ในบทความนี้จะอธิบายหลักการทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเขียนด้วยอักษรไทย โดยอธิบายแยกเป็นส่วนๆอย่างละเอียด บอกถึงเสียงอ่านที่แท้จริงและเหตุผลในการเลือกใช้วิธีเขียน และมีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดด้วย เหมาะสำหรับผู้ศึกษาภาษาญี่ปุ่น หรือต้องการนำระบบทับศัพท์ไปใช้เพื่อเขียนในชีวิตประจำวัน
ที่มาที่ไป ระบบทับศัพท์นี้เป็นระบบที่เรียบเรียงขึ้นมาเองเพื่อใช้ในการเขียนในชีวิตประจำวันและบทความต่างๆภายในบล็อกหรือเว็บต่างๆ ยินดีแบ่งปันหากใครต้องการนำไปใช้
ที่จริงแล้วนอกจากระบบนี้แล้วยังมีระบบของราชบัณฑิตยสถาน >>
https://th.wikipedia.org/wiki/การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น แต่ระบบนั้นมีส่วนต่างจากการเขียนตามความนิยมของคนทั่วไปในหลายๆส่วน จึงอาจดูขัดใจหากนำมาใช้งานจริง คนทั่วไปก็ไม่ได้ใช้ตามนี้
สำหรับหลักที่เราเรียบเรียงขึ้นมาใช้ในนี้ ตั้งขึ้นมาโดยเน้นว่า
- เขียนให้ใกล้เคียงเสียงจริงๆที่สุดเท่าที่ระบบการเขียนจะเอื้ออำนวย
- ทำให้แยกความแตกต่างระหว่างเสียงคนละเสียงกันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ไม่ให้ต่างจากที่คนทั่วไปนิยมเขียนกันมากจนดูแล้วขัด
- ทำให้ความเป็นสองมาตรฐานมีน้อยที่สุด คือคำที่มีลักษณะเดียวกันก็ควรจะเขียนด้วยหลักแบบเดียวกัน
- ไม่ทำลายหลักการเขียนภาษาไทยโดยทั่วไป
ระบบนี้ยังใช้เขียนชื่อภาษาญี่ปุ่นต่างๆที่ใช้ในบล็อกนี้ รวมถึงเพจ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น และเว็บ
https://hinaboshi.com/ตัวอย่างชื่ออาหารญี่ปุ่นที่เขียนด้วยระบบทับศัพท์นี้
ระบบการเขียน ภาษาญี่ปุ่นนั้นโดยทั่วไปแล้วจะเขียนด้วยอักษร ๓ ชนิดปนกัน คือ
คันจิ,
ฮิรางานะ,
คาตากานะ นอกจากนี้ยังมีการใช้อักษร
โรมาจิ (อักษรละติน) เช่นเวลาใช้กับคนต่างชาติด้วย
ตัวอย่างการเขียนด้วยตัวอักษรชนิดต่างๆ
คันจิ |
都道府県 |
東西南北 |
上植野 |
ฮิรางานะ |
とどうふけん |
とうざいなんぼく |
かみうえの |
คาตากานะ |
トドウフケン |
トウザイナンボク |
カミウエノ |
โรมาจิ |
todoufuken |
touzainanboku |
kamiueno |
ทับศัพท์ |
โทโดวฟุเกง |
โทวไซนัมโบกุ |
คามิอุเอโนะ |
ในบทความนี้จะอธิบายโดยใช้การเขียนเป็นอักษรฮิรางานะทั้งหมด นอกจากนี้ก็จะกำกับอักษรโรมาจิไว้ข้างบนด้วย เพื่อให้คนที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลยสามารถอ่านได้
เพียงแต่ว่าบางกรณีนั้นตัวคันจิที่เขียนจะมีผลต่อการทับศัพท์ด้วย กรณีนั้นก็จะกำกับคันจิไว้ด้วย
นอกจากนี้ก็จะมีกำกับอักษร
IPA (สัทอักษรสากล) ไว้ด้วย เผื่อสำหรับคนที่มีความรู้ด้านภาษาศาสตร์
การทับศัพท์สระ ภาษาญี่ปุ่นนั้นโดยพื้นฐานแล้วประกอบด้วย ๕ สระ คือ
あ,
い,
う,
え,
お ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเขียนแทนเป็นภาษาไทยได้เป็น "อะ", "อิ", "อุ", "เอะ", "โอะ" ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม กรณีของ
あ,
え,
お นั้นเมื่อไม่ได้อยู่ในพยางค์สุดท้ายของคำเวลาเขียนเป็นภาษาไทยมักจะเขียนเป็นเสียงยาวเป็น "อา", "เอ", "โอ" ดังนั้นในหลักทับศัพท์นี้ก็จะยึดตามความนิยมตามนี้ด้วย
ในขณะที่
い กับ
う จะไม่มีข้อยกเว้นตรงนี้ ให้เขียนแทนเป็นภาษาไทยด้วยสระเสียงสั้นในทุกกรณี ไม่ต้องสนว่าอยู่พยางค์ท้ายหรือไม่
นอกจากนี้ เสียง
う นั้นจริงๆแล้วต่างไปสระอุในภาษาไทย โดยออกเสียงได้ ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับพยัญชนะต้น โดยทั่วไปแล้วจะอ่านเป็นเสียงกึ่งๆระหว่างสระอุกับสระอึ (IPA เขียนเป็น /ɯ/) ในที่นี้ให้ทับศัพท์เป็นสระอุ ตามความนิยม
แต่กรณี
す,
ず,
つ นั้นจะอ่านออกเสียงค่อนไปทางสระอึอย่างชัดเจน (IPA เขียนเป็น /ɨ/) และการทับศัพท์ในภาษาไทยก็นิยมแทนเสียงนี้เป็นสระอึด้วย ดังนั้นหลักการทับศัพท์ในที่นี้ก็จะให้เขียนเป็นสระอึในกรณีของพยัญชนะ ๓ เสียงนี้เช่นกัน
สรุปเสียงสระพื้นฐานพร้อมตัวอย่างเป็นตารางได้ดังนี้
|
IPA |
ทับศัพท์ |
หมายเหตุ |
ตัวอย่าง |
あ |
/a/ |
อะ |
เขียนเป็น "อะ" เฉพาะเมื่ออยู่พยางค์ท้าย นอกนั้นเป็น "อา" |
みた = มิตะ |
อา |
たみ = ทามิ |
い |
/i/ |
อิ |
|
ひじり = ฮิจิริ |
う |
/ɯ/ |
อุ |
เป็นสระอุ ยกเว้น す, ず, つ |
くるま = คุรุมะ |
/ɨ/ |
อึ |
เป็นสระอึ สำหรับ す, ず, つ |
いすず = อิสึซึ |
え |
/e/ |
เอะ |
เขียนเป็น "เอะ" เฉพาะเมื่ออยู่พยางค์ท้าย นอกนั้นเป็น "เอ" |
きせ = คิเสะ |
เอ |
