φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



มรดกโลก ณ เมืองหลวงโบราณอานหยาง ลานจัดแสดงซากโบราณสมัยราชวงศ์ซาง
เขียนเมื่อ 2012/09/15 21:55
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42


#31 ส.ค. 2012

ในจีนมีสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอยู่หลายแห่งด้วยกัน ตอนนี้ก็นับได้ถึง ๔๓ แห่งแล้ว

และจากการที่เราได้ตะลุยเที่ยวหลายแห่งในจีนมาในช่วง ๑ ปีที่อยู่จีนนี้ ก็พบว่าตัวเองไปเที่ยวมาแล้วทั้งหมด ๑๑ แห่งด้วยกัน

ครั้งนี้จะพูดถึงสถานที่มรดกโลกที่ได้ไปมาเป็นลำดับที่ ๑๑ คือเป็นที่ล่าสุด ไปมาตอนเมื่อช่วงปิดเทอมที่ผ่านมาซึ่งตระเวณเที่ยวตามทางรถไฟดังที่ได้เล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20120904

สถานที่นั้นคือลานจัดแสดงซากโบราณสมัยราชวงศ์ซาง (殷墟博物苑, อินซวีปั๋วอู้ย่วน) ซึ่งอยู่ในเมืองอานหยาง (安阳) มณฑลเหอหนาน (河南) เมืองหลวงโบราณเก่าแก่แห่งหนึ่งของจีน

อานหยางเป็นเมืองท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ที่น่าจะสำคัญที่สุดก็เห็นจะเป็นลานจัดแสดงซากโบราณสมัยราชวงศ์ซางนี้ เนื่องจากเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียวในอานหยาง และยังเป็นแห่งเดียวที่ได้ตั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับ AAAAA ด้วย ดังนั้นจึงมีความสำคัญมาก เรียกได้ว่าถ้ามาเที่ยวอานหยางต้องมาเที่ยวที่นี่ไม่งั้นก็ไม่รู้จะมาทำไม

นอกจากที่นี่แล้ว มณฑลเหอหนานยังมีมรดกโลกอยู่อีกสองแห่งคือถ้ำหินหลงเหมิน (龙门石窟) ที่ลั่วหยาง ซึ่งเล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20120730

และอีกแห่งคือภูเขาซงซาน (嵩山) ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดชื่อดังอย่างวัดเซ่าหลิน (少林寺) ซึ่งเราได้ไปเที่ยวพร้อมกับที่เที่ยวลั่วหยาง เพียงแต่ไม่ได้นำมาเขียนเล่าในนี้



ประวัติศาสตร์

ราชวงศ์ซาง (商朝) หรือที่เรียกอีกชื่อว่าราชวงศ์อิน (殷朝) นั้นเป็นราชวงศ์ที่ ๒ ของจีน ต่อจากราชวงศ์เซี่ย (夏朝) ปกครองจีนอยู่ในช่วง 1600-1046 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ซางได้ย้ายเมืองหลวงหลายครั้ง แต่ที่ที่สำคัญที่สุดและเป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายคือที่เมืองอานหยาง ซึ่งได้ย้ายมาตั้งแต่ 1350 ปีก่อนคริสตกาล และอยู่ที่นั่นมาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ได้ทิ้งอารยธรรมอะไรมากมายเช่นตัวอักษรจีนสมัยโบราณ

จนกระทั่งในปลายยุคผู้ปกครองเริ่มจะไม่สนใจบ้านเมือง เอาแต่กดขี่ใช้อำนาจเสพสุขให้ตัวเอง ดังนั้นจึงมีการต่อต้านขึ้น ในที่สุดก็โดนราชวงศ์โจว (周朝) โค่นล้มและปกครองประเทศต่อแทน เป็นอันสิ้นสุดยุคราชวงศ์ซางและเข้าสู่ยุคราชวงศ์โจว

เมื่อราชวงศ์โจวบุกเข้ามาโค่นล้มราชวงศ์ซางนั้น ได้มีการเผาทำลายเมืองอานหยางทำให้ปัจจุบันเหลือเพียงแต่ซาก และบทบาทของเมืองอานหยางในฐานะเมืองหลวงก็ได้สิ้นสุดลงตรงนี้

ซากเมืองโบราณนั้นถูกเรียกว่าอินซวี (殷墟) โดยที่อิน (殷) คือชื่อเก่าของเมืองอานหยางสมัยที่เป็นเมืองหลวง และยังกลายมาเป็นชื่อเรียกอีกชื่อของราชวงศ์ด้วย ส่วนคำว่าซวี (墟) แปลว่าซากปรักหักพัง ดังนั้นรวมแล้วจึงแปลว่าซากปรักหักพังของเมืองอิน





