วัตถุภายในตู้วิ่งไปตามราง



เสาของแมงกานีสกับรีเนียมถูกตั้งคู่กันแยกเดี่ยวดูเด่น



ภายในหลอดบนเสาแมงกานีส



ชุดทดลองเกี่ยวงานวิจัยของทานากะ โควอิจิ (田中たなか 耕一こういち) นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี 2002 เขาจบการศึกษาปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยโทวโฮกุ แล้วก็หางานทำโดยไม่ได้ศึกษาต่อ แต่ก็ทำงานวิจัยสร้างผลงานเด่นจนถึงขนาดได้รับรางวัลโนเบลได้



แผ่นป้ายอธิบายงานที่เขาทำ



หน้าจอให้กดอ่านประวัติของเขา




ตู้นี้แสดงเกี่ยวกับผลงานของฮนดะ โควตาโรว (本多ほんだ 光太郎こうたろう, ปี 1870-1954) นักฟิสิกส์คนสำคัญอีกคนที่จบจากมหาวิทยาลัยโทวโฮกุ เขาเป็นผู้ประดิษฐ์โลหะผสม เรียกว่า เหล็กกล้า KS



โครงสร้างโมเลกุลแบบต่างๆ



ชุดทดลองความเป็นกรดและเบส มีให้กดปุ่มควบคุมความเป็นกรดและเบสของน้ำภายในขวดตรงกลางได้แล้วดูความเปลี่ยนแปลง



พอเพิ่มความเป็นกรดน้ำก็จะเปลี่ยนเป็นสีแดง



กลับกัน พอทำให้เป็นเบสก็จะเป็นสีน้ำเงิน



โต๊ะนี้แสดงตารางธาตุเป็นแบบวงกลม




ตู้นี้ก็เป็นเรื่องการทดสอบน้ำ



ตู้ทดลองสร้างเอสเทอร์ซึ่งมีกลิ่นหอม



ทดลองการทรงตัวของลูกบอลโดยกระแสลมจากด้านล่าง



ลูกโป่งสำหรับทดลองเป็นเลนส์เสียง ถ้าส่งเสียงจากตรงนี้คนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามจะได้ยินเสียงชัดเหมือนกับที่แสงถูกขยายผ่านเลนส์



อุปกรณ์ทดสอบเรื่องแรงต้านของกระแส ในที่นี้ใช้น้ำแต่หลักการก็ใช้ได้กับในเครื่องบินด้วย



เปิดอุปกรณ์ให้เกิดกระแสไหลวนในนี้แล้วลองหมุนส่วนปีกดูจะเห็นว่าเกิดน้ำวนต่างกันไป ให้ดูว่าแบบไหนเกิดกระแสวนน้อยที่สุด ซึ่งเป็นกรณีเครื่องบินจะบินได้โดยมีแรงต้านน้อยที่สุด



อุปกรณ์ดูเกลียวคลื่น




ท่อดูคลื่นนิ่ง



อุปกรณ์แสดงการทดลองของตอร์รีเชลลีเรื่องความดันอากาศ โดยภายในมีหลอดบรรจุปรอท จะเอียงทำมุมยังไงระดับปรอทก็อยู่สูงเท่าเดิม



ทดลองเรื่องการสั่นพ้อง (共振きょうしん) ในวัตถุที่แขวนอยู่กับสปริง สามารถปรับความถี่ในการสั่นเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงได้



ทดลองเรื่องความเสียดทาน โดยลองเลื่อนวัตถุที่วางอยู่บนพื้นแบบต่างๆ



เปรียบเทียบการนำความร้อนของวัตถุชนิดต่างๆ โดยมีวัตถุที่ต่างอุณหภูมิให้ลองจับดูเทียบว่าวัตถุไหนรู้สึกถึงความต่างได้ชัดเจน ซึ่งจะพบว่าถ้าจับไม้หรือยางไม่ว่าจะอันไหนก็รู้สึกไม่ต่างกัน แต่ถ้าจับอลูมิเนียมกับสแตนเลสจะเห็นความต่างชัด นั่นเพราะความสามารถในการนำความร้อนที่ต่างกัน



ชุดทดลองสัมผัสถึงความหนักของอากาศ



ทดลองเรื่องแรงลอยตัวของอากาศ




ถังที่ถูกบดขยี้ด้วยความดันบรรยากาศจากการทดลอง ข้างๆนั้นมีคลิปฉายตอนที่ถังถูกขยี้ให้ดูด้วย



หลอดสำหรับดูแรงแม่เหล็กที่สร้างจากไฟฟ้า สามารถเปิดปิดแม่เหล็กในนี้แล้วเลื่อนขึ้นลงให้ลองดูดลูกเหล็กข้างในได้



หลังจากที่เดินวนดูรอบๆห้องแล้ว สุดท้ายจึงมาดูตรงส่วนที่ตั้งเด่นอยู่ตรงกลาง



ในนี้มีอุปกรณ์ต่างๆวางอยู่แออัด








อันนี้ให้ไปนั่งแล้วเอาหัวไปอยู่ตรงกลางระหว่างท่อเขียนทั้งสองแล้วเอาหูฟังดูความแตกต่างของเสียงที่มาจากแหล่งต่างๆเพื่อแสดงเรื่องความเร็วเสียง



มีกาน้ำที่แขวนอยู่ด้วยกันแบบนี้แล้วถามว่าอันไหนหนักที่สุด



แผ่นที่ทำจากวัสดุที่เปลี่ยนสีได้ตามอุณหภูมิ ให้ทดลองแตะดูได้



เท่านีก็ดูจนทั่วส่วนจัดแสดงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของชั้น ๔ โดยเราได้ใช้เวลาในส่วนนี้ไปประมาณชั่วโมงครึ่ง จากที่เข้ามาตอน 11 โมง ตอนนี้ก็เที่ยงครึ่งแล้ว พอมองออกไปก็ยังเห็นส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งก็น่าจะต้องใช้เวลาอีกสักพักในการชม



ยังดีว่าภายในนี้มีร้านอาหารอยู่ด้วย เราจึงตัดสินใจเดินข้ามส่วนสุดท้ายนี้ออกมาก่อนเพื่อไปกินมื้อเที่ยงที่ร้านด้านนอก เสร็จแล้วค่อยกลับมาชมต่อ



เมนูเลือกโดยเครื่องขายอัตโนมัติ



บรรยากาศภายในร้าน



หลังจากสั่งแล้วก็นั่งรอสักพักก็ทำเสร็จ ร้านนี้ใช้ถ้วยกระดาษ ที่สั่งไปคือคิตสึเนะโตะทานุกิโซบะโนะบากะชิไอ (きつねとたぬきのばかしあいそば) คือโซบะที่ใส่อาบุราอาเงะ (油揚あぶらあげ) และเทงกาสึ (てんかす) ราคา ๖๒๐ เยน



หลังจากกินมื้อเที่ยงและได้นั่งพักเอาแรงเสร็จแล้ว ต่อไปก็ได้เวลาไปชมในส่วนสุดท้ายของพิพิธภัณฑ์นี้ต่อ https://phyblas.hinaboshi.com/20230715



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文