せき = เซกิ |
お |
/o/ |
โอะ |
เขียนเป็น "โอะ" เฉพาะเมื่ออยู่พยางค์ท้าย นอกนั้นเป็น "โอ" |
まこ = มาโกะ |
โอ |
こども = โคโดโมะ |
สระเสียงยาว ในภาษาญี่ปุ่นมีการแยกเสียงสั้นกับเสียงยาวอย่างชัดเจน โดยพื้นฐานแล้วเสียงยาวจะมาจากการเอา
あ,
い,
う,
え,
お มาวางต่อจากอักษรที่มีสระเดียวกัน เสียงจะยาวขึ้น ๒ เท่า ให้เขียนรวมสระเสียงยาวไป
ตัวคำที่เทียบเสียงสั้นกับเสียงยาว
しな =
ชินะ
しいな =
ชีนะ (ไม่ใช่ "ชิอินะ")
นอกจากนี้เสียงยาวยังเกิดจากการใส่ขีด ー ต่อได้เช่นกัน มักพบมากในคำที่ทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ
しーと (シート) =
ชีโตะ
らいだー (ライダー) = ไร
ดาหรือบางครั้งอาจมีการใช้อักษร ぁ, ぃ, ぅ, ぇ, ぉ ตัวเล็กมาใช้เพื่อแสดงเสียงยาว ซึ่งอาจพบได้ในคำภาษาพูดหรือคำเลียนเสียง รวมถึงคำภาษาต่างประเทศ เสียงที่ได้ไม่ต่างอะไรกับเขียน
あ,
い,
う,
え,
お ตัวใหญ่
てめぇ =
てめえ = て
めー = เท
เมざまぁ =
ざまあ = ざ
まー = ซา
มาอนึ่ง เวลาที่เขียนเป็นอักษรโรมาจินั้นอาจแสดงเสียงยาวโดยใช้ขีดวางไว้ด้านบน เช่น ああ เขียนเป็น ā ส่วน うう เขียนเป็น ū เป็นต้น แต่สำหรับโรมาจิกำกับในบทความนี้เพื่อให้เห็นชัดจะขอเขียนแยกเป็น aa และ uu แบบนี้ตลอด
ตารางสรุปการเขียนทับศัพท์สระเสียงยาว
|
IPA |
ทับศัพท์ |
หมายเหตุ |
ตัวอย่าง |
ああ あぁ あー |
/aː/ |
อา |
|
おかあ = โอกา |
いい いぃ いー |
/iː/ |
อิ |
|
おにい =โอนี |
うう うぅ うー |
/ɯː/ |
อู |
ยกเว้น すう, ずう, つう |
ふうき = ฟูกิ |
/ɨː/ |
อือ |
เฉพาะ すう, ずう, つう |
ゆうずう = ยูซือ |
ええ えぇ えー |
/eː/ |
เอ |
|
おねえ = โอเน |
おお おぉ おー |
/oː/ |
โอ |
|
とおの = โทโนะ |
อย่างไรก็ตาม บางครั้งเสียงก็ถูกอ่านแยก ไม่ได้ต่อกันเป็นเสียงยาว โดยเฉพาะในกรณีที่คำมาจากคันจิคนละตัวกัน หรือเป็นคันจิแค่ส่วนเดียว กรณีแบบนี้ให้เขียนแยกกัน เช่น
真鯵 = 真 (
ま) + 鯵 (
あじ) = มา
อาจิ
石井 = 石 (
いし) + 井 (
い) = อิชิ
อิ狂う = 狂 (
くる) +
う = คุรุ
อุ吸う = 吸 (
す) +
う = สึ
อุご恩 =
ご + 恩 (
おん) = โก
อง
กรณีสระ ei กับ ou นอกจากในกรณีที่สระเดียวกันมาต่อกันแล้ว กรณีสระ
え ตามด้วย
い และสระ
お ตามด้วย
う ก็ทำให้เกิดเสียงยาวขึ้นได้เช่นกัน
โดยทั่วไปแล้ว
えい จะอ่านออกเสียงเป็นสระเอเสียงยาว เช่นเดียวกับกรณี
ええ แทนที่จะอ่านแยกเป็น
え+
い = "เอ"+"อิ"
อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่เสียงถูกอ่านออกเป็น
え+
い แยกกันชัดเจน เช่นเวลาที่พูดช้าๆเน้นๆ หรือเช่นเวลาร้องเพลง หรือขึ้นเสียงสูงท้ายคำในประโยคคำถาม ฯลฯ นอกจากนี้ในภาษาญี่ปุ่นท้องถิ่นบางสำเนียงเช่นแถบคิวชูนั้นจะอ่านแบบนี้กันเป็นปกติ ไม่ได้รวมกันเป็นเสียงยาว
อีกทั้งเวลาเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยคนนิยมเขียนเป็น "เอย์" กันอยู่แล้ว ดังนั้นระบบทับศัพท์ในที่นี้ก็จะขอยึดตามนี้ โดยเขียนเป็น "เอย์" เช่นกัน แทนที่จะเขียนเป็น "เอ" เฉยๆ
แม้ว่าจริงๆแล้วการเขียนแบบนี้จะไม่ได้สะท้อนเสียงอ่านจริงตามกรณีส่วนใหญ่ก็ตาม แต่ตัวตนของ
い ไม่อาจมองข้ามโดยมองแค่ว่ามันเป็นตัวทำให้เสียงยาว อีกทั้งการเขียนแบบนี้มีประโยชน์ในการแยกระหว่างเสียงสั้นกับเสียงยาวด้วย เพราะว่าสระ
え เสียงสั้นนั้นเมื่ออยู่กลางคำจะเขียนเป็นสระเอ ถ้าหากเขียน
えい เป็นสระเอเฉยๆไปด้วยก็จะแยกแยะไม่ได้
ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่าง
え กับ
えい เช่น
せき =
เซกิ
せいき =
เซย์กิ
ส่วนกรณีของ
おう เองก็เช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วจะออกเสียงเป็นสระโอยาว และอ่านแยกเป็น
お+
う = "โอ"+"อุ" ในกรณีส่วนน้อย
แต่ในที่นี้ก็ขอเขียนเป็น "โอว" เพื่อแยกให้ต่างจากกรณี
お ด้วยเหตุผลเดียวกันกับกรณีของ
えいเช่น
こじ =
โคจิ
こうじ =
โควจิ
とめ =
โทเมะ
とうめい =
โทวเมย์
ตารางสรุปและตัวอย่างเพิ่มเติม
|
IPA |
ทับศัพท์ |
ตัวอย่าง |
えい |
/eː/~/ei/ |
เอย์ |
けいき = เคย์กิ きれい = คิเรย์ |
おう |
/oː/~/oɯ/ |
โอว |
こうぼ = โควโบะ ごとう = โกโตว |
เพียงแต่กรณีที่มาจากคันจิคนละตัวกันก็ให้เขียนแยกกัน เช่น
武井 = 武 (
たけ) + 井 (
い) = ทาเก
อิ小梅 = 小 (
こ) + 梅 (
うめ) = โค
อุเมะ
กรณีสระ ai, ui, oi กรณีที่สระ
あ,
う,
お ตามด้วย
い มักจะได้ยินเหมือนเป็นพยางค์เดียว โดย
い ถูกมองเป็นเสียง "ย" ต่อท้ายไปและเวลาเขียนทับศัพท์ก็นิยมเขียนเป็นพยางค์เดียวในภาษาไทย ดังนั้นระบบทับศัพท์ในที่นี้ก็จะเขียนรวมด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่จริงแล้วในภาษาญี่ปุ่นโดยทั่วไปถือว่าเป็นพยางค์แยกกัน ดังนั้นการเขียนรวมแบบนี้ในที่นี้จึงมีที่มาจากความเคยชินของคนไทยเพื่อให้อ่านลื่นดูเป็นธรรมชาติขึ้นเท่านั้น
