φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



pytorch เบื้องต้น บทที่ ๓: อนุพันธ์ของเทนเซอร์
เขียนเมื่อ 2018/09/08 09:54
แก้ไขล่าสุด 2022/07/09 18:13
>> ต่อจาก บทที่ ๒



อนุพันธ์และการแพร่ย้อนกลับ

เทนเซอร์ของ pytorch มีคุณสมบัติในตัวที่ทำให้สามารถคำนวณค่าอนุพันธ์ได้ง่ายดาย

การจะทำให้เทนเซอร์ใช้ความสามารถเรื่องการหาอนุพันธ์ได้ก่อนอื่นต้องทำการตั้งค่าแอตทริบิวต์ .requires_grad ให้เป็น True

ถ้าหากไม่ตั้งไว้ โดยทั่วไปค่าตั้งต้นจะเป็น .requires_grad = False แบบนี้เวลาคำนวณก็จะไม่มีการเก็บค่าความชันไว้

แค่ตั้ง .requires_grad = True ไว้ เวลาใช้เทนเซอร์ตัวนั้นในการคำนวณก็จะมีการสร้างกราฟคำนวณบันทึกเส้นทางการคำนวณไว้ เชื่อมต่อกับตัวแปรที่ได้จากการคำนวณของตัวนั้น

เทนเซอร์มีเมธอด .backward() ซึ่งเมื่อพอใช้ไปแล้วจะทำการคำนวณแพร่ย้อนกลับเพื่อคำนวณอนุพันธ์ของตัวต้นทางทั้งหมด

เพียงแต่ว่าเทนเซอร์ที่คำนวณ .backward() นั้นจะต้องเป็นปริมาณเลขตัวเดียว เช่นเทนเซอร์ที่ได้จากเมธอด .sum() หรือ .mean() หรือด็อตเวกเตอร์ด้วย .matmul()

จากนั้นค่าอนุพันธ์จะถูกเก็บไว้ที่แอตทริบิวต์ .grad

ขอยกตัวอย่างง่ายๆเป็นสมการด็อตเวกเตอร์แบบนี้
..(3.1)

สร้างตัวแปรแล้วคูณกันแล้วทำการคำนวณอนุพันธ์
import torch
x = torch.Tensor([1,2,3])
w = torch.Tensor([3,4,5])
w.requires_grad = True
a = torch.matmul(w,x)
a.backward()
print(a.grad) # ได้ None
print(w.grad) # ได้ tensor([1., 2., 3.])
print(x.grad) # ได้ None

ในที่นี้ a เป็นตัวเริ่มต้นใช้ .backward() เองดังนั้นจะไม่มีค่า .grad

ส่วน x ไม่ได้แก้ให้ .requires_grad = True ตั้งแต่แรก จึงไม่มีค่า .grad เช่นกัน

ในขณะที่ w.grad จะได้ค่าอนุพันธ์ตามที่ควรจะเป็น คือเท่ากับ x

แต่ทีนี้ถ้าทำการคำนวณซ้ำเดิม แล้วหาอนุพันธ์อีกรอบจะพบว่าค่าที่ได้ถูกบวกเพิ่มจากค่าเดิม
c = torch.matmul(w,x)
c.backward()
print(w.grad) # ได้ tensor([2., 4., 6.])

ที่เป็นแบบนี้เพราะว่าค่าที่คำนวณค้างไว้จากครั้งก่อนยังอยู่ ไม่ได้ถูกเขียนทับไปแต่จะเป็นการบวกเพิ่ม

ดังนั้นก่อนการคำนวณครั้งใหม่หากไม่ต้องการให้บวกเพิ่มจะต้องทำการล้างอนุพันธ์เดิมทิ้ง โดยให้ = None
w.grad = None
c = torch.matmul(w,x)
c.backward()
print(w.grad) # ได้ tensor([1., 2., 3.])

และเทนเซอร์ที่เคยใช้ .backward() ไปแล้ว ปกติถ้าทำซ้ำอีกจะ error
c.backward() # RuntimeError

หากต้องการให้สามารถมีการคำนวณย้อนซ้ำได้ใหม่ต้องใส่ retain_graph=True ตอนสั่ง .backward() ครั้งแรก
w.grad = None
a = torch.matmul(w,x)
a.backward(retain_graph=True)
a.backward()
print(w.grad) # ได้ tensor([2., 4., 6.])


ข้อควรระวัง

เรื่องหนึ่งที่ต้องระวังคือเทนเซอร์ที่ .requires_grad=True นั้นไม่สามารถแก้ค่าได้โดยตรง ถ้าจะแก้ค่าต้องพิมพ์ .data ต่อท้าย
w = torch.Tensor([7,1])
w.requires_grad = True
w += 1 # RuntimeError
print(w.data) # ได้ tensor([7., 1.])
w.data += 1
print(w.data) # ได้ tensor([8., 2.])
print(w) # ได้ tensor([8., 2.], requires_grad=True)

นอกจากนี้ยังไม่สามารถแปลงเป็น numpy ได้โดยตรงด้วย ต้องพิมพ์ .data ต่อท้ายก่อนเช่นกัน
w = torch.Tensor([4,6])
w.requires_grad = True
w.numpy() # RuntimeError
print(w.data.requires_grad) # ได้ False
print(w.data.numpy()) # ได้ [ 4.  6.]

