# ศุกร์ 20 ธ.ค. 2024วันนี้เป็นวันธรรมดาที่ไปทำงานตามปกติ แต่ว่าอยู่ในอารมณ์ที่อยากลองไปเดินหาอะไรกินไกลหน่อย ดังนั้นหลังเลิกงานก็เลยได้ตัดสินใจมาเดินเล่นใน
ย่านร้านค้าคาวาบาตะ (
川端通商店街) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของสถานีฮากาตะ คนละฝั่งกับย่านที่เราทำงานอยู่ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออก ทำให้ปกติไม่มีโอกาสได้เดินมา แต่ก็ถือว่าอยู่ในระยะที่เดินไปได้ไม่ไกลมาก
เป้าหมายหลักของคราวนี้คือการไปแวะกินราเมงที่ร้าน
กันโสะราเมงนางาฮามะเกะ (
元祖ラーメン
長浜家) ซึ่งเป็นร้านราเมงขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของฟุกุโอกะ
พูดถึงราเมงในฟุกุโอกะแล้วคนทั่วไปน่าจะรู้จัก
ฮากาตะราเมง (
博多ラーメン) เป็นอย่างดี แต่ว่านอกจากนี้แล้วยังมีราเมงอีกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในเมืองฟุกุโอกะเหมือนกัน เรียกว่า
นางาฮามะราเมง (
長浜ラーメン) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากร้าน
กันโสะนางาฮามะยะ (
元祖長浜屋) ที่เป็นร้านเก่าแก่เปิดมาตั้งแต่ปี 1952 ตั้งอยู่ในย่านนางาฮามะ ซึ่งเป็นย่านท่าเรือประมงริมชายฝั่งอ่านฟุกุโอกะ ปัจจุบันถูกจัดอยู่ใน
เขตจูโอว (
中央区) ของเมืองฟุกุโอกะ อยู่ติดกับย่านเทนจิงซึ่งเป็นย่านใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
ร้านนี้ยังมีความสำคัญตรงที่เป็นต้นกำเนิดของวิธีการกินที่เรียกว่า
คาเอดามะ (
替え
玉) ซึ่งหมายถึงการสั่งเส้นราเมงเพิ่มเติมภายหลัง
หลังจากนั้นก็มีร้านราเมงร้านอื่นในเมืองฟุกุโอกะที่เปิดโดยเรียกตัวเองว่าเป็นนางาฮามะราเมง แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในย่านนางาฮามะก็ตาม จนกลายเป็นประเภทหนึ่งของราเมงไป
ลักษณะโดยรวมของนางาฮามะราเมงคือเป็นราเมงใส่ซุปกระดูกหมู เครื่องมีแค่เนื้อหมูและต้นหอมหั่น มองโดยภาพรวมแล้วไม่ได้ต่างจากฮากาตะราเมงนัก ปัจจุบันความต่างกระหว่างนางาฮามะราเมงกับฮากาตะราเมงนั้นคลุมเครือ และมักถือว่านางาฮามะราเมงเป็นฮากาตะราเมงประเภทหนึ่งไป
มีร้านราเมงหลายร้านในเมืองฟุกุโอกะที่เลือกจะเรียกตัวเองว่าเป็นนางาฮามะราเมง แทนที่จะเป็นฮากาตะราเมง
อย่างไรก็ตามหลายร้านที่เรียกตัวเองว่านางาฮามะราเมงนั้นมีสูตรที่ต่างไปจากนางาฮามะราเมงดั้งเดิมมาก เช่นร้านนาจิมะเตย์ ซึ่งเราเคยเล่าไว้ในบันทึกหน้านี้ มีรสเค็มเข้มข้นเกินไป
https://phyblas.hinaboshi.com/20241204แต่ว่าร้านกันโสะราเมงนางาฮามะเกะที่เราจะไปในครั้งนี้เป็นร้านที่แตกออกมาจากร้านกันโสะนางาฮามะยะดั้งเดิม เป็นสูตรเดียวกันเป๊ะ ทั้งสูตรน้ำซุป เครื่องที่วาง การจัดวาง ลักษณะชาม (พวกนักชิมจะบอกว่าต่างกันหน่อย แต่สำหรับคนธรรมดาอย่างเราแยกแยะไม่ได้หรอก)