รูปเขียนและการทับศัพท์เสียงคำในกลุ่มนี้อาจสรุปได้ดังนี้
|
IPA |
ทับศัพท์ |
หมายเหตุ |
ตัวอย่าง |
あい |
/ai/ |
ไอ |
|
さいか = ไซกะ |
うい |
/ɯi/ |
อุย |
ยกเว้น すい, ずい, つい |
るいじ = รุยจิ |
/ɨi/ |
อึย |
สำหรับ すい, ずい, つい |
すいり = ซึยริ |
おい |
/oi/ |
โอย |
|
こいする = โคยสึรุ |
เพียงแต่ว่า กรณีที่มาจากคันจิคนละคำกันให้แยกคำกัน ไม่ต้องรวมกัน
赤池 = 赤 (
あか) + 池 (
いけ) = อากา
อิเกะ
福井 = 福 (
ふく) + 井 (
い) = ฟุกุ
อิ保育 = 保 (
ほ) + 育 (
いく) = โฮ
อิกุ
สระควบ "ゃゅょ" ในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีสระที่เป็นเสียงควบ "ย" ซึ่งเกิดจาก
き,
ぎ,
に,
ひ,
び,
ぴ,
み,
り ประกอบเข้ากับอักษร ゃ, ゅ, ょ (คืออักษร
や,
ゆ,
よ ตัวเล็ก) เสียงอ่านจะถือเป็นพยางค์เดียว และบ่อยครั้งจะตามหลังด้วย ー หรือ
う กลายเป็นเสียงยาว
การเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยนั้น จริงๆถ้าเขียนเป็นเสียงควบ "ย" จริงๆแล้ว
きゅ ควรเป็น "คยุ" และ
きょ ควรเป็น "คโยะ" แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากความนิยมในการเขียน และเพื่อความอ่านง่ายด้วย โดยทั่วไปแล้วมักเขียนในรูป "คิว" และ "เคียว" ดังนั้นระบบทับศัพท์นี้ก็จะยึดตามความนิยมเช่นกัน
ตารางต่อไปนี้แสดงโดยใช้
き เป็นฐาน โดยจะแสดงทั้งกรณีเสียงสั้นและเสียงยาวไปพร้อมกัน เพียงแต่ว่าในระบบทับศัพท์เป็นภาษาไทยนี้จะให้เขียนเหมือนกันไม่แยกเสียงสั้นเสียงยาว
|
IPA |
ทับศัพท์ |
ตัวอย่าง |
きゃ |
/kʲa/ |
เคีย |
りゃく = เรียกุ びゃっこ = เบียกโกะ |
きゃあ きゃー |
/kʲaː/ |
うぎゃー = อุเงีย |
きゅ |
/kʲɯː/ |
คิว |
さきゅばす = ซากิวบาสึ |
きゅう きゅー |
/kʲɯː/ |
かいにゅう = ไคนิว ごびゅう = โกบิว |
きょ |
/kʲo/ |
เคียว |
りょかん = เรียวกัง いんきょ = อิงเกียว |
きょう きょー |
/kʲoː/~/kʲoɯ/ |
みょうじ = เมียวจิ きぎょう = คิเงียว |
ในที่นี้แม้ว่าจะไม่แยกรูปเขียนเสียงสั้นเสียงยาว แต่โอกาสที่จะสับสนมีน้อย เพราะอย่าง
きゃあ กับ
きゅ นั้นโดยทั่วไปแล้วจะไม่พบในคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นโดยทั่วไป แต่อาจเจอในพวกคำเลียนเสียง หรือคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ ดังนั้นถ้าเจอ "เคีย" หรือ "คิว" โดยทั่วไปแล้วก็จะหมายถึง
きゃ กับ
きゅう แทบทั้งหมด
เพียงแต่กรณ๊ของ
きょ กับ
きょう นั้น แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็น
きょう ซะมากกว่า แต่
きょ ก็เจออยู่บ้าง ทำให้อาจเจอรูปเขียนที่ซ้ำกันอย่างช่วยไม่ได้ ถือเป็นข้อจำกัดของระบบการเขียน
きょだい =
เคียวได
きょうだい =
เคียวได
นอกจากนี้ กรณี
し,
じ,
ち ตามด้วย ゃ, ゅ, ょ นั้นจะไม่ได้เกิดเป็นเสียงควบ แต่จะเป็นสระ "อะ", "อุ", "โอะ" ธรรมดา ดังนั้นให้ยึดหลักการทับศัพท์ตามกรณีเสียง
あ,
う,
お ดังที่กล่าวไปข้างต้น
ตารางแสดงเสียง ในที่นี้ใช้
し เป็นตัวอย่าง แต่กรณีใช้กับ
じ,
ち ก็เช่นเดียวกัน
|
IPA |
ทับศัพท์ |
หมายเหตุ |
ตัวอย่าง |
しゃ |
/ɕa/ |
ชะ |
เขียนเป็น "อะ" เฉพาะเมื่ออยู่พยางค์ท้าย นอกนั้นเป็น "อา" |
かんじゃ = คันจะ |
ชา |
しゃかい = ชาไก |
しゃあ しゃー |
/ɕaː/ |
มักพบในศัพท์ภาษาต่างประเทศเท่านั้น |
ちゃーはん = จาฮัง |
しゅ |
/ɕɯ/ |
ชุ |
|
しんじゅ = ชินจุ |
しゅう しゅー |
/ɕɯː/ |
ชู |
|
じゅうしん = จูชิง |
しょ |
/ɕo/ |
โชะ |
เขียนเป็น "โอะ" เฉพาะเมื่ออยู่พยางค์ท้าย นอกนั้นเป็น "โอ" |
きんじょ = คินโจะ |
โช |
じょし = โจชิ |
しょう しょー |
/ɕoː/~/ɕoɯ/ |
โชว |
|
ちょうし = โจวชิ |
การทับศัพท์พยัญชนะ ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงเสียงพยัญชนะในภาษาญี่ปุ่นและเทียบพยัญชนะไทยที่ใช้ในการทับศัพท์ รวมทั้งตัวอย่างคร่าวๆ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมจะอธิบายไว้ด้านล่างของตาราง
|
IPA |
ทับศัพท์ |
ตัวอย่าง |
あ い う え お を |
- |
อ |
みえ = มิเอะ |
か き く け こ |
/k/ |
ค |
かなめ = คานาเมะ |
ก |
さかな = ซากานะ |
が ぎ ぐ げ ご |
/g/ |
ก |
ごま = โกมะ |
/ŋ/ |
ง |
しごと =ชิโงโตะ |
さ す せ そ |
/s/ |
ส |
しんさ = ชินสะ |
ซ |
さま = ซามะ |
し |
/ɕ/ |
ช |
しろ = ชิโระ |
ざ ず ぜ ぞ づ |
/ʣ/~/z/ |
ซ |
かぜ =คาเซะ |
じ ぢ |
/ʥ/~/ʑ/ |
จ |
じしん = จิชิง |
た て と |
/t/ |
ท |
たき = ทากิ |
ต |
かたき = คาตากิ |
ち |
/ʨ/ |
จ |
ちず =จิซึ |
つ |
/ʦ/ |
(ท)ส |
つき = (ท)สึกิ |
ตส |
