# เสาร์ 1 ก.ค. 2023
เพิ่งผ่านวันครบรอบ ๑ ปีที่ได้อยู่ญี่ปุ่นมา จากที่มาอยู่นี่ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน ปีที่แล้ว
ในวันที่เป็นที่น่ารำลึกแบบนี้ก็เลยอยากออกไปเที่ยวในเมืองสักหน่อย อากาศก็กำลังไม่เลว แม้จะเริ่มเข้าฤดูร้อนแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ร้อนมาก
สถานที่ที่ตัดสินใจแวะเที่ยวคราวนี้ก็คือที่
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เมืองเซนได (仙台市科学館)ตัวพิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ภายใน
สวนสาธารณะป่าไม้ไดโนฮาระ (台原森林公園) ซึ่งเป็นพื้นที่เขียวแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของเมืองเซนได
พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท 3M Japan ซึ่งเป็นนิติบุคคลด้านเคมีและไฟฟ้า ฉะนั้นชื่อเรียกที่นี่อย่างเป็นทางการจริงๆจะมีคำว่า 3M นำหน้าด้วย
ที่นี่เปิดขึ้นตั้งแต่ปี 1968 แต่ว่าเดิมทีเคยตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะนิชิกิโจว (
錦町公園) ใกล้ใจกลางเมืองเซนได หลังจากนั้นจึงย้ายมาตั้งอยู่ในตำแหน่งปัจจุบันที่สวนสาธารณะป่าไม้ไดโนฮาระในปี 1990
ส่วนจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ใหญ่มากและมีอะไรอยู่มากกว่าที่คิดไว้มาก ต้องใช้เวลาเดินนานกว่าจะทั่วทั้งหมด เรามาถึงที่นี่และเริ่มชมตั้งแต่ 10 โมงเช้า แต่เสร็จตอนบ่าย 2 เท่ากับใช้เวลาไปกว่า ๔ ชั่วโมงเลย และที่จริงถ้าหากจะดูละเอียดจริงๆน่าจะอยู่ได้ทั้งวัน
ดังนั้นแล้วในบันทึกนี้ก็จะแบ่งเขียนเป็น ๓ ตอน ไม่อาจจะสรุปจบได้ทันทีในตอนเดียว
การเดินทางไปทำได้ง่ายโดยนั่งรถไฟใต้ดินไปลงที่
สถานีอาซาฮิงาโอกะ (旭ヶ丘駅)สถานีนี้ตั้งคร่อมพื้นที่ต่างระดับ โดยทางตะวันตกเป็นบริเวณสวนสาธณะป่าไม้ไดโนฮาระซึ่งพื้นอยู่ต่ำ และทางตะวันออกเป็นถนนเมย์โซวโนะมัตสึ (
瞑想の
松通り) ซึ่งพื้นอยู่สูงกว่า ทำให้เมื่อมองจากฝั่งตะวันตก ตัวสถานีนี้อยู่บนพื้นดิน แต่มองจากฝั่งตะวันออกสถานีนี้อยู่ใต้ดิน
ภาพถ่ายภายในสถานีหลังจากลงจากรถไฟมา ทางซ้ายมองออกไปจากหน้าต่างรถไฟเห็นทิวทัศน์สวนสาธารณะด้วย

จากนั้นเดินมาออกทางฝั่งตะวันออก เป็นบันไดเดินขึ้นเหมือนสถานีรถไฟใต้ดินที่อยู่ใต้ดินทั่วไป

ภาพทางเข้าสถานี มีป้ายชี้ไปยังพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

มองไปฝั่งตรงข้ามคือทางตะวันตกเห็นเป็นบริเวณสีเขียวของสวนสาธารณะไดโนฮาระ ตัวพิพิธภัณฑ์ก็อยู่ฝั่งนั้น แต่ว่าฝั่งนั้นไม่มีทางคนเดิน จึงต้องมาเดินทางฝั่งตะวันออก

ที่ตรงนี้มีโรงละคร ฮิตาจิซิสเตมส์ฮอลเซนได (
日立システムズホール
仙台)


เดินขึ้นเหนือมาเรื่อยๆก็มาถึงพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