อักษรแกะสลักบนกระดูกสัตว์ "เจี๋ยกู่เหวิน"

ภายในบริเวณเมืองอานหยางนี้มีการค้นพบกระดูกซึ่งตัดเป็นแผ่นๆแล้วเขียนข้อความซึ่งเรียกกันว่าเจี๋ยกู่ (甲骨) เป็นจำนวนมาก

สมัยนั้นเขานิยมเอากระดูกสัตว์หรือกระดองเต่ามาใช้เขียนคำทำนายต่างๆ ซึ่งการเขียนนั้นใช้วิธีการสลักลงไปจึงเหลือร่องรอยให้เห็นได้ง่าย

แต่พอถึงสมัยราชวงศ์โจวนั้นการใช้หมึกกลับเป็นที่นิยมกว่า แต่ก็ทำให้ไม่อาจหลงเหลือร่องรอยได้ดีเท่าการสลัก ดังนั้นจึงกลับพบเจี๋ยกู่เปล่าๆอยู่บ่อยครั้ง

สิ่งที่เขียนลงบนเจี๋ยกู่นั้นส่วนใหญ่เป็นพวกคำทำนาย เนื่องจากคนสมัยโบราณยังมีความเชื่องมงายเรื่องโชคลางอยู่มาก

ตัวหนังสือที่สลักบนเจี๋ยกู่นี้เรียกว่าเจี๋ยกู่เหวิน (甲骨文) มีบางส่วนที่ตีความได้แล้ว แต่บางส่วนก็ยังคงไม่เข้าใจความหมาย ซึ่งการศึกษาอักษรเหล่านี้จะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของคนในสมัยโบราณกันมากขึ้น

อักษรจีนสมัยราชวงศ์ซางนั้นเป็นอักษรโบราณซึ่งใกล้เคียงกับรูปภาพมาก แสดงให้เห็นว่าจีนมีอักษรใช้มาตั้งแต่ยุคนั้นแล้ว กว่าจะวิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนเป็นอักษรที่ใช้ในปัจจุบัน



การขุดพบ

เวลาผ่านไปนักโบราณก็มาขุดพบซากโบราณของเมืองเข้าจึงได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์มากมายจากที่นี่ ดังนั้นจึงกลายเป็นแหล่งข้อมูลทางโบราณที่สำคัญ

แต่ก่อนที่จะมีการค้นเจอที่นี่ผู้คนท้องถิ่นนั้นไม่ได้รู้ถึงความสำคัญของที่นี่เลย ภายในบริเวณมีการขุดพบเจี๋ยกู่เป็นจำนวนมากมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ผู้ที่พบมันก็เอาไปบดทำเป็นยาหมด เลยมีเจี๋ยกู่ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก

จนกระทั่งปี 1899 จึงได้มีนักวิชาการมาตรวจพบเป็นครั้งแรกว่าจริงๆแล้วสิ่งที่สลักอยู่บนกระดูกนี้คืออักษรโบราณ นี่ไม่ใช่แผ่นกระดูกธรรมดาแต่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นก็สืบหาจนรู้ว่ากระดูกเหล่านี้มาจากเมืองอานหยาง

ตั้งแต่นั้นมาคนจึงรู้ว่าบริเวณเมืองอานหยางนี้เป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ และยิ่งขุดก็ยิ่งค้นพบอะไรมากขึ้น ปัจจุบันพบเจี๋ยกู่แล้วหลายแสนชิ้น แต่ก็ไม่อาจรู้ได้ว่าก่อนหน้านี้มีเจี๋ยกู่กี่อันที่โดนทำลายไปหรือโดนบดเป็นยา



บริเวณสถานที่ท่องเที่ยว

หลังจากนั้นก็ได้มีการเปิดบางส่วนเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชม เรียกว่าอินซวีปั๋วอู้ย่วน (殷墟博物苑) ซึ่งคำว่าปั๋วอู้ย่วน (博物苑) หมายถึงลานจัดแสดง บริเวณที่เปิดให้ชมนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบริเวณที่มีการขุดพบซากโบราณ นอกจากบริเวณนี้ไปก็ยังมีสถานที่ที่กำลังทำการขุดอยู่อีกมากมาย

ส่วนที่เปิดให้เข้าชมนั้นแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือซากพระราชวังและวัดวาอาราม (宫殿宗庙) และส่วนซากสุสานกษัตริย์ (王陵)