まつ = มัตสึ |
(ท)ซ |
つうじ = (ท)ซือจิ |
ตซ |
ふつう = ฟุตซือ |
だ で ど |
/d/ |
ด |
きど = คิโดะ |
な ぬ ね の |
/n/ |
น |
ねこ = เนโกะ |
に |
/ɲ/ |
かに =คานิ |
は へ ほ |
/h/ |
ฮ |
はた = ฮาตะ |
ひ |
/ç/ |
ひと = ฮิโตะ |
ふ |
/ɸ/ |
ฟ |
ふじ =ฟุจิ |
ば び ぶ べ ぼ ゔ |
/b/ |
บ |
ぶり = บุริ |
ぱ ぴ ぷ ぺ ぽ |
/p/ |
ป |
しんぴ = ชิมปิ |
ま み む め も |
/m/ |
ม |
まち = มาจิ |
や ゆ よ |
/j/ |
ย |
やき = ยากิ |
ら り る れ ろ |
/ɾ/ |
ร |
りく = ริกุ |
わ |
/ɰ/ |
ว |
わら = วาระ |
ในภาษาญี่ปุ่นนั้นเสียงแถว
か นั้นอาจออกเสียงเป็น "ก" หรือ "ค" ในภาษาไทย แล้วแต่ตำแหน่งในคำหรือจังหวะในการพูดหรือแล้วแต่บุคคล แต่โดยทั่วไปแล้วเมื่อยู่พยางค์ต้นคำจะออกเสียงค่อนไปทาง "ค" นอกนั้นจะค่อนไปทาง "ก" ดังนั้นหลักการทับศัพท์นี้จึงให้เขียนเป็น "ค" เมื่ออยู่พยางค์แรก นอกนั้นเขียนเป็น "ค"
สำหรับเสียงแถว
が นั้นจะออกเสียงแตกต่างกันอย่างชัดเจนเมื่ออยู่พยางค์แรกกับกรณีอื่นๆ โดยเมื่ออยู่พยางค์แรกเป็นเสียง /g/ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย แต่ฟังดูใกล้เคียงกับ "ก" ดังนั้นให้ทับศัพท์ด้วย "ก" แต่ในกรณีอื่นจะออกเสียงเป็น "ง" ชัดเจน ดังนั้นให้แทนด้วย "ง"
เกี่ยวกับเรื่องนี้มีรายละเอียดมากมาย อ่านคำอธิบายได้ที่บทความนี้ >>
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่สำหรับแถว
さ นั้นออกเสียงเหมือน "ส" หรือ "ซ" ในภาษาไทย ยกเว้น
し จะออกเสียงเป็นเหมือน "ช" ที่ปล่อยลมแรงผ่านฟัน (IPA เขียนเป็น /ɕ/) ให้เขียนทับศัพท์เป็น "ช"
สำหรับการทับศัพท์เสียงแถว
さ (ยกเว้น
し) นั้นอาจใช้เป็น "ซ" หรือ "ส" โดยหลักการแยกแยะนั้นมีรายละเอียดยุ่งยากเล็กน้อย จึงขอแยกไปอธิบายเป็นอีกหัวข้อ เขียนไว้ด้านล่าง
เสียงแถว
ざ (ยกเว้น
じ) นั้นจะเป็นเสียงเหมือนตัว z ในภาษาอังกฤษ เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย แต่โดยทั่วไปจะทับศัพท์ด้วย "ซ" ซึ่งใกล้เคียงที่สุด การเขียนแบบนี้จะทำให้ซ้ำกับแถว
さ ในหลายกรณี แต่ข้อแตกต่างคือเสียงแถว
ざ จะใช้เป็น "ซ" ทุกกรณี จะไม่มีการใช้ "ส"
ส่วนเสียง
じ นั้นเป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย แต่จะอยู่ระหว่างเสียง "จ" กับ "ย" ในภาษาไทย ในที่นี้ให้ทับศัพท์เป็น "จ" ทั้งหมด
สำหรับ ぢ นั้นเป็นอักษรที่ปรากฏอยู่น้อย และในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันสำเนียงมาตรฐานเสียงของ ぢ ก็อ่านเหมือน
じ ดังนั้นหลักทับศัพท์ก็ให้ยึหลักดตาม
じสำหรับแถว
た (ยกเว้น
ち กับ
つ) ตรงกับเสียง "ต" หรือ "ท" ในภาษาไทย ให้ทับศัพท์โดยใช้ "ท" เมื่ออยู่พยางก์แรกของคำ นอกนั้นใช้ "ต" เหตุผลและหลักการเช่นเกียวกับกรณีเสียง "ก" และ "ค"
สำหรับ
ち นั้นจะตรงกับเสียง "จ" ในภาษาไทย แต่ก็อาจออกเสียง "ช" ได้ด้วย แต่จะพบน้อยกว่า ส่วนใหญ่แล้วการทับศัพท์เป็นภาษาไทยก็จะใช้ "จ" เป็นหลัก มีน้อยกรณีที่จะใช้ "ช" อีกทั้งถ้าหากใช้ "ช" ก็จะไปซ้ำกับเสียง
し ดังนั้นให้ทับศัพท์
ち เป็น "จ" ในทุกกรณี
เสียง
ち กับ
じ นั้นจะเขียนเป็น "จ" เหมือนกันในทุกกรณี ไม่สามารถแยกแยะได้ ซึงก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้เนื่องจากในภาษาไทยไม่มีเสียงพยัญชนะที่มาแทน
じ จริงๆได้
สำหรับเสียง
つ นั้นมีรายละเอียดมาก ขอแยกไปอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อด้านล่าง
ส่วน づ นั้นเป็นอักษรที่ปรากฏอยู่น้อย และในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันสำเนียงมาตรฐานเสียงของ づ ก็อ่านเหมือน
ず ดังนั้นหลักทับศัพท์ก็ให้ยดตาม
ずสำหรับเสียง
に นั้นจริงๆแล้วจะคล้าย "ญ" ในภาษาลาว (IPA เขียนเป็น /ɲ/) ซึ่งต่างจาก
な ぬ ね の ที่เป็น "น" จริงๆ แต่ในการเขียนโรมาจิก็เขียนเป็น n เหมือนกันหมด ในการทับศัพท์เป็นไทยก็ให้เขียนเป็น "น" ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องแยก
เสียงแถว
は นั้นตรงกับเสียง "ฮ" ภาษาไทย ยกเว้น
ひ กับ
ふ จึงให้ทับศัพท์เป็น "ฮ"
สำหรับเสียงพยัญชนะของ
ひ นั้นเป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย (IPA เขียนเป็น /ç/) เสียงอยู่ระหว่าง "ฮ" กับ "ช" แต่ในการเขียนโรมาจิมักเขียนเป็น h อีกทั้งคนญี่ปุ่นบางคนก็ออกเสียง
ひ เป็นเสียง "ฮ" ธรรมดาด้วย ดังนั้นในการเขียนเป็นภาษาไทยก็ให้เขียนเป็น "ฮ" เช่นเดียวกับ
は へ ほส่วน
ふ นั้นเป็นเสียงที่อยู่ระหว่าง "ฮ" กับ "ฟ" แต่ในการเขียนเป็นโรมาจินั้นใช้ตัว f ซึ่งแยกต่างจากตัวอื่นในแถว