.data เป็นข้อมูลที่อยู่ภายในเทนเซอร์ ซึ่งก็เป็นเทนเซอร์เหมือนกัน แต่ว่า .requires_grad จะกลายเป็น False ดังนั้นจึงแปลงเป็นอาเรย์ของ numpy ได้ และยังสามารถแก้ค่าภายในได้



การถดถอยเชิงเส้น

ด้วยคุณสมบัติในการหาความชันได้โดยง่ายของเทนเซอร์ ทำให้นำมาใช้ในการสร้างโครงข่ายประสาทเทียมง่ายๆ

ในที่นี้จะเริ่มจากปัญหาง่ายๆอย่างการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นก่อน

ยกตัวอย่างปัญหาง่ายๆอย่างปัญหาหนึ่งมิติคือมีค่าตัวแปรต้น x และตัวแปรตาม z ซึ่งเขียนกราฟความสัมพันธ์กันดังนี้



ข้อมูลและกราฟสร้างขึ้นมาจากโค้ดดังนี้
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt
x = np.random.uniform(0,1,70)
z = x*0.6+np.random.normal(0.5,0.05,70)
plt.scatter(x,z,c='b',edgecolor='r')
plt.show()

ต้องการหาฟังก์ชันของ z ในรูปของ wx+b โดยหาค่า w และ b ที่เหมาะที่สุด

เราทำได้โดยใช้วิธีการเคลื่อนลงตามความชัน คำนวณค่า h=wx+b แล้วก็เทียบกับ z แล้วหาค่าผลต่างกำลังสองเฉลี่ย
..(3.2)

จากนั้นความชันของค่าเสียหายนี้จะถูกใช้สำหรับปรับค่าพารามิเตอร์
..(3.3)

โดย η คืออัตราการเรียนรู้

ในการคำนวณค่าเสียหายผลต่างกำลังสองเฉลี่ยใน pytorch อาจใช้ torch.nn.functional.mse_loss หรือจะคำนวณโดยตรงโดยลบกันแล้วยกกำลังสองแล้วหาค่าเฉลี่ยก็ได้

นอกจากนี้อาจสร้างฟังก์ชันสำหรับหาค่าผลต่างกำลังสองเตรียมไว้จากคลาส torch.nn.MSELoss ก็ได้ ในที่นี้จะใช้วิธีนี้

เขียนโค้ดเพื่อทำการถดถอยได้ดังนี้
x = torch.Tensor(x) # แปลงอาเรย์เป็นเทนเซอร์เพื่อจะใช้
z = torch.Tensor(z)
w = torch.tensor(0.) # พารามิเตอร์น้ำหนัก
w.requires_grad = True
b = torch.tensor(0.) # พารามิเตอรไบแอส
b.requires_grad = True
eta = 0.1 # อัตราการเรียนรู้
ha_mse = torch.nn.MSELoss() # เตรียมฟังก์ชันหาค่าเสียหาย
n_thamsam = 100 # จำนวนรอบที่จะทำซ้ำ
for i in range(n_thamsam):
    h = x*w+b # หาคำตอบจากการคำนวณ
    J = ha_mse(h,z) # คำนวณค่าเสียหาย
    #หรือ J = ((h-z)**2).mean()
    #หรือ J = torch.nn.functional.mse_loss(h,z)
    J.backward() # ทำการแพร่ย้อน
    w.data -= eta*w.grad # ปรับพารามิเตอร์
    b.data -= eta*b.grad
    w.grad = None # ล้างค่าอนุพันธ์
    b.grad = None

# แปลงค่าที่ได้ให้เป็นอาเรย์ numpy
w = w.data.numpy()
b = b.data.numpy()

# วาดกราฟแสดงผลที่ได้
mx = np.linspace(-0.1,1.1,200)
mz = mx*w+b
plt.scatter(x,z,c='b',edgecolor='r')
plt.plot(mx,mz,'g')
plt.show()




ผลออกมาได้เส้นตรงลากผ่านจุดข้อมูลอย่างเหมาะสม

วิธีการแบบนี้ดูง่ายกว่าการใช้ numpy ล้วนๆตรงที่ไม่ต้องคำนวณอนุพันธ์เอง แต่เทนเซอร์คำนวณให้อัตโนมัติด้วยเมธอด .backward()

แต่ถึงอย่างนั้นการที่ต้องคอยสร้างเทนเซอร์ของพารามิเตอร์ในชั้นคำนวณเองแบบนี้ทำให้ยังไม่สะดวกนัก จึงไม่ใช่วิธีที่ทำกันจริงๆ

วิธีที่ใช้จริงๆในการคำนวณการเคลื่อนลงตามความชันภายใน pytorch คือการใช้ชั้นคำนวณต่างๆซึ่งมีพารามิเตอร์ติดอยู่ภายใน เช่นชั้นคำนวณเชิงเส้น torch.nn.Linear ซึ่งจะกล่าวถึงบทต่อไป



>> อ่านต่อ บทที่ ๔


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pytorch

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文