φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



numpy & matplotlib เบื้องต้น บทที่ ๑๓: ฮิสโทแกรม
เขียนเมื่อ 2016/06/11 22:05
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในบทที่แล้วพูดถึงแผนภูมิแท่งไปแล้ว บทนี้จะพูดถึงแผนภูมิแท่งที่มีรูปแบบพิเศษชนิดหนึ่ง นั่นคือฮิสโทแกรม

ฮิสโทแกรมคือแผนภูมิแท่งที่มีไว้ใช้แจกแจงความถี่ของข้อมูล ว่าข้อมูลในแต่ละช่วงมีจำนวนเท่าไหร่ มีความสำคัญมากในการวิเคราะห์ทางสถิติ



การสร้างฮิสโทแกรม
เราจะสร้างฮิสโทแกรมจาก plt.bar ก็ได้ แต่ก็ยุ่งยาก ใน matplotlib มีฟังก์ชันที่ใช้สร้างฮิสโทแกรมโดยเฉพาะ นั่นคือ plt.hist

การใช้ hist นั้นต้องการอาร์กิวเมนต์แค่ตัวเดียวคือกลุ่มข้อมูลที่ต้องการนำมาแจกแจง ความถี่ และมีคีย์เวิร์ดที่สำคัญตัวหนึ่งคือ bins คือจำนวนช่วงของข้อมูลที่ต้องการแบ่ง

ตัวอย่าง
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

x = np.linspace(-10,10,1000)**3
plt.hist(x,bins=100)
plt.show()



หากใส่คีย์เวิร์ด density=1 ไปด้วยจะเป็นการหาความหนาแน่น คือคิดค่าข้อมูลเป็นสัดส่วนต่อข้อมูลทั้งหมด ซึ่งบวกกันทั้งหมดแล้วจะเป็น 1
x = np.linspace(-10,10,1000)**3
plt.hist(x,bins=100,density=1,color='g')
plt.show()



** คีย์เวิร์ดในเวอร์ชันเก่าจะใช้ชื่อเป็น normed แต่เวอร์ชันปัจจุบันเปลี่ยนเป็น density แทน



การนำข้อมูลหลายชุดมาประกอบกัน
หากมีข้อมูลอยู่หลายชุดสามารถใส่อาร์กิวเมนต์เป็นลิสต์ของชุดข้อมูล แล้วข้อมูลจะทำการผูกติดเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ
x1 = np.linspace(-10,10,1000)**3
x2 = np.linspace(-10,10,2000)**3+500
x3 = np.linspace(-10,10,1000)**3+1000
plt.hist([x1,x2,x3],bins=10)
plt.show()



ถ้าเพิ่มคีย์โดยใส่ stacked=1 ลงไปจะกลายเป็นว่ารวมต่อกันในแนวตั้ง
x1 = np.linspace(-10,10,1000)**3
x2 = np.linspace(-10,10,2000)**3+500
x3 = np.linspace(-10,10,1000)**3+1000
plt.hist([x1,x2,x3],bins=10,stacked=1,ec='k')
plt.show()



จะลองใส่แยกโดยใช้ hist ๓ ครั้งก็ได้ จะได้ฮิสโทแกรมที่ซ้อนทับกัน ถ้าอยากให้เห็นทั้งหมดก็ใส่คีย์เวิร์ด alpha ลงไปให้มีความโปร่งใสขึ้นมาได้
x1 = np.linspace(-10,10,1000)**3
x2 = np.linspace(-10,10,2000)**3+500
x3 = np.linspace(-10,10,1000)**3+1000
plt.hist(x1,bins=10,alpha=0.5,ec='k')
plt.hist(x2,bins=10,alpha=0.5,ec='k')
plt.hist(x3,bins=10,alpha=0.5,ec='k')
plt.show()





การกำหนดช่วงของช่องเอาเอง
จำนวนแท่งของฮิสโทแกรมนั้นปกติจะกำหนดจากค่า bins ที่ใส่ลงไป แต่ค่า bins นั้นนอกจากจะกำหนดเป็นจำนวนช่องแล้ว หากต้องการกำหนดช่วงตามที่ต้องการเองก็ยังทำได้ด้วย โดยใช้ใส่ค่า bins เป็นลิสต์ของค่าตำแหน่งที่จะใช้เป็นตัวแบ่ง

กรณีนี้เราสามารถสร้างแท่งฮิสโทแกรมที่มีช่วงแบ่งไม่สม่ำเสมอได้

ตัวอย่าง
x1 = np.linspace(-10,10,1000)**3
x2 = np.linspace(-10,10,2000)**3+500
x3 = np.linspace(-10,10,1000)**3+1000
bins = np.linspace(-10,10,10)**3
plt.hist([x1,x2,x3],bins=bins,stacked=1,ec='k')
plt.show()



จะเห็นว่าช่วงแบ่งไม่จำเป็นจะต้องสม่ำเสมอเท่ากันหมด แต่ถ้าเราแบ่งช่วงให้ไม่เท่ากันก็จะได้แผนภูมิที่แท่งกว้างไม่เท่ากันด้วย



ฮิสโทแกรมแนวนอน
เช่นเดียวกับแผนภูมิแท่งธรรมดา ฮิสโทแกรมเองก็สามารถทำให้วางแนวนอนได้ แต่ว่าไม่ใช่ด้วยการใช้ฟังก์ชันตัวอื่น แค่ต้องเพิ่มคีย์เวิร์ดลงไปเท่านั้น

แค่ใส่ orientation='horizontal' ลงไปเท่านี้แผนภูมิก็จะเรียงในแนวนอน

ตัวอย่าง
x1 = np.linspace(-1,1,10000)**3
plt.hist(x1,bins=100,alpha=0.5,orientation='horizontal')
plt.show()





อ้างอิง


<< บทที่แล้ว     บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文