โดยที่ส่วนหลักนั้นจะอยู่ที่ส่วนซากพระราชวังและวัดวาอาราม ตรงนี้มีรถเมล์เข้าถึงได้ ประกอบไปด้วยซากของพระราชวังโบราณซึ่งมีขนาดใหญ่ และอาคารที่เกี่ยวข้องต่าง นอกจากนี้ยังมีหลุมฝังศพของฟู่เห่า (妇好墓) ภรรยาของจักรพรรดิอู่ติง (武丁) แห่งราชวงศ์ซาง และพิพิธภัณฑ์อินซวี (殷墟博物馆) ซึ่งเป็นที่จัดแสดงวัตถุโบรารต่างๆที่ขุดพบได้ในบริเวณนี้

ฟู่เห่านั้นนอกจากเป็นภรรยาของจักรพรรดิแล้วยังเป็นนักรบระดับนายพลคนหนึ่งด้วย เธอมีผลงานต่างๆมากมาย เป็นวีรสตรีคนสำคัญในสมัยนั้น เมื่อตายก็ได้ถูกฝังที่ตรงนี้ซึ่งเป็นมุมหนึ่งของพระราชวัง เมื่อมีการขุดค้นซากก็พบอยู่ในสภาพดี ภายในหลุมศพของเธอเต็มไปด้วยอาวุธชั้นสูงมากมายซึ่งยืนยันฐานะของเธอในกองทัพได้เป็นอย่างดี

ส่วนซากสุสานกษัตริย์นั้นอยู่ห่างออกไป ๕.๕ กิโลเมตร และเป็นตำแหน่งค่อนค่างห่างไกลตัวเมืองออกไปอีก ไม่มีรถเมลืไปถึง แต่มีรถของที่นี่คอยบริการรับส่งไปกลับระหว่างสองที่ฟรี

ทั้งสองส่วนนี้เวลาเข้าชมก็คิดค่าผ่านประตูรวมกัน ไม่สามารถแยกไปแค่ที่เดียวได้ ดังนั้นหากไปแล้วก็ควรจะแวะไปเที่ยวส่วนซากสุสานกษัตริย์ด้วย ค่าเข้าชมทั้งหมดนั้นคือ ๙๐ หยวน นับว่าแพงมากทีเดียว

ภายในสถานที่เที่ยวนั้นสิ่งที่ให้ชมโดยหลักแล้วก็คือเป็นพวกของโบราณ ซึ่งคนธรรมดามองดูแล้วก็อาจจะรู้สึกเฉยๆว่าดูแล้วยังไง ไม่เห็นจะสวยอะไรเลย แต่สำหรับคนที่ชอบประวัติศาสตร์แล้วละก็คงจะมองว่าสวยงาม อาจจะถือว่าการได้มาดูของพวกนี้ที่นี่เป็นอะไรที่คุ้มค่ามากก็เป็นได้



บันทึกการท่องเที่ยว

การเดินทางไปนั้นไปได้ง่ายโดยรถเมล์ นี่เป็นรถเมล์ที่เดินทางไปยังสถานที่ วันนั้นไม่รู้ทำไมผู้โดยสารไม่มีคนอื่นเลย ร้างจนน่ากลัว



หลังจากลงจากรถเมล์ก็ยังต้องเดินไปอีกราวๆครึ่งกิโลเมตร



ถึงหน้าทางเข้าแล้ว



ที่ขายบัตรและประตูทางเข้า บัตรราคา ๙๐ หยวน แต่เราใช้บัตรนักเรียนเลยลดเหลือ ๔๕ หยวน



ถ้านหน้า แผ่นหินสลักคำว่า 甲骨文发现地 แปลว่า สถานที่ค้นพบเจี๋ยกู่เหวิน



นี่คือภาชนะสมัยโบราณที่เรียกว่าติ่ง (鼎) ตัวนี้ติ่งอันใหญ่ซึ่งถูกพบที่นี่ มีชื่อว่าซือหมู่อู้ติ่ง (司母戊鼎)



พื้นที่ส่วนใหญ่ที่นี่ดูแล้วก็ค่อนข้างเคว้งคว้างโล่งอยู่ แต่ก็ประดับสวยดี



ซากฐานของพระราชวังโบราณ สภาพดูแล้วเหมือนเป็นเนินดินธรรมดาเลย





เมื่อเดินมาเรื่อยๆก็จะเจอกับหลุมศพของฟู่เห่า



หลุมศพที่ขุดพบนั้นอยู่ภายใต้อาคารหลังนี้



ภายในจัดแสดงของต่างๆที่ขุดพบบริเวณนี้







เมื่อลงมาชั้นล่างจึงจะเห็นหลุมศพจริงๆที่ขุดพบเจอ



สภาพในหลุมศพ แต่เขาว่าของที่วางอยู่แทบทั้งหมดเป็นของทำเทียมขึ้น ส่วนของจริงเอาไปประดับไว้ตามพิพิธภัณฑ์แล้ว



