φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เมืองเซนได ตอนที่ ๓: ส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
เขียนเมื่อ 2023/07/15 14:17
แก้ไขล่าสุด 2023/07/16 22:29
# เสาร์ 1 ก.ค. 2023

ต่อจากตอนที่แล้วที่ชมส่วนชั้น ๔ ไปครึ่งหนึ่งแล้วก็แวะไปหาอะไรกินก่อน https://phyblas.hinaboshi.com/20230708

พอกินเสร็จก็ได้เวลากลับมาชมส่วนสุดท้ายของพิพิธภัณฑ์นี้ต่อ นั่นก็คือส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์ธรรมชาติ

ส่วนด้านนอกระหว่างร้านอาหารกับส่วนจัดแสดงนั้นเป็นทางเดินรอบบันไดเลื่อน



จากตรงนี้มองลงไปเห็นส่วนชั้น ๓ ที่อยู่ด้านล่าง



ถ้ามองไปด้านบนจะเห็นเครื่องบินตั้งเด่นอยู่



บันไดเลื่อนตอนนี้ปิดอยู่ ไม่สามารถใช้ขึ้นลงได้



จากนั้นเดินกลับเข้ามาชมในบริเวณในส่วนจัดแสดงต่อ โดยตอนเข้าต้องยื่นตั๋วเข้าชมให้พนักงานดูเพราะเราได้ออกนอกบริเวณไป

สำหรับส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์ธรรมชาตินั้นเข้ามาถึงมองไปทางซ้ายจะเจอส่วนที่เกี่ยวกับเกาะคิงกะซัง (金華山きんかさん) ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆที่อยู่ทางตะวันออกของจังหวัดมิยางิ มีธรรมชาติ มีสัตว์ป่า และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่เห็นตั้งเด่นอยู่นี้คือกวางบนเกาะนั้น



แผนที่บนเกาะ แสดงพื้นที่แบ่งตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่



ตู้เก็บพวกตัวอย่างพืชบนเกาะคิงกะซังที่ถูกแช่เอาไว้ เลื่อนออกมาดูทีละอันได้



ต่อมาเป็นส่วนที่แสดงแบบจำลองบริเวณก้นทะเลลึกส่วนของ ร่องลึกก้นสมุทรญี่ปุ่น (日本海溝にほんかいこう) ซึ่งตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างออกไปจากชายฝั่งของญี่ปุ่น ทางซ้ายนี้คือรู้พ่นน้ำร้อนใต้ก้นทะเล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานและแร่ธาตุที่สำคัญภายในก้นทะเลอันมืดมิด จึงมีสัตว์มาเกาะอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นพวกกุ้งและปูใต้ทะเลลึก



ส่วนตรงนี้เป็นแบบจำลองกลุ่มสิ่งมีชีวิตกระดูกวาฬ (鯨骨生物群集げいこつせいぶつぐん) เป็นพวกสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนซากกระดูกของปลาวาฬที่ตายแล้วจมลงสู่ก้นทะเลลึก สำหรับแบบจำลองนี้เป็นสัดส่วนขนาด ๔ เท่าของของจริง แสดงว่าของจริงเล็กนิดเดียว




ส่วนตรงนี้เป็นตู้ที่มีหอยต่างๆมากมายที่พบในญี่ปุ่น โดยเน้นที่บริเวณเซนไดและในแถบใกล้เคียง



หอยซาซาเอะ (サザエ) จากจังหวัดจิบะ



พวกนกที่พบได้ในพื้นที่ชายฝั่งดินเลน



โต๊ะนี้จำลองห่านในเซนได มีคลิปให้ดูด้วย



เส้นทางอพยพของห่านจากรัสเซีย ได้มาจากการติดเครื่องส่งสัญญาณไว้ที่ตัวห่าน



ในตู้นี้ยังจัดแสดงเครื่องส่งสัญญาณที่ติดไว้บนตัวห่านซึ่งใช้ในการศึกษา



มีตู้ปลาด้วย อย่างกับพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเลย ที่ใส่อยู่ในนี้เป็นพวกปลาน้ำจืด