は อย่างชัดเจน ดังนั้นในภาษาไทยก็จะเขียนเป็น "ฟ"
สำหรับแถว
ば นั้นออกเสียงเป็น "บ" เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นสระไหน ดังนั้นไม่มีปัญหาอะไรในการเขียนทับศัพท์ แต่นอกจากนี้แล้วยังมี
ゔ ด้วย ซึ่งเป็นอักษรที่เพิ่มเข้ามาในภาษาญี่ปุ่นเพื่อแทนเสียง /v/ ในคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ แต่เนื่องจากคนญี่ปุ่นก็ออกเสียง v ไม่ได้ โดยทั่วไปก็จะออกเป็นเสียง "บ" ดังนั้นจึงให้ทับศัพท์
ゔ เป็น "บ" ไปด้วย
การแยกใช้ "ส" กับ "ซ" สำหรับพยัญชนะแถว さ (s) ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าเสียงแถว さ อาจเขียนเป็น "ซ" หรือ "ซ" ก็ได้ แล้วแต่กรณี จึงขอนำมาสรุปหลักการแยกเป็นตารางดังนี้
เขียน |
ทับศัพท์ |
ตัวอย่าง |
ส |
เสียงสั้นพยางค์ท้าย ไม่มีตัวสะกด |
とさ = โทสะ はす = ฮาสึ ちせ = จิเสะ みそ = มิโสะ |
す เสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด |
すき = สึกิ |
ซ |
さ, せ, そ เมื่อไม่ได้อยู่พยางค์ท้าย |
さと = ซาโตะ せみ = เซมิ そば = โซบะ |
มีตัวสะกด |
さん = ซัง すんだ = ซึนดะ せっち = เซจจิ そつ = ซตสึ |
เสียงยาว |
すうじ = ซือจิ せいと = เซย์โตะ そうき = โซวกิ |
สาเหตุที่แยกเป็นกรณีแบบนี้ก็เนื่องจากความเคยชินในการเขียนของคนไทย ซึ่ง "ส" นั้นเป็นอักษรสูงตัวเดียวที่นิยมถูกใช้ในการเขียนทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ แต่พอต้องเขียนเป็นคำเป็นมักจะไม่ใช้ "ส" แต่เขียนเป็น "ซ" แทน
ส่วนกรณีของแถว
ざ นั้นให้ใช้เป็น "ซ" ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมาแบ่งแยกกรณียุ่งยากเหมือนอย่างแถว
さ การเขียนเมื่อมี "つ" (ts) เสียง
つ นั้นจะค่อนข้างพิเศษเนื่องจากแทนด้วยพยัญชนะ ๒ ตัวเขียนต่อกัน
อนึ่ง ที่จริงแล้วในทางภาษาศาสตร์เสียง
つ นั้นก็คือเสียงหน่วยเสียงพยัญชนะเดียวในภาษาญี่ปุ่น แต่เสียงที่ออกนั้นจะเหมือนเสียง "ท/ต" ต่อด้วย "ซ/ส" อีกทั้งเวลาเขียนเป็นโรมาจิจะเขียนแทนด้วย tsu และในภาษาไทยก็เลยมักเขียนเป็นพยัญชนะ ๒ ตัวต่อกันด้วย ดังนั้นในระบบทับศัพท์นี้ก็จะเขียนแบบนี้ไปด้วย
เพียงแต่กรณีที่ที่ つ เป็นพยัญชนะแรกของพยางค์อาจเขียนเป็น "ซ/ส" เฉยๆไม่ต้องมี "ท" นำก็ได้ ในที่นี้จะกำหนดให้เขียนได้ ๒ แบบ ขึ้นอยู่ความเหมาะสมตามสถานการณ์
ตัวอย่างการเขียนทั้ง ๒ แบบ
|
เติม "ท" |
ไม่เติม "ท" |
つくだに |
ทสึกุดานิ |
สึกุดานิ |
つうやく |
ทซือยากุ |
ซือยากุ |
ついたち |
ทซึยตาจิ |
ซึยตาจิ |
つづく |
ทสึซึกุ |
สึซึกุ |
つつじ |
ทซึตสึจิ |
ซึตสึจิ |
ส่วนกรณีที่ไม่ได้อยู่พยางค์แรก ให้เขียนเป็นตัวสะกด "ต" ของพยางค์ที่นำหน้า
สำหรับตัวหลังอาจใช้ "ส" หรือ "ซ" หลักการแยกใช้ให้ยึดตามกรณีแถว
さที่จำเป็นต้องอธิบายถึงเป็นพิเศษอีกอย่างก็คือการเขียนเสียงพยางค์ที่นำหน้า
つ ซึ่งจะมีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างจากเมื่อเขียนเดี่ยวๆหรือนำหน้าพยัญชนะตัวอื่น เนื่องจากในภาษาไทยเวลามีตัวสะกดมักจะเขียนรูปสระที่ต่างออกไป
หลักการเขียนทับศัพท์ในกรณีนี้อาจสรุปได้ดังนี้
|
ทับศัพท์ |
ตัวอย่าง |
あつ |
อัตสึ |
かつどん = คัตสึดง さつう = ซัตซือ |
いつ |
อิตสึ |
きつね = คิตสึเนะ いつう = อิตซือ |
うつ |
อุตสึ |
くつした = คุตสึชิตะ ふつう = ฟุตซือ |
อึตสึ |
つつみ = (ท)ซึตสึมิ ずつう = ซึตซือ |
えつ |
เอตสึ |
けつい = เคตสึอิ |
おつ |
อตสึ |
とんこつ = ทงกตสึ いしそつう = อิชิซตซือ |
จากตารางนี้จะเห็นว่ากรณีสระ
い กับ
う นั้นจะเขียนเป็นรูปสระเสียงส้นเหมือนตอนไม่มีตัวสะกด แค่เพิ่มตัวสะกด "ต" เข้ามาเท่านั้น
ส่วนสระ
あ กับ
お ซึ่งเดิมทีเวลาไม่ได้อยู่พยางค์ท้ายจะเขียนเป็นเสียงยาวเป็น "อา" กับ "โอ" นั้น ในกรณีนี้ก็ให้เปลี่ยนมาเขียนเป็นรูปเสียงสั้น เป็น "อั-" กับ "อ-"
สำหรับสระ
え นั้นถ้าไม่ได้อยู่ในพยางค์สุดท้ายให้เขียนเป็นรูปเสียงยาวตลอดแม้แต่ในกรณีที่มีตัวสะกด ไม่จำเป็นต้องเติมไม้ไต่คู้
ส่วนกรณีสระเสียงยาวหรือสระประสมนั้นก็แค่ให้ต่อด้วย ตส (หรือ ตซ) เช่น
あいつ = ไอ
ตสึしーつ = ชี
ตสึりゅうつう = ริว
ตซือぶーつ = บู
ตสึもうつうじ = โมว
ตซือจิ
きょうつう = เคียว
ตซือ
ตัวสะกด "ん" (ง, น, ม) เสียง
ん ในภาษาญี่ปุ่นนั้นเป็นตัวสะกด ซึ่งค่อนข้างพิเศษเนื่องจากเป็นได้หลายเสียง โดยอาจแบ่งได้เป็นกรณีต่างๆ ค่อนข้างซับซ้อน และในแหล่งข้อมูลแต่ละที่ก็ระบุกลไกเสียงอ่านของ
ん ไม่เหมือนกัน
