φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



ป้อมประตูเมืองเก่า หย่งติ้งเหมิน
เขียนเมื่อ 2011/11/20 00:41
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 14 พ.ย. 2011

ช่วงนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของฤดูใบไม้ร่วงที่เราจะพอไปเที่ยวไหนมาไหนได้อย่างเพลิดเพลินสบายใจแล้ว ก็เลยไปเที่ยวมาหลายที่รอบปักกิ่ง หลังจากที่เมื่อศุกร์ที่แล้วนั้นไปเที่ยวแท่นบูชาศตวรรษกับสวนสาธารณะยวี่ยวนถานแล้ว

จันทร์ต่อมาก็ได้ไปเที่ยวสวนสาธารณะเถาหรานถิง (陶然亭公园) https://phyblas.hinaboshi.com/20111213

แล้วก็เลยเดินต่อไปเที่ยวหย่งติ้งเหมิน (永定门) ซึ่งอยู่ใกล้กันต่อ

สำหรับครั้งนี้จะขอเล่าถึงหย่งติ้งเหมินก่อน หลังจากนั้นมีเวลาจะกลับมาเล่าถึงสวนสาธารณะเถาหรานถิงต่อ



หย่งติ้งเหมิน (永定门) เป็นหนึ่งในป้อมประตูเมืองเก่าของปักกิ่งที่สร้างมานานตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงแล้ว เมื่อก่อนปักกิ่งมีกำแพงล้อมเมืองและประตูเหล่านี้ก็เป็นทางเข้าออก ซึ่งมีอยู่เต็มไปหมดรอบตัวเมือง ปัจจุบันกำแพงเมืองถูกทำลายหมดแล้ว ป้อมประตูเองก็ถูกทำลายจนเกือบหมด จะเห็นให้เหลืออยู่บ้าง บางป้อมก็เหลือแค่ส่วนของหอธนูหรือส่วนประกอบที่แสดงถึงร่องรอยว่าเคยมีป้อมประตูอยู่เท่านั้นเอง

ภาพนี้เป็นตำแหน่งของป้อมประตูต่างๆรอบปักกิ่ง จะเห็นหย่งติ้งเหมินอยู่ใต้สุดตรงกลาง และจุดเขียวขนาดใหญ่ใกล้ๆทางขวาก็คือแท่นบูชาสวรรค์เทียนถาน (天坛) สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังที่คนมาปักกิ่งจะต้องแวะมา


(ภาพจาก wikipedia)

หย่งติ้งเหมินตั้งอยู่ทางทิศใต้สุดตรงกลางของช่วงใต้ของถนนวงแหวนที่สอง (二环路) ของปักกิ่ง ไม่มีสายรถไฟฟ้าผ่านใกล้แถวนี้ดังนั้นการเดินทางมาอาจลำบากสักหน่อย แต่ถ้าใครมาเที่ยวเทียนถานอาจแวะมาได้เพราะอยู่ใกล้กัน

สำหรับของหย่งติ้งเหมินนี้ที่จริงก็เคยถูกรื้อทิ้งไปแล้วตั้งแต่ปี 1957 แต่อันที่เห็นนี้คือสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี 2005 นี้เอง ถูกสร้างให้เหมือนของเดิม จะต่างกันก็ตรงที่สภาพมันดูใหม่มาก

ด้านเหนือของประตู หรือก็คือที่เรียกว่าด้านใน เพราะประตูนี้ถือเป็นประตูใต้ เมื่อก้าวเข้ามาฝั่งเหนือก็คือเข้ามาด้านในตัวเมือง เป็นถนนคนเดินโล่งยาวที่มีสวนล้อมรอบ



ตอนที่มาเราผ่านที่นี่โดยมาจากทางเถาหรานถิงซึ่งอยู่ทางตะวันตกของที่นี่ ผ่านถนนหย่งติ้งเหมินซี (永定门西街) ชื่อถนนนี้ตั้งตามชื่อหย่งติ้นเหมินนั่นเอง ส่วนคำว่า ซี (西) แปลว่าตะวันตก จึงมีความหมายว่า "ถนนที่อยู่ทางตะวันตกของหย่งติ้งเหมิน"