ร้านนี้เพิ่งเปิดเมื่อปี 2016 ประวัติศาสตร์ไม่ได้ยาวนานเหมือนอย่างกันโสะนางาฮามะยะเดิม แต่คนที่เปิดร้านนี้ก็คือพ่อครัวเก่าของร้านที่แยกตัวมาเปิดใหม่ เพียงแต่ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันก็เลยไม่ถือว่าเป็นร้านสาขา แต่เป็นร้านใหม่แยกต่างหาก แต่ก็ถือว่าเป็นสูตรเดียวกัน คือมากินที่ร้านนี้ก็ได้รสชาติแทบไม่ต่างจากร้านดั้งเดิม
นอกจากนี้ยังมีร้านที่เกี่ยวข้องที่แยกตัวออกมาอีกหลายร้าน ดูเหมือนจะมีเรื่องภายในที่ซับซ้อนละเอียดอ่อน ซึ่งคงจะไม่ขอพูดถึงแล้วพอเราได้แวะไปกินก็ไม่ผิดหวัง อร่อยมากจริงๆ กินแล้วลืมร้านนาจิมะเตย์ไปได้เลย และให้เทียบกับร้านฮากาตะราเมงที่เคยกินมาร้านอื่นในฟุกุโอกะก็ถือว่าเป็นความอร่อยที่ต่างไป รสชาติน้ำซุปเป็นเอกลักษณ์ของร้าน แต่ว่าต่างกันยังไงนั้นก็อธิบายยากเหมือนกัน เอาเป็นว่าร้านราเมงในฟุกุโอกะนั้นมีหลายสูตร มีทั้งที่เราชอบและไม่ชอบ และร้านนี้ก็ถือเป็นร้านหนึ่งที่ชอบ ก็สมกับเป็นร้านขึ้นชื่อที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานร้านนึง
ส่วนร้านกันโสะนางาฮามะดั้งเดิมนั้นถ้ามีโอกาสก็อยากแวะไปเหมือนกัน แต่ก็ไปยากกว่า เพราะอยู่ไกลจากที่เราอยู่ และก็ไกลจากสถานีรถไฟใต้ดินด้วย แต่ก็ถือว่าเป็นย่านใจกลางเมือง ถ้าจะไปก็คงหาโอกาสไปได้
สำหรับย่านคาวาบาตะที่เราจะไปนี้ก็เป็นถนนคนเดินที่เป็นอาร์เคด ก็ถือเป็นที่เที่ยวแห่งหนึ่งของฟุกุโอกะที่พอจะมีชื่อเสียงอยู่ อยู่ใกล้กับ
ศาลเจ้าคุชิดะ (
櫛田神社) และติดกับย่าน
นากาสึ (
中洲) ซึ่งเป็นย่านโคมแดงขึ้นชื่อของเมืองฟุกุโอกะ ครั้งนี้เราแวะไปเดินและกินเสร็จก็ถือโอกาสแวะไปถึงย่านนากาสึด้วย
(เรื่องศาลเจ้าคุชิดะเคยเล่าไปใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20241111)
ระหว่างทางเดินจากสถานีฮากาตะไป
ต้องผ่านสถานีรถไฟใต้ดิน
สถานีหน้าศาลเจ้าคุชิดะ (
櫛田神社前駅) ซึ่งห่างจากสถานีฮากาตะไปแค่สถานีเดียว ใครจะนั่งมาก็นั่งได้แต่ระยะแค่นี้เดินเอาก็ได้
ซอยข้างๆปากทางเข้าสถานีก็มีพวกร้านค้าอยู่นิดหน่อย แต่ก็ยังดูไม่มีอะไรมาก
เดินผ่านซอยออกมาก็เห็นปากทางเข้าย่านร้านค้าคาวาบาตะอยู่ตรงข้าม
เดินข้ามมา เห็นทางเข้าอาร์เคด
บรรยากาศภายใน เต็มไปด้วยร้านมากมาย แต่ก็เห็นหลายร้านปิดอยู่
แล้วก็มาถึงร้านกันโสะนางาฮามะเกะซึ่งเป็นเป้าหมาย อยู่ทางซ้ายนี้ ส่วนทางขวาก็เป็นร้านราเมงเหมือนกัน ชื่อว่า
ฮากาตะราเมงฮากาตะยะ (
博多ラーメンはかたや) เป็นร้านที่มีหลายสาขา เราเคยกินสาขาอื่นมาแล้ว ลักษณะเด่นคือราคาถูก เป็นร้านราเมงที่ถูกที่สุดในเมืองฟุกุโอกะแล้ว ส่วนรสชาติก็ใช้ได้ แม้จะไม่ถือว่าโดดเด่น เรียกได้ว่าถ้าอยากประหยัดก็กินร้านนี้แหละ
และนี่คือร้านที่เป็นเป้าหมาย เล็กแค่นี้เอง และดูเงียบเหงาผิดคาด ตอนแรกยังคิดว่าจะแน่นจนต้องรอคิว แต่พอเข้าไปแล้วคนโล่งมาก
บรรยากาศภายในร้าน