ดังนั้นในที่นี้จะแค่พิจารณาหลักโดยรวมง่ายๆ โดยรวมแล้วเมื่อเขียนในภาษาไทยก็จะแทนด้วย ๓ แบบคือ แม่กง แม่กน แม่กม
กล่าวโดยทั่วไปแล้วก็คือ ถ้า
ん อยู่พยางค์ท้ายหรือตามด้วยแถว
か หรือ
が ให้เขียนเป็นแม่กง แต่ถ้าตามด้วยแถว
ば,
ぱ,
ま ให้เขียนเป็นแม่กม ส่วนกรณีอื่นๆให้ใช้แม่กนทั้งหมด หลักการแยกใช้สรุปสั้นๆได้แบบนี้เลย
ตัวอย่างเช่น
てんしんらんまん = เท
นชิ
นรั
มมั
งしんかんせん = ชิ
งกั
นเซ
งแต่ว่าถ้าต้องการอธิบายแยกละเอียดแล้วละก็ เสียงอ่านของ
ん และการทับศัพท์ในกรณีต่างๆอาจเขียนสรุปได้ดังนี้
อักษรที่ตามมา |
IPA |
ทับศัพท์ |
ตัวอย่าง |
ไม่มี |
/ɴ/ |
ง |
かのん = คานง |
แถว か แถว が |
/ŋ/ |
しんか = ชิงกะ せんご = เซงโงะ |
แถว ば แถว ぱ แถว ま |
/m/ |
ม |
さんび = ซัมบิ しんぽ = ชิมโปะ にんむ = นิมมุ |
แถว ざ (ยกเว้น じ) แถว た (ยกเว้น ち) แถว だ แถว な (ยกเว้น に) แถว ら |
/n/ |
น |
せんざい = เซนไซ しんとう = ชินโตว こんど = คนโดะ かんな = คันนะ げんろう = เคนโรว |
じ ち に |
/ɲ/ |
さんじ = ซันจิ けんちょ = เคนโจะ たんにん = ทันนิง |
แถว あ แถว さ แถว は แถว や わ |
/ɰ̃/ |
ぜんいん = เซนอิง けんさ = เคนซะ ぜんはん = เซนฮัง しんや = ชินยะ でんわ = เดนวะ |
กรณีที่อยู่พยางค์ท้ายสุดไม่มีเสียงพยัญชนะตามหลังเสียงจะออกเป็นกึ่ง "ง" กึ่ง "น" แต่ในที่นี้ให้เขียนเป็น "ง" ทั้งหมด
ส่วนกรณีที่ตามด้วยแถว
あ,
さ,
は,
や,
わ นั้นจะเป็นเสียงที่ค่อนข้างซับซ้อนและไม่มีในภาษาไทย (IPA เขียนเป็น /ɰ̃/) โดยเกิดเป็นเสียงออกจมูก ซึ่งยากจะแทนเป็นภาษาไทยได้ แต่โดยรวมแล้วก็จะเหมือนลงท้ายด้วย "น" หรือ "ง" ดังนั้นปกติจะเห็นการทับศัพท์ทั้ง "น" หรือ "ง" แต่ในที่นี้เพื่อความเป็นมาตรฐานขอกำหนดให้แทนด้วย "น" ทั้งหมดไปเลย
กรณีที่ตามด้วย
じ,
ち,
に ก็เป็นกรณีเฉพาะอีกแบบ โดยเสียงจะออกไปทาง "ญ" (IPA เขียนเป็น /ɲ/) ซึ่งจะต่างจากแม่กนธรรมดาเล็กน้อย แต่ก็ให้แทนเป็น "น" ไปเช่นกัน
จะเห็นว่าถ้าแยกกันโดยละเอียดแล้วค่อนข้างซับซ้อน แต่ในการทับศัพท์เป็นภาษาไทยอาจไม่ต้องพิจารณาขนาดนั้น ให้ยึดหลักสั้นๆว่า ตามหลัง k, g หรืออยู่พยางค์ท้ายแทนด้วย "ง" ถ้าตามหลัง b, p, m แทนด้วย "ม" และกรณีอื่นให้แทนด้วย "น"
กรณีสระควบ きゅ กับ きょ นั้นเนื่องจากว่ารูปเขียนไม่เอื้อให้ใส่ตัวสะกดต่อ แบบนั้นให้ใช้เป็นการันต์แทน
きゅん = คิว
ง์ひゅんだい = ฮิว
น์ได
きょん = เคียว
ง์ぴょんやん = เปียว
น์ยัง
ตัวสะกด "っ" ตัว っ (อักษร つ ตัวเล็ก) นั้นทำหน้าที่เป็นตัวสะกดในภาษาญี่ปุ่น โดยจะสะกดเป็นเสียงเหมือนพยัญชนะที่ตามมาข้างหลัง เวลาเขียนเป็นโรมาจิก็มักจะแทนด้วยอักษรตามพยัญชนะที่ตามหลังมา ในการทับศัพท์เป็นภาษาไทยนั้นโดยพื้นฐานแล้วก็จะแทนด้วยอักษรเหมือนที่ตามมาเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น
まっけんゆう = มั
กเกนยู
まっしろ = มั
ชชิโระ
まったく = มั
ตตากุ
ぶっだ = บุ
ดดะもっぱら = ม
ปปาระ
อนึ่ง สำหรับ っち นั้นในโรมาจิมักเขียนแทนด้วย tchi แต่นี่ก็ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องสนใจ เวลาทับศัพท์เป็นไทยให้ใช้เป็น "จจ" ไปตามปกติ ไม่ใช่ "ตจ"
こっち = ค
จจิまっちゃ = มั
จจะนอกจากนี้มีข้อยกเว้นที่ต้องกล่าวถึงเป็นพิเศษ
เช่น สำหรับกรณีที่ตามด้วยแถว
が นั้นโดยทั่วไปจะพบแต่เฉพาะในกรณีคำศัพท์ต่างประเทศ และกรณีนี้
が จะไม่ออกเสียงเป็น "ง" แม้ว่าจะไม่ได้อยู่พยางค์แรกก็ตาม ให้แทน っ ด้วย "ก" และแทนเสียง
が ด้วย "ก" ด้วย เช่น
ばっぐ (バッグ) = บั
กกุส่วนกรณีแถว
さ นั้นแม้ในพยัญชนะต้นเราจะแทนเป็น "ส" หรือ "ซ" ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น แต่เมื่อเป็นตัวสะกดให้เขียนเป็น "ส" เท่านั้น
けっそう = เค
สโซว
きっさてん = คิ
สซาเตง
ほっさ = ฮ
สสะสำหรับ っつ นั้นเนื่องจากว่า
つ นั้นแต่เดิมก็ทำให้คำที่นำหน้าต้องเขียนในรูปมีตัวสะกด "ต" อยู่แล้ว ดังนั้นแม้จะมี っ เพิ่มเข้ามาก็ให้เขียนเหมือนกรณี
つ เฉยๆ คือเป็น "ตส"
みつ = มิ
ตสึみっつ = มิ
ตสึอย่างไรก็ตาม จริงๆแล้วในการออกเสียงจริงๆนั้นกรณีที่มี っ จะยาวกว่าเพราะเพิ่มอีกจังหวะหนึ่ง เพียงแต่ในระบบทับศัพท์นี้เราได้ละเลยความแตกต่างเล็กน้อยตรงนี้ไป
ส่วนกรณีที่ っ ตามหลังแถว
は นั้นอาจเจอในคำทับศัพท์ต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะใช้แทนเสียงภาษาเยอรมัน คนญี่ปุ่นเองก็ออกเสียงนี้ไม่ได้ ดังนั้นให้ทับศัพท์เหมือนไม่มี っ อยู่
まっは (マッハ) = มา
ฮะยกเว้นกรณี
ふ จะเป็นเสียง "ฟ" ชัดเจน ให้แทนด้วย "ฟ" ไป
しゃっふる (シャッフル) = ชั
ฟฟุรุ
สำหรับกรณีที่ っ ไปนำหน้าแถว
あ,
な,
