φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
ถ้ำหินว่านฝัวถาง มรดกของชาวเซียนเปย์แห่งราชวงศ์เว่ย์เหนือ
เขียนเมื่อ 2015/08/01 00:24
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 24 พ.ค. 2015
ในประวัติศาสตร์แผ่นดินจีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นส่วนๆสลับกันไป ยุคสามก๊ก (三国, ปี 220 - 280) ผ่านพ้นไปจากการที่ราชวงศ์จิ้น (晋朝, ปี 265 - 420) ได้รวบรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวในปี 280 แต่ราชวงศ์จิ้นก็เสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็วจนแผ่นดินจีนแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ทางตอนเหนือเริ่มถูกปกครองโดยชนเผ่าต่างๆซึ่งเคยเร่ร่อนมาก่อน
หนึ่งในชนเผ่าสำคัญที่มามีอำนาจในการปกครองจีนตอนเหนือสมัยนั้นก็คือเผ่าเซียนเปย์ (鲜卑族) ในปี 386 ชาวเซียนเปย์ตระกูลทั่วป๋า (拓跋) ได้ขึ้นเป็นใหญ่ทางตอนเหนือของจีน จัดการปราบชนอาณาจักรของชนเผ่าอื่นๆแล้วก่อตั้งราชวงศ์เว่ย์เหนือ (北魏, ปี 386 - 534) ขึ้น
ราชวงศ์เว่ย์เหนือนั้นปกครองแผ่นดินจีนตอนเหนืออยู่ร้อยกว่าปีแต่ก็ถึงอันต้องล่มสลายลงในปี 538 แผ่นดินแตกอีกครั้ง กว่าแผ่นดินจีนจะกลับมารวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้งภายใต้การปกครองของราชวงศ์สุย (隋朝, ปี 581 - 619) ซึ่งเป็นชาวจีนฮั่น
ในช่วงร้อยกว่าปีที่ราชวงศ์เว่ยเหนือปกครองอยู่นั้นได้สร้างผลงานศิลปะสำคัญเหลือไว้ให้กับโลกเป็นจำนวนมาก ผลงานอันโดดเด่นก็คือการสลักผาหินเพื่อทำเป็นถ้ำและพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักดีได้แก่
ถ้ำหินหยวินกาง (云冈石窟)
ในมณฑลซานซี และ
ถ้ำหินหลงเหมิน (龙门石窟)
ในมณฑลเหอหนาน ซึ่งเคยไปมาก่อนหน้านี้แล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20120730
แต่นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีถ้ำหินแกะสลักแบบนั้นกระจายอยู่ทั่วตอนเหนือของจีน ทั้งหมดนี้เกิดจากการที่ผู้นำชาวเซียนเปย์ในยุคนั้นศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากจึงได้ทำการสร้างผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ขึ้นมา
สำหรับในโลกยุคปัจจุบันนี้ซึ่งทั้งสงบสุขและผู้คนต่างมีความรู้ในวิทยาศาสตร์กันมากขั้นเรื่อยๆศาสนาอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป อย่างไรก็ตามสำหรับในโนโลกยุคอดีตซึ่งผู้คนยังขาดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ อีกทั้งยังต้องเผชิญสงครามอยู่บ่อยครั้งไม่อาจอยู่กันอย่างสงบสุขศาสนาอาจเป็นสิ่งจำเป็นเพราะอย่างน้อยก็ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจได้
และที่สำคัญ ศาสนาเป็นบ่อเกิดแห่งงานศิลปะ ทำให้เกิดประติมากรรมและสถาปัตยกรรมต่างๆมากมายซึ่งมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง
ยุคราชวงศ์เว่ย์เหนือนั้นแผ่นดินจีนทางตอนเหนือค่อนข้างเป็นปึกแผ่นและสงบสุขขึ้นมาในระดับหนึ่งจึงมีกำลังเหลือเฟือและเป็นช่วงแห่งการสร้างสรรค์งานศิลปะที่สำคัญ
ถ้ำหินว่านฝัวถาง (万佛堂石窟)
ในอำเภอ
อี้เซี่ยน (义县)
ในจังหวัด
จิ่นโจว (锦州)
ในมณฑลเหลียวหนิง ก็เป็นหนึ่งในถ้ำหินแกะสลักที่เป็นผลงานของชาวเซียนเปย์แห่งราชวงศ์เป่ย์เว่ย์ เริ่มสร้างขึ้นในปี 499 และถือเป็นถ้ำหินแกะสลักที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสานของจีน ว่านฝัวถางแปลว่าโถงพระพุทธหมื่นองค์
หากเทียบขนาดกันแล้วคงไม่อาจไปเทียบกับถ้ำหินหลงเหมินหรือหยวินกางซึ่งเป็นที่รู้จักของผู้คนเป็นอย่างดีและเป็นมรดกโลก ถ้ำหินว่านฝัวถางไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนักเพราะไม่ได้ใหญ่โตและสวยงามเท่า ถึงอย่างนั้นสำหรับคนที่มีโอกาสได้มาเที่ยวจิ่นโจวแล้วที่นี่ก็น่าจะเป็นแห่งหนึ่งที่น่าแวะมา
ตำแหน่งที่ตั้งนั้นอยู่ห่างจากตัวเมืองอี้เซี่ยนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๙ กม. อยู่ใกล้กับ
สวนฟอสซิลและธรณีวิทยาจีนเยอรมัน (中德化石地质公园)
ซึ่งเราได้เขียนถึงไปแล้วในตอนที่แล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20150730
คนขับรถสามล้อพาเราเดินทางต่อมา ระหว่างทางผ่านหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่หน้าทางเข้าสถานที่เที่ยว
เขาขอแวะไปซื้อของในร้านนี้แป๊บนึง ระหว่างนั้นเราก็คิดในใจว่าทำไมไม่รีบไปส่งเราให้ถึงที่ก่อน ระหว่างรอค่อยย้อนกลับมาซื้อก็ได้นี่ ใกล้นิดเดียวเอง
จากนั้นก็ขับต่อมาอีกหน่อย
ก็มาถึงหน้าทางเข้าสถานที่เที่ยว ซื้อตั๋วตรงนี้ ค่าเข้าชมราคา ๔๐ หยวน แต่มีบัตรนักเรียนก็ลดลงเหลือเป็น ๒๐ หยวน
เข้ามาด้านใน เดินมาตรงถ้ำส่วนบนก่อนซึ่งดูจะยังไม่ใช่บริเวณหลัก
ฝูลู่โซ่ว (福禄寿) หรือฮกลกซิ่ว
อาคารนี้ขายพวกของโบราณ
ข้างใน
จากตรงนี้เป็นทางเข้าไปยังบริเวณหมู่ถ้ำหินด้านล่าง
เริ่มเห็นหมู่ถ้ำและพระพุทธรูปเต็มไปหมดตามทาง
ลงมาถึงด้านล่างสุดแล้ว มองขึ้นไป
ลงมาถึงเป็นริมน้ำและมีที่ให้ทำบุญ (?) ปล่อยปลา จะเห็นว่าแม้แต่ที่จีนเองก็มีความเชื่อผิดๆพวกนี้อยู่เหมือนกัน ความจริงแล้วความคิดที่ว่าปล่อยสัตว์แล้วได้บุญนั้นเป็นตรรกะวิบัติอย่างหนึ่ง เพราะที่จริงแล้วมันเป็นการสนับสนุนการทรมานสัตว์
การที่เราจะปล่อยสัตว์ได้นั้นแสดงว่าต้องมีคนไปจับมันมาก่อนเพื่อมาขายให้เราปล่อย หากเขาจับมาแล้วเราจ่ายเงินซื้อมาปล่อยเขาก็จะไปจับมาเพื่อมาขายคนอื่นต่ออีก แต่ถ้าเราไม่ไปซื้อมาปล่อยคนก็จะเลิกจับ ก็จะไม่มีสัตว์ต้องถูกทรมาน ดังนั้นเราควรพยายามหลีกเลี่ยงวงจรอุบาทว์นี้
ตรงนี้เป็นทางเดินบนน้ำที่เขาทำไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวสามารถมองถ้ำหินจากห่างๆได้
ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่ได้ทำให้เห็นชัดเท่าไหร่เพราะต้นไม้บังอยู่ดี
มองไปทางโน้นเราได้เห็นฝั่งตรงข้ามแม่น้ำซึ่งเป็นเส้นทางที่คนขับรถพาขับผ่านมาตอนแรก จากตรงนั้นสามารถมองเห็นถ้ำหินตรงนี้ได้เช่นกัน ยังคงรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ให้คนขับรถแวะจอดสักหน่อย
บริเวณริมน้ำนี้ร่มรื่นดีมาก
กลับมาดูหมู่ถ้ำหินจากใกล้ๆต่อ
ซุ้มประตูแกะสลัก เขียนชื่อสถานที่ไว้
มีรูปปั้นที่ขี่ช้างด้วย
บางถ้ำก็มีบันไดสามารถเข้าไปด้านในได้
พระมัญชุศรีโพธิสัตว์
พระเมตไตรย
เดินต่อไป
ผาหินกับบรรยากาศริมน้ำแบบนี้ดูลงตัวสวยงามดี
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดของที่นี่
เดินต่อมาใกล้สุดทางแล้ว
มังกร ๕ สี
ขึ้นมาชมด้านบนได้
มังกรสองตัวนี้หนวดจะยาวไปถึงไหนกัน
สุดทางแค่นี้ตรงนี้มีทางให้เลี้ยวปีนขึ้นเขา ป้ายชี้บอกว่าเป็นทางไปสวนผลไม้ แต่ในฤดูนี้ไม่มีอะไรให้เด็ดได้เราก็เลยไม่ได้ไปต่อ เพราะตรงนี้ขึ้นไปก็ไม่มีอะไร
เราเดินย้อนมาหน่อยจนถึงตรงนี้ซึ่งมีทางแยกให้ขึ้นอีกเช่นกัน แต่มีอะไรให้ดูมากกว่า
ขึ้นมาแล้วมีทางเดินไปต่อ
สุดท้ายขึ้นมาแล้วก็มาโผล่ที่สวนผลไม้เหมือนกัน
มีคนที่น่าจะเป็นคนทำงานเฝ้าที่นี่กำลังนอนอยู่
ตรงนี้เป็นสวนสำหรับเล่นยิงปืน ไม่รู้ว่าอุตส่าห์มาถึงที่นี่แล้วใครจะมาเล่น คงมีแต่ชาวบ้านแถวนี้
หมดตรงนี้ก็เป็นทางเดินลง เราเดินย้อนกลับมาแล้วเก็บตกส่วนที่เดินข้ามไปตอนแรก
หลังจากเดินเที่ยวเสร็จแล้วคนขับรถก็พาเรากลับมาส่งในตัวเมือง แต่ว่าระหว่างทางขณะที่กำลังวิ่งผ่านแถวสวนฟอสซิลและธรณีวิทยาจีนเยอรมันที่เราเพิ่งไปมาตรงนั้นเขาก็รับผู้โดยสารอื่นขึ้นมากลางทาง คนนั้นเขาก็ต้องการกลับเมืองเหมือนกัน แต่เขาคิดราคาแค่ ๑๐ หยวนเท่านั้น
ขากลับนี้เขาเปลี่ยนเส้นทางไปใช้เส้นทางที่ดูอ้อมไกลกว่าเก่า ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร ทำให้ใช้เวลาเพิ่มขึ้นมากกว่าตอนขามา สุดท้ายก็เลยเดินทางกลับมาถึงเมืองตอนประมาณเกือบสิบเอ็ดโมง เราให้เขาไปส่งที่หน้า
วัดเฟิ่งกั๋ว (奉国寺)
ซึ่งเป็นเป้าหมายต่อไป
https://phyblas.hinaboshi.com/20150803
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
เหลียวหนิง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเที่ยวในเมืองทาเกโอะ ชมสวนมิฟุเนะยามะรากุเองใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีทั้งตอนกลางวันและค่ำคืน
นั่งรถไฟจากชิมาบาระไปตามชายฝั่งทะเล เปลี่ยนชิงกันเซงที่อิซาฮายะ ไปลงที่สถานีทาเกโอะอนเซงจังหวัดซางะ
เดินย่านบ้านซามุไรและแหล่งน้ำพุในเมืองชิมาบาระ แวะกินอาหารพื้นบ้าน
ปราสาทชิมาบาระ ปราสาทสวยใหญ่ล้อมด้วยคูบัวในเมืองที่อยู่ระหว่างภูเขากับทะเล
นั่งเรือข้ามทะเลอาริอาเกะจากคุมาโมโตะไปยังเมืองชิมาบาระจังหวัดนางาซากิ
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文