φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
สวนฟอสซิลและธรณีวิทยาจีนเยอรมัน สถานที่ขุดพบฟอสซิล
เขียนเมื่อ 2015/07/30 23:59
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 24 พ.ค. 2015
หลังจากที่เดินทางมาถึงเมืองจิ่นโจวและได้เที่ยวไปในวันแรกแล้วโดยปิดท้ายด้วยชมทะเลแหวกที่ปี่เจี้ยซาน
https://phyblas.hinaboshi.com/20150728
วันต่อมาคราวนี้จะเป็นการเที่ยวใน
อี้เซี่ยน (义县)
ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองจิ่นโจวออกไปทางเหนือ
อี้เซี่ยนเป็นสถานที่สำคัญในด้านประวัติศาสตร์มากเพราะมีโบราณสถานที่สำคัญ อีกทั้งยังเป็นแหล่งขุดพบซากฟอสซิลด้วย
เป้าหมายของการเดินทางมายังอี้เซี่ยนครั้งนี้คือสถานที่เที่ยว ๔ ที่ ซึ่งอยู่ในเมือง ๒ แห่ง และนอกเมืองต้องนั่งรถออกไปอีก ๒ แห่ง
เราเริ่มจากสถานที่ที่อยู่นอกเมืองก่อนเพราะไปลำบากกว่า แล้วจึงไปเที่ยวสถานที่ที่อยู่ในเมือง
เป้าหมายแรกที่ไปคือ
สวนฟอสซิลและธรณีวิทยาจีนเยอรมัน (中德化石地质公园)
จากนั้นตามด้วย
ถ้ำหินว่านฝัวถาง (万佛堂石窟)
ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน
สวนฟอสซิลและธรณีวิทยาจีนเยอรมันตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีการขุดพบซากฟอสซิลในอำเภออี้เซี่ยน ทางรัฐบาลท้องถิ่นอี้เซี่ยนได้ร่วมมือกับนักสะสมฟอสซิลชาวเยอรมันสร้างที่นี่ขึ้นมาในปี 2008
ภายในบริเวณประกอบไปด้วยพิพิธภัณฑ์ฟอสซิลบรรพชีวิน (古生物化石博物馆) และรอบๆเป็นสวนริมน้ำซึ่งรายล้อมไปด้วยทุ่งและหุบเขา
อันที่จริงแล้วที่นี่ไม่ค่อยน่าสนใจดังที่หวังไว้ และก็ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นที่รู้จัก แม้จะสร้างขึ้นในบริเวณที่มีการขุดพบฟอสซิลแต่ก็ไม่ได้มีอะไรให้ดูนัก
การเดินทางไปยังอี้เซี่ยนนั้นต้องนั่งรถจากท่ารถที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสถานีรถไฟ ตัวท่ารถไม่ค่อยเด่นชัด หากไม่แน่ใจสามารถถามคนแถวนั้นได้ว่าไปยังไง
เราออกจากโรงแรมก่อนเจ็ดโมง แล้วก็เดินมาทางสถานีรถไฟ แล้วก็เดินลอดอุโมงค์เพื่อข้ามไปฝั่งเหนือของทางรถไฟ
จากนั้นเดินต่อไปอีกหน่อย
แล้วเลี้ยวขวาก็จะมาเจอกับบริเวณที่ขึ้นรถสำหรับไปยังอี้เซี่ยน มีป้ายเขียนไว้อยู่ว่า 义县-锦州 คือ อี้เซี่ยน-จิ่นโจว
ขึ้นไปบนรถ
บัตรราคา ๑๓.๕ หยวน
ใช้เวลาประมาณชั่วโมงกว่าไม่ถึงชั่วโมงครึ่งก็เดินทางมาถึงท่ารถอี้เซี่ยน
เนื่องจากสถานที่ที่จะไปนั้นอยู่นอกเมืองและนั่งรถเมล์ไม่ค่อยสะดวกจึงตั้งใจไว้แต่แรกว่าจะหารถรับจ้างไป โดยเริ่มจากไปสวนฟอสซิลและธรณีวิทยาจีนเยอรมันก่อนจากนั้นก็ต่อด้วยถ้ำหินว่านฝัวถาง
จากตรงนั้นเราออกมาแล้วก็หารถดูก็เจอรถ ๓ ล้อ เรามองว่ามาคนเดียวแบบนี้นั่งรถเล็กๆแบบนี้น่าจะดีกว่าเพราะคงจะถูกกว่าก็เลยลองดู แต่พอเราถามถึงสถานที่กับลุงคนขับรถเขาก็ทำท่าเหมือนจะไม่รู้จัก เลยเปิดแผนที่ให้เข้าดูเขาก็ทำท่าเหมือนจะรู้แล้วว่าอยู่ไหนก็เลยตกลงไป