ま,
ら,
わ นั้นพบได้น้อยมาก และเป็นคำจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น และไม่ค่อยใช้ทั่วไป อาจมองข้ามไปได้ เพราะคงมีโอกาสน้อยที่จะได้ทับศัพท์คำเหล่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีโอกาสเจอคำเหล่านี้ก็พิจารณาตามความเหมาะสมไป
และเช่นเดียวกับกรณี ん สำหรับกรณีที่นำหน้าด้วยสระควบ きゅ กับ きょ นั้นให้เขียนในรูปตัวการันต์
ぎゅっと = กิว
ต์โตะ
りゅっく = ริว
ก์กุ
きょっこう = เคียว
ก์โกว
ひょっと = เฮียว
ต์โตะ
การพิจารณาเรื่องแบ่งคำ จากหลักการทับศัพท์ที่ยากมาข้างต้นจะเห็นว่าวิธีการเขียนจะเปลี่ยนไปโดยขึ้นกับตำแหน่งของพยางค์นั้นภายในคำ โดยอาจแบ่งเป็น ๓ กรณี
- อยู่พยางค์แรก
- อยู่กลางคำ
- อยู่พยางค์ท้ายสุด
เช่น て อาจเขียนเป็น "เท", "เต", "เตะ" ดังนี้
てがき =
เทงากิ
すてき = สึ
เตกิ
おきて = โอกิ
เตะดังนั้นแล้วปัญหาที่จำเป็นต้องพิจารณาก็คือเรื่องของการแบ่งคำ เพราะในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีคำประสมจำนวนมาก กรณีไหนควรจะถือว่าเป็นคำเดียวกัน กรณีไหนควรแยก เป็นเรื่องที่คลุมเครือและตัดสินได้ยากพอสมควร
โดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นพวกชื่อเฉพาะหรือคำประสมนั้นแม้จะรู้ว่ามาจากคำศัพท์หลายคำแยกกัน แต่เมื่อมารวมกันแล้วก็ให้ถือเป็นคำเดียว หลักการทับศัพท์ก็ถือว่าเป็นคำเดียว พยางค์แรก
ตัวอย่างเช่น
しもきたざわ (
下北沢) มาจาก
しも+
きた+
ざわถ้าเขียนทับศัพท์แยกคำก็จะเป็น
しも = ชิโมะ
きた = คิตะ
ざわ = ซาวะ
แต่พอเขียนรวมก็จะเป็น
しもきたざわ = ชิโมกิตาซาวะ
สำหรับชื่อคนญี่ปุ่นนั้นแบ่งเป็นนามสกุลกับชื่อต้น กรณีแบบนี้ก็แยกเช่นกัน และเวลาเขียนให้เว้นวรรคระหว่างนามสกุลกับชื่อด้วย
やまだながまさ (
山田長政) = ยามาดะ นางามาสะ
สำหรับเวลาที่จะทับศัพท์พวกคำที่เป็นประโยคนั้นก็ให้แยกเป็นคำๆ เช่น
わたしのゆりはおしごとです (
私の百合はお仕事です)
= วาตาชิโนะยุริวะโอชิโงโตะเดสึ
そらをみあげるしょうじょのひとみにうつるせかい (
空を見上げる少女の瞳に映る世界)
= โซระโอะมิอาเงรุโชวโจะโนะฮิโตมินิอุตสึรุเซไก
คำที่เป็นประโยคพวกนี้ในภาษาญี่ปุ่นจะเขียนติดกันหมด แต่ส่วนใหญ่เวลาเขียนเป็นโรมาจิจะมีการเว้นวรรค จงอาจอ้างอิงจากโรมาจิเพื่อใช้แบ่งคำได้ แต่ในการเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยนั้นแค่ใช้การแบ่งนี้เพื่อพิจารณาว่าเป็นต้นหรือกลางหรือท้ายคำ แต่ไม่จำเป็นต้องเว้นวรรค (หรืออาจจะเขียนเว้นวรรคก็ได้ แล้วแต่จะพิจารณา)
ในภาษาญี่ปุ่นมีคำช่วย เช่น
の,
は*,
が,
を,
へ*,
で,
と,
に (*は, へ เมื่อเป็นคำช่วยจะอ่าน "วะ", "เอะ" ไม่ใช่ "ฮะ", "เฮะ" โรมาจิเองก็เขียนเป็น wa, e)
ปกติแล้วพวกคำช่วยนั้นถือว่าแยกออกมาเป็นคำนึง และทำให้เกิดการแบ่งแยกคำชัดเจน ดังนั้นก็พิจารณาแยกคำได้ง่าย เช่น
ふじかわのたたかい (
富士川の戦い) = ฟุจิกาวะ
โนะทาตากาอิ
みらいへのとびら (
未来への扉) = มิไร
เอะโนะโทบิระ
あなたにありがとう = อานาตะ
นิอาริงาโตว
みかくにんでしんこうけい (
未確認で進行形) = มิกากุนิง
เดะชิงโกวเกย์
และที่ต้องพูดถึงเป็นพิเศษคือกรณีคำช่วย が นั้น แม้ว่าจะแยกคำแต่ก็ให้ถอดเป็น "งะ" ตลอดทุกกรณี ไม่ใช่ "กะ"
つきがきれい (
月がきれい) = (ท)สึกิ
งะคิเรย์
さいきん、
いもうとのようすがちょっとおかしいんだが。 (
最近、妹のようすがちょっとおかしいんだが。)
= ไซกิง อิโมวโตะโนะโยวสึ
งะจตโตะโอกาชีนดะ
งะอย่างไรก็ตาม มีพวกศัพท์หรือชื่อเฉพาะที่เกิดจากการรวมคำโดยใช้คำช่วยเช่น の หรือ が กรณีแบบนี้ก็อาจให้ถือเป็นคำเดียว
เช่น
やまのて (山手) นั้นมาจากคำว่า
やま (山) = ยามะ (แปลว่าภูเขา) กับ
て (手) = เทะ (แปลว่ามือ) โดยใช้คำช่วย
の เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ แต่คำนี้กลายเป็นชื่อเฉพาะ ดังนั้นให้เขียนเป็น "ยามาโนเตะ" ไม่ต้องแยกเป็น "ยามะโนะเทะ"
คำอื่นที่คล้ายกัน เช่น
あまのがわ (
天の川) = อามา
โนงาวะ
うつのみや (
宇都宮) = อุตสึ
โนมิยะ
กรณีที่เชื่อมด้วยคำช่วย が ก็เช่นกัน เช่น
あまがさき (
尼崎) = อามา
งาซากิ
たかまがはら (
高天原) = ทากามา
งาฮาระ
คำศัพท์ประสมที่เกิดจากการใช้ の หรือ が เชื่อม คำพวกนี้ค่อนข้างคลุมเครือว่าควรจะแยกหรือรวมดี ยังยากที่จะสรุปเป็นกฎตายตัว
โดยทั่วไปแล้วอาจมองว่าถ้าศัพท์นั้นเขียนเป็นคันจิติดกันก็น่าจะให้ถือว่าเป็นคำเดียวกันไป
たけのこ (筍, หน่อไม้) = ทาเก
โนโกะ
てのひら (掌, ฝ่ามือ) = เท
โนฮิระ
わがまま (我儘, เอาแต่ใจ) = วา
งามามะ
แต่พวกคำศัพท์ที่เขียน の คั่นชัดเจนไม่ได้มีคันจิรวมกันเป็นคำเดียวนั้นก็พิจารณาได้ยาก เช่น
ちゃのゆ (茶の湯, พิธีชงชา) = จะ
โนะยุ หรือ จา
โนยุ