เดินข้ามถนนไป

เข้าไปยังในอาคาร

เมื่อเข้ามาก็จะมาโผล่ที่ชั้น ๓ ของอาคาร ตัวอาคารมี ๔ ชั้น แต่ว่าชั้นที่เชื่อมกับด้านนอกซึ่งคนทั่วไปจะเดินเข้ามาถึงก่อนชั้น ๓ ที่เป็นแบบนี้เพราะตัวอาคารตั้งอยู่บนพื้นดินต่างระดับ ส่วนฐานของตึกตั้งอยู่บนส่วนด้านล่าง ตรงนั้นจึงนับเป็นชั้น ๑

ส่วนจัดแสดงนั้นมีอยู่ในบริเวณชั้น ๓ และ ๔ รวมแล้ว ๒ ชั้น ส่วนชั้น ๑ และ ๒ เป็นส่วนห้องวิจัยและห้องบรรยาย
จากตรงนี้มองขึ้นไปจะเห็นชั้น ๔ เริ่มแรกมาซื้อตั๋วเข้าชม ที่ตรงที่ขายตั๋วตรงนี้

ตั๋วเข้าชม ราคา ๕๕๐

สำหรับส่วนจัดแสดงอยู่ทางนี้

ส่วนที่ตั้งเด่นอยู่ใต้บันไดเลื่อนคือช้างเนามัน (ナウマンゾウ) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Palaeoloxodon naumanni เป็นช้างที่เคยอาศัยอยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่น แต่สูญพันธ์ไปตั้งแต่กว่าหมื่นปีที่แล้ว มีความใกล้ชิดกับช้างเอเชีย

จากนั้นก็ยื่นตั๋วเข้าชมแล้วเดินเข้าส่วนจัดแสดงส่วนชั้น ๓ ส่วนนี้เรียกว่าเป็นส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน (生活系)

เข้ามาแล้วมองเข้าไปเห็นสิ่งจัดแสดงตั้งอยู่เต็มไปหมดตั้งแต่เบื้องหน้าไปจนไกลสุดทาง

ตู้นี้จัดแสดงหินชนิดต่างๆที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำฮิโรเสะ (
広瀬川) ที่ไหลผ่านเมืองเซนได

ส่วนตรงนี้เป็นส่วนที่เรียกว่าอาเตอลีเยสิ่งแวดล้อม (
環境アトリエ)

ซึ่งมีการจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน


ตรงนี้มีไจโรสโกปให้ลองไปนั่งเล่นดูได้


ตรงนี้แสดงท่อคาร์บอนซึ่งเป็นวัสดุที่เบาเป็นพิเศษ มีให้ลองยกดูน้ำหนักเปรียบเทียบกับท่อเหล็ก

แบบจำลองส่วนการขับเครื่องบินแรงมนุษย์ (
人力飛行機)

ตรงนี้แสดงแบบจำลองเครื่องบินในประวัติศาสตร์


ส่วนตรงนี้ให้ลองสร้างฟองสบู่ขึ้นมา

สามารถเข้าไปข้างในแล้วก็ดึงเพื่อให้มีฟองล้อมรอบตัวได้


ลูกแก้วพลาสมา

ผลงานที่พิมพ์ขึ้นโดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ

ลูกโลกและดาวอื่นในระบบสุริยะ ไม่รู้ทำไมเอามาวางบนอ่างล้างมือ

กล้องจุลทรรศน์ ให้ลองกดปุ่มควบคุมดูของแต่ละอย่างที่ถูกขยายได้ สามารถปรับขนาดได้หลายระดับ

ในระหว่างที่ชมไปเรื่อยๆ ก็ถึงเวลาสิบโมงครึ่งซึ่งมีจัดกิจกรรมให้ผู้เข้าชมร่วมทดลองได้ เข้าร่วมได้ฟรี แต่เราแค่มองดูอยู่เฉยๆ ไม่ได้เข้าร่วม เพราะส่วนใหญ่ที่เข้าไปมีแต่พวกเด็กๆกับผู้ปกครองที่มาด้วยซะมาก


ตรงนี้เกี่ยวกับการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ โดยลองส่งเสียงเข้าไปแล้วลูกบอลในนี้จะขยับ