ส่วนตรงนี้มีพวกปลาที่ถูกแช่ไว้



แบบจำลองต้นบุนะ (ブナ) Fagus crenata บนเทือกเขาฟุนางาตะ (船形連峰ふながたれんぽう) ซึ่งอยู่ระหว่างจังหวัดมิยางิและจังหวัดยามางาตะ และสิ่งแวดล้อมรอบๆต้น



วัฏจักรของพวกเห็ดรา




ส่วนตู้นี้เก็บตัวอย่างพวกเห็ดรา



ตัวอย่างพืชในบริเวณไดโนฮาระ ซึ่งก็คือบริเวณแถวที่พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่



กล่องพวกนี้แสดงแบบจำลองอวัยวะของแมลงต่างๆ



โครงสร้างภายในตาประกอบของแมลง



ส่วนหัวของแมลงวัน



ส่วนบริเวณนี้โครงกระดูกไดโนเสาร์ตั้งอยู่เด่น



นี่คือหัวของทรีเคราทอปส์ (トリケラトプス) ไดโนเสาร์มีเขาที่เป็นที่รู้จักกันดี



ส่วนหัวของเซาโรโลฟุส (サウロロフス) ไดโนเสาร์ปากเป็ดมีหงอน



ฟอสซิลของอาร์ไคออปเทริกส์ (アーケオプテリクス) เป็นไดโนเสาร์ที่เหมือนนึก



ข้างๆกันนั้นแสดงแบบจำลองไว้ด้วย เหมือนนกมีฟัน



ในนี้จัดแสดงไข่ไดโนเสาร์



ถัดมาทางนี้แสดงแบบจำลองช้างชิโองามะ (シオガマゾウ) Eostegodon pseudolatidens ซึ่งเป็นช้างโบราณที่ตั้งชื่อตามชื่อเมืองชิโองามะ (塩竈市) ในจังหวัดมิยางิ ซึ่งเป็นสถานที่ขุดพบซากฟันของมัน



อีกฝั่งนั้นแสดงเป็นโครงกระดูกช้างอันกุสทิเดนส์ (アングスチデンスゾウ) Gomphotherium angustidens ซึ่งก็ขุดพบเจอในจังหวัดมิยางิเช่นกัน



ในนี้มีจัดแสดงฟันของช้างชิโองามะ รวมถึงของช้างมิโยโก (ミヨコゾウ) Gomphotherium miyokoae เป็นช้างโบราณอีกชนิดที่ถูกพบในจังหวัดมิยางิ



ฟอสซิลของโองัตสึเงียวริว (オガツギョリュウ)



แผนทีแสดงการแจกแจงของชั้นดินในบริเวณเขาภูเขาคิตากามิ (北上山地きたかみさんち) ทางตะวันออกของจังหวัดอิวาเตะ



ฟอสซิลสัตว์ขนาดเล็กที่ขุดพบในบริเวณแถวนี้



ส่วนตรงนี้เป็นพวกฟอสซิลพืช



แร่ธาตุต่างๆที่ขุดได้ในบริเวณภูมิภาคโทวโฮกุ





ตรงนี้อธิบายเกี่ยวกับธรณีสัณฐาน



ในนี้แสดงฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตในยุคสมัยที่เซนไดเคยเป็นทะเลสาบเมื่อหลายล้านปีก่อน




ภายในหินนี้มีหอยมัตสึโมริตสึกิฮิ (マツモリツキヒ) Miyagipecten matsumoriensis



ฟันของฉลามขาว (ホホジロザメ) Carcharodon carcharias



ต้นไม้จำพวกต้นซีคัวญาที่กลายเป็นฟอสซิล



ส่วนนี้แสดงชั้นดินที่ขุดออกมาใส่ในหลอดทรงกระบอก เรียกว่าบอริงคอร์ (ボーリングコア)