ค่าเหมารถไป ๒ ที่แล้วพากลับเมือง เขาคิด ๑๐๐ หยวน ไม่รู้ทำไมในจังหวะนั้นลืมต่อราคา พอลองคิดดูแล้วก็เหมือนจะแพงเกินจริงไปพอสมควรเพราะรถแบบนี้มันน่าจะถูกกว่า อีกทั้งมันช้ามากด้วยเลยเริ่มรู้สึกว่าคิดผิดควรจะไปรถใหญ่มากกว่า แต่ก็ช้าไปแล้วเพราะขึ้นมาแล้ว แต่ก็ไม่เป็นไรถือว่าช่วยคนทำมาหากิน
รถเริ่มพาออกนอกเมือง
ระหว่างทางเป็นท้องทุ่ง มีที่เลี้ยงสัตว์ด้วย
และระหว่างทางก็ยังผ่านจุดที่สามารถมองเห็นถ้ำหินว่านฝัวถางด้วย จากตรงนี้ก็เริ่มเห็นพระพุทธรูปบางส่วนที่วางอยู่เต็มหน้าผา
ภาพนี้พอจะเห็นผาที่ถูกแกะสลัก แต่ว่าก็ไม่ชัด ไม่อาจขยายเข้าไปให้เห็นชัดได้ ที่จริงถ้าขอให้เขาจอดแวะเพื่อชมทิวทัศน์ตรงนี้ได้ก็อาจจะดีแต่เราไม่ได้ทำ น่าเสียดายอยู่เหมือนกัน
ภาพนี้ถ่ายติดม้าที่ยืนอยู่ด้านหน้ามาด้วย แล้วก็เห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งถูกต้นไม้บังอยู่เห็นแต่ส่วนหัวเล็กน้อย
แล้วเขาก็ขับรถพาเรามาถึงสถานที่แห่งหนึ่งแล้วก็หยุดบอกว่าถึงแล้ว แต่ปรากฏว่าที่นั่นมันไม่ใช่ที่ที่เราต้องการไป เขาเข้าใจผิด ที่นี่มันเป็นอะไรก็ไม่รู้แค่สวนเล็กๆที่อยู่ริมน้ำฝั่งตรงข้ามกับถ้ำหินว่านฝัวถาง ไม่รู้ว่าทำไมเขาเข้าใจเป็นที่นี่ไปได้เหมือนกัน ต้องยอมรับว่าทำเอาเราหัวเสียอยู่เหมือนกันเพราะนอกจากจะคิดแพงและวิ่งช้าแล้วก็ยังพาหลงอีกต่างหาก แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะยังไงมันก็มาเส้นทางเดียวกัน
พอรู้ว่าผิดที่เราก็ชี้แผนที่ให้เขาใหม่แล้วเขาก็เดินทางต่อไป คราวนี้ไปถูกทางแล้ว
ระหว่างทางข้ามสะพาน
ใช้เวลาประมาณ ๔๐ นาทีก็มาถึงที่หมาย ความจริงแล้วน่าจะเร็วกว่านี้หน่อยถ้าไม่เสียเวลาไปเพราะไปผิดที่ และน่าจะเร็วกว่านี้ได้อีกถ้านั่งรถใหญ่มา แทนที่จะนั่งสามล้อ
ช่องขายตั๋วค่าเข้าอยู่ด้านหน้าทางเข้า ตั๋วราคา ๔๐ หยวน เราเป็นนักเรียนก็ลดเหลือ ๒๐ หยวน
เริ่มจากเข้าชมอาคารพิพิธภัณฑ์ก่อน
จังหวะที่เราไปนั้นบังเอิญว่ามีนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่มาพอดีก็เลยดูครึกครื้นพอสมควร
นี่เป็นอุโมงค์ที่พื้นเป็นกระจกซึ่งข้างล่างจำลองโลกในยุคต่างๆ
ยิ่งเดินต่อไปเรื่อยๆก็ยิ่งเห็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้น เริ่มแรกสิ่งมีชีวิตทุกชนิดอยู่ในทะเล
จนเริ่มวิวัฒนาการสู่การใช้ชีวิตบนบก
ส่วนตามผนังนั้นมีจัดแสดงฟอสซิลอยู่อีกหน่อย
เดินผ่านอุโมงค์ออกมา
ก็มาโผล่บริเวณที่ทำจำลองป่ายุคดึกดำบรรค์
มีแบบจำลองไดโนเสาร์วางอยู่ให้เห็นประปราย
ที่นี่มีชั้น ๒ ขึ้นไปข้างบนแล้วมองลงมายังป่าจำลองด้านล่างก็เห็นเกือบทั่ว โดยหลักๆแล้วก็เป็นห้องเล็กๆที่มีอยู่แค่นี้
ชั้นบนจัดแสดงแบบจำลองโครงกระดูกไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ ตัวนี้คือ 雷克斯暴龙 Tyrannosaurus rex ซึ่งทุกคนคงจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว
ส่วนนี่คือ 三角龙 Triceratops