รูปนี้จะเห็นหย่งติ้งเหมินมาแต่ไกล



เมื่อมาถึงจุดนี้เราจึงได้รู้ว่าการเข้าถึงตัวหย่งติ้งเหมินนั้นไม่ง่ายเลย มีถนนล้อมรอบ และยังต้องมุดทางใต้ดินไปด้วย



ทางใต้ดินนี้ต้องลอดเพื่อเดินผ่านหย่งติ้งเหมินในแนวตะวันตกตะวันออก



ข้างในมีแยกทางเดินชัดเจนระหว่างรถยนต์ รถจักรยาน และคนเดิน



แล้วเราก็ข้ามไปถึงฝั่งตะวันออกของหย่งติ้งเหมินอย่างไม่รู้ตัว ที่จริงตั้งใจจะโผล่ตรงกลางกำแพง แต่เดินเลยไปเฉย



กว่าจะหาทางขึ้นมาสู่บริเวณลานกว้างหน้าประตูได้ ทางใต้ดินมันซับซ้อนเล็กน้อย



ฝั่งหน้าประตูก็เป็นลานกว้าง แต่ไม่ได้ใหญ่อะไรมาก นี่เป็นรูปด้านหน้าประตู หรือฝั่งนอกกำแพงเมือง



จากนั้นก็อ้อมไปดูด้านหลังอีกด้าน ด้านนี้เป็นฝั่งในกำแพงเมือง



จากตรงนี้ไปก็เป็นทางเดินยาวแล้ว เราเดินไปเรื่อยๆแล้วหันกลับมาก็จะเห็นหย่งติ้งเหมินอยู่ในมุมสวยทีเดียว



ทางเดินที่ทอดยาวไปเรื่อยๆเมื่อผ่านประตูหย่งติ้งเหมือนเข้ามา (พูดให้ถูกคือไม่ได้ผ่าน แต่อ้อมเข้ามาต่างหาก เพราะประตูมันไม่ได้เปิด)



สวนข้างทาง สวยดีนะ ช่วงนี้ปลายฤดูใบไม้ร่วง ใบไม้เปลี่ยนสีเหลืองสวยงามได้ที่









ทางเดินถูกแบ่งครึ่งด้วยประตูนี้



เมื่อผ่านไปก็เป็นทางเดินต่ออีก แต่ไม่ได้สวยเท่าส่วนที่ใกล้กับประตู



จากส่วนนี้มองกลับไปก็ยังเห็นหย่งติ้งเหมินซึ่งชักจะไกลลับไปทุกที



ทางเดินก็มาสิ้นสุดที่ตรงนี้



ฝั่งซ้ายมีห้างเทียนเฉียว (天桥百货商场, เทียนเฉียวไป่ฮั่วซางฉ่าง) ก็ไม่มีอะไร เป็นแค่ห้างเล็กๆ



ภายในห้างก็มีศูนย์อาหาร ราคาไม่แพง มานั่งกินมื้อเย็นพักเหนื่อยก่อนเดินทางกลับ



ปลายทางของถนนคนเดินนี้อยู่ใกล้กับประตูทิศตะวันตกของแท่นบูขาสวรรค์เทียนถาน (天坛) ซึ่งเคยไปเที่ยวมาแล้วตั้งแต่ตอนมาถึงปักกิ่งใหม่ๆ ครั้งนี้จึงไม่ได้กะจะแวะเข้าไป




หลังจากเที่ยวเสร็จฟ้าก็เริ่มคล้อยใกล้มืดแล้ว แม้จะเพิ่งแค่ ๕ โมง เนื่องจากช่วงนี้เข้าใกล้ฤดูหนาว กลางคืนจะยาวนาน โชคดีจากตรงนี้ขากลับมีรถเมล์สาย 626 ที่วิ่งต่อเดียวไปถึงหอพักที่เราอยู่ได้เลย แต่ต้องนั่งชั่วโมงกว่ากว่าจะถึง เมื่อกลับไปถึงฟ้าก็มืดสนิทและความหนาวเหน็บก็มาเยือน



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