แสดงชั้นดินใต้ดินบริเวณสถานีเซนใด



เครื่องตรวจแผ่นดินไหว



ที่ตั้งเด่นอยู่ตรงนี้คือช้างเซนได (センダイゾウ) Sinomastodon sendaicus ก็เป็นช้างโบราณอีกชนิด



ส่วนทางนี้คือช้างมิเอะ (ミエゾウ) Stegodon miensis เป็นช้างที่มีงายาวมากจนทำให้หามุมถ่ายได้ยาก เป็นช้างโบราณที่ขุดเจอในจังหวัดมิเอะ



ส่วนนี่คือช้างแมมมอธ



ส่วนตรงนี้เป็นโครงกระดูกของช้างที่ยังคงเหลือในปัจจุบัน ด้านหน้าคือช้างเอเชีย และด้านหลังคือช้างแอฟริกา เทียบดูแล้วมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพวกช้างโบราณชนิดต่างๆ



ตรงนี้มีแผนที่สรุปช้างที่จัดแสดงอยู่ที่นี่พร้อมบอกเส้นเวลายุคสมัยของช้างแต่ละชนิดด้วย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดูจะเน้นเรื่องช้างจริงๆ



สุดท้ายก็มาดูส่วนตรงกลางห้อง



ในนี้เต็มไปด้วยตัวอย่างสิ่งมีชีวิตต่างๆวางอยู่เบียดเสียด






พื้นส่วนตรงกลางโปร่งใส



มีแมวด้วย



กระต่าย



มีบันไดให้ขึ้นไปดูด้านบน






จากด้านบนมองลงไปข้างล่าง



เท่านี้การชมส่วนจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็จบลง เราได้ใช้เวลาชมในส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์ธรรมชาตินี้ไปชั่วโมงกว่า ตอนที่ออกมานั้นเป็นเวลา 14:10 ถ้าหากรวมเวลาตั้งแต่ที่เริ่มเข้าชมคือตอนสิบโมงเช้าก็เท่ากับใช้เวลารวมไป ๔ ชั่วโมงกว่า ถือว่าใช้เวลาเดินนานจริงๆเพราะเต็มไปด้วยอะไรมากมาย



ส่วนจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นี้อยู่ในชั้น ๓ และ ๔ เป็นหลัก แต่นอกจากนั้นแล้วก็มีชั้น ๑ และ ๒ อยู่ด้วย ซึ่งไม่ใช่ส่วนที่มีจัดแสดงอะไร แต่ไหนๆมาแล้วก็ลองแวะไปดูนิดหน่อย โดยเราลงลิฟต์ไป ในลิฟต์มีแสดงแผนที่คร่าวๆให้ดู ซึ่งจะเห็นได้ว่าทางเข้าออกของอาคารอยู่ที่ชั้น ๓ ซึ่งเรามาถึงตอนแรก ส่วนชั้น ๑ และ ๒ นั้นเปรียบเสมือนชั้นใต้ดิน



ชั้น ๒ เป็นแบบนี้ ดูแล้วเงียบๆ มีพวกห้องทำงานและห้องประชุม นอกจากนี้เห็นว่ามีส่วนจัดแสดงพิเศษด้วย แต่ว่าตอนนี้ไม่ได้จัดแสดงอะไรอยู่



ส่วนชั้น ๑ ก็มีห้องสมุดอยู่



หลังจากนั้นเราจึงขึ้นลิฟต์กลับมาชั้น ๓ เพื่อจะออกจากที่นี่ ก่อนออกไปแวะร้านขายของที่ระลึก



ของภายในร้าน





การเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ก็จบลงเท่านี้ แต่ไหนๆก็มาเที่ยวแล้ว เราจึงยังไม่ได้กลับทันที แต่ตัดสินใจไปเดินเล่นภายในบริเวณสวนสาธารณะไดโนฮาระและแถวๆนี้ต่อ https://phyblas.hinaboshi.com/20230716



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文