φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



สะพานหลูโกว สะพานมาร์โก โปโล
เขียนเมื่อ 2016/12/17 19:51
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#ศุกร์ 30 มี.ค. 2012

ก่อนหน้านี้ได้แนะนำสะพานโบราณที่มีชื่อเสียงของปักกิ่งไปแห่งหนึ่งคือสะพานปาหลี่ (八里桥, ปาหลี่เฉียว) ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150505

คราวนี้ขอเขียนถึงสะพานอีกแห่งซึ่งจริงๆแล้วเคยไปเที่ยวเมื่อนานมาแล้วนั่นคือสะพานหลูโกว (卢沟桥, หลูโกวเฉียว) หรือที่มักรู้จักกันในหมู่ชาวต่างชาติว่าสะพานมาร์โก โปโล (Ponte di Marco Polo) ซึ่งมีที่มาจากชื่อของมาร์โก โปโล (1254-1324) นักเดินทางชาวอิตาลีซึ่งมาเยือนปักกิ่งในยุคราชวงศ์หยวนและได้ผ่านสะพานนี้แล้วได้บรรยายชื่นชมถึงจนชาวโลกได้รู้จัก

หลูโกวเฉียวตั้งอยู่ในเขตเฟิงไถ (丰台) ทางตะวันตกของปักกิ่ง เป็นสะพานเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นในปี 1189 ซึ่งเป็นยุคราชวงศ์จิน (金朝, ปี 1115-1234) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำหย่งติ้ง (永定河)

เคยเขียนแนะนำถึงสะพานนี้ไปแล้วเล็กน้อยในตอนที่เขียนถึงพิพิธภัณฑ์กำแพงเมืองเหลียวจิน (辽金城垣博物馆) https://phyblas.hinaboshi.com/20150501

ที่นี่ยังมีชื่อเสียงอีกเรื่องหนึ่งในฐานะสมรภูมิรบในสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น โดยเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ที่เป็นชนวนเริ่มสงคราม เรียกว่าเหตุการณ์ที่สะพานหลูโกว (卢沟桥事变, หลูโกวเฉียวซื่อเปี้ยน) หรือบางทีก็เรียกว่าเหตุการณ์ 7 กรกฎาคม (七七事变, ชีชีซื่อเปี้ยน) เพราะเกิดขึ้นในวันที่ 7 ก.ค. ปี 1937

ดังนั้นที่นี่จึงมีการสร้างหอที่ระลึกสงครามประชาชนจีนต้านญี่ปุ่น (中国人民抗日战争纪念馆) ซึ่งได้เล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น โดยตั้งอยู่ภายในป้อมหว่านผิงเฉิง (宛平城) ซึ่งเป็นป้อมที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของสะพาน

หว่านผิงเฉิงสร้างขึ้นในปี 1640 ปลายยุคราชวงศ์หมิง (明朝, ปี 1368-1644) เป็นเมืองเล็กๆที่ปิดล้อมด้วยกำแพง ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ดี เอาไว้รับมือศัตรูที่บุกมาจากฝั่งตรงข้ามแม่น้ำทางตะวันตก ในเหตุการณ์ที่หลูโกวเฉียวก็ได้เป็นสมรภูมิในการรบไปด้วย

นอกจากหอที่ระลึกแล้ว ข้างๆหว่านผิงเฉิงยังมีการสร้างสวนรูปแกะสลักที่ระลึกสงครามประชาชนจีนต้านญี่ปุ่น (中国人民抗日战争纪念雕塑园) ซึ่งเปิดตั้งแต่ปี 2000




นี่เป็นบันทึกที่เก่ามากตั้งแต่ปี 2012 ปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปพอสมควรแล้ว เช่นเรื่องการเดินทางไป สมัยนั้นต้องนั่งรถเมล์ไปเท่านั้นแต่ว่าตอนนี้มีการสร้างรถไฟฟ้าไปถึงแล้ว

สถานีที่อยู่ใกล้ที่สุดคือสถานีต้าหว่าเหยา (大瓦窑站) อยู่บนสาย 14 ซึ่งเปิดใช้งานตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา เป็นสถานีตัดกับที่สวนจัดแสดงสวน (园博园) ซึ่งได้เคยไปมาแล้ว ได้เล่าถึงไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20130918

ตอนนั้นเมื่อครั้งที่มาเรานั่งรถไฟฟ้ามาลงสถานีไช่ซื่อโข่ว (菜市口站) ซึ่งยังอยู่ห่างไปไกลอีกมาก จากนั้นจึงนั่งรถเมล์ต่ออีกระยะ แต่ปัจจุบันคงไม่มีความจำเป็นต้องทำแบบนั้นแล้ว

ย่านชุมชนด้านนอกกำแพงป้อมหว่านผิงเฉิง เราได้แวะหาอะไรกินกันแถวนี้ก่อนค่อยเข้าไป



ทางเข้าหว่านผิงเฉิงจากทางฝั่งตะวันออก



ขณะนั้นเป็นต้นฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้เริ่มบาน เหลืองๆนี่คือดอกอิ๋งชุนฮวา (迎春花) ซึ่งมักจะบานเป็นดอกแรกต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ



ทางเข้าสู่เมืองด้านในป้อม




ในนี้เป็นถนนคนเดิน บรรยากาศโบราณ



เดินสักพักก็ถึงหอที่ระลึกสงครามประชาชนจีนต้านญี่ปุ่น



รับบัตรเข้าชมตรงนี้แล้วเดินเข้าไปได้เลย ไม่มีค่าใช้จ่าย



อาคารจัดแสดง



ภายในจัดแสดงอะไรต่างๆมากมาย บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสงครามปี 1937 ครั้งนั้น






ชมในหอที่ระลึกเสร็จแล้วก็เดินต่อมาสักพักก็เจอทางออกฝั่งตะวันตกของป้อม



หันกลับมามองทางเข้าป้อมจากทางตะวันตก





เมื่อออกมาก็จะเจอทางเข้าสู่เขตสะพาน



การเข้าชมต้องซื้อตั๋วเข้าชมถึงจะเข้าไปในบริเวณได้




บริเวณภายใน





ตรงนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ



ภายในมีจัดแสดงข้อมูลและของที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ได้ใหญ่เท่าไหร่






เดินเข้ามาเรื่อยๆในที่สุดก็ถึงสะพานหลูโกวซึ่งเป็นเป้าหมายจริงๆ



สามารถเดินเล่นชมความสวยงามของสะพานได้อย่างใกล้ชิด




จุดเด่นของสะพานนี้ที่ไม่อาจมองข้ามได้เลยก็คือรูปปั้นสิงโตที่วางเรียงรายอยู่



แต่ละตัวไม่เหมือนกันเลย ต่างกันออกไปหมด ไม่ได้ถอดแบบกันออกมา





เดินสุดทางสะพานก็เป็นทางที่ออกไปยังอีกฝั่งของสะพาน ฝั่งตะวันตก



ตรงนี้เป็นจุดตรวจตั๋วสำหรับคนที่เข้าจากฝั่งนั้น ถ้าเดินออกจากตรงนี้ไปก็กลับเข้ามาไม่ได้แล้วดังนั้นจึงสุดแค่นี้



เดินกลับ







เที่ยวบริเวณสะพานเสร็จแค่นี้ จากนั้นเดินย้อนกลับมา คราวนี้ไปทางขวาของกำแพงเมืองหว่านผิงเฉิง




ในบริเวณนี้มีแท่งที่เรียกว่าสือกู่ (石鼓) เป็นผลงานออกแบบโดยไช่เสวียซื่อ (蔡学仕) นักเขียนพู่กันชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งเกิดที่เถ่งไฮ่ (澄海, เฉิงไห่) เมืองซัวเถา เขาลงทุนซื้อก้อนหินมาด้วยตัวเองแล้วรวบรวมสมัครนักเขียนพู่กันจากทั้งประเทศจีนมาร่วมกันเขียนข้อความในแท่งหินแต่ละก้อน



เดิมทีสือกู่หมายถึงหินรูปกลองที่สลักข้อความอักษรโบราณ เนื่องจากหน้าตาของหินที่พบข้อความสลักมีลักษณะคล้ายกลองก็เลยถูกเรียกว่า "สือกู่" ซึ่งแปลตรงตัวว่า "กลองหิน" เรียกอักษรที่พบว่าสือกู่เหวิน (石鼓文) เชื่อว่าเขียนขึ้นในช่วงยุคจ้านกั๋ว (战国, 476-221 ปีก่อน ค.ศ.) ก่อนหน้านั้นคนเคยเชื่อว่าสือกู่เหวินเป็นอักษรเก่าแก่ที่สุดที่พบในจีน จนกระทั่งมาเจออักษรที่เก่ากว่า เช่นเ เจี๋ยกู่เหวินซึ่งเก่าถึงยุคราชวงศ์ซาง (17-11 ศตวรรษก่อน ค.ศ.) รายละเอียดอ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20120915

ส่วนสือกู่ที่ไช่เสวียซื่อสร้างขึ้นนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับสือกู่เหวิน แค่ทำรูปร่างให้เหมือน ส่วนอักษรที่เขียนก็เป็นอักษรจีนปัจจุบันเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เขียนด้วยอักษรจีนโบราณหลากหลายรูปแบบและที่เขียนด้วยภาษาต่างประเทศด้วย ข้อความเขียนบรรยายถึงเหตุการณ์ที่สะพานหลูโกวครั้งนั้น

ตรงนี้เป็นสวนรูปแกะสลักที่ระลึกสงครามประชาชนจีนต้านญี่ปุ่น



ภายในก็ประกอบไปด้วยสือกู่มากมายเหมือนกัน




แล้วก็มีพวกรูปแกะสลักประดับอยู่อย่างสวยงาม






เห็นพวกเด็กๆที่ใส่ชุดนักเรียนมากันเป็นหมู่คณะ น่าจะมาทัศนศึกษากัน เพราะที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง




สำหรับคนที่ชอบประวัติศาสตร์แล้วที่นี่ก็ถือเป็นสถานที่ที่ไม่น่าพลาด ควรจะมาเที่ยวชมดู แม้จะไกลจากตัวเมืองสักหน่อยแต่สมัยนี้มีรถไฟฟ้ามาถึงได้แล้วยิ่งมาง่าย ใครมาเที่ยวปักกิ่งลองแวะมาได้



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