φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



สวนฟอสซิลและธรณีวิทยาจีนเยอรมัน สถานที่ขุดพบฟอสซิล
เขียนเมื่อ 2015/07/30 23:59
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 24 พ.ค. 2015

หลังจากที่เดินทางมาถึงเมืองจิ่นโจวและได้เที่ยวไปในวันแรกแล้วโดยปิดท้ายด้วยชมทะเลแหวกที่ปี่เจี้ยซาน https://phyblas.hinaboshi.com/20150728

วันต่อมาคราวนี้จะเป็นการเที่ยวในอี้เซี่ยน (义县) ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองจิ่นโจวออกไปทางเหนือ

อี้เซี่ยนเป็นสถานที่สำคัญในด้านประวัติศาสตร์มากเพราะมีโบราณสถานที่สำคัญ อีกทั้งยังเป็นแหล่งขุดพบซากฟอสซิลด้วย

เป้าหมายของการเดินทางมายังอี้เซี่ยนครั้งนี้คือสถานที่เที่ยว ๔ ที่ ซึ่งอยู่ในเมือง ๒ แห่ง และนอกเมืองต้องนั่งรถออกไปอีก ๒ แห่ง

เราเริ่มจากสถานที่ที่อยู่นอกเมืองก่อนเพราะไปลำบากกว่า แล้วจึงไปเที่ยวสถานที่ที่อยู่ในเมือง

เป้าหมายแรกที่ไปคือสวนฟอสซิลและธรณีวิทยาจีนเยอรมัน (中德化石地质公园) จากนั้นตามด้วยถ้ำหินว่านฝัวถาง (万佛堂石窟) ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน



สวนฟอสซิลและธรณีวิทยาจีนเยอรมันตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีการขุดพบซากฟอสซิลในอำเภออี้เซี่ยน ทางรัฐบาลท้องถิ่นอี้เซี่ยนได้ร่วมมือกับนักสะสมฟอสซิลชาวเยอรมันสร้างที่นี่ขึ้นมาในปี 2008

ภายในบริเวณประกอบไปด้วยพิพิธภัณฑ์ฟอสซิลบรรพชีวิน (古生物化石博物馆) และรอบๆเป็นสวนริมน้ำซึ่งรายล้อมไปด้วยทุ่งและหุบเขา

อันที่จริงแล้วที่นี่ไม่ค่อยน่าสนใจดังที่หวังไว้ และก็ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นที่รู้จัก แม้จะสร้างขึ้นในบริเวณที่มีการขุดพบฟอสซิลแต่ก็ไม่ได้มีอะไรให้ดูนัก



การเดินทางไปยังอี้เซี่ยนนั้นต้องนั่งรถจากท่ารถที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสถานีรถไฟ ตัวท่ารถไม่ค่อยเด่นชัด หากไม่แน่ใจสามารถถามคนแถวนั้นได้ว่าไปยังไง

เราออกจากโรงแรมก่อนเจ็ดโมง แล้วก็เดินมาทางสถานีรถไฟ แล้วก็เดินลอดอุโมงค์เพื่อข้ามไปฝั่งเหนือของทางรถไฟ



จากนั้นเดินต่อไปอีกหน่อย



แล้วเลี้ยวขวาก็จะมาเจอกับบริเวณที่ขึ้นรถสำหรับไปยังอี้เซี่ยน มีป้ายเขียนไว้อยู่ว่า 义县-锦州 คือ อี้เซี่ยน-จิ่นโจว



ขึ้นไปบนรถ



บัตรราคา ๑๓.๕ หยวน




ใช้เวลาประมาณชั่วโมงกว่าไม่ถึงชั่วโมงครึ่งก็เดินทางมาถึงท่ารถอี้เซี่ยน



เนื่องจากสถานที่ที่จะไปนั้นอยู่นอกเมืองและนั่งรถเมล์ไม่ค่อยสะดวกจึงตั้งใจไว้แต่แรกว่าจะหารถรับจ้างไป โดยเริ่มจากไปสวนฟอสซิลและธรณีวิทยาจีนเยอรมันก่อนจากนั้นก็ต่อด้วยถ้ำหินว่านฝัวถาง


จากตรงนั้นเราออกมาแล้วก็หารถดูก็เจอรถ ๓ ล้อ เรามองว่ามาคนเดียวแบบนี้นั่งรถเล็กๆแบบนี้น่าจะดีกว่าเพราะคงจะถูกกว่าก็เลยลองดู แต่พอเราถามถึงสถานที่กับลุงคนขับรถเขาก็ทำท่าเหมือนจะไม่รู้จัก เลยเปิดแผนที่ให้เข้าดูเขาก็ทำท่าเหมือนจะรู้แล้วว่าอยู่ไหนก็เลยตกลงไป