ข้างๆนี้มีรูปปั้นของฟู่เห่าประดับเพื่อให้เข้ากับสถานที่



แล้วก็มีสวนที่ปลูกดอกไม้ประดับซะสวย



ถัดมาตรงนี้เป็นระเบียงทางเดินยาวที่จัดแสดงเจี๋ยกู่มากมาย



มีการนำเจี๋ยกู่มาอธิบายให้ชัดเจน



ถัดมาตรงนี้เจอบริเวณที่เป็นหลุมบูชายัญของวัดโบราณ




ภายในกระจกนั้นมีโครงกระดูกอยู่มากมาย




ไม่ใช่แค่โครงกระดูกแต่ยังมีพวกรถม้าด้วย



ซากพระราชวังเก่าอีกบริเวณ





สวนจัดแสดงหินที่จำลองข้อความที่เขียนในเจี๋ยกู่



อาคารที่เก็บรถม้าโบราณที่ขุดเจอที่นี่



ซากรถม้าโบราณ ๖ คัน



บางอันดูไปแล้วก็น่ากลัวมีโครงกระดูกติดมาด้วย



แผนที่แสดงจุดต่างๆที่ขุดพบรถม้าเหล่านี้



ของทำจำลอง



ข้างๆเป็นบ่อน้ำสวย



มีเลี้ยงปลาด้วย



ต่อไปก็เข้าไปชมในส่วนพิพิธภัณฑ์ ที่นี่ตั้งอยู่ใต้ดิน ต้องเดินลงไปด้านล่างเพื่อเข้าชม



ลงมาแล้วถึงหน้าทางเข้าด้านล่างประดับสวยดี



ภายในจัดแสดงของโบราณต่างๆที่ขุดพบ



กระดูกคนและสัตว์




ข้าวของเครื่องใช้





อาวุธ




เจี๋ยกู่



บริเวณซากพระราชวังและวัดวาอารามก็เสร็จเพียงเท่านี้ จากนั้นเราก็นั่งรถที่เขาจัดให้เพื่อไปยังบริเวณซากสุสานกษัตริย์





มาถึงแล้ว



ภายในบริเวณนี้ดูร้างโล่งกว่าส่วนพระราชวังพอสมควรเลย





ส่วนนี้เป็นหลุมฝังศพต่างๆที่ถูกฝังเพื่อบูชายัญ




งานหินแกะสลักที่ขุดพบในบริเวณ




พวกเครื่องสำริดขนาดใหญ่




หมวกยักษ์



ใบหน้าขนาดยักษ์



สิ่งที่ตั้งเด่นอยู่ด้านหน้าสุดของที่นี่ก็คือภาชนะขนาดใหญ่เช่นเดียวกับส่วนพระราชวัง



นี่ก็เป็นติ่งที่ถูกขุดได้แถวนี้



ในนี้ยังมีอาคารจัดแสดงอยู่หลังหนึ่ง



ภายในตัวอาคารจะพบหลุมที่เขาขุดค้นซากกัน



รอบๆก็จัดแสดงพวกของต่างๆที่ขุดได้ รุปภาพและข้อมูลที่เกีย่วข้อง





ไม่รู้ว่าใครเอากวางมาเลี้ยงไว้ในบริเวณนี้ด้วย มีหลายตัวอยู่





จบแล้ว ก็มีอยู่เพียงเท่านี้ หลักๆแล้วคือมาดูพวกของโบราณ ความจริงตอนแรกคิดว่าจะมีอะไรตื่นเต้นอลังการให้ดูมากกว่านี้ แต่คงช่วยไม่ได้เพราะว่าเป็นซากอารยธรรมเก่าตั้งแต่ยุคสำริด เก่าแก่กว่าสามพันปี สิ่งที่เหลืออยู่ก็คงมีเพียงซากที่มองแทบไม่ออกและไม่ได้สวยงามอะไร

ถึงอย่างนั้นคุณค่าของมันก็อยู่ที่ความเก่าแก่ การได้มาเห้นร่องรอยอารยธรรมสมัยโบราณนั้นก็ถือว่าคุ้มค่าแล้วที่ได้มา



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> เหอหนาน
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน
-- ท่องเที่ยว >> มรดกโลก

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文