おんなのこ (女の子, เด็กผู้หญิง) = อนนะ
โนะโคะ หรือ อนนา
โนโกะ
つかのま (束の間, ชั่วพริบตา) = (ท)สึกะ
โนะมะ หรือ (ท)สึกา
โนมะ
ดังนั้นแล้วจะให้รวมเป็นคำเดียวหรืออาจแล้วแต่พิจารณาอีกที ตรงนี้เป็นที่มีความเรื่องซับซ้อน ที่เขียนไว้ตรงนี้แค่พอเป็นแนวทาง ถึงเวลาใช้จริงอาจต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม
ข้อยกเว้น มีคำภาษาญี่ปุ่นจำนวนนึงที่ถูกใช้ในภาษาไทยมานานจนคุ้นเคยกันดีและเป็นที่นิยมไปแล้ว คำเหล่านี้อาจพิจารณาให้ยึดรูปการเขียนตามเดิมเพื่อไม่ให้ขัดต่อความเคยชินของคนส่วนใหญ่ เช่น
คำ |
ตามหลักทับศัพท์ |
ตามความนิยม |
東京 (とうきょう) |
โทวเกียว |
โตเกียว |
京都 (きょうと) |
เคียวโตะ |
เกียวโต |
寿司 (すし) |
สึชิ |
ซูชิ |
餃子 (ぎょうざ) |
เกียวซะ |
เกี๊ยวซ่า |
酒 (さけ) |
ซาเกะ |
สาเก |
空手 (からて) |
คาราเตะ |
คาราเต้ |
相撲 (すもう) |
สึโมว |
ซูโม่ |
忍者 (にんじゃ) |
นินจะ |
นินจา |
芸者 (げいしゃ) |
เกย์ชะ |
เกอิชา |
将軍 (しょうぐん) |
โชวงุง |
โชกุน |
円 (えん) |
เอง |
เยน |
เพียงแต่ว่าคำไหนถึงจะถือว่าเป็นคำที่นิยมแล้ว ขอบเขตนั้นคลุมเครือ ต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเคยชินของแต่ละคน ดังนั้นให้พิจารณามองเป็นแนวทางไปตามความเหมาะสม
ตัวอย่างการใช้ ต่อจากนี้ไปจะยกตัวอย่างเพิ่มเติมโดยใช้คำทั่วไปเพื่อให้เห็นภาพการใช้งาน
รายชื่อจังหวัดในญี่ปุ่น รวมทั้งหมด ๔๓ จังหวัด
คันจิ |
ฮิรางานะ |
ทับศัพท์ |
北海道 |
ほっかいどう |
ฮกไกโดว |
青森 |
あおもり |
อาโอโมริ |
岩手 |
いわて |
อิวาเตะ |
宮城 |
みやぎ |
มิยางิ |
秋田 |
あきた |
อากิตะ |
山形 |
やまがた |
ยามางาตะ |
福島 |
ふくしま |
ฟุกุชิมะ |
茨城 |
いばらき |
อิบารากิ |
栃木 |
とちぎ |
โทจิงิ |
群馬 |
ぐんま |
กุมมะ |
埼玉 |
さいたま |
ไซตามะ |
千葉 |
ちば |
จิบะ |
東京 |
とうきょう |
โทวเกียว (โตเกียว) |
神奈川 |
かながわ |
คานางาวะ |
新潟 |
にいがた |
นีงาตะ |
富山 |
とやま |
โทยามะ |
石川 |
いしかわ |
อิชิกาวะ |
福井 |
ふくい |
ฟุกุอิ |
山梨 |
やまなし |
ยามานาชิ |
長野 |
ながの |
นางาโนะ |
岐阜 |
ぎふ |
กิฟุ |
静岡 |
しずおか |
ชิซึโอกะ |
愛知 |
あいち |
ไอจิ |
三重 |
みえ |
มิเอะ |
滋賀 |
しが |
ชิงะ |
京都 |
きょうと |
เคียวโตะ (เกียวโต) |
大阪 |
おおさか |
โอซากะ |
兵庫 |
ひょうご |
เฮียวโงะ |
奈良 |
なら |
นาระ |
和歌山 |
わかやま |
วากายามะ |
鳥取 |
とっとり |
ทตโตริ |
島根 |
しまね |
ชิมาเนะ |
岡山 |
おかやま |
โอกายามะ |
広島 |
ひろしま |
ฮิโรชิมะ |
山口 |
やまぐち |
ยามางุจิ |
徳島 |
とくしま |
โทกุชิมะ |
香川 |
かがわ |
คางาวะ |
愛媛 |
えひめ |
เอฮิเมะ |
高知 |
こうち |
โควจิ |
福岡 |
ふくおか |
ฟุกุโอกะ |
佐賀 |
さが |
ซางะ |
長崎 |
ながさき |
นางาซากิ |
熊本 |
くまもと |
คุมาโมโตะ |
大分 |
おおいた |
โออิตะ |
宮崎 |
みやざき |
มิยาซากิ |
鹿児島 |
かごしま |
คาโงชิมะ |
沖縄 |
おきなわ |
โอกินาวะ |
รายชื่อแคว้นในอดีตของญี่ปุ่น ๖๙ แคว้น
คันจิ |
ฮิรางานะ |
ทับศัพท์ |
薩摩 |
さつま |
ซัตสึมะ |
大隅 |
おおすみ |
โอสึมิ |
日向 |
ひゅうが |
ฮิวงะ |
肥後 |
ひご |
ฮิโงะ |
豊後 |
ぶんご |
บุงโงะ |
筑後 |
ちくご |
จิกุโงะ |
肥前 |
ひぜん |
ฮิเซง |
筑前 |
ちくぜん |
จิกุเซง |
豊前 |
ぶぜん |
บุเซง |
壱岐 |
いき |
อิกิ |
対馬 |
つしま |
(ท)สึชิมะ |
長門 |
ながと |
นางาโตะ |
周防 |
すおう |
สึโอว |
安芸 |
あき |
อากิ |
備後 |
びんご |
บิงโงะ |
備中 |
びっちゅう |
บิจจู |
美作 |
みまさか |
มิมาซากะ |
備前 |
びぜん |
บิเซง |
播磨 |
はりま |
ฮาริมะ |
石見 |
いわみ |
อิวามิ |
出雲 |
いずも |
อิซึโมะ |
伯耆 |
ほうき |
โฮวกิ |
隠岐 |
おき |
โอกิ |
因幡 |
いなば |
อินาบะ |
但馬 |
たじま |
ทาจิมะ |
丹後 |
たんご |
ทังโงะ |
丹波 |
たんば |
ทัมบะ |
伊予 |
いよ |
อิโยะ |
土佐 |
とさ |
โทสะ |
阿波 |
あわ |
อาวะ |
讃岐 |
さぬき |
ซานุกิ |
淡路 |
あわじ |
อาวาจิ |
紀伊 |
きい |
คิอิ |
大和 |
やまと |
ยามาโตะ |
河内 |
かわち |
คาวาจิ |
山城 |
やましろ |
ยามาชิโระ |
和泉 |
いずみ |
อิซึมิ |
摂津 |
せっつ |
เซตสึ |
若狭 |
わかさ |
วากาสะ |
越前 |
えちぜん |
เอจิเซง |
加賀 |
かが |
คางะ |
越中 |
えっちゅう |
เอจจู |
能登 |
のと |
โนโตะ |
越後 |
えちご |
เอจิโงะ |
佐渡 |
さど |
ซาโดะ |
志摩 |
しま |
ชิมะ |
伊勢 |
いせ |
อิเสะ |
伊賀 |
いが |
อิงะ |
尾張 |
おわり |
โอวาริ |
三河 |
みかわ |
มิกาวะ |
遠江 |
とおとうみ |
โทโตวมิ |
駿河 |
するが |
สึรุงะ |
伊豆 |
いず |
อิซึ |
甲斐 |
かい |
คาอิ |
相模 |
さがみ |
ซางามิ |
武蔵 |
むさし |
มุซาชิ |
下総 |
しもうさ |
ชิโมวสะ |
上総 |
かずさ |
คาซึสะ |
安房 |
あわ |
อาวะ |
常陸 |
ひたち |
ฮิตาจิ |
近江 |
おうみ |
โอวมิ |
美濃 |
みの |
มิโนะ |
飛騨 |
ひだ |
ฮิดะ |
信濃 |
しなの |
ชินาโนะ |
上野 |
こうずけ |
โควซึเกะ |
下野 |
しもつけ |
ชิมตสึเกะ |
陸奥 |
むつ |
มุตสึ |
出羽 |
でわ |
เดวะ |
蝦夷 |
えぞ |
เอโซะ |