沧龙 Mosasaurus
古巨龟 Archlon
妖精翼龙 Tupuxuara
กลับลงมาชั้นล่างเห็นตรงนี้จัดแสดงฟอสซิลอยู่อีกจำนวนหนึ่ง
มองกลับไปดูนักท่องเที่ยวคนอื่นที่เดินกระจายๆกันอยู่ในห้องนี้
เดินออกมาห้องถัดไปก็เป็นที่ขายของที่ระลึก ไม่มีอะไรมาก ไม่ได้ซื้ออะไรเลย อีกอย่างมองไม่เห็นคนขายไม่รู้ว่าเขาไปไหน
เดินในอาคารเสร็จต่อมาก็มาเดินในสวน
นี่เป็นบึงน้ำบาดาลที่เขาขุดขึ้น
มองกลับมายังอาคารพิพิธภัณฑ์ผ่านบึง
ตรงนี้เป็นไม้ที่แปรสภาพเป็นหิน เป็นฟอสซิลชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ไม้ถูกฝังดินแล้วไม่เน่าเปื่อยลง เวลาผ่านไปนานก็ถูกแร่บางอย่างเข้าไปแทนที่โครงสร้างภายในโดยที่ยังคงโครงสร้างเดิมอยู่ กระบวนการนี้ต้องใช้เวลานานเป็นหมื่นเป็นแสนปี
ส่วนตรงนี้เป็นกระโจมแบบมองโกล มีตั้งอยู่มากมายตรงนี้
จากตรงนี้มีจุดที่ไปต่อไม่ได้เพราะห้ามเอาไว้สำหรับให้คนที่ทำงานเท่านั้น น่าจะเป็นย่านบริเวณขุดฟอสซิลที่เขาเอาไว้ทำวิจัย ไม่ได้ไว้สำหรับนักท่องเที่ยว
ส่วนตรงนี้เป็นบริเวณย่านขุดที่ตอนนี้ไม่ได้มีการขุดอยู่ สามารถเข้ามาชมได้
แต่ก็มีขนาดเล็กแค่นี้ และได้แค่ดูจากด้านนอก ไม่สามารถเข้าไปได้
ส่องเข้าไปด้านในเห็นบริเวณที่ขุด
สำหรับที่นี่ก็หมดอยู่แค่นี้ ได้เวลาเดินออกไป
โดยส่วนตัวแล้วความรู้สึกเกี่ยวกับที่นี่ก็คือค่อนข้างเฉยๆ ที่นี่มีจุดขายคือการที่เป็นแหล่งขุดฟอสซิล อย่างไรก็ตามก็มีให้ดูอยู่แค่นิดเดียว ส่วนที่เหลือเป็นสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมาใหม่ให้ดูมีอะไรขึ้นมาเพื่อคนจะได้ไม่เสียเที่ยวมาเพื่อดูแค่หลุมขุดเล็กๆ แต่มันก็ยังไม่มากพออยู่ดี พิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กมาก ข้อมูลอะไรไม่เยอะ อีกอย่างพิพิธภัณฑ์ลักษณะแบบนี้ก็ไม่ได้มีความจำเป็นต้องอุตส่าห์มาตั้งในที่ไกลเมือง ทำในเมืองน่าจะง่ายกว่า คนก็จะมาชมได้เยอะกว่า
ส่วนบริเวณสวนก็ทำได้ร่มรื่นสวยงามอยู่แต่คนอุตส่าห์มานอกเมืองไกลแล้วคงไม่มีใครสนใจมาชมสวน กระโจมมองโกลก็ดูสวยดี แต่มันดูไม่ค่อยเกี่ยวอะไรกับสถานที่เท่าไหร่
หากพูดถึงแหล่งขุดซากฟอสซิลที่ทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้ค่อนข้างดีละก็แนะนำ
โจวโข่วเตี้ยน (周口店)
ที่ปักกิ่ง ไปมาแล้วติดใจมาก
https://phyblas.hinaboshi.com/20150326
อย่างไรก็ตามถ้าคิดว่าจะมาเที่ยวถ้ำหินว่านฝัวถางอยู่แล้วละก็มันต้องผ่านที่นี่ อาจเลือกที่จะแวะมาดูสักหน่อยก็ได้ ถ้าไม่ได้คิดมากเรื่องที่ว่าค่าเข้าค่อนข้างแพง
เราเดินออกมาและรถสามล้อก็กำลังจอดรออยู่ เรารีบขึ้นรถเพื่อมุ่งหน้าต่อไปยังถ้ำหินว่านฝัวถางทันทีไม่ให้เสียเวลามาก
https://phyblas.hinaboshi.com/20150801
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
เหลียวหนิง
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
บทความแนะนำ
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文