ร้านเป็นแนวยาวมีแต่ที่นั่งเคาน์เตอร์เท่านั้น ไม่เหมาะกับการมาหลายคน
เมนูก็มีแค่ราเมงชนิดเดียว แต่สามารถเลือกระดับความแข็งของเส้นได้ ๕ ระดับ ราคา ๗๐๐ เยน จ่ายเงินผ่านเครื่องขายตั๋ว อันนี้ที่เราเลือกเป็นแบบเส้นปานกลาง
กินเสร็จก็ออกมาเดินถ่ายรูปอยู่หน้าร้านอีกหน่อย
ตรงประตูอีกด้านของร้านมีอธิบายเกี่ยวกับการเลือกเส้นและซุป
ข้างๆร้านเป็นสะพานข้ามแม่น้ำฮากาตะ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายเล็กๆที่คั่นระหว่างย่านคาวาบาตะกับนากาสึ
ทิวทัศน์จากบนสะพานก็สวยดี
อันนี้คือร้านข้างๆ ฮากาตะราเมงฮากาตะยะ
แล้วเดินถัดไปข้างๆยังมีร้านราเมงอีกร้าน
นากาสึคาวาบาตะ คิริง (
中洲川端 きりん) ดูแล้วก็น่าสนใจ ไว้วันหลังถ้าแวะมาย่านนี้อีกอาจกินร้านนี้
กินเสร็จก็เดินตามอาร์เคดต่อไป
ตรงนี้ยังเจอร้านราเมงอีกร้าน
กันโสะนากาสึยาไตราเมงอิจิบังอิจิริว (
元祖中洲屋台ラーメン
一番一竜) นี่ก็ดูน่าสนใจเหมือนกัน
เดินต่อมาถึงย่านตรงนี้ หลังคาตรงทางเชื่อมดูสวยดี
เดินข้ามต่อมา ตรงส่วนนี้เริ่มเงียบเหงา ร้านแทบไม่เปิดเลย
แล้วก็มาถึงสุดทาง ฝั่งตรงข้ามเป็นห้าง
ฮากาตะริเวอร์เรน (
博多リバレイン)
เลี้ยวซ้ายไปก็เป็นสะพานข้ามแม่น้ำฮากาตะ
ทิวทัศน์จากบนสะพาน
เดินข้ามสะพานมาก็เป็นย่านนากาสึ เจอทางเข้า
สถานีนากาสึคาวาบาตะ (
中洲川端駅) เป็นสถานีที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างย่านนากาสึและย่านคาวาบาตะ
แล้วก็เดินต่อมา ผ่านย่านนากาสึ
ผ่านมาเจอร้าน
อิจิรัง (
一蘭) สาขาหลัก ร้านนี้เป็นร้านฮากาตะราเมงชื่อดังที่มีสาขาไปทั่วประเทศและมีเปิดในไทยด้วย แต่นี่เป็นสาขาหลัก ดังนั้นสภาพก็อย่างที่เห็น คนมาต่อคิวกันแน่น รอนานมากแน่นอน ดูเหมือนว่ายังไงคนก็อยากจะมากินที่สาขาหลักที่เป็นต้นกำเนิดของตำนาน
เดินต่อไปก็หมดย่านนากาสึแค่นี้แล้ว ที่จริงย่านนี้เล็กนิดเดียวเอง เป็นแค่พื้นที่เกาะกลางแม่น้ำที่คั่นระหว่างเขตฮากาตะกับย่านเทนจิงเท่านั้น มีชื่อเสียงในฐานะย่านโคมแดง แต่เราก็ไม่ได้ไปเดินตรงนั้น
จากนั้นข้ามสะพานมาก็เป็นย่าน
นิชินากาสึ (
西中洲) ตรงนี้เรียกว่า
ชิปส์การ์เดน (シップスガーデン)
เดินถัดมาก็เป็นย่านเทนจิงซึ่งเป็นใจกลางเมืองหลักแล้ว
แล้วก็มาเดินที่
สวนสาธารณะเทนจิงจูโอว (
天神中央公園) ซึ่งช่วงนี้กำลังจัดกินกรรมฮิการิโนะฟอเรสต์ (
光のフォレスト) ต้อนรับคริสต์มาส
บรรยากาศภายใน สวยดี
แล้วก็เดินทะลุออกมาอีกทาง
หน้าประดูทางเข้าสวนสาธารณะจากอีกฝั่ง
เดินต่อมาก็เจอห้าง
ไดมารุ (
大丸) สาขาฟุกุโอกะเทนจิง ซึ่งเรามาที่นี่เพื่อจะขึ้นรถเมล์กลับ
ตอนที่มาถึงได้ยินเสียงร้องเพลง
ยุกิโนะฮานะ (
雪の
華) ก็เลยหยุดฟังสักหน่อย
จากนั้นก็ไปขึ้นรถเมล์เดินทางกลับ ครั้งนี้ถือว่าได้เดินเที่ยวเยอะกว่าที่ตั้งใจไว้ตอนแรกพอสมควร จากที่คิดว่ากินราเมงเสร็จก็กลับ กลายเป็นอีกวันที่สนุกทีเดียว