อันนี้มีให้เล่นเกมเกี่ยวกับการทำนายทิศทางของไต้ฝุ่น

ส่วนนี้อธิบายเกี่ยวกับการทำงานวิจัยวิทยาศาสตร์



ตรงนี้เป็นห้องน้ำ แต่ด้านหน้ามีชั้นวางที่แสดงพวกแบบจำลองเครื่องบิน

จำลองพายุหมุน

ลูกตุ้มฟูโก ซึ่งเป็นตัวพิสูจน์ว่าโลกหมุน

พิณที่ทำงานโดยใช้เซนเซอร์แสง แค่เอามือเข้าไปใกล้ก็เกิดเสียงขึ้น

ส่วนนี้จัดแสดงเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ แต่ไม่ได้มีของอะไร มีแค่ป้ายให้อ่าน

ส่วนตรงนี้จัดแสดงเกี่ยวกับหุ่นยนต์

อะตอม เจ้าหนูปรมาณู ตัวละครหุ่นยนต์จากอนิเมะเก่าแก่ของญี่ปุ่น

ภายในวางหุ่นยนต์ต่างๆ


หุ่นยนต์แมวน้ำน่ารักดี

นี่คือซันโซงเกงอาริสึ (
産総研ありす) กับ ซันโซวเกงเทเรสึ (
産総研てれす) ตัวละครมาสคอตของซันโซวเกง (
産総研) หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น


หุ่นยนต์ที่เข้าใจรอยยิ้มได้ของบริษัทโคเวิร์ก (
株式会社コー・ワークス)

หุ่นยนต์ทำความสะอาด

กลไกที่กดแล้วมีบอลวิ่งในนี้

หุ่นแบบตุ๊กตาญี่ปุ่นก็มี

ตรงส่วนนี้อธิบายเกี่ยวกับแผ่นดินไหว


ที่ตั้งเด่นตรงกลางเป็นเครื่องวัดแผ่นดินไหวใต้ทะเล


ตรงนี้เป็นดอกไม้ที่ทำจากโลหะผสมที่จำรูปร่างได้ (
形状記憶合金)

มีให้เดาไดมาเป่าเพื่อให้ความร้อน แล้วจะทำให้ดอกไม้บานออก และถ้าเอาไดออกแล้วปล่อยไว้สักพักก็จะหุบกลับไปเหมือนเดิม

ตรงนี้เป็นแผ่นที่ฉายทำเป็นรูปหน้าไพ่ หน้าไพ่ถูกทำเป็นภาพฉาย แต่ไม่ว่าจะหันไปด้านไหนภาพที่ฉายมาก็จะทำให้เห็นหน้าไพ่เหมือนเดิม เหมือนกับภาพนั้นติดอยู่ที่แผ่นนั้นจริงๆ


ที่เล่นเกมเหยียบตอบคำถามคำนวณ

ห้องเอมส์ (エイムズの
部屋) เป็นห้องที่มีพื้นเป็นตารางแต่มีขนาดช่องและระดับพื้นไม่เท่ากันทำให้เกิดการลวงตาให้คนตีความขนาดผิดไป ทำให้เห็นคนเป็นยักษ์หรือคนแคระได้


ตรงนี้จัดแสดงเกี่ยวกับขบวนรถไฟใต้ดินของเซนได

โต๊ะซีซือโพส (
Σίσυφος) วาดภาพบนทรายโดยการวางบอลเหล็กไว้แล้วใช้แม่เหล็กควบคุมให้บอลเคลื่อนไป


ทางวงกตที่ทำขึ้นจากกล่องกระดาษ


ราวกับหลุมที่จะตกลงไปได้

แผ่นสีแดงนี่น่ากลัว เหยียบแล้วลายเปลี่ยนด้วย

เปียโนที่ดีดอัตโนมัติ ตัวกล่องทำเป็นใสให้เห็นกลไกข้างใน

ส่วนนี้จัดแสดงเครื่องบินกระดาษ


เท่านี้ก็ถือว่าเดินมาจนถึงสุดทางแล้ว จากตรงนี้ไปมีบันไดทางขึ้นไปสู่ส่วนจัดแสดงชั้นบนต่อได้

เท่าที่เดินดูด้านล่างมาจนถึงตอนนี้ก็ใช้ เวลาไปชั่วโมงนึง แต่ด้านบนยังมีอะไรให้ดูอีกมากมายกว่านี้และจะยิ่งใช้เวลานานกว่านี้
ตอนต่อไป
https://phyblas.hinaboshi.com/20230708