ค่าเหมารถไป ๒ ที่แล้วพากลับเมือง เขาคิด ๑๐๐ หยวน ไม่รู้ทำไมในจังหวะนั้นลืมต่อราคา พอลองคิดดูแล้วก็เหมือนจะแพงเกินจริงไปพอสมควรเพราะรถแบบนี้มันน่าจะถูกกว่า อีกทั้งมันช้ามากด้วยเลยเริ่มรู้สึกว่าคิดผิดควรจะไปรถใหญ่มากกว่า แต่ก็ช้าไปแล้วเพราะขึ้นมาแล้ว แต่ก็ไม่เป็นไรถือว่าช่วยคนทำมาหากิน



รถเริ่มพาออกนอกเมือง



ระหว่างทางเป็นท้องทุ่ง มีที่เลี้ยงสัตว์ด้วย



และระหว่างทางก็ยังผ่านจุดที่สามารถมองเห็นถ้ำหินว่านฝัวถางด้วย จากตรงนี้ก็เริ่มเห็นพระพุทธรูปบางส่วนที่วางอยู่เต็มหน้าผา



ภาพนี้พอจะเห็นผาที่ถูกแกะสลัก แต่ว่าก็ไม่ชัด ไม่อาจขยายเข้าไปให้เห็นชัดได้ ที่จริงถ้าขอให้เขาจอดแวะเพื่อชมทิวทัศน์ตรงนี้ได้ก็อาจจะดีแต่เราไม่ได้ทำ น่าเสียดายอยู่เหมือนกัน



ภาพนี้ถ่ายติดม้าที่ยืนอยู่ด้านหน้ามาด้วย แล้วก็เห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งถูกต้นไม้บังอยู่เห็นแต่ส่วนหัวเล็กน้อย



แล้วเขาก็ขับรถพาเรามาถึงสถานที่แห่งหนึ่งแล้วก็หยุดบอกว่าถึงแล้ว แต่ปรากฏว่าที่นั่นมันไม่ใช่ที่ที่เราต้องการไป เขาเข้าใจผิด ที่นี่มันเป็นอะไรก็ไม่รู้แค่สวนเล็กๆที่อยู่ริมน้ำฝั่งตรงข้ามกับถ้ำหินว่านฝัวถาง ไม่รู้ว่าทำไมเขาเข้าใจเป็นที่นี่ไปได้เหมือนกัน ต้องยอมรับว่าทำเอาเราหัวเสียอยู่เหมือนกันเพราะนอกจากจะคิดแพงและวิ่งช้าแล้วก็ยังพาหลงอีกต่างหาก แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะยังไงมันก็มาเส้นทางเดียวกัน



พอรู้ว่าผิดที่เราก็ชี้แผนที่ให้เขาใหม่แล้วเขาก็เดินทางต่อไป คราวนี้ไปถูกทางแล้ว

ระหว่างทางข้ามสะพาน



ใช้เวลาประมาณ ๔๐ นาทีก็มาถึงที่หมาย ความจริงแล้วน่าจะเร็วกว่านี้หน่อยถ้าไม่เสียเวลาไปเพราะไปผิดที่ และน่าจะเร็วกว่านี้ได้อีกถ้านั่งรถใหญ่มา แทนที่จะนั่งสามล้อ



ช่องขายตั๋วค่าเข้าอยู่ด้านหน้าทางเข้า ตั๋วราคา ๔๐ หยวน เราเป็นนักเรียนก็ลดเหลือ ๒๐ หยวน



เริ่มจากเข้าชมอาคารพิพิธภัณฑ์ก่อน



จังหวะที่เราไปนั้นบังเอิญว่ามีนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่มาพอดีก็เลยดูครึกครื้นพอสมควร



นี่เป็นอุโมงค์ที่พื้นเป็นกระจกซึ่งข้างล่างจำลองโลกในยุคต่างๆ



ยิ่งเดินต่อไปเรื่อยๆก็ยิ่งเห็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้น เริ่มแรกสิ่งมีชีวิตทุกชนิดอยู่ในทะเล



จนเริ่มวิวัฒนาการสู่การใช้ชีวิตบนบก



ส่วนตามผนังนั้นมีจัดแสดงฟอสซิลอยู่อีกหน่อย




เดินผ่านอุโมงค์ออกมา



ก็มาโผล่บริเวณที่ทำจำลองป่ายุคดึกดำบรรค์



มีแบบจำลองไดโนเสาร์วางอยู่ให้เห็นประปราย




ที่นี่มีชั้น ๒ ขึ้นไปข้างบนแล้วมองลงมายังป่าจำลองด้านล่างก็เห็นเกือบทั่ว โดยหลักๆแล้วก็เป็นห้องเล็กๆที่มีอยู่แค่นี้



ชั้นบนจัดแสดงแบบจำลองโครงกระดูกไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ ตัวนี้คือ 雷克斯暴龙 Tyrannosaurus rex ซึ่งทุกคนคงจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว



ส่วนนี่คือ 三角龙 Triceratops



沧龙 Mosasaurus



古巨龟 Archlon



妖精翼龙 Tupuxuara



กลับลงมาชั้นล่างเห็นตรงนี้จัดแสดงฟอสซิลอยู่อีกจำนวนหนึ่ง



มองกลับไปดูนักท่องเที่ยวคนอื่นที่เดินกระจายๆกันอยู่ในห้องนี้



เดินออกมาห้องถัดไปก็เป็นที่ขายของที่ระลึก ไม่มีอะไรมาก ไม่ได้ซื้ออะไรเลย อีกอย่างมองไม่เห็นคนขายไม่รู้ว่าเขาไปไหน







เดินในอาคารเสร็จต่อมาก็มาเดินในสวน



นี่เป็นบึงน้ำบาดาลที่เขาขุดขึ้น



มองกลับมายังอาคารพิพิธภัณฑ์ผ่านบึง



ตรงนี้เป็นไม้ที่แปรสภาพเป็นหิน เป็นฟอสซิลชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ไม้ถูกฝังดินแล้วไม่เน่าเปื่อยลง เวลาผ่านไปนานก็ถูกแร่บางอย่างเข้าไปแทนที่โครงสร้างภายในโดยที่ยังคงโครงสร้างเดิมอยู่ กระบวนการนี้ต้องใช้เวลานานเป็นหมื่นเป็นแสนปี



ส่วนตรงนี้เป็นกระโจมแบบมองโกล มีตั้งอยู่มากมายตรงนี้




จากตรงนี้มีจุดที่ไปต่อไม่ได้เพราะห้ามเอาไว้สำหรับให้คนที่ทำงานเท่านั้น น่าจะเป็นย่านบริเวณขุดฟอสซิลที่เขาเอาไว้ทำวิจัย ไม่ได้ไว้สำหรับนักท่องเที่ยว



ส่วนตรงนี้เป็นบริเวณย่านขุดที่ตอนนี้ไม่ได้มีการขุดอยู่ สามารถเข้ามาชมได้



แต่ก็มีขนาดเล็กแค่นี้ และได้แค่ดูจากด้านนอก ไม่สามารถเข้าไปได้



ส่องเข้าไปด้านในเห็นบริเวณที่ขุด



สำหรับที่นี่ก็หมดอยู่แค่นี้ ได้เวลาเดินออกไป





โดยส่วนตัวแล้วความรู้สึกเกี่ยวกับที่นี่ก็คือค่อนข้างเฉยๆ ที่นี่มีจุดขายคือการที่เป็นแหล่งขุดฟอสซิล อย่างไรก็ตามก็มีให้ดูอยู่แค่นิดเดียว ส่วนที่เหลือเป็นสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมาใหม่ให้ดูมีอะไรขึ้นมาเพื่อคนจะได้ไม่เสียเที่ยวมาเพื่อดูแค่หลุมขุดเล็กๆ แต่มันก็ยังไม่มากพออยู่ดี พิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กมาก ข้อมูลอะไรไม่เยอะ อีกอย่างพิพิธภัณฑ์ลักษณะแบบนี้ก็ไม่ได้มีความจำเป็นต้องอุตส่าห์มาตั้งในที่ไกลเมือง ทำในเมืองน่าจะง่ายกว่า คนก็จะมาชมได้เยอะกว่า

ส่วนบริเวณสวนก็ทำได้ร่มรื่นสวยงามอยู่แต่คนอุตส่าห์มานอกเมืองไกลแล้วคงไม่มีใครสนใจมาชมสวน กระโจมมองโกลก็ดูสวยดี แต่มันดูไม่ค่อยเกี่ยวอะไรกับสถานที่เท่าไหร่

หากพูดถึงแหล่งขุดซากฟอสซิลที่ทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้ค่อนข้างดีละก็แนะนำโจวโข่วเตี้ยน (周口店) ที่ปักกิ่ง ไปมาแล้วติดใจมาก https://phyblas.hinaboshi.com/20150326

อย่างไรก็ตามถ้าคิดว่าจะมาเที่ยวถ้ำหินว่านฝัวถางอยู่แล้วละก็มันต้องผ่านที่นี่ อาจเลือกที่จะแวะมาดูสักหน่อยก็ได้ ถ้าไม่ได้คิดมากเรื่องที่ว่าค่าเข้าค่อนข้างแพง

เราเดินออกมาและรถสามล้อก็กำลังจอดรออยู่ เรารีบขึ้นรถเพื่อมุ่งหน้าต่อไปยังถ้ำหินว่านฝัวถางทันทีไม่ให้เสียเวลามาก https://phyblas.hinaboshi.com/20150801




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> เหลียวหนิง

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